วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[MD OX] วิธีการเช็ค Email quota หรือ Disk storage บนเว็บเมล์

ผู้ใช้งานบางราย เมื่อใช้งานอีเมล์ไปเรื่อย ๆ และไม่เคยตรวจสอบความพื้นความจุของอีเมล์ เมื่อพื้นที่ของผู้ใช้งานเต็ม มักจะเกิดปัญหาที่ว่า ทำไมจู่ ๆ รับอีเมล์ไม่ได้ อีเมล์ไม่เข้า โดยที่คุณไม่รู้ตัว แล้วอาจจะคิดว่าเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น อินเตอร์เน็ตมีปัญหา ระบบอีเมล์ของผู้ให้บริการเกิดความผิดปกติ การตั้งค่าบนโปรแกรม MS Outlook ผิด โดยที่มองข้ามประเด็นนี้ไปโดยปริยาย

ดังนั้นผู้ใช้งานทุกคนควรหมั่นตรวจสอบพื้นที่ความจุของอีเมล์ด้วยว่า มีพื้นที่ใช้งานไปเท่าไหร่ และเหลือพื้นที่ใช้งานอีกเท่าไหร่ เผื่อว่าอนาคตหากอีเมล์ของเรามีปัญหา เราก็สามารถตรวจสอบเองเบื้องต้นได้ว่า พื้นที่อีเมล์ ของเรายังมีเหลืออยู่ ซึ่งเราก็จะได้แก้ปัญหาที่สาเหตุอื่น ๆ แทน

เมื่อเข้าสู่ระบบมา Email quota จะแสดงพื้นที่ที่ใช้งานไปอยู่ด้านล่างซ้ายของหน้าต่าง ดังภาพ

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการอีเมล์ อันดับ 1 ของประเทศไทย

[MD OX] การเช็คอีเมล์ฉบับล่าสุด (Get Mail หรือ Send/Receive messages)

การตรวจสอบอีเมล์ที่เข้ามาฉบับล่าสุด ในโปรแกรม Email Client บางตัว จะมีปุ่มที่เรียกว่า "Get Mail", "Send/receive" สำหรับหน้าเว็บเมล์ คือ ปุ่ม Refresh ดังภาพ

ใช้เมื่อเราต้องการเช็คอีเมล์ที่ระบบอาจจะยังไม่ได้แสดงผลอีเมล์ขาเข้าขึ้นมา
เป็นการ Refresh อีเมล์

ระบบ Email Server อันดับ 1 ของประเทศไทย
โดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[Thunderbird] วิธีตั้งค่า การลบข้อความในอีเมล์ ให้อีเมล์ไม่มีวันเต็ม



การตั้งค่าให้ทิ้งข้อความบน Server ไว้ เป็นค่า Default ของโปรแกรมอยู่แล้ว เพราะเมื่อเวลาที่เราตั้งค่าแบบ POP บนโปรแกรม Thunderbird จะทำการ Copy ข้อความในอีเมล์ต่าง ๆ ของเรา ลงบน Thunderbird แต่ผู้ใช้บางคน ใช้งานอีเมล์หนัก ๆ แต่มีพื้นที่ความจุน้อย แน่นอนว่าจะเกิดปัญหา คือ อีเมล์เต็ม ทำให้รับอีเมล์จากผู้ส่งไม่ได้อีกต่อไป หรือจะต้องมาคอยลบข้อความใน Inbox บ่อย ๆ ก็ทำให้เราเกิดความไม่สะดวกในการใช้งานได้  ดังนั้นจึงอยากแนะนำให้ผู้ใช้ตั้งค่า ให้ข้อความเ่ก่า ๆ ของเราถูกลบไปบ้าง เพราะการตั้งค่าแบบ POP ก็เป็นการดึงข้อความจาก Server ลงมาที่เครื่องเราอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเก่า ๆ ไว้ให้เปลืองเนื้อที่ความจุของ Inbox

คลิกขวาที่ชื่ออีเมล์ ที่ต้องการตั้งค่า เลือก Settings...

เลือก Server Settings ในหัวข้อ Leave messages on server ให้ตั้งค่า For at most 30 days
จากนั้นกด OK

เพียงเท่านี้อีเมล์ใน Inbox ของเราก็จะไม่มีวันเต็มตลอดไป

[Thunderbird] วิธีสร้างโปรไฟล์อีเมล์ใหม่



การสร้างโปรไฟล์อีเมล์ใหม่ อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ใช้ที่ใช้โปรแกรม Thunderbird ร่วมกับอีเมล์ของบริษัท และอีเมล์ส่วนตัว แล้วต้องการแยกออกจากกัน ไม่ให้เรื่องานกับเรื่องส่วนตัวมาปนกัน หรือกรณีเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ มีผู้ใช้งานร่วมหลายคน (สาธารณะ) เราก็สามารถแยกโปรไฟล์เพื่อความสะดวกในการใช้งานให้ง่ายยิ่งขึ้นได้ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

ไปที่เมนู Start --> Run
และพิมพ์ thunderbird.exe -p จากนั้นกด OK

คลิก Create Profile...

กด Next

ใส่ชื่อ Profile ที่ต้องการ จากนั้นกด Finish

โปรไฟล์จะถูกสร้างขึ้นมาแล้ว ให้เอาเครื่องหมายถูกที่ Don't ask at startup ออก
กด Start Thunderbird

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Colocation Server กับ Dedicated email server ต่างกันอย่างไร ?

Colocation Server ต่างกับ Dedicated Server อย่างไร และ จะเลือกอันไหนดีกว่ากัน

Colocation Server ต่างกับ Dedicated Server อย่างไร ?

หลายๆคนสับสนว่าการซื้อบริการในรูปแบบ Colocation Server กับ Dedicated Server มีความแตกต่างกันอย่างไร, และ จะเลือกใช้บริการแบบไหนดี

ห้อง Data Center เพื่อวาง Colocation และ Dedicated Server


Colocation Server คือ การที่เรานำเครื่อง Server ที่เราซื้อหรือประกอบเองเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นเครื่อง ซึ่งจะเป็นในรูปแบบ Tower (คล้ายๆ กับ Case PC ตามบ้าน) และ ในรูปแบบ Rack (เป็นเครื่อง แบนๆ แนวนอน) ไปฝากวางใน Internet Data Center 

การใช้งาน Colocation Server ผู้ให้บริการ Data Center
จะมีสายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, และระบบไฟพร้อมใช้งาน


Dedicated Server คือ การที่เราไปเช่าเครื่อง Server ที่ผู้ให้บริการนั้นประกอบแล้วจัด Spec ไว้เรียบร้อย และ วางใน Data Center เรียบร้อย, หรือพูดง่ายๆ คือ เครื่องพร้อมใช้งาน, โดยเราแค่มีหน้าที่ไปจ่ายค่าบริการรายเดือน เพื่อให้มีสิทธ์ในการเข้าไปบริหารจัดการตัว Server ที่เค้าจัดเตรียมไว้ให้

Colocation Server เหมาะกับใคร

ลงไปใน Server
การใช้ Colocation Server สามารถปรับแต่ง Hardware ได้ตามต้องการ 


  • คนที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Hardware, เพราะคุณจะสามารถจัดประกอบ Server ได้ตามต้องการ
  • คนที่มีความรู้ความเข้าใจในด้าน Server จริงๆ
  • มีเวลาที่จะเดินทางไป Data Center ได้ หากมี Hardware ตัวใดตัวหนึ่งพัง, เพราะ Data Center เค้าไม่ได้มีความรับผิดชอบในส่วนนี้
  • ควรมีเครื่อง Server สำรองไว้ด้วยอย่างน้อย 1 เครื่อง, เผื่อในกรณีที่ Hardware หลักๆ เสีย แล้วซ่อมไม่ได้ เช่น Mainbord จะได้มีเครื่องสำรองใช้ได้ทันที

Dedicated Server เหมาะกับใคร 

  • ผู้ที่ไม่ค่อยมีความรู้ด้าน Hardware ที่เกี่ยวข้องกับ Hardware ของ Server, ซึ่ง Hardware ของ Server จะถูกผลิตและมีความคงทนรวมถึงความเร็วมากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป
  • ผู้ที่ไม่ต้องการรับผิดชอบ Hardware, เพราะหากใช้บริการ Dedicates Server ผู้ให้บริการต้องเป็นผู้รับผิดชอบเปลี่ยน Hardware ให้
  • ไม่ต้องเตรียมเครื่อง Server สำรองให้หนักใจ เพราะผู้ให้บริการเค้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้

จะใช้ Dedicated Server และ Colocation Server ใช้ทำอะไร ?

การวาง Server แบบแนวนอน (Rack) ไว้ในตู้ Rack หรือตู้ที่เก็บ Server


  • ใช้ทำ Email Server
    ผู้ที่ใช้งาน Colocation และ Dedicated Server, มักจะนำมาประยุกต์ในการใช้งาน เพื่อลงระบบอีเมล์ลงไปใน Server ทำให้เครื่องนั้นเป็น Email Server โดยทันที
  • ต้องการเก็บความลับของข้อมูลไว้สูงสุด
    องค์กรขนาดใหญ่มากๆ เช่น ธนาคาร มักจะใช้วิธีการนี้ในการทำ Mail Server ขององค์กรตัวเอง, เพราะ ไม่มีใครเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ แม้ บริษัทผู้ให้บริการ Data Center เพราะเค้าไม่รู้ Password ของเครื่องคุณจริงๆ
  • เมกะโปรเจ็ก
    มีหลายองค์กรมักเข้าใจผิดว่า โปรแกรมที่เราใช้อยู่หรือเว็บของเราที่มีจำนวนคนเข้าเป็นพันๆ คน หรือ แม้แต่ระบบอีเมล์ ที่มีผู้ใช้งานในหลักร้อย, ต้องลงทุนทำ Colocation กับ Dedicated Email Server เอง, หากมันไม่ได้ใหญ่มากจริงๆ ไม่ควรใช้วิธีการเหล่านี้, เพราะทั้งใช้เงินจำนวนมาก แถมยังต้องมาดูแล Server เอง

ข้อเสียของการใช้งาน Colocation และ Dedicated Server

ไม่เหมาะกับองค์กรที่มีขนาดเล็ก-กลาง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการทำ Colocation กับ Dedicated Server นั้นคุณต้องมีความพร้อมในด้านบุคลากรเป็นอย่างมาก, และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในระดับ Hardware และ Server เชิงลึก, หากพูดกันจริงๆ ในประเทศไทยนั้นมีน้อย, เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มีหลักสูตรนี้, รวมถึงบุคลากรด้านนี้จะมีค้าจ้างที่สูงกว่าพนักงานทั่วไปเป็นอย่างมาก, ดังนั้นคุณควรใช้ความรอบครอบในการตัดสินใจ, เพราะยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถใช้งาน แทน ที่จะต้องมานั่งเฝ้าดูแล Server เอง

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server อันดับ 1 ของประเทศไทย

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Colocation mail server หรือ รับวาง Server คือ อะไร ?


Colocation EMail Server คือ อะไร และ เหมาะสมกับองค์กร หรือ บริษัทคุณมากแค่ไหน ? 

Colocation Server หรือ รับวาง Server คือ อะไร ?

Colocation Server หากเปรียบเสมือนคำพูดง่ายๆ คือ การที่คุณเอาเครื่อง Server  ทั้งเครื่องของคุณแบกไปฝากไว้ในห้อง Internet Data Center (IDC) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัทให้บริการรับฝากเครื่อง Server , ซึ่งเรียกว่า "บริการ Colocation Server" นั่นเอง, เพราะมันคงไม่คุ้มที่บริษัทหรือองค์กรของคุณต้องมานั่งสร้างห้อง  Data Center หลายล้านบาท เพื่อ วางเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียวหรือไม่กี่เครื่อง, ซึ่งหากนำไปฝากไว้ที่ห้อง Internet Data Center (IDC) ซึ่งห้องดังกล่าว มีทั้งการควบคุมอุณภูมิ, สายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, มีความปลอดภัย, ระบบสำรองไฟ (UPS) เพียงคุณ แบก Server ไป, ผู้ให้บริการก็จะนำไปวางและต่อสายให้ทันที, โดยการคิดค่าใช้จ่ายมักคิดเป็น รายเดือน ตั้งแต่ 3,000 - 50,000 บาท/เดือน/1U ขึ่งอยู่กับความอลังการของ Data Center นั้นๆ

พื้นที่ขนาด 1 U, สำหรับการวาง Server 1 เครื่อง

หรือ ห้องดาต้าเซ็นเตอร์
องค์ประกอบของ Internet Data Center (IDC) สำหรับวาง Colocation Server 1 U


Colocation Server เอาไว้ทำอะไร ?

  • Mail Server องค์กรขนาดใหญ่มักทำ Mail Server ในรูปแบบ Colocation mail server
  • Data Backup  องค์กรขนาดใหญ่ หรือ แม้แต่องค์กรระดับโลก อาจจะมีความจำเป็นในการ Backup ข้อมูลไว้ยัง Server หลายๆที่ เพื่อลดความเสี่ยง, หาก Data Center ที่ใดที่หนึ่งมีปัญหา โดยเฉพาะ สายการบิน, ธนาคาร เป็นต้น
  • Project ขนาดใหญ่, การใช้งาน Colocation อาจจะถูกใช้งานโดยทีมโปรแกรมเมอร์ที่ต้องการ Run Project ขนาดใหญ่มากๆ เช่น ระบบเว็บไซต์ที่มีคนเข้ามหาศาล ( > 1,000,000 คน/วัน) , ระบบ ERP หรือ CRM โดยต้องการใช้ทรัพยากรของ Server เครื่องเดียวทั้งหมด อย่างเต็มที่ และ ไม่ต้องการไปแบ่งปันกับใคร

Colocation กับ EMail Server 

โดยส่วนมากแล้วผู้ที่ใช้บริการ Colocation หรือ เอา Server ทั้งเครื่องไปฝากที่ Data Center มักจะถูกนำมาทำเป็น "Email Server" โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ๆ ที่ไม่ต้องการนำอีเมล์ของตัวเองไปปนกับ Server คนอื่น, เพราะการวาง Colocation วิศวกรขององค์กร สามารถลง OS รวมถึง ระบบ Mail Server ที่ต้องการได้่ และ มีความเป็นความลับของข้อมูลสูงกว่า, เพราะแม้แต่บริษัทที่เป็นผู้ดูแล Data Center ก็ไม่สามารถ Access หรือ เข้าถึง Server ดังกล่าวได้ เพราะ ไม่รู้ Password รวมถึงรายละเอียดของ Software ใน Server

ข้อดีของการทำ Colo Mail Server เอง

  • เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่มากที่มีพนักงานต้องใช้งาน Email > 1,000 คน ขึ้นไป
  • คุณสามารถปรับแต่ง Software หรือ ทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ เพราะ Server เป็นของคุณ
  • คุณไม่ต้องมานั่งทำ Data Center เองด่้วยราคาหลายสิบล้านบาท
  • มีคนคอย Mornitor ระบบไฟฟ้า ระบบอินเตอร์เน็ตให้ (ที่เหลือเป็นหน้าที่ของคุณ)

ข้อเสียของการทำ Colocation Email Server 

  • คุณต้องมี พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ ด้าน Email Server อยู่ในองค์กรจริงๆ เพราะการให้บริการ Colocation นั้นเปรียบเสมือนการเช่าที่ดินวางเครื่อง แต่ที่เหลือทั้งหมดเป็นหน้าที่ของวิศวกรของบริษัทคุณที่ต้อง Remote เข้าไปทำ
  • ต้องมั่นใจว่าองค์กรของคุณเป็นองค์กรขนาดใหญ่จริงๆ ถึงทำ Colo Mail Server เอง
  • คุณต้องซื้อ ทั้ง Software: OS, Mail Server, Antivirus ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
  • คุณต้องมั่นใจว่าคุณเอาอยู่, ถึงแม้ว่า Datacenter ที่มีมาตรฐานจะไม่มีปัญหา ไฟดับ, ไฟไหม้, เน็ตหลุด "แต่ถ้า Server ติดไวรัส" คุณต้องเป็นผู้เข้าไปลง Software และ ลบมันเอง
  • คุณต้องมีเงินมากพอ เพราะคุณต้อง ซื้อ Server เอง, รวมถึงต้องไปจ่ายรายเดือนให้ Internet Data Center ด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง



บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server อันดับ 1 ของประเทศไทย

[MD OX] วิธีเพิ่มลายเซ็น (Signature) จากหน้าเว็บเมล์

การตั้งค่าลายเซ็น (Signature) จากหน้าเว็บเมล์ มีวิธีการดังนี้

เข้าสู่ระบบ และไปที่เมนู Configuration --> Email --> Signature
จากนั้นกดปุ่ม Add

ใส่ข้อความที่เป็นชื่อ ที่อยู่ และเบอร์ติดต่อขององค์กร จากนั้นกด OK

กดปุ่ม Save