วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีติดตั้งอีเมล์บริษัท Email Account บนมือถือ Window (Window Phone/Mobile)

ระบบอีเมล์ของ MailDee.com (ผู้ให้บริการระบบอีเมล์สำหรับบริษัท และ องค์กร)  ยังรองรับการใช้งานบนมือถืออย่าง Window Phone อีกด้วย ซึ่งขั้นตอนติดตั้งนั้นมีเพียงไม่กี่ขั้นตอน ดังนี้

ไปที่ Start-->Settings (การตั้งค่า)

เลือก email+accounts

กด "add an account"

เลือก advanced setup

เลือก "Internet email"

กรอกข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ
และ Incoming email server ให้พิมพ์ imap.(ชื่อโดเมนเรา).com

เลื่อนหน้าจอลงมา จะมีข้อมูลให้กรอกเพิ่ม ให้ใส่ชื่อ User Name และ Password
Outgoing (SMTP) email server ให้พิมพ์ smtp.(ชื่อโดเมนเรา).com

เลื่อนลงมา จะมีปุ่ม ให้กด "Sign in"

จากนั้นจะมีชื่ออีเมล์ที่เราเพิ่มลงไป ปรากฏอยู่ที่หน้า Settings

ไปที่กล่องจดหมาย (Inbox) เพื่อทำการ linked inboxes (ดังภาพ)

ในกลุ่มของ Other inboxes จะมีอีเมล์ที่เราเพิ่มไว้ปรากฎอยู่ ให้กดเลือกอีเมล์นี้

อีเมล์ของเราจะย้ายไปปรากฎอยู่ที่ this box ซึ่งหมายความว่าใช้งานได้แล้ว

เมื่อเราไปที่ Inbox อีเมล์ต่างๆของ Account ที่เราเพิ่มไปจะปรากฎอยู่ในหน้านี้
เสร็จสิ้น !
บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีการตั้งค่า Email (อีเมล์) บริษัท ชื่อตัวเอง บน iPhone,iPad (Apple)
การตั้งค่า อีเมล์องค์กรบริษัท (Email for Business) บน โปรแกรม Mozilla Thunderbird
วิธีทำ mailing list หรือ ส่ง Email จำนวนมากๆ สำหรับองค์กรขนาดใหญ่

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การใช้อีเมล์บริษัทในการติดต่อธุรกิจมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลมากแค่ไหน


การใช้งานอีเมล์บริษัท ในกระบวนการทางธุรกิจ นั้นมีความปลอดภัยมากแค่ไหน

การใช้อีเมล์ในการติดต่อทางธุรกิจคืออะไร

การใช้อีเมล์ในการติดต่อธุรกิจ คือการรับส่งข้อมูล ตั้งแต่ตัวอักษรธรรมดาไปจนถึง ไฟล์เอกสารต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารนั้น อาจจะเป็นความลับ หรือไม่เป็นความลับก็ได้
ดังนั้นการใช้งานอีเมล์ในการติดต่อธุรกิจ จึงเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานทั่วโลก ตั้งแต่องค์กรขนาดเล็ก ไปจนถึงองค์กรระดับโลกหลายๆองค์กร เพราะมีความรวดเร็ว, สะดวก แถมมีค่าใช้จ่ายน้อยจนแทบไม่มีเลยก็ว่าได้


ข้อมูลเกือบทั้งหมดในบริษัทนั้นเป็นความลับ

เป็นเรื่องปกติที่ทุกๆองค์กรนั้น ต้องมีข้อมูลที่เป็นความลับซึ่งไม่อยากให้บุคคลอื่นรู้ เช่น

  1. ข้อมูลเงินเดือนการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานแต่ละคน ถ้ามีพนักงานคนหนึ่งรู้ บริษัทคุณอาจจะอยู่ไม่เป็นสุขแน่ เพราะคนที่ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าย่อมมีความไม่พอใจ และพร้อมที่จะลาออกทันทีเลยก็ได้
  2. ข้อมูลการกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงินต่างๆ คนเดินดินกินเงินเดือนธรรมดายังมีช็อต แล้วการทำธุรกิจของคุณคงไม่อยากให้ลูกน้องหรือพนักงานของคุณรู้ข้อมูลเหล่านี้แน่นอน (การช็อต หมายถึง ต้องมีการไปกู้ยึมเงินจากสถานบันการเงิน ทำให้ บริษัท ของคุณเป็นหนี้ และ ต้องมีการผ่อนจ่ายธนาคารทุกเดือน) 
  3. ข้อมูลลูกค้า คุณคงอยากให้ Sale หรือ ฝ่ายขายติดต่อลูกค้าได้เท่านั้น แต่หากบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกลับรู้ข้อมูล และนำข้อมูลลูกค้าไปใช้งานในวิธีที่ผิด เช่น นำฐานข้อมูลไปขายกับคู่แข่ง หรือเอาข้อมูลเหล่านี้ออกมาติดต่อเองเลย ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงกับบริษัทคุณมากเลยทีเดียว
  4. ข้อมูล Supplier  เป็นข้อมูลที่คุณไปรับของหรือบริการมาอีกทอด ซึ่งคุณคงอยากให้ ฝ่ายจัดซื้อทราบเท่านั้น ดังนั้นหากเป็นบุคคลอื่นๆ คุณคงไม่อยากให้รู้แน่นอน

เมื่อข้อมูลที่เป็นความลับ มีความสำคัญขนาดนี้แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร
ว่าการใช้งานและการเก็บข้อมูลในอีเมล์นั้นมีความปลอดภัย

ทำไมการใช้งานอีเมล์ถึงปลอดภัย และเป็นความลับ มากกว่าวิธีการอื่นๆ


คงไม่แปลก ข้อมูลของใคร ใครก็รัก ใครก็หวง โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ แล้วเราจะจัดการกับความเสี่ยงต่างๆ เพื่อไม่ให้คนอื่นเอาข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ผิดได้อย่างไร ผู้เขียนเชื่อว่า เราคงไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงให้เหลือเพียง 0% แต่เราต้องทำให้ความเสี่ยงน้อยที่สุด ทีนี้เราลองมาวิเคราะห์กันว่าการใช้งานผ่านอีเมล์นั้นมีความปลอดภัยของข้อมูลแค่ไหน

  1. มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่คุณส่งในอีเมล์นั้นถึงผู้รับที่คุณต้องการจริงๆ เพราะผู้รับต้องมีการ Login ด้วย Username กับ Password ก่อนที่จะเข้าถึงข้อมูลได้
  2. หากคุณใช้งานกับผู้ให้บริการ Email Server ที่มีมาตรฐาน และมีความมั่นคง คุณก็อุ่นใจได้ระดับหนึ่ง ซึ่งในทางปฎิบัติ ผู้ให้บริการ Email Server สามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ แต่ด้วยจรรยาบรรณทางวิชาชีพ คงไม่มีใครเอาข้อมูลของคุณไปขายแน่ๆ
  3. เราสามารถบริหารข้อมูลด้วยตัวเราเอง เพราะเราสามารถกำหนด Email ของแต่ละแผนก และ แต่ละฝ่ายได้ เพื่อให้พนักงานเข้าถึง Email ในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบเท่านั้น
  4. รูปแบบการเก็บข้อมูลของ Email นั้น ผู้ให้บริการ Email Server มีการป้องกันการ Hack ไว้เยอะมาก มันก็คงดีกว่าการที่คุณเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในกระดาษ ที่ใครๆ ก็แอบไปดูได้
  5. ไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลมันจะหาย หากคุณเก็บข้อมูลต่างๆไว้ในกระดาษหนาเตอะ วันดีคืนดีอาจจะมีขโมยเอามันไปก็ได้ หรือร้ายแรงที่สุด หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ไฟไหม้ เท่ากับข้อมูลเหล่านั้นก็จะหายไปหมดเลย แต่ Email Server นั้น มันคงไม่ไหม่้กันง่ายๆ แน่นอน เพราะมันถูกตั้งไว้ในห้อง Data Center ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับทุกสถาณการณ์

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server และผู้ให้บริการ Web Hosting
ที่ได้รับการรับรองเว็บไซต์มาตรฐานสูงสุดระดับโลก



วิธีที่ดีที่สุด สำหรับการรับส่งข้อมูลและการสื่อสารในองค์กรบริษัทแบบภายใน, ระหว่างสาขา และลูกค้า

การใช้แฟกซ์ กับ อีเมล์ ในการติดต่อธุรกิจ วิธึไหนดีกว่ากัน และ ข้อดีข้อเสีย

ข้อดีข้อเสียของการใช้ "อีเมล์" ในการสื่อสารทางธุรกิจ

การใช้ Email ในการติดต่อธุรกิจ ถือเป็นวิธีหนึ่งที่สะดวกรวดเร็ว และเป็นที่นิยมมากที่สุด หลายๆองค์กรใช้วิธีนี้เพื่อเจรจาการค้าต่างๆ  ซึ่งEmail มีการเก็บข้อมูลการส่ง-รับ สามารถตรวจสอบได้ว่า ข้อมูลที่เราส่งไปนั้นได้ถึงมือผู้รับหรือไม่ แต่ระบบ Email ก็ทำให้ผู้ใช้หลายรายเกิดความเสียหายมหาศาล หากการใช้นั้นไม่ถูกต้องหรือผิดวิธี

การใช้ Email แต่ละบุคคลจะมี Account ส่วนตัว แต่ถ้าหากวันนึง Username และPassword ของคุณได้ถูกโจรกรรมขึ้นมา แน่นอนว่าจะต้องเกิดความเสียหาย ของผู้ใช้แน่นอน ทั้งด้านข้อมูล หรือการนำไปสู่การหลอกล่อฉ้อโกง ต่อผู้ที่ทำการติดต่อกับคุณด้วย

อย่างเช่น กรณีการหลอกล่่อให้คนสนิท หรือลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชี ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถูกฉ้อโกง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Email มีทั้งด้านดีและด้านลบ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานด้วยว่ามีวิธี และหลักการใช้อย่างไร ซึ่งในปัจจุบันมีการเขียนบทความเกี่ยวกับการใช้งาน Email ที่ถูกต้องและปลอดภัยมากมายใน INTERNET ดังนั้นเราควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการป้องการกันถูกโจรกรรมข้อมูล เพื่อประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน และ บุคคลอื่น ที่มีการติดต่อกันทาง Email

ข้อดีข้อเสียของการใช้ "แฟกซ์" ในการสื่อสารทางธุรกิจ


การใช้งาน แฟกซ์ ต้องใช้สายนำสัญญาณ คือ สายโทรศัพท์ หากสายสัญญาณมีปัญหา หรือไม่มีคุณภาพ
ก็ทำให้การส่งแฟกซ์ของคุณมีปัญหาทันที 

ในองค์กรมากมายยังมีการใช้ระบบ FAX อยู่ เพราะเป็นการใช้ส่งสำเนาเอกสารแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเกี่ยวกับการส่งข้อมูลผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ข้อดีคือมีการส่งที่รวดเร็ว ดีกว่าการส่งจากไปรษณีย์ แต่คุณภาพที่ได้นั้น อาจจะมีการเลอะเลือนผิดเพี้ยนไปจากเดิม ไม่ได้ตามต้องการ ซึ่งทราบกันดีว่าบางครั้งการรับสำเนาเอกสารจาก FAX นั้น มีข้อมูลที่ไม่ชัดเจน อาจจะมีปัญหาจากสัญญาณโทรศัพท์ ทั้งด้านผู้รับ หรือผู้ส่ง ก็เป็นไปได้ 

ปัญหาจากเครื่อง FAX
การรับส่งแบบ FAX ทำให้ ผู้รับอาจจะได้รับเอกสารที่มีคุณภาพต่ำ เช่น อ่านตัวหนังสือไม่ออก, สีอ่อนเกินไป และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย รวมถึงเอกสารไม่เป็นความลับ เพราะว่าใครๆก็สามารถหยิบกระดาษแผ่นนั้นไปอ่านได้ ต่างจากการใช้งาน Email ที่ต้องมีการ Login ด้วย Username และ Password ก่อนการเข้าถึงข้อมูล


วิธีที่ทำให้การส่งเอกสาร จากต้นฉบับไม่ให้บิดเบือนนั้น หลายองค์กรหันมาใช้การส่งผ่านทาง Email แทน แต่เป็นวิธีที่ซับซ้อน เพราะคนส่วนมากยังติดกับการส่งเอกสารทาง FAX เดี๋ยวนี้สื่อทางเทคโนโลยีกว้างขวางมาก พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้การติดต่อต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก ผู้คนมากมายพร้อมจะเรียนรู้เพื่อพัฒนาตัวเอง ให้ทันกับเทคโนโลยีอยู่เสมอ ซึ่งเป็นข้อดี และที่เห็นได้ชัดเจนคือ ความได้เปรียบทางเทคโนโลยี ทำให้การเจรจางาน, การติดต่อสื่อสารฉับไวได้เปรียบกว่าผู้อื่น ยิ่งเราเสนองานไวมากเท่าไร ลูกค้า หรือผู้รับก็เห็นความสำคัญที่เรามีต่อลูกค้า ทำให้เกิดความเชื่อมันในการติดต่อกันมากขึ้น

ข้อดีข้อเสียของการใช้ "การส่งแบบไปรษณีย์ หรือ EMS" ในการสื่อสารทางธุรกิจ

ความเสี่ยงในการ รับ-ส่งไปรษณีย์ หรือ EMS ในกระบวนการทางธุรกิจ และ การติดต่อระหว่างสาขา


ผู้เขียน มักเห็นหลายๆองค์กรที่ส่งเอกสารที่มีความลับสูงสุด เช่น รหัสบัตรเครดิต ด้่วยการส่ง EMS แบบลงทะเบียน โดยองค์กรหลายๆที่มักมั่นใจว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่ทำให้เอกสารดังกล่าวถึงผู้รับโดยตรง เพราะผู้รับต้องมีการเซ็นต์รับเอกสารก่อนที่จะรับเอกสารนั้นๆ

ในอีกแง่มุมหนึ่ง หากคุณเป็นผู้บริหารระดับสูง หรือแม้แต่พนักงานทั่วไป หน้าที่การรับเอกสารจากเจ้าหน้าที่คงไม่ใช่คุณ แต่อาจจะกลับกลายเป็นยามหรือพนักงานธุรการทั่วไป ทำให้ข้อมูลที่ส่งนั้นเกิดความเสี่ยงหากมีผู้ใดผู้หนึ่งแอบเปิดอ่านไปก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเอกสารด้านการเงิน เช่น ใบแจ้งยอดหนี้จากธนาคารที่คุณไปกู้ไว้เพื่อทำธุรกิจ คุณคงไม่อยากให้พนักงานคนไหนรู้แน่นอน ดังนั้นหากคุณเลือกที่จะใช้วิธีนี้ควรจะใช้ที่อยู่จัดส่ง ที่เป็นที่อยู่ส่วนตัว เช่น บ้านพัก มากกว่าคนในองค์กร 

และข้อเสียอีกข้อหนึ่ง คือการสื่อสารด้วยวิธีนี้ต้องใช้เวลานานกว่าวิธีอื่นๆ มาก ไม่ว่าจะเป็นการส่ง EMS Super Speed แค่ไหนยังไงมันก็ช้ากว่าวิธีอื่นๆแน่นอน

การใช้งาน Email แทนการใช้ การรับส่ง FAX เพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างไร
ตัวอย่างกรณีศึกษา: การใช้งาน Email เพื่อติดต่อในหลายๆสาขาของบริษัทจัดจำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ของประเทศ ที่มีโชว์รูมและสาขาต่างๆ อยู่เกือบทุกจังหวัดของประเทศ


วิธีเก่า
ใช้การส่ง FAX หากต้องมีการสื่อสารหรือประกาศข่าวใดๆ ก็ตาม ซึ่งผู้ส่งก็ต้องมานั่งกดเบอร์ FAX และใส่กระดาษทีละใบ กว่าจะเสร็จก็อาจจะครึ่งวัน โดยต้องเสียทรัพยากรและเวลา

  1. กระดาษ
  2. เครื่อง FAX
  3. ทรัพยากรมนุษย์ ที่ต้องมานั่งกด FAX 
ปัญหาที่พบ

  1. การที่คุณจะต้องกดเบอร์ FAX เกือบร้อยๆ เบอร์ คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคุณกดถูกทั้งหมด ถ้าผิด หมายความว่า สาขานั้นก็ไม่ได้รับข้อมูลคุณเลย
  2. คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าผู้รับนั้น ได้รับรู้ข่าวสารหรือข้อมูลจริงๆ เพราะในความเป็นจริง เอกสารที่คุณส่งไป มันอาจจะไปกองอยู่ในถังขยะ เพราะผู้รับอาจจะสับสน และจับมันโยนทิ้งลงถังขยะไปเลย
  3. ความล่าช้า กว่าคุณจะกดเบอร์ทั้งหมด อาจจะเสียเวลาไปทั้งวันเลยก็ได้
  4. ข้อมูลไม่เป็นความลับ เพราะคนที่รับก็ต้องเห็นเนื้อหาในกระดาษแน่นอน 
  5. ความชัดเจน แน่นอนว่า หลายครั้งที่คุณได้รับเนื้อหาไม่ชัดเจน และแทบจะไม่มีคำอธิบายใด ๆเกี่ยวกับเอกสารนี้เลย
  6. การเก็บเอกสาร แน่นอนว่า หากมีการรับสำเนาแล้ว เอกสารก็ไม่ได้ถูกเก็บไว้ที่ใด หากคุณลืมว่าไปวางไว้ที่ใหน ต้องการปรินท์ใหม่ จะทำอย่างไร นี่คือข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด

การแก้ไขปัญหาด้วยการส่งอีเมล์ระหว่างสาขา

สามารถเพิ่มความเร็วและประสิทธิภาพได้เป็นอย่างมาก
การใช้งาน Email ในการสื่อสารระหว่างสาขานั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการสื่อสารได้เป็นอย่างมาก
เมื่อสำนักงานใหญ่ต้องการส่งข้อมูลใดๆ สามารถทำการส่งทาง Email ได้ทันที และผู้รับก็ได้รับทันที แทบจะ Realtime และข้อมูลที่คุณส่งยังมั่นใจได้ว่าไปถึงผู้รับคนนั้นจริงๆ เพราะว่าผู้รับต้องมีการ Login ด้วย Username และ Password ของตนเองเพื่อเข้าถึงข้อมูล ซึ่งกระบวนการทั้งหมดแทบจะไม่เกิดค่าใช้จ่าย และ มีความเสี่ยงต่ำในการโดนโจรกรรมข้อมูลมากกว่าวิธีอื่นๆ ด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง
Email (อีเมล์) คือ อะไร รวมถึงข้อดีและข้อเสีย ของการใช้อีเมล์ และจะใช้อีเมล์ในธุรกิจได้อย่างไร
อีเมล์บริษัท (Email For Business) คือ อะไร ที่ไหนดีที่สุด
บทวิเคราะห์ เจาะลึก เรื่อง email server/email hosting เจ้าไหนดีที่สุด ?
การใช้อีเมล์ในกระบวนการทางธุรกิจช่วยทำให้องค์กรของคุณมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับส่งข้อมูลระหว่างสาขาด้วยอีเมล์
อันดับ 1 ของประเทศไทย


วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การใช้อีเมล์ในกระบวนการทางธุรกิจช่วยทำให้องค์กรของคุณมีประสิทธิภาพได้อย่างไร



การใช้อีเมล์ในการติดต่อธุรกิจ สามารถช่วยทำให้ บริษัทของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร

ในยุคที่เด็ก ป.2 เล่นเกมส์ปลูกผักบนเว็บไซต์

ภายใต้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อาจจะเป็นความเคยชินที่เราสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน แต่ลึกๆแล้ว หากวิเคราะห์เข้าไป เรากำลังหมายความว่า ประชากรทั้งประเทศไทยก็ต้องใช้อินเทอร์เน็ตเป็นไม่มากก็น้อยแล้่ว ดังนั้นหากคุณเป็นเจ้าของกิจการ หรือนักธุรกิจ แล้วคุณใช้อินเทอร์เน็ตไม่เป็น ผมก็ไม่ได้หมายความว่าคุณผิด หรือต้องอายเด็ก แต่ผมกำลังบอกว่าคุณอาจจะไม่รู้เท่าทันการทำงานของพนักงาน, ไม่ทันคู่ค้า หรือไม่ทันคู่แข่ง คุณคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ในธุรกิจที่คุณสร้างมันขึ้นมาอย่างแน่นอน 


ด้วยการใช้อีเมล์บริษัท
การใช้อีเมล์ในธุรกิจ สามารถทำให้กระบวนการติดต่อสื่อสารนั้นรวดเร็วมากขึ้น

เมื่อธุรกิจคือความรวดเร็ว

ไม่ว่าคุณจะดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอะไร ตั้งแต่ธุรกิจเล็กๆ เช่น ขายก๋วยเตี๋ยว ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ธุรกิจการบิน เจ้าของธุรกิจเกือบทั้งหมดก็รู้ว่าลูกค้าของเราต้องการการสื่อสาร และการตอบสนองจากเราอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า  ไม่อย่างนั้นลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนเจ้า หรือยกเลิกการสั่งซื้อจากคุณไปเลยก็ได้

การใช้งานอีเมล์ก็เช่นกัน คุณสามารถส่งข้อมูลตั้งแต่ตัวอักษรธรรมดา ไปถึงเอกสารหลายๆหน้า ภายใต้เวลาเพียงไม่กี่วินาที หรือแทบจะ  Realtime มันช่วยให้กระบวนการติดต่อสื่อสารของคุณนั้น รวดเร็วมากกว่าวิธีการเก่าๆ เช่น การรับส่ง FAX  หรือส่ง EMS หลายเท่าตัว


การใช้อีเมล์บริษัท ทำให้บริการของคุณดูเป็นมืออาชีพ มากขึ้น

เมื่อธุรกิจคือความเป็นมืออาชีพ

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ขนาดธุรกิจขนาดเล็กๆ อย่างร้านขายก๋วยเตี๋ยว เวลา ลูกค้าจะสั่งก๋วยเตี๋ยวของร้านคุณกิน มันก็มีร้านก๋วยเตี๋ยวร้านอื่นๆ อีกมากมาย  แล้วทำไมเค้าต้องกินร้านคุณ คำตอบมีอยู่ไม่กี่อย่าง คือร้านคุณอาจจะทำอร่อย ความอร่อยก็เปรียบเสมือนความเป็นมืออาชีพเช่นเดียวกัน หากคุณทำธุรกิจอื่นๆ เช่น ขายสายไฟ สิ่งที่คุณควรจะมีคือ ความรู้ด้านสายไปที่มากกว่าคนอื่นเค้า ซึ่งมันก็จะแสดงว่าคุณมีความเป็นมืออาชีพ

ลูกค้าก็ต้องการความเป็นมืออาชีพ จากการให้บริการของคุณเช่นเดียวกัน ดังนั้นการมีอีเมล์ @ชื่อบริษัท ตัวเองเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกๆ บริษัทควรมี ซึ่งมันก็ช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ ทำให้องค์กรของคุณดูมีความเป็นมืออาชีพและทันสมัย ในการติดต่อสื่อสารเช่นเดียวกัน


การใช้อีเมล์บริษัท ทำให้ลูกค้าของคุณ กล้าส่งข้อมูลที่เป็นความลับ ให้แก่ บริษัทคุณ 

เมื่อธุรกิจคือการสร้างความไว้ใจต่อลูกค้า

ในการติดต่องานทางธุรกิจ แน่นอนว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นความลับ แม้กระทั่งข้อมูลต่างๆของลูกค้า
แล้วลูกค้าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อมูลที่ถูกส่งถึงอีเมล์ของคุณที่เป็นฟรีอีเมล์ จะถูกเก็บเป็นความลับ เพราะอาจจะมีพนักงานหลายคนที่รู้ Password เช่นเดียวกัน

ดังนั้นการใช้อีเมล์บริษัทให้เป็นระบบนั้น สามารถสร้างความไว้วางใจต่อลูกค้าได้ เพราะลูกค้าของคุณจะมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เค้ากำลังส่งถึงคุณนั้น ถูกส่งมายังบริษัทของคุณจริงๆ เช่น account@ชื่อบริษัท.com ซึ่งลูกค้าของคุณสามารถส่งข้อมูลด้านการเงินซึ่งเป็นความลับมาโดยที่ไม่ต้องมานั่งพะวงว่า ข้อมูลจะโดนใครแอบเอาไปอ่านหรือเปล่า


ด้วยการใช้งาน Email Server
การใช้ระบบ Email Server ทำให้การสื่อสารระหว่างสาขานั้น สะดวก  ประหยัด และรวดเร็ว

การสื่อสารไปยังพนักงานจำนวนมากๆ หรือ หลายๆ สาขา

อีเมล์ยังทำให้คุณประหยัดทั้งกระดาษ และเวลา มากไปกว่านั้นการที่คุณจะส่งข้อมูลต่างๆ ไปยัง พนักงานที่อยู่ในสาขาอื่นๆ ยังทำได้รวดเร็วกว่าวิธีการอื่นๆหลายเท่าตัว 

ผมเชื่อว่า หลายๆบริษัท มีกระดาษเป็นรีมๆ ที่พร้อมจะ Print อะไรก็ได้ที่ใจต้องการโดยที่ไม่ได้พะวงเรื่องงบประมาณ เพราะมันก็ถือว่าน้อยมากในกระบวนการทางธุรกิจของคุณทั้งหมด 

แต่การใช้อีเมล์ในการสื่อสารหรือประกาศข่าวประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานไปยังสาขาอื่นๆ เป็นวิธีที่ใช้เงินน้อยที่สุด แต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะคุณ ไม่ต้อง Print อะไรออกมา แล้วคุณก็ไม่ต้องเอาเอกสารนั้นไปส่ง EMS ให้สาขาต่างๆ แต่การใช้อีเมล์ทำให้คุณส่งข้อมูลและข่าวสารได้แบบ Realtime แทบจะไม่ต้องรออะไรเลย


บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทำไม บริษัทผู้ให้บริการ Email Hosting ถึงต้องมี SSL Certificate หรือ ความปลอดภัยสูงสุด

SSL Certificate คือ อะไร และ ทำให้คุณมีความปลอดภัยในการสื่อสารข้อมูลได้อย่างไร


ทำให้อีเมล์และข้อมูลมีความปลอดภัย
SSL สำคัญต่อ เว็บไซต์ และทำให้ข้อมูลของคุณปลอดภัยได้มากขึ้นอย่างไร

     SSL Certificates หรือ SSL ซึ่งย่อมาจากคำว่า Secure Xocket Layer คือ การรับรองความปลอดภัยของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหมายนี้ จะเป็นการรับรองความปลอดภัยและยืนยันว่าเจ้าของเว็บไซต์นี้มีตัวตนจริง สามารถไว้ใจการให้ข้อมูลผ่านอิเล็คทรอนิคส์ได้ เพราะทุกการสื่อสาร การติดต่อ เป็นการเข้าและถอดรหัสข้อมูลด้วยระบบ SSL โดยผ่านการเรียกโปรโูตคอล https://
     ดังนั้นจะทำให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจมากขึ้นว่า ไม่ได้ตกอยู่ในการโดนหลอก หรือการขอข้อมูลเพื่อหวังผลประโยชน์ในทางที่ผิด เช่นการให้ข้อมูลส่วนตัว, รหัสผ่านต่างๆ หรือเลขบัตรเครติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเว็บไซต์ที่ทำการค้าขาย Ecommerce Online ที่มีการโต้ตอบแบบ Real Time โดยมีการสอบถามข้อมูลส่วนตัว หรือการตอบธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ

จะทำให้ข้อมูลที่คุณสื่อสารนั้นถูกเข้ารหัสและมีความปลอดภัยมาก
SSL ช่วยปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับของคุณ ในระหว่างที่คุณ สื่อสารข้อมูลที่เป็นความลับ
กับบริษัทปลายทางผ่านทางหน้าเว็บไซต์ และ ทำให้คุณมั่นใจได้ว่า
ในระหว่างทางจะไม่มีใคร เข้าถึงหรือทราบข้อมูลของคุณได้


     SSL เป็นเครื่องหมายรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่อนุมัติโดย CA(Certificate Authority) ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ให้บริการการออกใบรับรอง SSL อยู่หลายแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและสามารถไว้ใจด้านความปลอดภัยได้แน่นอน เช่น VeriSign, Thawte, Comodo และGeotrust เป็นต้น ซึ่่งผู้ให้บริการเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้ชำนาญด้านการถอดรหัสข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถมั่นใจได้ว่า ข้อมูลของท่าน จะไม่มีการถูกหลอก หรือโดนฉ้อโกงแต่อย่างใด

     สำหรับเว็บไซต์ที่ ใช้ความปลอดภัยระบบ SSL ผ่าน URL บน Browser ต่างๆ จะปรากฏ https:// และมีรูปกุญแจซึ่งจะแสดงถึงความปลอดภัย ในส่วนของ Address Bar แบรนด์ของเรา Technologyland ก็ได้รับการตรวจรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผ่านระบบ SSL เช่นกัน

การติดต่อกับบริษัทผู้ให้บริการ Email Hosting ผ่านหน้าเว็บ ทำไมถึงต้องมีความปลอดภัยสูง


ที่ได้รับการรองรับความปลอดภัยสูงสุดจากองค์กรชั้นนำของโลก
ตัวอย่างเว็บไซต์ของ บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ที่ได้รับการรับรองด้านความปลอดภัยของข้อมูล
สูงสุดจาก Geotrust ประเทศสหรัฐอเมริกา แบบ 256 Bit ซึ่งเทียบเท่ากับความปลอดภัย
ระดับเดียวกับระบบธนาคารชั้นนำ



เพราะคุณอาจจะมีการส่ง Password มายังระบบ live chat ซึ่ง Password email นั้นถือเป็นความลับสูงมาก ดังนั้นหากเว็บที่มี SSL Certificate ย่อมทำให้ลูกค้ามั่นใจว่า ข้อมูลที่ติดต่อผ่านหน้าเว็บจะ ไม่โดน Hack แน่นอน

การโต้ตอบทุก ๆ ขั้นตอน สามารถถูกโจรกรรมได้ตลอดเวลา หากการป้องกันความปลอดภัยไม่แข็งแรงพอ ซึ่งแน่นอนว่า การเข้าระบบของเรา แต่ละทุกตัวอักษรต้องถูกแปลงเป็นระบบแบบ 256 Bit ทำให้การเข้าถึงข้อมูลนั้นยาก และแทบจะไม่มีการเป็นไปได้เลยว่า ข้อมูลของท่านจะถูก Hack ยิ่งในช่วงระหว่าง ที่ท่านกำลังจะใส่ Username Password นั้น เป็นช่วงที่อันตรายมาก เพราะ Hacker ส่วนมาก จะคอยดักข้อมูลของท่านอยู่ตลอด ทำให้ความปลอดภัยของ SSL นั้นทำงานแบบเต็มกำลัง
และจะสังเกตได้ว่า องค์กรที่ได้รับ SSL Certifacate นั้น ล้วนแต่เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีการทำธุรกรรมการเงินตลอดเวลา จึงทำให้ผู้ใช้บริการเชื่อมั่นและเชื่อถือได้ว่าระบบ SSL เป็นระบบรับรองความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีที่สุด

ตัวอย่างบริษัทผู้ให้บริการ Email Hosting ที่ได้รับ SSL Certificate แบบ 256 Bit

- Link ไปยัง เว็บไซต์ บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด (ได้รับการรับรองความปลอดภัยแบบ 256 Bit จาก 
Geotrust) โดยสังเกตได้จาก Green Bar (ในส่วนชื่อเว็บไซต์)


บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

สมัคร อีเมล์สำหรับธุรกิจ (Corporate Email) ต่างกับ ฟรีอีเมล์ (Free Email) ทั่วไปอย่างไร

แบบไหนดีกว่ากัน ระหว่างฟรี กับ เสียเงินสร้างอีเมล์บริษัท
ความแตกต่างระหว่าง Free Email กับ Business email หรือ name@yourcompany.com

ฟรีอีเมล์(Free Email)  และอีเมล์สำหรับธุรกิจ(Corporate Email) ต่างกันอย่างไร

Free Email หลายคนคงเคยได้ยินว่า "ของฟรีไม่มีในโลก" (There is no free lunch) แต่จริง ๆ แล้วของฟรีมีในโลก แต่จะเหมาะสมดี หรือเสี่ยงกับการใช้งาน ของคุณรึเปล่า จะมีปัญหาต่อองค์กรธุรกิจของคุณรึเปล่า


ใครจะให้คำแนะนำ หรือ แก้ไขปัญหาให้คุณ เมื่ออีเมล์ของคุณมีปัญหา



ถ้าหากกรณีฉุกเฉินต้องใช้ Email เพื่อตอบลูกค้า แล้วดันเกิดมีปัญหาขึ้นมา ใครจะรับผิดชอบให้คุณ องค์กรของคุณอาจจะเสียเครดิต เสียความน่าเชื่อถือของลูกค้าไปก็ได้ นอกจากนี้ใน inbox ของคุณมีอีเมล์เป็นร้อยฉบับ ใครจะเป็นคนดูแลให้คุณ, สามารถคุยกับเขาได้ไหม และสอบถามปัญหาได้ไหม


ตัวอย่างผู้ให้บริการ ฟรีอีเมล์ (Free Email) 


      ฟรีอีเมล์ (Free Email) มีคนใช้มากมายทั่วโลก ซึ่งการใช้อีเมล์ฟรีส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียง เพื่อสมัครการใช้บริการต่างๆ เช่น Social Network ต่างๆ หรือใช้ติดต่อเรื่องส่วนตัว ซึ่่งส่วนมากแล้วไม่ได้นำมาใช้ในการติดต่อกับลูกค้า
     ดังนั้นผู้ใช้จึงควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร โดยเน้นทางด้านความน่าเชื่อถือ, ความไว้วางใจ และความปลอดภัยต่าง ๆ
 
     อีเมล์สำหรับธุรกิจ (Corporate Email) ในประเทศไทยเรามีผู้ให้บริการด้านนี้ไม่กี่ราย แน่นอนหล่ะ ถ้าคุณใช้บริการของพวกเขาเหล่านี้ คุณก็จะรู้แล้วว่าใครคือคนเก็บข้อมูลของคุณไว้ เมื่อเกิดปัญหา ใคร จะแก้ไขให้คุณได้ หรือช่วยเหลือคุณได้

ฟรีอีเมล์ (Free Email)  เวลามีปัญหาคุณจะปรึกษาใคร ? 

เป็นคำถามที่เรียบง่ายและคลาสสิก แต่หลายๆคนที่ใช้ฟรีอีเมล์ อาจจะหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้ด้วยซ้ำ เพราะก็ไม่รู้ว่าจะปรึกษาใครจริงๆ 

อีเมล์สำหรับธุรกิจ (Corporate Email)  อย่างน้อยผู้ให้บริการก็ต้องคอยให้คำปรึกษาคุณ !

แน่นอนว่าอีเมล์บริษัทโดยส่วนใหญ่ ถูกสร้างและดูแลโดยบริษัทผู้ให้บริการ Email Hosting ดังนั้นเมื่อคุณพบปัญหาการใช้งาน หรือต้องการความช่วยเหลือ บริษัทผู้ให้บริการ Email Hosting ย่อมที่จะต้องดูแลคุณเป็นพิเศษ เพื่อให้คุณเกิดความพึงพอใจต่อบริการมากที่สุด

สมัครอีเมล์สำหรับธุรกิจ (Corporate Email) มันทำให้บริษัทของคุณดูน่าเชื่อถือกว่ากันเยอะ

ด้วยการใช้อีเมล์เป็นชื่อบริษัทของตัวเอง
ทุกๆ ธุรกิจ ต้องการภาพลักษณ์ ที่ดี แล้วคุณมั่นใจหรือยังว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ



หากถามว่าคุณจัดตั้งบริษัท เพื่ออะไร, คำตอบข้อแรกๆเลย ก็คือความน่าเชื่อถือ, แต่บริษัทหลายๆรายกลับใช้ ฟรีอีเมล์ในการติดต่อธุรกิจ และมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้มีความสำคัญอะไร หากคุณกำลังคิดแบบนี้อยู่ ก็แสดงว่าคุณอาจคิดผิดเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์องค์กรของคุณ

เราเข้าใจเป็นอย่างดีว่าในการที่ก่อตั้งบริษัท คุณต้องระมัดระวังเรื่องการใช้เงินให้คุ้มค่าที่สุด หรือพูดง่ายๆ อันไหนฟรีได้ยิ่งดี หรือลงทุนให้น้อยที่สุด แต่มันเป็นคำตอบที่ไม่สมเหตุสมผลเสียเลย หากคุณใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการก่อตั้งบริษัท เช่น สร้างสิ่งปลูกสร้าง, เช่าออฟฟิต และจ้างพนักงาน เพื่อทำให้ธุรกิจคุณมีความน่าเชื่อถือ แต่ดันใช้ Free email ในการติดต่อธุรกิจ หากคุณมีแนวความคิดอย่างนี้แล้ว คุณอาจมองย้อนกลับกันในกรณีที่คุณเป็นลูกค้า คุณจะกล้าส่งข้อมูลต่างๆ ไปหาคุณหรือไม่ เพราะข้อมูลทางธุรกิจส่วนใหญ่ก็เป็นความลับอยู่แล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

Email Hosting/Server (อีเมล์โฮสติ้ง) คืออะไร และ ทำงานอย่างไร
ทำไม Email ที่ถูกแถมมากับเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ถึงมีปัญหา ?
อีเมล์บริษัท (Email For Business) คือ อะไร ที่ไหนดีที่สุด


นอกจากองค์กรหรือบริษัทของคุณจำเป็นต้องพิจารณาเลือกใช้ระบบอีเมล์ให้เหมาะสมแล้ว การเลือกใช้บริการในส่วนของ Web Hosting ก็สำคัญไม่แพ้กัน คลิ้กเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


"บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด"

ผู้ให้บริการ Email Hosting และ Web Hosting ที่ดีที่สุดในประเทศไทย

ที่ธุรกิจชั้นนำของประเทศเลือกใช้ คลิกเพื่ออ่านต่อ >>


วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

[Thunderbird] วิธีการย้ายข้อความอีเมล์ไปยัง INBOX ของบัญชีอีเมล์อื่น ๆ


วิธีย้ายข้อมูลอีเมล์ จาก Account หนึ่งไปยัง Account Email  อื่นๆ
How to copy inbox from Local folder to other accounts.


หลายๆคนคงเข้าใจและสามารถย้ายหรือ Copy ข้อมูลจาก Drive C: ไปยัง Drive D: ซึ่งหลักการทำงานก็เพียงแต่ Copy ไฟล์จาก Drive C: และนำไปวาง ยัง Drive D:  ซึ่งเรียนมาตั้งแต่มัธยม

แต่ในชีวิตคนทำงานมันไม่ง่ายอย่างนั้น สิ่งหนึ่งที่คนวัยทำงานใช้ คือ มีอีเมล์ส่วนตัวที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจ เช่น somyot.hr@gmail.com แต่วันดีคืนดี นายจ้างได้มีนโยบายใหม่ ให้ทุกคนใช้ Email ที่เป็นชื่อ @ บริษัทตัวเอง

แล้วเราจะย้าย (Copy) ข้อมูลจาก Email ปัจจุบัน ไปยัง Email Account อื่นๆ ได้อย่างไร

หลังจากที่ผู้เขียนได้แนะนำวิธีการ Backup emails ใน Inbox จากอีเมล์หนึ่ง ไปยัง Local Folder​(เครื่องตัวเอง) แล้วในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการ Copy emails ใน Local Folder(เครื่องตัวเอง) ไปยังอีก Account หนึ่ง มีวิธีการดังนี้

1. ไปยังโฟลเดอร์ที่เราต้องการจะ Copy ใน Local Folder และเลือกอีเมล์ที่ต้องการ Copy หรือกด Ctrl+A
Go to Local Folder, choose your folder which you want to copy emails, press Ctrl+A to select all emails
2. คลิกขวาที่ส่วนที่เลือก เลือก Copy to --> (บัญชีที่ต้องการย้ายไป) --> Inbox
Press right click on the selected part, choose Copy to --> (Your email) --> Inbox

3. ขั้นตอนนี้ข้อมูลต่างๆ จะค่อยๆ Download ไปยัง Inbox ในบัญชีที่เราเลือก
This process is downloading the emails to your account.


บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธี Backup อีเมล์ลงเครื่องตัวเอง ใน inbox โดยโปรแกรม Thunderbird

บทความโดย

Jarunya Ruangritkul
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

[Thunderbird] วิธี Backup อีเมล์ลง Local Folders (เครื่องตัวเอง)

How to backup inbox from email to Local Folder in Thunderbird

หลายๆคนคงรู้วิธี Backup ข้อมูลในเครื่องคอมลง Harddisk, Backup ข้อมูลลง CD แต่ยังมีคนจำนวนมากไม่ทราบจริงๆว่าเราจะสามารถ Backup หรือสำรองข้อมูล Email ตัวเองลงในเครื่องคอมได้อย่างไร


ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆคนคงเคยประสบปัญหาการใช้งาน คือ เมื่อเราเปลี่ยนอีเมล์ของตนเองเป็นอีก Account หนึ่ง แต่ไม่รู้วิธีว่าทำอย่างไร จะทำให้อีเมล์ใน Inbox ของ Account เดิมเหล่านั้น ย้ายมาไว้ใน Account ใหม่ที่เรากำลังจะเปลี่ยนไปใช้ หรือเพิ่งเริ่มต้นใช้งาน

วันนี้ผู้เขียนจึงอยากแนะนำวิธีการ Backup อีเมล์ใน inbox ไปยัง Local Folder (ลงเครื่องตัวเอง) จากโปรแกรม Thunderbird (เป็น Freeware) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการ Backup emails ใน Inbox ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไว้ก่อนที่จะ Copy emails ต่างๆ ไปยังอีเมล์อีก Account หนึ่ง ซึ่งมันไม่ยากอย่างที่คิดและคุณเองก็ทำได้

ขั้นตอน Backup อีเมล์ใน Inbox ไปยัง Local Folder (ลงเครื่องตัวเอง) มีดังนี้

1. คลิกขวาที่ Local Folder ในแถบแสดงอีเมล์ด้านซ้าย และกด New Folder...
Press right Click on "Local Folder", choose "New Folder..." 

2. ตั้งชื่อ Folder กด Create Folder
Name you folder and click "Create Folder"
3. โฟลเดอร์ที่เราตั้งจะปรากฏขึ้นใน Local Folder
The folder is created in Local Folder.

4. เลือก Inbox ของอีเมล์ที่เราต้องการ Backup ข้อมูล และกดเลือกอีเมล์ที่ต้องการ Backup หรือกด Ctrl+A
Choose "Inbox" from an email which you want to back up, select all email or press Ctrl+A
5. คลิกขวาตรงส่วนที่เลือก แล้วกด Copy to --> Local Folder --> (โฟลเดอร์ที่เพิ่งสร้างเมื่อสักครู่นี้)
Press right click on the part you chose, choose Copy to --> Local Folder --> (Created folder in Local Folder)

6. ขั้นตอนนี้อีเมล์ที่เราเลือกไว้ จะถูก Copy หรือ Backup มายัง Local Folder
The emails is downloading to the created folder in Local Folder.

บทความที่เกี่ยวข้อง (ต่อ)

บทความโดย
Jarunya Ruangritkul