วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วิธีปิด SSL บน iPhone/iPad

การใช้งานอีเมลสำหรับบริษัทในบางครั้ง เราสามารถที่จะปิด SSL ได้หาก การเชื่อมต่อแบบ SSL ใช้งานไม่ได้ชั่วคราว มาดูขั้นตอนการปิด SSL จาก iPhone กัน

1. ขั้นแรกไปที่ Settings



2. เลือก Passwords & Accounts



3. เลือก Email acccount ที่ติดตั้งไว้




4. เลือก Email acccount ที่ต้องการปิด SSL

 
เลือก Email acccount ที่ต้องการปิด SSL

5. เข้าไปที่หัวข้อ Advanced

คลิก 'Advanced'


6. ปิด SSL ใน Incoming Settings

ปิด SSL ในการตั้งค่าขารับ


7. เมื่อปิด SSL ฝั่งขารับ ให้เข้าไปที่ SMTP เพื่อปิด SSL ฝั่งขาออกด้วย


คลิกที่ Outgoing Mail Server (SMTP)


8. เลือก Server ที่จะปิด SSL (มักจะเป็น Primary Server)

คลิกที่ Server ที่ต้องการปิด SSL

9. ปิด SSL ฝั่งขาออก

ปิด SSL ในฝั่งขาออก จากนั้นกดปุ่ม Done


เมื่อปิด SSL แล้ว ให้ลองทดสอบรับ-ส่งข้อความ ก็จะใช้งานได้ตามปกติ

ผู้ให้บริการ Email server บน Cloud Server คุณภาพสูง

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการจดทะเบียนโดเมน .com

การจดทะเบียน Domain .com


การจดทะเบียน Domain name มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของก่อน ว่าชื่อโดเมนที่เราจะใช้งานนั้น มีใครใช้งานไปแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่มี เราก็สามารถจดทะเบียนโดเมนนั้นได้ แต่ทว่ามีคนจดชื่อโดเมนนั้นไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถไปจดซ้ำได้ จึงต้องมาการพิจารณาชื่อโดเมนเนมใหม่ เพื่อที่จะใช้งานโดเมนดังกล่าวได้

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการ Email hosting สำหรับบริษัท

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การกรอง Spam ด้วยการ Whitelist และ Blacklist ทำงานอย่างไร

การกรอง Spam ด้วยการกำหนด Whitelist และ Blacklist นั้น ถือเป็นระบบการกรองในขั้นต้นของระบบกรอง Spam โดยบางท่านอาจสงสัยว่าอะไรคือ Whitelist และ Blacklist ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการตัดสิน ว่าอีเมลใดสมควรเป็น Sender Blacklist

โดยส่วนใหญ่มาจากการที่มีการส่งเมลที่เป็น Spam จากไอพีไป ยัง Server อื่น ทำให้ผู้ดูแลทางฝังที่ได้รับเมล ทำการแจ้งไปว่า IP Hosting Email ที่ทำการส่งเมล์มาเป็นภัยคุกคาม จึงทำให้ติดอยู่ใน Spam quarantine ส่วน Whitelist นั้นถือเป็นอีเมลที่ปลอดภัยสามารถทำการรับ-ส่งเมลได้ปกติ หรือสามารถกำหนดในระบบ Admin ได้ว่าให้ Domainใดเป็น Blacklist หรือ Whitelist ได้เช่นกัน



หลักการทำงานทั่วไป คือ ระบบจะทำการกรองข้อความ Mail Server โดยตั้งค่ากำกับไว้ว่าถ้าเป็นเมล จาก IP ที่ติด Global Blacklist ก็จะตีกลับไม่สามารถเข้ามาได้

ระบบกรองสแปมที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถตั้งค่าให้ blacklist หรือ whitelist ผู้ส่งได้เอง โดยที่ไม่ต้องดูจาก Global blacklist ก็ได้ เพื่อใช้ในกรณีที่โดเมนผู้ส่งติด Global blacklisted แล้วมีความจำเป็นที่จะต้องส่งข้อความมายังปลายทางแบบด่วนจริง ๆ ก็สามารถตั้งให้โดเมนต้นทางเป็น Sender whitelist เพื่อที่จะรับข้อความจากต้นทางได้ทันที

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการอีเมลโฮสติ้งที่ดีที่สุดของไทย

หมายเลข IP กับ Hostname หรือ Domain name ต่างกันอย่างไร และ มีประโยชน์อย่างไร



          IP คือ หมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละเครื่อง ที่มีหน้าที่ระบุว่าตัวเลข IP นี้เป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ หรือ Server เครื่องนี้ โดย IP นั้นจะไม่ทางซ้ำกันได้เลย เพื่อที่เวลามีการรับ - ส่งข้อมูล จะได้ส่งข้อมูลเข้าไปยังเครื่องที่ถูกต้อง เช่น 123.45.67.890 ถ้าให้นึกภาพง่าย ๆ คือ เวลาส่งจดหมายเราก็ต้องรู้บ้านเลขที่ของผู้รับก่อน เพื่อที่บุรุษไปรษณีย์จะสามารถส่งจดหมายได้ถูกบ้าน



Hostname คือ ชื่อเรียกของ Hosting ซึ่งแปลงมาจาก IP Hosting ให้เป็นชื่อที่เข้าใจง่ายแทนที่จะจดจำเป็นค่าตัวเลข และอาจมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการนั้นหรือเป็นที่เข้าใจกันในองค์กร ยกตัวอย่าง Email: aa@thailandemailserver.com เมื่อเราจะตั้งค่าบน Client อย่างเช่น Thunderbird, MS Outlook จะต้องมีการใส่ค่า Hostmame เพื่อให้ Program รู้ว่าเราจะ Connect อีเมลดังกล่าวกับ Server ที่ไหน เช่น mail.thailandemailserver.com ในเชิงเทคนิค Hostname: mail.thailandemailserver.com ก็จะถูกชี้ค่าไปยัง IP ของ Mail Server ที่ใช้งานอยู่

ใครที่ยังไม่เข้าใจก็ให้มองว่า Hostname นั้นเปรียบเสมือนชื่อเล่น หรือฉายาไปก่อน เราสามารถมีฉายาได้มากกว่า 1 ชื่อ แล้วแต่ว่าเราจะตั้งชื่อ Hostname เป็นอะไรบ้าง เช่น mail.thailandemailserver.com, pop.thailandemailserver.com, imap.thailandemailserver.com หรือ smtp.thailandemailserver.com เป็นต้น



Domain name คือ ชื่อที่อยู่หลังสัญลักษณ์ @ เช่น sanook.com, kapook.com, maildee.com เป็นต้น
ซึ่งเราสามารถลงทะเบียนเป็นเจ้าของชื่อต่าง ๆ ได้ โดยมีค่าบริการรายปี เสมือนการเช่าบ้าน ถ้าไม่ได้มีการต่ออายุ ผู้อื่นก็มีสิทธิ์ใช้ชื่อโดเมนของเราแทนได้

โดเมนเนมเป็นหัวใจสำคัญในการทำเว็บไซต์ และทำระบบอีเมล ถ้าไม่มีโดเมนเนมก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย ดังนั้นผู้ที่ดูแลโดเมนเนมควรเป็นนิติบุคคลที่ไว้ใจได้ เพราะหากให้ใครคนใดคนหนึ่งจดทะเบียนโดเมนเนมให้ แล้วในอนาคตเราไม่สามารถติดต่อคน ๆ นั้นได้ พอโดเมนเนมหมดอายุเราก็มีสิทธิ์ที่จะ Lost ชื่อโดเมนของเราอย่างง่ายดาย

ชื่อโดเมนเนมที่ตั้งก็ควรจะเป็นชื่อที่ง่ายต่อการจดจำ เพื่อให้คนอื่นเข้าถึงง่าย ทำการตลาดได้ง่าย ๆ
มีความหมายในเชิงบวก


บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีทำเว็บไซต์ตัวเอง ให้โชว์เป็น Domain บนเว็บไซต์ และให้่คนอื่นดูได้Name Server (NS) หรือ DNS ใน Domain name (โดเมนเนม) คือ อะไร และ ทำงานอย่างไร

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการอีเมลโฮสติ้งที่ดีที่สุดของไทย

การย้ายผู้ดูแลโดเมน .com ทำอย่างไร


การย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

การย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เราต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการ Web/Email hosting ซึ่งในครั้งแรกที่เราใช้งาน ผู้ให้บริการมักจะจดทะเบียนโดเมนมาให้เราอยู่แล้ว เมื่อเรายกเลิกบริการต่าง ๆ ไป โดยที่ไม่ได้ย้ายโดเมนเนม อาจจะทำให้เราไม่สามารถรักษาสถานภาพความเป็นเจ้าของโดเมนเนมนี้ไว้ได้ เมื่อถึงวันที่โดเมนเนมหมดอายุ ชื่อโดเมนดังกล่าวก็จะกลายเป็นโดเมนว่าง ซึ่งใครก็มีโอกาสที่จะแย่งชื่อโดเมนเนมดี ๆ ไปจากเราได้

กล่าวถึงขั้นตอนการย้ายโดเมนเนม .com ที่มีความซับซ้อนพอสมควร และจำเป็นที่จะต้อง Contact กับผู้จดทะเบียนโดเมนเนมให้เราตั้งแต่แรกได้ด้วย
เรามาดู Flow ขั้นตอนการ Transfer Domain.com จากภาพนี้ และคำอธิบายใต้ภาพกัน




จากภาพเป็น Flow chart การ Transfer Domain.com ที่ผู้ให้บริการเป็น Whois.com อยู่แล้ว แล้วต้องการย้ายไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ที่เป็น Whois เหมือนกัน ก็ให้ดูตาม Flow ที่กล่องที่เขียนว่า 'Whois/RS'
แต่ถ้าจะย้ายไปที่ Reseller อื่น ๆ ก็ให้ไปตาม Flow ที่เขียนว่า 'Other' โดยไล่เรียงจากเส้นสีน้ำเงินเป็นขั้นตอนอย่างละเอียด


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

รับติดตั้ง email hosting สำหรับองค์กรบน Data center ที่เสถียรที่สุด

ตัวอย่างการเพิ่มค่า A Record ในส่วน DNS ใน DirectAdmin

เริ่มจากเข้าไปที่ DNS Management ใน Control Panel ของโดเมนนั้น ๆ ก่อน


การเพิ่มค่า A Record จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วน Name และ Value โดยในส่วนของ Name เป็นช่องสำหรับใส่ Hostname ส่วนของ Value เป็นช่องสำหรับใส่ IP Address เมื่อใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กด Add

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

รับติดตั้ง email hosting สำหรับองค์กรบน Data center ที่เสถียรที่สุด

ตัวอย่างการเพิ่มค่า CNAME ในส่วน DNS ใน DirectAdmin

การตั้งค่า DNS เริ่มจากเข้าไปที่ DNS Management ใน Control Panel ของโดเมนนั้น ๆ ก่อน



การเพิ่มค่า Cname record จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วน Name และ Value โดยในส่วนของ Name เป็นช่องสำหรับใส่ Hostname เช่น imap, mail, smtp 

ส่วนของ Value เป็นช่องสำหรับใส่ค่า CNAME โดยสังเกตรูปแบบข้างบนด้วยว่ามีการใส่ข้อมูลรูปแบบใด เพราะหน้า Control Panel บางค่ายอาจมีการใส่เครื่องหมาย . ต่อท้ายค่า Value ด้วยถ้าเราไม่ได้ใส่ข้อมูลตามรูปแบบที่มีอยู่แล้วจะทำให้กำหนดข้อมูล DNS ไม่ถูกต้อง เมื่อใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กด Add


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

รับติดตั้ง email hosting สำหรับองค์กรบน Data center ที่เสถียรที่สุด

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ค่าบริการ Email Server สามารถหัก ณ ที่จ่ายได้ไหม




ค่าบริการของ Email Server สามารถนำมาใช้ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ โดยถือเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในหมวดของค่าบริการ หัก 3% (ค่าบริการ ในที่นี่หมายถึง ผลงานที่ได้ ไม่ได้ออกมาเป็นรูปร่างหน้าตา เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต)

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

บริการ Email Server สำหรับองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ต้องการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม .co.th ต้องใช้เอกสารใดบ้าง


การย้ายผู้ดูแล Domain.co.th สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • Domain ต้องจดทะเบียนเกิน 60 วันขึ้นไป จึงจะทำการย้ายได้
  • Domain ที่จะทำการย้าย ต้องยังไม่หมดอายุ และเหลือวันที่จะหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน
  • หาบริษัทที่ดูแลโดเมนและโฮส รายใหม่ที่ต้องการใช้บริการ
  • แจ้งความต้องการใช้บริการกับโฮสรายใหม่ และยื่นเอกสารประกอบการย้ายผู้ดูแล Domain จนกว่าจะมีการยืนยันว่าโดเมนของเราถูกย้ายมาที่ผู้ให้บริการรายใหม่แล้ว

ในการจะย้ายผู้ดูแล Domain.co.th จำเป็นต้องใช้เอกสารที่มีผลทางกฏหมาย เนื่องจากเป็นการจดโดเมนในนาม หจก. บจก. บมจ.  โดยเอกสารเหล่านั้นประกอบด้วย

  • หนังสือรับรองนิติบุคคลหน้าแรกโดยต้องมีลายเซ็น ชื่อและตำแหน่งตัวบรรจงของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท (ชื่อของผู้มีอำนาจลงนามต้องเป็นไปตามข้อที่ 3 ในหนังสือรับรองนิติบุคคล)


  • เอกสารแจ้งการขอเปลี่ยนผู้ดูแล Domain โดยทางบริษัทผู้ให้บริการใหม่จะแนบไฟล์ส่งให้ผู้รับบริการใส่ลายละเอียดหัวกระดาษ ชื่อบริษัท ลายเซ็น ระบุชื่อตำแหน่งตัวบรรจงของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท เพื่อนำไปแจ้งต่อบริษัทผู้ให้บริการเก่า

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์​ จำกัด

Email hosting สำหรับองค์กร คุณภาพดี ราคาประหยัด

เอกสารสำหรับใช้ในการจดโดเมน .co.th มีอะไรบ้าง



หากเราต้องการ อีเมล @domainname.co.th อันดับแรกท่านจะต้องจดทะเบียน Domain ในนามของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท หรือ บริษัท (มหาชน) ที่มีที่ตั้งของบริษัทอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น (ส่วนนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย)จึงสามารถจด Domain.co.th ได้

โดยเอกสารที่ใชประกอบการจด Domain.co.th ประกอบด้วย

          -  เอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล (ที่มีอายุไม่เกิน 60 วัน ดูได้จากวงกลมสีแดงตามรูป)
      


ส่วนการตั้งชื่อโดเมนนั้น มีหลักการในการใช้ชื่อดังนี้

  • ชื่อโดเมนที่เลือกจะต้องใช้อักษรที่มาจากชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ 
  • ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะต้องประกอบด้วยอักษรหรือตัวเลข (a-z, 0-9) อย่างน้อย 2 ตัวอักษร แต่ไม่      เกิน 63 ตัวอักษร                 
  • ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้อง เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท หรือเป็นตัวย่อก็ได้ ยกตัวอย่าง
    บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัดต้องการจดทะเบียนโดเมน ควรใช้ชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า technologyland.co.th    หรืออาจจะเป็น tl.co.th ก็ได้เช่นกัน เพราะถือเป็นอักษรย่อของชื่อบริษัท 
  • ไม่สามารถนำคำที่ไม่มีอยู่ในชื่อของบริษัท มาใช้ตั้งโดเมนได้ ยกตัวอย่าง technologyland-           thailand.co.th ชื่อนี้จะไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจาก คำว่า thailand ไม่มีอยู่ในชื่อของบริษัท

บทความโดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ จัด ทำอีเมล์สำหรับบริษัท.co.th คุณภาพสูง

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานอีเมล ก่อนลง Windows OS ใหม่



สำหรับเครื่องที่มีอีเมลอยู่ใน MS Outlook อยู่แล้ว ให้ตรวจสอบประเภทบัญชีว่าเป็น POP3 อยู่หรือไม่
ถ้าหากเป็น IMAP อยู่แล้ว ข้อความพวกนี้จะไม่ได้ถูกสำรองไว้ที่โปรแกรมอยู่ ก็อาจจะสำรองข้อมูลเฉพาะในส่วนของ Contacts เท่านั้น จากนั้นก็ทำการลง OS ใหม่ได้ทันทีเลย

แต่หากประเภทบัญชีเป็น POP3 อยู่ให้ทำการ Backup อีเมล ก่อนที่จะลง OS ใหม่ เพื่อที่จะได้เก็บข้อมูลสำรองไว้เป็นไฟล์ .pst ก่อน จากนั้นก็ Copy ไฟล์ .pst ไปไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็น Flash drive หรือ External Harddisk ก็ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการอีเมสโฮสติ้งสำหรับบริษัทที่ดีที่สุด

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Domain.com ต่างกับ Domain.co.th อย่างไร

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า Domain.com และ Domain.co.th มีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้หลักอะไรในการเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมธุรกิจ หรือองค์กรของเรามากที่สุด ครั้งนี้เราจะมาอธิบายกันว่าทั้งสองอย่างนี้ความแตกต่างกันอย่างไร
       

           Domain.com ใคร ๆ ก็สามารถจดได้ โดยที่ไม่ต้องมีเอกสารประกอบการจดโดเมนแต่อย่างใด
ซึ่งส่วนใหญ่จะจดแบบนี้กัน เพราะเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก
วิธีสมัครอีเมล .com / .co.th



           Domain .co.th ซึ่งมีเพียงบริษัท THNIC เท่านั้นที่ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ co.th
ผู้ที่สามารถจดโดเมนในชื่อนี้ได้ ต้องเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งในการจดโดเมนภายใ้ต้ .co.th จำเป็นต้องใช้เอกสารประกอบ คือ เอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล (ที่มีอายุไม่เกิน 60 วัน) และต้องมีลายเซ็น พร้อมตราประทับของผู้มีอำนาจ (ตามเงื่อนไขในข้อที่ 3 ของหนังสือรับรอง)


จากบทความข้างต้นนี้ทำให้เห็นได้ว่าการเลือกใช้ Domain.co.th ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือให้กับบุคคลภายนอก ว่าเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด มีที่ตั้งและการประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทยอยู่จริง ๆ ส่วน Domain.com นั้น เหมาะกับองค์กรหรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการให้เป็นที่รู้จักหรือมีความเป็นมาตรฐาน ต้องการช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น ซึ่งจะจดโดเมนได้ง่ายกว่า .co.th มาก

ในเชิงเทคนิคหาก Domain ที่จดเป็น .co.th สามารถย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมได้ง่ายกว่า .com เพราะสามารถใช้หนังสือรับรองบริษัทฯ และเอกสารขอเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมนเนม โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ดูแลโดเมนเนมปัจจุบันให้ทราบ ส่วนการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม .com จำเป็นต้องติดต่อกับ Contact หรือ Domain holder ให้ได้ เพื่อที่จะขอค่า Control panel ของโดเมนมาดำเนินการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

บทความที่น่าสนใจ

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียน Email @ Domain .co.th
วิธีสมัครและจดทะเบียน อีเมล์(Email) @ .co.th เพื่อใช้ในบริษัทของตนเอง และ ราคาวิธีสมัครอีเมล์(Email)บริษัท ให้เป็น .com/.co.thวิธีทำอีเมล์ระบบ (Email Server) ภายใต้ชื่อบริษัท Domain ของตัวเองทั้ง .com และ .co.th


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email hosting สำหรับ Enterprise


การตั้งค่า Whitelisted domain เพื่อให้ได้รับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้ง


ปัญหารับอีเมลจากผู้ส่งไม่ได้

สาเหตุหลักมักเกิดจาก Server ของผู้ส่งติด Blacklisted หรือว่า DNS ของ Domain ผู้ส่งติด Blacklisted ซึ่งจะทำให้ตัวกรองของ Server ผู้รับนั้น ไม่กล้ารับอีเมลจากผู้ส่งที่ติด Blacklisted

ถ้าเราต้องการรับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้งทำอย่างไร?

การเพิ่ม Domain ของผู้ส่งให้เป็น Whitelisted จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ โดยผู้รับต้องมีตัวกรองจัดการที่ดี สามารถเพิ่มโดเมน หรืออีเมล เป็น Sender whitelist ได้ แม้ว่าผู้ส่งจะใช้ Server ที่ติด Blacklisted ส่งเข้ามา Server ผู้รับก็จะมองข้ามข้อนี้ไป เนื่องจากเราตั้งค่าให้โดเมนผู้ส่งเป็น Sender whitelist แล้ว ในทุก ๆ ครั้งที่มีการส่งอีเมลจาก Sender ดังกล่าว ผู้รับก็จะสามารถรับข้อความได้ทุกฉบับ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้เราไม่ได้รับอีเมลจากผู้ส่ง เช่น ปัญหา Bandwidth ของ Server ผู้ส่งเต็ม ทำให้อีเมลไปคิวใน Sender's server ซึ่งในส่วนนี้จะใช้วิธี Add whitelist ไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาของ Server ต้นทางเอง

Technology Land Co., Ltd.

Email hosting สำหรับองค์กร บริการที่ดีที่สุด

ระบบกรอง Spam ที่ดีควรเป็นอย่างไร

    
หน้าที่หลักของ ระบบกรอง Spam คือ คัดกรองเอาแต่เนื้อหาที่เป็น Spam ออกไป ให้เหลือแต่ Email ที่ต้องการ หลักการทำงานคล้ายเครื่องกรองอากาศที่จะกรองเฉพาะของเสียออก แล้วนำเอาเฉพาะอากาศที่บริสุทธิ์ผ่านเข้าไปเท่านั้น ดังนั้นระบบกรอง Spam ที่ดีนั้นควรมีคุณสมบัติดังนี้


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

บริการ Email hosting สำหรับธุรกิจ ทั้ง SME และ Enterprise