แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา domain จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา domain จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567

วิธีสร้าง API และ JSON สำหรับย้ายข้อมูล

  Section 1: สร้าง Google Service Account


  1. เข้าสู่ระบบ Google Workspace ด้วยสิทธิ์ Super Admin
  2. เปิด Tab ใหม่ และเข้าสู่หน้า Service Accounts
  3. เลือกปุ่ม CREATE PROJECT เพื่อสร้าง Project ขึ้นมา

  4. ใส่ชื่อ Project name และเลือก Organization ให้ถูกต้อง และกด CREATE

  5. จากนั้นระบบจะเข้าสู่หน้า Project ที่เราสร้างขึ้น ให้เลือก + CREATE SERVICE ACCOUNT เพื่อสร้าง Service account

  6. ใส่รายละเอียด Service account name และ Service account ID จากนั้นกด CREATE AND CONTINUE และเลือก DONE

  7. จากนั้นระบบจะทำการสร้าง Service account ได้ตามรูป

  8. เลือกเข้าไปยัง Service account ดังกล่าว และคัดลอก Unique ID ไว้ จากนั้นไปที่ Tab KEYS ด้านบน

  9. เมื่อเข้าสู่หน้า KEYS ทำการเลือก ADD KEY > Create new key และเลือก JSON เพื่อสร้าง Key เพื่อใช้สำหรับการย้ายข้อมูล
    จากนั้นจะได้ไฟล์นามสกุล .json เพื่อใช้สำหรับขั้นตอนในอนาคตถัดไป


Section 2: เปิดใช้งาน API เพื่อใช้งานสำหรับ Project ที่สร้างขึ้น

  1. เข้าสู่หน้า  Developer page for API Library เพื่อเปิดสิทธิ์การเข้าถึง Service ต่างๆ
  2. เมื่อเข้าสู่หน้า API Library ในกรณีที่มีหลาย Project ใตรวจสอบ Project ให้ถูกต้อง ให้เป็น Project ที่สร้างขึ้นใน Section ที่ 1

  3. ให้ค้นหา Service ต่อไปนี้ และทำการ Enable ให้ครบทุกๆ Service
    • Gmail API
    • Google Calendar API
    • Contacts API
    • Google People API


Section 3: ให้สิทธิ์ Service account เข้าถึง Google Tenant
  1. เข้าสู่หน้า  Google Workspace Admin page
  2. เลือกเมนู Security > API controls > Domain wide delegation > MANAGE DOMAIN WIDE DELEGATION

  3. เลือก Add new และใส่ Client ID ซึ่งเป็นค่า Unique ID ที่ได้จากขั้นตอนการสร้าง Service account
    หลังจากนั้นให้ใส่ค่าด้านล่างโดย Copy วางทั้งหมดได้เลยในช่อง OAuth scopes
    https://mail.google.com/,https://www.googleapis.com/auth/calendar,https://www.google.com/m8/feeds/,https://www.googleapis.com/auth/gmail.settings.sharing,https://www.googleapis.com/auth/contacts

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

(SpamGuard) วิธีการค้นหา Sender แบบเป็นชื่อ Domain ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อ Email เต็มๆ


เปิด Advance mode ก่อน


ในส่วนของ Log Search จากภาพประกอบให้ใส่เงื่อนไข
Sender contains scb.co.th ในที่นี้หมายความว่าให้ค้นหา Email ขาเข้าทั้งหมดที่ Sender มีคำว่า scb.co.th ซึ่งปกติเราต้องมาพิมพ์ชื่อ  email เต็มๆ เช่น abc@scb.co.th ซึ่งบางครั้งมันสะกดยาก หรือ Uer ให้ข้อมูลที่ไม่เต็มมา

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วิธีย้าย Domain ภายใต้ SpamExperts มาอยู่ภายใต้การดูแลของ Technologyland

Log in to the SpamExperts interface

1.Click "Overview"
2.Select the domain(s) that need to be transferred by selecting the checkbox next to the domain(s)
3.Use the drop down menu and choose "Transfer to an admin"


4.Set the destination administrator's username in the box provided
(As specified by Technologyland,)
5. click "Apply"

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

การย้ายผู้ดูแลโดเมน ac.th มีขั้นตอนอย่างไร

ย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมมาให้ทางเราดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้า .ac.th

เนื่องจาก Domain ac.th ผู้ถือครอง หรือเจ้าของโดเมนนั้น คือนิติบุคคลในรูปแบบสถานศึกษา ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงผู้ดูแล Domain นั้นต้องใช้เอกสารที่มีผลทางกฏหมาย โดยต้องมีเอกสาร 2 ฉบับนี้ในการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

สำหรับการโดเมนเนม ac.th มาให้ทางบริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด เป็นผู้ดูแลแทนนั้น สามารถทำเอกสารตามตัวอย่างนี้ได้เลย หรือสามารถขอแบบฟอร์มจากทางบริษัท ฯ ได้ทางอีเมล

แบบฟอร์มเอกสารขอเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมนเนม ac.th



สิ่งที่ต้องแก้ไขจากแบบฟอร์ม

1. ใส่หัวจดหมายของบริษัทหรือหน่วยงาน
2. ลงวันที่เอกสาร
3. ระบุชื่อบริษัทที่ต้องการเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมนเนม
4. ระบุชื่อโดเมนเนม
5. ประทับตราบริษัทฯ
6. ลายเซ็นพร้อมทั้งประทับตรา และเซนต์รับรองโดยผู้อำนวยการโรงเรียน
7. ลงชื่อตัวบรรจงของผู้อำนวยการโรงเรียน
8. ระบุตำแหน่งของผู้ลงนาม

เอกสารเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบ

1. หนังสือจัดตั้งสถานศึกษา (กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งโรงเรียนได้ ให้ใช้ หนังสือรับรอง หน่วยงานที่สังกัด ที่ตั้งของโรงเรียนแทน

ตัวอย่างหนังสือจัดตั้งสถานศึกษา


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting/Server สำหรับธุรกิจ อันดับ 1 ของประเทศไทย
สอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-105-4104
Auto Fax: 02-426-5924

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

[GoCloud] วิธี Add account ลงบน Gmail app (Android OS)

วิธีเพิ่มบัญชีอีเมลบริษัทฯ ลงบน Gmail App ระบบ Android OS

1. จากเมนูหลัก เข้าไปที่ Settings

ไปที่ Settings

2. เลือก Accounts & Sync
Accounts & Sync
3.  เพิ่มบัญชี

Add account
 4. เลือกประเภทบัญชี IMAP ส่วนตัว

Personal (IMAP)

5. กรอกชื่อบัญชีอีเมล จากนั้นเลือก Manual Setup

Manual Setup
6. เลือกประเภทบัญชีอีเมลอีกครั้ง

จากนั้นกด Next

7. กรอกรายละเอียดของ Server ขารับ

Username: ชื่อบัญชีอีเมล (มี @domain.com)
Password: รหัสผ่านของบัญชีอีเมล
Server: mail.(ชื่อโดเมนของเรา)
Port: 143 Security type: None

หรือแบบมี SSL ให้กรอกตามค่านี้

Username: ชื่อบัญชีอีเมล (มี @domain.com)
Password: รหัสผ่านของบัญชีอีเมล
Server: mail.(ชื่อโดเมนของเรา)
Port: 993 Security type: SSL/TLS (accept all certificates)
8. กดยืนยัน Server
กดปุ่ม Proceed
9. กรอกรายละเอียดของ Server ขาออก

กรอกรายละเอียด จากนั้นกด Next

Username: ชื่อบัญชีอีเมล (มี @domain.com)
Password: รหัสผ่านของบัญชีอีเมล
Server: mail.(ชื่อโดเมนของเรา)
Port: 465 Security type: SSL/TLS (accept all certificates)
หรือ 587 (None)
10. กดยืนยัน Server อีกครั้ง

กดปุ่ม Proceed

11. ตั้งค่าบัญชี
จากนั้นกด Next
ตั้งชื่อ Display ของบัญชีที่จะแสดงบนอุปกรณ์จากนั้นกด Next
12. เมื่อบัญชีถูกเพิ่มสำเร็จแล้วจะมีชื่อบัญชีอีเมลปรากฏที่หน้า Account Settings ดังภาพ


บัญชีอีเมลเพิ่มสำเร็จ


บัญชีอีเมลจะมาปรากฏอยู่ใน Gmail App บน Android
เราก็สามารถใช้งานอีเมลสำหรับองค์กรได้ตามปกติ

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้นำด้านการบริการ Email Hosting สำหรับองค์กร ใช้งานได้ทุก Platform

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การย้ายผู้ให้บริการ Domain.com ใช้เวลากี่วัน

ระยะเวลาที่ใช้ในเวลาในการดำเนินการย้ายผู้ให้บริการ


การย้ายผู้ให้บริการสำหรับ โดเมน .comใช้เวลาค่อนข้างนานกว่า .co.th  เนื่องจากต้องบริษัทของผู้ให้บริการใหม่ต้องมีการขอข้อมูลที่ต้องให้ท่านลูกค้าช่วยประสานกับทางผู้บริการรายเก่า ดังนี้
  • Auth code หรือ EPP Code ของโดเมนเนม
  • เปลี่ยนสถานะโดเมน เป็น active/OK
  • โดเมนดังกล่าวต้องไม่หมดอายุ (ควรมีอายุมากกว่า 15 วัน เพื่อเตรียมการย้ายโดเมน)
  • ให้ Registrant Email กด Approve เมื่อผู้ให้บริการใหม่ดำเนินการย้ายโดเมนแล้ว

โดยขั้นตอนการประสานงานกับผู้ให้บริการปัจจุบัน ไปถึงกระบวนการย้ายเสร็จสมบูรณจะต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 วัน หรือบางทีอาจมากถึง 7-14 วัน ขึ้นอยู่กับการประสานงานระหว่างผู้ดูแลโดเมนปัจจุบันกับผู้ดูแลโดเมนเนมใหม่

แต่ในกรณีที่ต้องการย้ายระบบอีเมลภายใน 1-2 วัน ให้แจ้งแก่ผู้ให้บริการรายใหม่ว่าขอทำการย้าย Email Hosting อย่างเดียวก่อน แล้วจึงค่อยย้ายผู้ดูแลโดเมนในภายหลัง

โดยผู้ให้บริการรายใหม่จะเตรียมความพร้อมตั้งค่าต่าง ๆสำหรับ Email Hosting ใหม่ก่อน เมื่อเรียบร้อยแล้วจะมีมีการนัดหมายเวลาให้ทางบริษัทผู้ให้บริการรายเก่าดำเนินการ เปลี่ยนค่า NS มายัง Email Hosting ของผู้บริการรายใหม่ ลูกค้าเพียงรอให้ค่า DNS มีการ Update 24-48 ชั่วโมง ก็จะสามารถใช้งานระบบอีเมล์กับผู้ให้บริการรายใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการระบบ Email & Web Hosting ที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจมากที่สุด

การย้ายผู้ให้บริการ Domain.co.th ใช้เวลากี่วัน

ระยะเวลาที่ใช้ในเวลาในการดำเนินการย้ายผู้ให้บริการ

การย้ายผู้บริการสำหรับ โดเมน.co.th ใช้เวลาไม่นานอย่างที่คิด หากท่านจัดเตรียมเอกสารประการการย้ายผู้ให้บริการได้ครบ ซึ่งได้แก่
เมื่อเอกสารเหล่านี้ครบถ้วน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการยืนเอกสารไปให้ THNIC Co., Ltd. ซึ่งเป็นผู้ดูแลโดเมนภายใต้ .th เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ให้ดำเนินการอนุมัติ ซึ่งจะมีความรวดเร็วมากหากผู้ให้บริการใหม่ เป็น Partner ของ THNIC โดยตรง และหลังจากนั้นผู้ให้บริการรายใหม่จะดำเนินการติดตั้งระบบใหม่ไว้เพื่อรอผู้บริการรายเก่าดำเนินการเปลี่ยนค่า NS ของผู้ให้บริการรายใหม่ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานอีเมลระบบใหม่ได้ก่อน โดยจากขั้นตอนการที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารจากลูกค้าครบแล้ว จนมาถึงขั้นตอนนี้ใช้เวลาไม่เกินภายใน 1-2 วันลูกค้าก็สามารถย้ายมาใช้งานอีเมลกับผู้ให้บริการรายใหม่ได้แล้ว



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการระบบ Email & Web Hosting ที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจมากที่สุด

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

EPP Status Codes คืออะไร


EPP Status Codes จำเป็นต้องรู้หรือไม่

EPP Status เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Domain Status ซึ่งจะมี Codes แสดงสถานะของโดเมนเนม โดเมนหนึ่งจะมีสถานะอย่างน้อย 1 Status Code หรือบางครั้งอาจจะมีมากกว่า 1 Status Code ก็เป็นได้

ดังนั้นผู้ที่จดทะเบียนโดเมน (หรือเป็นเจ้าของโดเมนเนม) ควรจะรู้จักแต่ละ Status codes ว่ามันหมายถึงอะไร เพราะมันจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า โดเมนเนมนั้นยังทำงาน หรือหยุดการทำงานไปแล้ว รวมถึงช่วยป้องกันการถูกขโมยชื่อโดเมนด้วย

Server Status Codes

 Server Status codes ที่พบเห็นบ่อย ๆ

1. addPeriod เป็นสถานะที่เริ่มทำการจดโดเมนเนมครั้งแรก ถ้าผู้จดโดเมนเนมต้องการลบโดเมน Registrar จะให้เครดิตสำหรับค่าใช้จ่ายในการจดโดเมนเนม

2. autoRenewPeriod เป็นสถานที่เกิดขึ้นตอน Domain หมดอายุแล้ว และอยู่ในช่วงต่ออายุ (Renewed) อัตโนมัติ ซึ่ง Registrar จะให้เครดิตสำหรับค่าใช้จ่ายในการต่ออายุโดเมนเนม

3. Inactive สถานะแสดงถึง DNS ไม่ทำงาน ให้ตรวจสอบการทำงานของ Name Server ว่าปกติหรือไม่

4. ok นี่คือสถานะมาตรฐาน (สถานะปกติ) สำหรับโดเมน ซึ่งหมายความว่ามันไม่ได้มีการดำเนินการอยู่ระหว่างดำเนินการหรือลักษณะต้องห้าม

5. pendingCreate สถานะนี้คือรอการตอบรับหรือประมวลผลเพื่อสร้างโดเมนเนมใหม่

6. pendingDelete สถานะนี้จะมาคู่กับสถานะ redemptionPeriod หรือ pendingRestore ถ้าโดเมนนั้นมีสถานะเป็น redemptionPeriod มากกว่า 30 วันและไม่ได้เรียกคืนภายในระยะเวลา 30 วัน โดเมนจะถูกลบออกจากฐานข้อมูลของ Registrar ถ้าพบสถานะเหล่านี้ให้รีบติดต่อ Registrar เพื่อแก้ไข

7. pendingRenew คือ สถานะรอต่ออายุโดเมนเนม ถ้าไม่ต้องการต่ออายุโดเมนเนมเราก็ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ และปล่อ่ยให้โดเมนเนมหมดอายุไป โดยไม่ต้องชำระค่าต่อายุโดเมนเนม

8. pendingRestore เป็นสถานะที่รอ Registrar คืนโดเมนเนมให้ ต่อจากสถานะ redemptionPeriod แต่ถ้า Registrar ไม่ได้ Restore ข้อมูลโดเมนเนมให้ สถานะจะกลับไปที่ redemptionPeriod อีกครั้ง

9. pendingTransfer สถานะแสดงว่า การย้ายโดเมนเนมอยู่ในระหว่างดำเนินการ ถ้า Registrar ดำเนินการย้ายโดเมนเนมให้สำเร็จ สถานะก็จะเปลี่ยนเป็น ok

10. pendingUpdate คือ สถานะอยู่ในระหว่างการ Update

11. redemptionPeriod คือ Registrar ได้ขอให้ผู้จดทะเบียนโดเมนเนมลบโดเมนเนมออกจากระบบ ซึ่งโดเมนจะคงสถานะนี้ไว้ประมาณ 30 วัน ก่อนที่ Registrar จะทำการลบโดเมนเนมออกจากฐานข้อมูล

12. transferPeriod เป็นสถานะผ่อนผันในช่วงระหว่างการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
Email hosting คุณภาพสูง สำหรับองค์กร


วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การย้ายผู้ดูแลโดเมน .th มีขั้นตอนอย่างไร

ย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมมาให้ทางเราดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้า Email hosting

เนื่องจาก Domain th ผู้ถือครอง หรือเจ้าของโดเมนนั้น คือนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วน, บริษัท, บริษัท (มหาชน) ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงผู้ดูแล Domain นั้นต้องใช้เอกสารที่มีผลทางกฏหมาย โดยต้องมีเอกสาร 2 ฉบับนี้ในการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

สำหรับการโดเมนเนม .th มาให้ทางบริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด เป็นผู้ดูแลแทนนั้น สามารถทำเอกสารตามตัวอย่างนี้ได้เลย หรือสามารถขอแบบฟอร์มจากทางบริษัท ฯ ได้ทางอีเมล

แบบฟอร์มเอกสารขอเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมนเนม .th


สิ่งที่ต้องแก้ไขจากแบบฟอร์ม

1. ใส่หัวจดหมายของบริษัทหรือหน่วยงาน
2. ลงวันที่เอกสาร
3. ระบุชื่อบริษัทที่ต้องการเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมนเนม
4. ระบุชื่อโดเมนเนม
5. ประทับตราบริษัทฯ
6. ลายเซ็นกรรมการบริษัท/ผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัทฯ
7. ลงชื่อตัวบรรจงของกรรมการบริษัท/ผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัทฯ
8. ระบุตำแหน่งของผู้ลงนาม


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting/Server สำหรับธุรกิจ อันดับ 1 ของประเทศไทย
สอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-105-4104
Auto Fax: 02-426-5924

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

เราจะตรวจสอบ DKIM อย่างไร

วิธีตรวจสอบว่า Domain ของเรานั้นมีค่า DKIM อยู่แล้วหรือไม่

1. เปิดเว็บไซต์ www.dkimvalidator.com

Copy email address ในช่องไว้


2. เปิดโปรแกรม Client ที่ไว้ส่งเมล หรือหน้าเว็บเมลของบัญชีอีเมลทีต้องการตรวจสอบ
ใช้บัญชีอีเมลที่ต้องการตรวจสอบค่า DKIM ส่งข้อความไปยังอีเมลนี้

Paste Email address ในช่อง To เพื่อส่งข้อความไปตรวจสอบ DKIM จากนั้นกดปุ่ม Send

3. รอ 5 วินาที จากนั้นกลับมากดปุ่ม View Result ที่หน้าเว็บ dkimvalidator.com ที่เปิดไว้เมื่อสักครู่

กดปุ่ม View Result

4. ผลการตรวจสอบจะแสดงสถานะของ DKIM ดังนี้

ถ้าสถานะเป็น Pass แสดงว่า ผ่าน

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting สำหรับองค์กร คุณภาพสูงสุด

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการจดทะเบียนโดเมน .com

การจดทะเบียน Domain .com


การจดทะเบียน Domain name มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของก่อน ว่าชื่อโดเมนที่เราจะใช้งานนั้น มีใครใช้งานไปแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่มี เราก็สามารถจดทะเบียนโดเมนนั้นได้ แต่ทว่ามีคนจดชื่อโดเมนนั้นไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถไปจดซ้ำได้ จึงต้องมาการพิจารณาชื่อโดเมนเนมใหม่ เพื่อที่จะใช้งานโดเมนดังกล่าวได้

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการ Email hosting สำหรับบริษัท

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การกรอง Spam ด้วยการ Whitelist และ Blacklist ทำงานอย่างไร

การกรอง Spam ด้วยการกำหนด Whitelist และ Blacklist นั้น ถือเป็นระบบการกรองในขั้นต้นของระบบกรอง Spam โดยบางท่านอาจสงสัยว่าอะไรคือ Whitelist และ Blacklist ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการตัดสิน ว่าอีเมลใดสมควรเป็น Sender Blacklist

โดยส่วนใหญ่มาจากการที่มีการส่งเมลที่เป็น Spam จากไอพีไป ยัง Server อื่น ทำให้ผู้ดูแลทางฝังที่ได้รับเมล ทำการแจ้งไปว่า IP Hosting Email ที่ทำการส่งเมล์มาเป็นภัยคุกคาม จึงทำให้ติดอยู่ใน Spam quarantine ส่วน Whitelist นั้นถือเป็นอีเมลที่ปลอดภัยสามารถทำการรับ-ส่งเมลได้ปกติ หรือสามารถกำหนดในระบบ Admin ได้ว่าให้ Domainใดเป็น Blacklist หรือ Whitelist ได้เช่นกัน



หลักการทำงานทั่วไป คือ ระบบจะทำการกรองข้อความ Mail Server โดยตั้งค่ากำกับไว้ว่าถ้าเป็นเมล จาก IP ที่ติด Global Blacklist ก็จะตีกลับไม่สามารถเข้ามาได้

ระบบกรองสแปมที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถตั้งค่าให้ blacklist หรือ whitelist ผู้ส่งได้เอง โดยที่ไม่ต้องดูจาก Global blacklist ก็ได้ เพื่อใช้ในกรณีที่โดเมนผู้ส่งติด Global blacklisted แล้วมีความจำเป็นที่จะต้องส่งข้อความมายังปลายทางแบบด่วนจริง ๆ ก็สามารถตั้งให้โดเมนต้นทางเป็น Sender whitelist เพื่อที่จะรับข้อความจากต้นทางได้ทันที

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการอีเมลโฮสติ้งที่ดีที่สุดของไทย

หมายเลข IP กับ Hostname หรือ Domain name ต่างกันอย่างไร และ มีประโยชน์อย่างไร



          IP คือ หมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละเครื่อง ที่มีหน้าที่ระบุว่าตัวเลข IP นี้เป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ หรือ Server เครื่องนี้ โดย IP นั้นจะไม่ทางซ้ำกันได้เลย เพื่อที่เวลามีการรับ - ส่งข้อมูล จะได้ส่งข้อมูลเข้าไปยังเครื่องที่ถูกต้อง เช่น 123.45.67.890 ถ้าให้นึกภาพง่าย ๆ คือ เวลาส่งจดหมายเราก็ต้องรู้บ้านเลขที่ของผู้รับก่อน เพื่อที่บุรุษไปรษณีย์จะสามารถส่งจดหมายได้ถูกบ้าน



Hostname คือ ชื่อเรียกของ Hosting ซึ่งแปลงมาจาก IP Hosting ให้เป็นชื่อที่เข้าใจง่ายแทนที่จะจดจำเป็นค่าตัวเลข และอาจมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการนั้นหรือเป็นที่เข้าใจกันในองค์กร ยกตัวอย่าง Email: aa@thailandemailserver.com เมื่อเราจะตั้งค่าบน Client อย่างเช่น Thunderbird, MS Outlook จะต้องมีการใส่ค่า Hostmame เพื่อให้ Program รู้ว่าเราจะ Connect อีเมลดังกล่าวกับ Server ที่ไหน เช่น mail.thailandemailserver.com ในเชิงเทคนิค Hostname: mail.thailandemailserver.com ก็จะถูกชี้ค่าไปยัง IP ของ Mail Server ที่ใช้งานอยู่

ใครที่ยังไม่เข้าใจก็ให้มองว่า Hostname นั้นเปรียบเสมือนชื่อเล่น หรือฉายาไปก่อน เราสามารถมีฉายาได้มากกว่า 1 ชื่อ แล้วแต่ว่าเราจะตั้งชื่อ Hostname เป็นอะไรบ้าง เช่น mail.thailandemailserver.com, pop.thailandemailserver.com, imap.thailandemailserver.com หรือ smtp.thailandemailserver.com เป็นต้น



Domain name คือ ชื่อที่อยู่หลังสัญลักษณ์ @ เช่น sanook.com, kapook.com, maildee.com เป็นต้น
ซึ่งเราสามารถลงทะเบียนเป็นเจ้าของชื่อต่าง ๆ ได้ โดยมีค่าบริการรายปี เสมือนการเช่าบ้าน ถ้าไม่ได้มีการต่ออายุ ผู้อื่นก็มีสิทธิ์ใช้ชื่อโดเมนของเราแทนได้

โดเมนเนมเป็นหัวใจสำคัญในการทำเว็บไซต์ และทำระบบอีเมล ถ้าไม่มีโดเมนเนมก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย ดังนั้นผู้ที่ดูแลโดเมนเนมควรเป็นนิติบุคคลที่ไว้ใจได้ เพราะหากให้ใครคนใดคนหนึ่งจดทะเบียนโดเมนเนมให้ แล้วในอนาคตเราไม่สามารถติดต่อคน ๆ นั้นได้ พอโดเมนเนมหมดอายุเราก็มีสิทธิ์ที่จะ Lost ชื่อโดเมนของเราอย่างง่ายดาย

ชื่อโดเมนเนมที่ตั้งก็ควรจะเป็นชื่อที่ง่ายต่อการจดจำ เพื่อให้คนอื่นเข้าถึงง่าย ทำการตลาดได้ง่าย ๆ
มีความหมายในเชิงบวก


บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีทำเว็บไซต์ตัวเอง ให้โชว์เป็น Domain บนเว็บไซต์ และให้่คนอื่นดูได้Name Server (NS) หรือ DNS ใน Domain name (โดเมนเนม) คือ อะไร และ ทำงานอย่างไร

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการอีเมลโฮสติ้งที่ดีที่สุดของไทย

การย้ายผู้ดูแลโดเมน .com ทำอย่างไร


การย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

การย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เราต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการ Web/Email hosting ซึ่งในครั้งแรกที่เราใช้งาน ผู้ให้บริการมักจะจดทะเบียนโดเมนมาให้เราอยู่แล้ว เมื่อเรายกเลิกบริการต่าง ๆ ไป โดยที่ไม่ได้ย้ายโดเมนเนม อาจจะทำให้เราไม่สามารถรักษาสถานภาพความเป็นเจ้าของโดเมนเนมนี้ไว้ได้ เมื่อถึงวันที่โดเมนเนมหมดอายุ ชื่อโดเมนดังกล่าวก็จะกลายเป็นโดเมนว่าง ซึ่งใครก็มีโอกาสที่จะแย่งชื่อโดเมนเนมดี ๆ ไปจากเราได้

กล่าวถึงขั้นตอนการย้ายโดเมนเนม .com ที่มีความซับซ้อนพอสมควร และจำเป็นที่จะต้อง Contact กับผู้จดทะเบียนโดเมนเนมให้เราตั้งแต่แรกได้ด้วย
เรามาดู Flow ขั้นตอนการ Transfer Domain.com จากภาพนี้ และคำอธิบายใต้ภาพกัน




จากภาพเป็น Flow chart การ Transfer Domain.com ที่ผู้ให้บริการเป็น Whois.com อยู่แล้ว แล้วต้องการย้ายไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ที่เป็น Whois เหมือนกัน ก็ให้ดูตาม Flow ที่กล่องที่เขียนว่า 'Whois/RS'
แต่ถ้าจะย้ายไปที่ Reseller อื่น ๆ ก็ให้ไปตาม Flow ที่เขียนว่า 'Other' โดยไล่เรียงจากเส้นสีน้ำเงินเป็นขั้นตอนอย่างละเอียด


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

รับติดตั้ง email hosting สำหรับองค์กรบน Data center ที่เสถียรที่สุด