แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา domain จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา domain จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ต้องการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม .co.th ต้องใช้เอกสารใดบ้าง


การย้ายผู้ดูแล Domain.co.th สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • Domain ต้องจดทะเบียนเกิน 60 วันขึ้นไป จึงจะทำการย้ายได้
  • Domain ที่จะทำการย้าย ต้องยังไม่หมดอายุ และเหลือวันที่จะหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน
  • หาบริษัทที่ดูแลโดเมนและโฮส รายใหม่ที่ต้องการใช้บริการ
  • แจ้งความต้องการใช้บริการกับโฮสรายใหม่ และยื่นเอกสารประกอบการย้ายผู้ดูแล Domain จนกว่าจะมีการยืนยันว่าโดเมนของเราถูกย้ายมาที่ผู้ให้บริการรายใหม่แล้ว

ในการจะย้ายผู้ดูแล Domain.co.th จำเป็นต้องใช้เอกสารที่มีผลทางกฏหมาย เนื่องจากเป็นการจดโดเมนในนาม หจก. บจก. บมจ.  โดยเอกสารเหล่านั้นประกอบด้วย

  • หนังสือรับรองนิติบุคคลหน้าแรกโดยต้องมีลายเซ็น ชื่อและตำแหน่งตัวบรรจงของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท (ชื่อของผู้มีอำนาจลงนามต้องเป็นไปตามข้อที่ 3 ในหนังสือรับรองนิติบุคคล)


  • เอกสารแจ้งการขอเปลี่ยนผู้ดูแล Domain โดยทางบริษัทผู้ให้บริการใหม่จะแนบไฟล์ส่งให้ผู้รับบริการใส่ลายละเอียดหัวกระดาษ ชื่อบริษัท ลายเซ็น ระบุชื่อตำแหน่งตัวบรรจงของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท เพื่อนำไปแจ้งต่อบริษัทผู้ให้บริการเก่า

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์​ จำกัด

Email hosting สำหรับองค์กร คุณภาพดี ราคาประหยัด

เอกสารสำหรับใช้ในการจดโดเมน .co.th มีอะไรบ้าง



หากเราต้องการ อีเมล @domainname.co.th อันดับแรกท่านจะต้องจดทะเบียน Domain ในนามของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท หรือ บริษัท (มหาชน) ที่มีที่ตั้งของบริษัทอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น (ส่วนนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย)จึงสามารถจด Domain.co.th ได้

โดยเอกสารที่ใชประกอบการจด Domain.co.th ประกอบด้วย

          -  เอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล (ที่มีอายุไม่เกิน 60 วัน ดูได้จากวงกลมสีแดงตามรูป)
      


ส่วนการตั้งชื่อโดเมนนั้น มีหลักการในการใช้ชื่อดังนี้

  • ชื่อโดเมนที่เลือกจะต้องใช้อักษรที่มาจากชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ 
  • ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะต้องประกอบด้วยอักษรหรือตัวเลข (a-z, 0-9) อย่างน้อย 2 ตัวอักษร แต่ไม่      เกิน 63 ตัวอักษร                 
  • ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้อง เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท หรือเป็นตัวย่อก็ได้ ยกตัวอย่าง
    บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัดต้องการจดทะเบียนโดเมน ควรใช้ชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า technologyland.co.th    หรืออาจจะเป็น tl.co.th ก็ได้เช่นกัน เพราะถือเป็นอักษรย่อของชื่อบริษัท 
  • ไม่สามารถนำคำที่ไม่มีอยู่ในชื่อของบริษัท มาใช้ตั้งโดเมนได้ ยกตัวอย่าง technologyland-           thailand.co.th ชื่อนี้จะไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจาก คำว่า thailand ไม่มีอยู่ในชื่อของบริษัท

บทความโดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ จัด ทำอีเมล์สำหรับบริษัท.co.th คุณภาพสูง

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Domain.com ต่างกับ Domain.co.th อย่างไร

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า Domain.com และ Domain.co.th มีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้หลักอะไรในการเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมธุรกิจ หรือองค์กรของเรามากที่สุด ครั้งนี้เราจะมาอธิบายกันว่าทั้งสองอย่างนี้ความแตกต่างกันอย่างไร
       

           Domain.com ใคร ๆ ก็สามารถจดได้ โดยที่ไม่ต้องมีเอกสารประกอบการจดโดเมนแต่อย่างใด
ซึ่งส่วนใหญ่จะจดแบบนี้กัน เพราะเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก
วิธีสมัครอีเมล .com / .co.th



           Domain .co.th ซึ่งมีเพียงบริษัท THNIC เท่านั้นที่ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ co.th
ผู้ที่สามารถจดโดเมนในชื่อนี้ได้ ต้องเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งในการจดโดเมนภายใ้ต้ .co.th จำเป็นต้องใช้เอกสารประกอบ คือ เอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล (ที่มีอายุไม่เกิน 60 วัน) และต้องมีลายเซ็น พร้อมตราประทับของผู้มีอำนาจ (ตามเงื่อนไขในข้อที่ 3 ของหนังสือรับรอง)


จากบทความข้างต้นนี้ทำให้เห็นได้ว่าการเลือกใช้ Domain.co.th ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือให้กับบุคคลภายนอก ว่าเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด มีที่ตั้งและการประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทยอยู่จริง ๆ ส่วน Domain.com นั้น เหมาะกับองค์กรหรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการให้เป็นที่รู้จักหรือมีความเป็นมาตรฐาน ต้องการช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น ซึ่งจะจดโดเมนได้ง่ายกว่า .co.th มาก

ในเชิงเทคนิคหาก Domain ที่จดเป็น .co.th สามารถย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมได้ง่ายกว่า .com เพราะสามารถใช้หนังสือรับรองบริษัทฯ และเอกสารขอเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมนเนม โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ดูแลโดเมนเนมปัจจุบันให้ทราบ ส่วนการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม .com จำเป็นต้องติดต่อกับ Contact หรือ Domain holder ให้ได้ เพื่อที่จะขอค่า Control panel ของโดเมนมาดำเนินการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

บทความที่น่าสนใจ

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียน Email @ Domain .co.th
วิธีสมัครและจดทะเบียน อีเมล์(Email) @ .co.th เพื่อใช้ในบริษัทของตนเอง และ ราคาวิธีสมัครอีเมล์(Email)บริษัท ให้เป็น .com/.co.thวิธีทำอีเมล์ระบบ (Email Server) ภายใต้ชื่อบริษัท Domain ของตัวเองทั้ง .com และ .co.th


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email hosting สำหรับ Enterprise


การตั้งค่า Whitelisted domain เพื่อให้ได้รับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้ง


ปัญหารับอีเมลจากผู้ส่งไม่ได้

สาเหตุหลักมักเกิดจาก Server ของผู้ส่งติด Blacklisted หรือว่า DNS ของ Domain ผู้ส่งติด Blacklisted ซึ่งจะทำให้ตัวกรองของ Server ผู้รับนั้น ไม่กล้ารับอีเมลจากผู้ส่งที่ติด Blacklisted

ถ้าเราต้องการรับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้งทำอย่างไร?

การเพิ่ม Domain ของผู้ส่งให้เป็น Whitelisted จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ โดยผู้รับต้องมีตัวกรองจัดการที่ดี สามารถเพิ่มโดเมน หรืออีเมล เป็น Sender whitelist ได้ แม้ว่าผู้ส่งจะใช้ Server ที่ติด Blacklisted ส่งเข้ามา Server ผู้รับก็จะมองข้ามข้อนี้ไป เนื่องจากเราตั้งค่าให้โดเมนผู้ส่งเป็น Sender whitelist แล้ว ในทุก ๆ ครั้งที่มีการส่งอีเมลจาก Sender ดังกล่าว ผู้รับก็จะสามารถรับข้อความได้ทุกฉบับ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้เราไม่ได้รับอีเมลจากผู้ส่ง เช่น ปัญหา Bandwidth ของ Server ผู้ส่งเต็ม ทำให้อีเมลไปคิวใน Sender's server ซึ่งในส่วนนี้จะใช้วิธี Add whitelist ไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาของ Server ต้นทางเอง

Technology Land Co., Ltd.

Email hosting สำหรับองค์กร บริการที่ดีที่สุด

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Hop Count Exceeded คืออะไร


ตัวอย่างข้อความตีกลับ

The following message to <name@domain.com> was undeliverable.
The reason for the problem:
5.3.0 - Other mail system problem 554-'5.4.6 Hop count exceeded - possible mail loop'


Reporting-MTA: dns; sub.domain.com

Final-Recipient: rfc822;name@domain.com
Action: failed
Status: 5.0.0 (permanent failure)
Remote-MTA: dns; [198.168.xx.xxx]
Diagnostic-Code: smtp; 5.3.0 - Other mail system problem 554-'5.4.6 Hop count exceeded - possible mail loop' (delivery attempts: 0)


ข้อความตีกลับเกิดขึ้นเมื่อ ผู้ส่งพยายามส่งข้อความไปที่โฮสของ Outlook.com ไปข้อความไปไม่ถึงผู้รับ โดยจะถูกตีกลับทันที

สาเหตุ

สาเหตุมาจากการตั้งค่าใน Server ไม่ถูกต้อง ของ Server ปลายทาง

วิธีการแก้ไขปัญหา (คลิกที่นี่)

ผู้ให้บริการ Email Hosting บริการรวดเร็ว ประทับใจ

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กรณีศึกษา : การแก้ปัญหา Mail Server ปลายทางตีกลับ Email บางฉบับ จากต้นทาง




บางครั้งเราอาจพบกับปัญหา การส่งอีเมล์แล้วถูกตีกลับโดยปลายทาง ซึ่งมีสาเหตุในการตีกลับที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เรามีตัวอย่างปัญหา และวิธีการแก้ปัญหามาให้ศึกษากัน




out 4  ไม่สามารถส่งอีเมล์ไปที่ปลายทางได้


จากภาพ Old Flow  (มีปัญหาการส่งออก)

     ขาออกของโดเมนต้นทาง นำอีเมล์ไปยัง outbound ซึ่งมี server ย่อยๆ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวดีดอีเมล์ออกจากระบบ โดยมีการทำงานลักษณะสุ่มใช้ตัวดีด จากภาพ server ย่อย ตัวที่ 4ไม่สามารถดีดอีเมล์ออกไปได้ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการติด firewall ของ server ปลายทางทำให้ไม่สามารถส่งอีเมล์ได้



เพิ่ม server เพื่อใช้ในการส่งออกโดยเฉพาะ เมล์ไปถึงปลายทางได้ทุกฉบับ


วิธีการแก้ปัญหา (แก้ปัญหาการส่งออก)

      จากภาพ New Flow ในเมื่อเราไม่สามารถควบคุมการทำงานแบบ Old Flow ได้ เราจึงทำการแก้ไขโดย นำserver ตัวใหม่เข้ามาเพื่อใช้ในการดีดอีเมล์ออกโดยเฉพาะ โดยทำการทดสอบเบื้องต้นว่า เมื่อส่งอีเมล์ออกไปแล้ว ปลายทางได้รับหรือไม่ หากในครั้งแรกนั้น ปลายทางได้รับอีเมล์ปกติ เราสามารถนำ server นี้ มาใช้งานจริงได้ทันที 


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

กรณีศึกษา: การแก้ปัญหาส่ง Email ไปภายนอกไม่ได้เพราะโดน Outbound Firewall Block URL หรือ Domain ใน message email




ในช่วงเวลาที่ Domain ติด Blacklist SpamRL จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานอีเมล์พอสมควร เนื่องจากจะทำให้การรับ-ส่งอีเมล์นั้นสำเร็จน้อยลง นับว่าเป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับผู้ใช้เลยทีเดียว



อีเมล์ที่ถูกปฏิเสธการส่งออก จะเข้าสู่ระบบแจ้งเตือน


จากภาพ Old Flow (ที่มีปัญหาการส่งออก)

      อีเมล์ถูกส่งออกมา เพื่อเตรียมพร้อมที่จะส่งออก แต่โดนตรวจเช็คและพบว่าเนื้อหาในอีเมล์นั้น มีรายชื่อที่ติด SpamRL อยู่ Outbound Spam Check จึงไม่ยอมให้อีเมล์ฉบับนั้นส่งออกได้ อีเมล์ฉบับดังกล่าวจึงเข้าระบบแจ้งเตือน เมื่อตรวจสอบพบปัญหาแล้วจึงทำการแก้ไข เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานของ User ดังนี้



เพิ่ม server ที่ใช้เพื่อการส่งออก โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบ เพื่อให้อีเมล์ส่งออกได้


จากภาพ New Flow (แก้ไขปัญหาการส่งออก)

       ทำการแก้ปัญหาโดย นำ server ตัวใหม่เข้ามาเพื่อใช้ในการดีดอีเมล์ออก โดยไม่ผ่านระบบการตรวจสอบใดใด ทำให้อีเมล์สามารถส่งออกได้ตามปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

TL - LAB -  ผู้เชี่ยวชาญด้าน Email Hosting อันดับ 1

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

[Outlook] วิธีย้ายอีเมล์ที่เข้า Junk E-mail ลงใน Inbox แบบถาวร



ปัญหาอีเมล์ที่โปรแกรม Outlook ดูดลงมานั้น บางครั้งโปรแกรม Outlook จะคิดว่าเป็นอีเมล์ขยะ ซึ่งจะทำให้อีเมล์ฉบับดังกล่าวไปอยู่ใน Junk E-mail ทำให้เราหาอีเมล์ที่ต้องการไม่เจอ ดังนั้นการที่จะไม่ให้อีเมล์เข้าไปอยู่ใน Junk E-mail สามารถทำได้ดังนี้

วิธีย้ายอีเมล์ที่เข้า Junk E-mail ลงใน Inbox แบบถาวร สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้


วิธีที่ 1

1. เข้า Junk E-mail เพื่อหาอีเมล์ที่ต้องการ

เมื่อเข้าหน้า Junk E-mail จะเห็นอีเมล์ที่ Outlook คิดว่าเป็นเมล์ขยะ


2. เลือกอีเมล์ที่ไม่ต้องการให้เข้าใน Junk E-mail อีก

ให้คลิกขวาอีเมล์ที่ต้องการ จากนั้นเลือก Junk > Never Block Sender's Domain แล้วกด OK
การเลือก Never Block Sender's Domain จะหมายถึง
อีเมล์ทุกฉบับของโดเมนที่เลือกจะไม่ถูกคิดว่าเป็นอีเมล์ขยะ


3. จากนั้นให้ย้ายอีเมล์เข้า inbox ตามปกติ

คลิกขวาที่อีเมล์ จากนั้นเลือก Junk > Not Junk
อีเมล์จะถูกย้ายไปอยู่ใน Inbox

หลังจากที่ดำเนินการแล้ว
อีเมล์ทุกฉบับของโดเมนที่เลือกจะไม่เข้า Junk E-mail อีก


วิธีที่ 2


1. ให้เลือกหัวข้อ Junk E-mail Options..

หัวข้อ Junk E-mail Options.. คือการเข้าไปจัดการ Junk E-mail


2. จะแสดงหน้าต่างจัดการ Junk E-mail

ให้เลือก Tab Safe Senders จากนั้นกด Add
เพื่อใส่อีเมล์ หรือ โดเมน ที่ไม่ต้องการให้เข้า Junk E-mail
เช่น abc@ex123.com หรือ @ex123.com เป็นต้น


3. เมื่อใส่อีเมล์ที่ต้องการแล้ว ก็จะแสดงอีเมล์ในหน้าต่างนี้


อีเมล์ หรือ โดเมนใดที่ใส่แล้ว จะไม่เข้ากล่อง Junk E-mail แบบถาวร

บทความที่เกี่ยวข้อง





บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Server อันดับ 1

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ส่งอีเมล์ไม่ถึงผู้รับ Error: Sender address rejected: Domain not found



ข้อความปฏิเสธจาก Mail Server ดังกล่าว มักจะพบใน Log การส่งอีเมล์ ใน Mail Server ของผู้ส่งดังตัวอย่าง

=============
xxx@domain.com R=lookuphost T=remote_smtp defer (-44): SMTP error from remote mail server after RCPT TO:<name@domain.com>: host spamfilter.domain.com [203.146.205.102]: 450 4.1.8 <yyy@company.co.th>: Sender address rejected: Domain not found
=============

สาเหตุที่เกิด Error ดังกล่าว ได้แก่

1. Domain ของปลายทางที่ผู้ส่งพยายามส่งอีเมล์ออกไปนั้น ไม่มีชื่ออยู่จริง
2. ช่วงเวลาที่ส่งข้อความดังกล่าว Mail Server อาจจะเกิดปัญหาขัดข้องบางอย่าง ทำให้ข้อความถูกตีกลับ เช่น ค้นหา MX ไม่เจอ, ตั้งค่า MX ผิดรูปแบบ เป็นต้น


ปัญหาดังกล่าวต้องมีการไล่ตรวจสอบทีละสาเหตุว่า Domain ดังกล่าวมีการตั้งค่า DNS ต่าง ๆ ถูกต้องแล้วหรือไม่ แล้วให้ผู้ส่งทำการทดสอบส่งอีเมล์อีกครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง



ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1


วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Error Unrouteable address แปลว่าอะไร ?



การส่งอีเมล์ในบางครั้ง เราอาจจะได้รับอีเมล์ตีกลับ โดยอีเมล์ที่ตีกลับมาจะมี Error บอกรายละเอียด ว่าทำไมถึงไม่สามารถส่งอีเมล์ไปถึงยังปลายทางได้ เราสามารถตรวจสอบ Error ต่างๆ และหาสาเหตุเบื้องต้นได้เอง โดยดูข้อความจาก Error (ข้อความในอีเมล์ตีกลับ จะมีรายละเอียดจำนวนมาก ให้สังเกตที่ Keyword)


*************************
ตัวอย่าง

Error: "Unrouteable address" แปลว่า ไม่สามารถติดต่อกับที่อยู่ดังกล่าวได้

สาเหตุคือ :
1. เกิดจากการพิมพ์ชื่อ รายชื่ออีเมล์ ไม่ถูกต้อง หรืออักษรตกหล่น เช่น abc@domian.com แทนที่จะเป็น abc@domain.com

2. เกิดจากการส่งอีเมล์ที่เกินขีดจำกัดที่ได้รับอนุญาตในการส่งต่อชั่วโมง

3. เกิดจากเซิฟเวอร์ปลายทางที่กำหนดค่า DNS, MX Record ไม่ถูกต้อง ทำให้เราได้รับอีเมล์ตีกลับว่าไม่มีชื่ออีเมล์นี้ที่ใช้งานอยู่

*************************

วิธีการแก้ไข

1. ตรวจสอบชื่ออีเมล์ให้ถูกต้อง ระมัดระวังเรื่องตัวสะกด แล้วทดลองส่งอีเมล์ไปยังปลายทางอีกครั้ง
2. ให้เพิ่มช่วงเวลาในการส่งอีเมล์ฉบับนั้นๆ ให้นานขึ้น และลองทดสอบส่งอีกครั้ง
3. ติดต่อผู้ดูแล หรือผู้ใช้อีเมล์ของเซิฟเวอร์ดังกล่าวให้ตรวจสอบค่าทางเทคนิคว่า มีการตั้งค่าถูกต้องหรือไม่

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สาเหตุที่เครื่องบางเครื่อง ping, เข้าเว็บ, ใช้งาน email ไม่ได้

หากคุณเป็น IT ของบริษัทต่างๆ และเจอปัญหาเครื่องบางเครื่องไม่สามารถ ping,ใช้งาน Email หรือ เข้าเว็บบางเว็บไม่ได้ ทั้งๆที่เครื่องอื่นที่อยู่ในวง Lan เดียวกันสามารถใช้งานได้ปกติลองมาดูกันว่าอาการที่คุณเจออยู่เข้าข่ายเหล่านี้มั้ย


อาการ

  • เครื่องที่มีปัญหา Ping มายัง mail.companydomain.com ไม่สามารถ Ping ได้ 
  • เครื่องที่มีปัญหา เวลารับส่ง Email ใน Outlook จะไม่สามารถทดสอบให้ผ่านได้
  • เครื่องที่มีปัญหา สามารถเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตและเว็บทั่วไปได้ปกติ
  • เครื่องอื่นๆ ส่วนใหญ่สามารถใช้งาน Email ได้ปกติโดยและไม่มีปัญหาอะไร




สาเหตุ

  1. Firewall ของคุณอาจจะมีการตั้งค่า Block Web บางเครื่องอยู่ เช่น ภาพประกอบ PC1 ไม่สามารถใช้งาน Email หรือ Web ได้ แสดงว่า Firewall ของคุณอาจจะมีการตั้งค่า Block เครื่อง PC1 แต่คุณอาจจะไม่รู้ตัว
  2. หากองค์กรของคุณมี DNS Server ภายใน บางครั้ง DNS Server อาจจะมีอาการลวน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในวงเดียวกัน มีอาการไม่สามารถ ping, ใช้งาน Email หรือ เข้าเว็บบางเว็บไม่ได้


การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

  1. ลองให้ผู้เกี่ยวข้องลองตรวจสอบ Rule ต่างๆบน Firewall ว่ามีการตั้งค่าแปลกๆ ไว้อยู่หรือไม่
  2. หากผู้เกี่ยวข้องที่เชี่ยวชาญด้าน Firewall ไม่อยู่ ลองให้ Restart เครื่อง Firewall
  3. ลอง Restart เครื่อง DNS Server 

บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด | ผู้เชี่ยวชาญการด้าน Email Hosting

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

DNS Server is Blacklist คือ อะไร แก้ไขปัญหาอย่างไร ?




เมื่อปริมาณ Spam และ Junk Mail เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงผู้ส่ง Spam หรือ Spammer ก็หาวิธีแปลกๆใหม่ๆ มาส่งอีเมล์โฆษณาอยู่เรื่อยๆ ทำให้ผู้ให้บริการ Email Hosting ต้องหาวิธีในการรับมือที่เข้มงวดมากขึ้น จนบางครั้งก็มากจน คุณก็ต้องมาประสบปัญหาเช่นส่ง Eamil ไม่ออกด้วยเช่นกัน







DNS Server is Blacklist

Domain name ทุก Domain ต้องมี DNS Server หรือ ค่า NS1, NS2 นั่นเอง ซึ่งมีหน้าที่ในการสั่งการค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Domain ทั้งหมด เช่น Email (ผ่านค่า MX), Web Site (ผ่านค่า A Record หรือ Cname


มีผู้ให้บริการ Email Hosting จำนวนมาก ใช้ Server 1 ตัวทำหน้าที่ทุกอย่าง ตั้งแต่ DNS Server, Email Hosting, Web Hosting เมื่อ Email ของ User คนใดคนหนึ่งส่งออกมากผิดปกติ หรือ Website ของลูกค้าคนใดคนหนึ่งมีการส่ง Spam ออกไปจำนวนมากๆ ก็จะส่งผลให้ DNS Server นั้นติด Blacklist ไปด้วย เพราะ IP ของ DNS Server กับ Web Hosting เป็นเครื่องและ IP เดียวกัน


วิธีแก้ไขปัญหา

ผู้ให้บริการ Email Hosting ควรแยก DNS Server ออกมาเป็น Server ที่ทำหน้าที่ DNS โดยเฉพาะ ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องให้ผู้ให้บริการแก้ไขให้เท่านั้น เพราะเป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนระดับหนึ่ง ซึ่ง User หรือผู้ใช้งาน Email ทั่วไปคงไม่สามารถแก้ไขได้แน่ หากไม่ทำการแก้ไขปัญหา  IP ของ DNS Server ติด Blacklist ก็จะทำให้ส่ง Email ไปหาปลายทางหลายๆที่ไม่ได้ และจะเจอ Error "DNS Server is Blacklist" และปัญหาก็จะวนเวียนในลักษณะนี้ไปๆมาๆ


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด | ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพเยี่ยม

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บอกลาปัญหา Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง email เข้า hotmail, gmail ไม่ได้


Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง Email ออกไม่ได้


เราเคยได้ยิน IP ติด Blacklist แต่เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ผู้ให้บริการ Email จำนวนมาก ทั้งฟรีอีเมล์, หรือ ผู้ให้บริการ Email Hosting ต่างๆ ต้องเพิ่มความเข้มงวดเพราะปริมาณ Spam mail ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการเพิ่ม Policy การรับ Email ว่า Sender Email นั้นๆ Domain ต้องไม่ติด Blacklist ทำให้ ผู้ใช้งาน Email Hosting โดยเฉพาะในไทย เกิดปัญหาไม่สามารถส่ง Email ไปยังปลายทางบางที่ได้ เช่น hotmail, gmail และ Email Server ปลายทาง

สาเหตุของปัญหา Domain ติด Blacklist



ใน Web Server 1 เครื่อง มีเว็บไซต์ หลายพันเว็บอาศัยอยู่

โดยเ​ฉพาะเว็บหรือ Domain ที่สร้างจาก Open Source มีความเสี่ยงสูง หากไม่ได้ตั้งค่าให้ถูกต้อง

  • หากใน Web Server ที่ Domain ของคุณอยู่ แต่อย่าลืมว่ายังประกอบด้วยเว็บอื่นๆ ใน Web Server อีกหลายร้อย หรือ หลายพันเว็บอาศัยอยู่ด้วย
  • เมื่อ Web ใดเว็บหนึ่งถูกฝังไวรัสไว้ใน File ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเว็บที่สร้างมาจาก Open Source และมีการ Download Plugin ต่างๆมาลง โดยไม่ได้ตั้งค่าเรื่องความปลอดภัยให้ถูกต้อง
  • ไวรัสนั้นจะทำการส่ง Spam mail โดยใช้ Serder Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com หรือ domain ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Server นั้น วนไปวนมา
  • เมื่อมี Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com ส่ง Spam ออกไปจำนวนมากๆ Domain ของคุณก็จะติด Blacklist ในที่สุด

อาการเมื่อ Domain ติด Blacklist

ฐานข้อมูลที่แสดงว่า Domain คุณติด Blacklist แล้ว
  • หลังจากที่ Domain ติด Black list แล้ว คุณจะไม่สามารถส่ง Email ออกไปยัง Mail Server ต่างๆ เช่น Free email : hotmail, gmail เป็นต้น และ Email Hosting ปลายทางอื่นๆ ที่ไม่ยอมรับเรื่อง Domain Blacklist

วิธีการแก้ไขปัญหา

หากไม่ได้แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดปัญหานี้ขึ้นมาอีก ซ้ำไปซ้ำมา

  • การที่ Domain ติด Blacklist นั้น ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆด้านแก้ไขปัญหา เช่น ฝ่ายประสานงานต่างประเทศ, วิศวกร Web Server, วิศวกร Mail Server และ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย
  • เพราะการแก้ไขปัญหาต้องแก้ให้ครบทุกด้าน ไม่อย่างนั้นปัญหานี้ก็จะกลับมาเป็นอีก ซ้ำไปซ้ำมา จนคุณไม่สามารถส่ง Email ออกไปหาใครได้เลย 
  • คุณต้องติดต่อไปยังผู้ให้บริการ Email Hosting และ Web Hosting เพื่อให้แก้ปัญหานี้ เพราะหากคุณไม่ได้มีความรู้ทางด้านเทคนิค การแก้ไขปัญหานี้จะทำได้ยากมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Domain และ IP Blacklist 

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบสำคัญในการทำ Email Hosting สำหรับองค์กร

4 องค์ประกอบหลักในการสร้างอีเมล์@ชื่อบริษัท

1. Domain Name

โดเมนเนม ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการสร้าง Email Hosting/server สำหรับบริษัทฯ เพราะเมื่อผู้ให้บริการทำการติดตั้งระบบอีเมล์ไปเรียบร้อยแล้ว นั่นหมายถึงเราจะต้องใช้ชื่อโดเมนเนมตัวนี้ในการติดต่อลูกค้าตลอดไป กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อโดเมนเนมก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการแจ้งผู้อื่นให้ทราบว่าชื่ออีเมล์เรามีการเปลี่ยนแปลงไป และการตั้งค่าทางเทคนิคทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย

ดังนั้นก่อนติดตั้งระบบอีเมล์ ควรตรวจสอบให้แน่ใจ และมั่นใจว่าเราจะใช้ชื่อโดเมนเนมนี้จริง ๆ แล้ว
เราอาจจะศึกษาวิธีการตั้งชื่อโดเมนเนมแบบมืออาชีพก่อนที่จะแจ้งผู้ให้บริการทราบ

เมื่อทำการจดโดเมนเนมแล้ว ก็ต้องทำการชี้ค่า DNS Server ว่าจะให้ระบบอีเมล์เชื่อมต่อกับ IP Server ใดบ้าง มีตัวใดเป็น Server หลัก และตัวใด เป็น Backup Server



2. Server หลัก

Mail server เป็นฮาร์ดแวร์สำคัญที่ทำหน้าที่เป็น Server ที่เก็บข้อความอีเมล์ของเรา โดยการตั้งค่าให้อีเมล์ถูกส่งมายัง Server ตัวใดนั้น จะขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของ MXCname ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากว่า ถ้าค่านี้ถูกชี้ไปผิดที่ ระบบอีเมล์จะมีการตั้งค่าอย่างไม่สมบูรณ์และจะทำให้การรับส่งผิดปกติได้ เช่น ได้รับบ้าง ไม่ได้บ้าง, เปิดเว็บเมล์ไม่ได้, ใช้งานบนโปรแกรม MS Outlook ไม่ได้ เป็นต้น



3. Server สำรอง

Server สำรอง หรือเรียกอีกอย่างว่า Backup Server เป็น Server ที่ทางผู้ให้บริการสำรองข้อมูลเก็บไว้ให้ ซึ่งรูปแบบการทำงานของแต่ละผู้ให้บริการ จะไม่เหมือนกัน เช่น ทุกวัน (Daily), ทุกสัปดาห์ (Weekly), ทุกเดือน (Monthy) 

กรณีที่ผู้ให้บริการไม่ได้ทำการ Backup ไว้ให้ เราก็สามารถ Backup ผ่านโปรแกรม Client ได้ด้วยตนเองเช่น MS Outlook, Thunderbird เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความกังวลของ User ลงได้ และทำให้เราสบายใจมากขึ้นว่าอีเมล์เราไม่หายแน่นอน
 


4. ผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้ง

ในการสร้างอีเมล์@ชื่อบริษัท ด้วยตนเอง ถือเป็นเรื่องที่ยาก และมีความเสี่ยงพอสมควร โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้เชิงเทคนิคเรื่อง Mail Server จึงควรค้นหาผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้งที่ตรงกับความต้องการ และตรงตามการใช้งานของ Users ด้วย และต้องแน่ใจว่าผู้ให้บริการดังกล่าวมีบริการที่ตอบโจทย์การใช้งานของเราแล้วจริง ๆ และควรไว้วางใจผู้ให้บริการเจ้า เมื่อถึงคราวที่ต้องบริการหลังการขาย

ข้อดีเด่น ๆ ของการให้ผู้ให้บริการดูแลระบบ Email คือ เราไม่ต้องเสียเวลามา Maintainance หรือ Monitor Server ใด ๆ ซึ่งทางผู้ให้บริการจะเป็นผู้รักษาการณ์แทนอยู่แล้ว อย่างน้อย ๆ หากเกิดปัญหา Server ล่ม แน่นอนว่าคนที่เดือดร้อนไม่ใช่มีเราเพียงคนเดียว แต่รวมถึงผู้ที่ใช้ Mail Server ตัวเดียวกับเราด้วย ที่สำคัญสามารถบริการเราได้ตลอด 24 ชม. เมื่อเกิดเหตุ Server ล่ม ยังสามารถแจ้งปัญหากับเราได้ว่าเกิดอะไรขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธี Backup Email ลงเครื่องตัวเอง ที่ง่ายที่สุด ที่คุณทำได้เอง !
วิธี Restore อีเมล์ด้วยไฟล์ *.pst (Inbox, Sent item, Contacts, etc.)

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการทำงานของ Maildee E-mail Server

1. เมื่อ ทำการส่ง E-mail จาก Domain ใดๆ แล้ว ตัว E-mail จะวิ่งไปหา Name Server ของ Maildee นั้นก็คือ Ns1.maildee.com , Ns2.maildee.com โดยจะมีระบบ DNS คอยชี้ค่า E-mail ไปยังค่า MX ที่กำหนดไว้ใน DNS

ขั้นตอนที่ 1


2. หลังจาก DNS ชี้ค่าให้ E-mail วิ่งมาที่ MX แล้วนั้น E-mail จะส่งไปยัง Server ที่ mx กำหนด เพื่อส่งต่อไปยังตัว Server Spam Guard 

ขั้นตอนที่ 2


3. เมื่อ E-mail เข้ามายัง Server Spam Guard ตัว Spam Guard จะกรอก E-mail ว่าเป็น Spam หรือไม่ หากเป็น E-mail Spam Server Spam Guard จะดีดกลับหาต้นทางที่ส่งมา หรือ กั๊กไว้ใน Server Spam Guard 


4. หาก Server Spam Guard กรอกเรียบร้อยแล้ว จะดีดไปยัง  Server ที่มีหน้าที่ส่ง E-mail หาปลายทาง
ขั้นตอนที่ 3 และ ขั้นตอนที่ 4



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพสูงที่ใช้งานร่วมกับ Google Apps ได้เป็นอย่างดี




วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

Email Header บอกอะไรเราได้บ้าง


Email Header บอกอะไรเราได้บ้าง

Header คือ ส่วนหัวอีเมล์ เป็น Code ที่ถูกซ่อนไว้อยู่ ในที่นี้เราจะมาดูรายละเอียดกันว่า แต่ละบรรทัดนั้น แปลว่าอะไร และมีหน้าที่อย่างไร


Return-path: <name@domain.com>
Envelope-to: name2@domain2.com
Delivery-date: Mon, 23 Mar 2015 20:30:01 -0500
Received: from delivery.antispamcloud.com ([xxx.x.xx.xxx) 
     by ibm-sg-ssd-1.maildee.com with esmtps (TLSv1.2:DHE-RSA-AES256-GCM-SHA384:256)      (Exim 4.84)      (envelope-from <name@domain.com>) 
     id 1YaDfL-0006EV-Ps 
     for name2@domain2.com; Mon, 23 Mar 2015 20:30:01 -0500

Return-path: คือ บัญชีอีเมล์ต้นทาง (ผู้ส่ง)
Envelope-to: คือ บัญชีอีเมล์ปลายทาง (ผู้รับ)
Delivery-date: คือ วันที่และเวลาที่ข้อความอีเมล์มาถึงผู้รับ
Received: from ......... คือ ชื่อ Server ของผู้ส่ง และจะบอก IP Address ด้วยว่าต้นทางส่งมาจากที่ใด

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธี View Source เพื่อดู Header ของอีเมล์


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพสูงที่ใช้งานร่วมกับ Google Apps ได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

ทำไมเราถึงได้รับอีเมล์ที่ส่งมาจาก User ของเราเองทั้งๆที่เราไม่ได้ส่ง​?


ทำไมเราถึงได้รับอีเมล์ที่ส่งมาจาก User ของเราเองทั้งๆที่เราไม่ได้ส่ง​?

User ที่มีการใช้งานอีเมล์ทุกวัน หรือ บ่อย มีโอาสพบปัญหาเช่นนี้ได้ กล่าวคือ ได้รับอีเมล์ที่มี From: เป็นชื่ออีเมล์ของ User เอง แต่ User ไม่ได้เป็นคนส่ง หรือว่ามีเงื่อนงำอะไรบางอย่างซ่อนอยู่?


ความจริงแล้วมันมาจากไหน?

เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อดูที่ Header ของอีเมล์ฉบับดังกล่าวว่าข้อความถูกส่งมาจากที่ใด ยกตัวอย่างตามภาพ


ตัวอย่างของ Header

ในกรอบสีเหลือง จะสังเกตได้ว่า หัวข้อ Received: from ....... จะแสดงข้อมูลที่ต่างกับหัวข้อ Received: ด้านบน ซึ่งเมื่อเรานำ IP ไป Look up ดูว่าเป็น IP จากประเทศใด ก็จะรู้ได้ทันทีว่า Spammer มาจากประเทศนั้น ๆ แสดง Spammer นำ Username, Password ของเราไป Authen ผ่าน Mail Server ตัวอื่น จากนั้นก็กระจายอีเมล์ที่เป็นสแปมส่งไปให้ผู้อื่น และส่งกลับมาให้เราด้วย


เราต้องป้องกันอย่างไร?

สิ่งที่เราควรทำ และทำได้เลย คือ การนำ Hostname หรือ Domain ที่แสดงอยู่ในกรอบสีเหลือง ไป Add เป็น Sender Blacklist ก็จะทำให้ปัญหา Domain ดังกล่าวไม่สามารถส่งข้อความเข้ามาได้อีก


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้ง สำหรับองค์กรคุณภาพ

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กรณีที่ 1 ลูกค้ายังไม่มีโดเมน

กรณีที่ 1 ลูกค้ายังไม่มีโดเมน


1) เตรียมเอกสาร เพื่อ Upload ขึ้นเว็บไซต์ https://admin.technologyland.co.th/pay/

- หลักฐานการชำระค่าบริการ (PDF, JPG, GIF, PNG)
- เอกสารยืนยันการใช้บริการอีเมล์โฮสติ้ง ซึ่งอยู่ในใบเสนอราคาหน้าที่ 3

ให้ผู้มีอำนาจเซ็นยอมรับเงื่อนไขและสัญญาการให้บริการ


2) เตรียมข้อมูลทางเทคนิค ส่งมาให้ทางบริษัทฯ

ส่งรายชื่ออีเมล์ที่ต้องการติดตั้งมาทางอีเมล์ของผู้ให้บริการ

หมายเหตุ สำหรับลูกค้าที่ต้องการจดโดเมน .co.th จะต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

กรณีที่ 2 ลูกค้ามีโดเมน .com อยู่แล้ว

กรณีที่ 2 ลูกค้ามีโดเมน .com อยู่แล้ว


1) เตรียมเอกสาร เพื่อ Upload ขึ้นเว็บไซต์ https://admin.technologyland.co.th/pay/

- หลักฐานการชำระค่าบริการ (PDF, JPG, GIF, PNG)
- เอกสารยืนยันการใช้บริการอีเมล์โฮสติ้ง ซึ่งอยู่ในใบเสนอราคาหน้าที่ 3

ให้ผู้มีอำนาจเซ็นยอมรับเงื่อนไขและสัญญาการให้บริการ


2) เตรียมข้อมูลทางเทคนิค ส่งมาให้ทางบริษัทฯ

- Control Panel (Cpanel) ของโดเมนที่ลูกค้าใช้บริการอยู่ ซึ่งสามารถขอได้จากผู้ให้บริการรายเดิม
    1) Cpanel ของ yourcompany.com ที่สามารถเปลี่ยน ค่า DNS, TXT, MX ได้
    2) Cpanel ของ Domain: yourcompany.com ที่ สามารถเปลี่ยนค่า NS ได้
ข้อใดข้อหนึ่ง

ตัวอย่างหน้า Control Panel ที่บริษัทฯ ต้องการ

- รายชื่ออีเมล์ที่ต้องการให้ทางบริษัทฯ ติดตั้งก่อน (สามารถขอเพิ่มหรือลบภายหลังติดตั้งระบบได้)

ส่งรายชื่ออีเมล์ที่ต้องการติดตั้งมาทางอีเมล์ของผู้ให้บริการ

- วันที่ที่ต้องการให้ดำเนินการย้ายระบบ ซึ่งทางบริษัทฯ จะดำเนินการในช่วงกลางคืนที่ Mail Server ของทางบริษัทฯเอง โดยลูกค้าจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด คือ ในช่วงเวลาที่ End-users ไม่ค่อยได้ใช้งานอีเมล์


หมายเหตุ ก่อนทำการนัดหมายการย้ายระบบ ลูกค้าจะต้องทำการ Backup อีเมล์ในระบบเก่าด้วยตนเองให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งในส่วนนี้ทางบริษัทฯ จะไม่ได้รับบริการย้ายข้อมูลในระบบเก่า

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

Email Hosting/Server Service Provider

กรณีที่ 3 ลูกค้ามีโดเมน .th อยู่แล้ว

กรณีที่ 3 ลูกค้ามีโดเมน .th อยู่แล้ว


1) เตรียมเอกสาร เพื่อ Upload ขึ้นเว็บไซต์ https://admin.technologyland.co.th/pay/

- หลักฐานการชำระค่าบริการ (PDF, JPG, GIF, PNG)
- เอกสารยืนยันการใช้บริการอีเมล์โฮสติ้ง ซึ่งอยู่ในใบเสนอราคาหน้าที่ 3

ให้ผู้มีอำนาจเซ็นยอมรับเงื่อนไขและสัญญาการให้บริการ

2) เตรียมข้อมูลทางเทคนิค ส่งมาให้ทางบริษัทฯ

Control Panel (Cpanel) ของโดเมนที่ลูกค้าใช้บริการอยู่ ซึ่งสามารถขอได้จากผู้ให้บริการรายเดิม
    1) Cpanel ของ yourcompany.com ที่สามารถเปลี่ยน ค่า DNS, TXT, MX ได้
    2) Cpanel ของ Domain: yourcompany.com ที่ สามารถเปลี่ยนค่า NS ได้
ข้อใดข้อหนึ่ง

กรณีลูกค้าไม่สามารถขอรายละเอียดการเข้าถึงหน้า Control Panel ของโดเมนเนม หรือติดต่อผู้ให้บริการรายเดิมได้ ให้ทำการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมนเนมโดยใช้กระบวนการทางเอกสารดังนี้

            1. หนังสือรับรองบริษัท ที่มีอายุไม่เกิน 2 เดือน พร้อมตราประทับและลายเซ็นของผู้มีอำนาจพร้อมระบุชื่อ-นามสกุลเป็นตัวบรรจง
            2. ใบขอเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมน พร้อมตราประทับและลายเซ็นของผู้มีอำนาจพร้อมระบุเป็นตัวบรรจง

วิธีการเตรียมเอกสารย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

รายชื่ออีเมล์ที่ต้องการให้ทางบริษัทฯ ติดตั้งก่อน (สามารถขอเพิ่มหรือลบภายหลังติดตั้งระบบได้)


ส่งรายชื่ออีเมล์ที่ต้องการติดตั้งมาทางอีเมล์ของผู้ให้บริการ

วันที่ที่ต้องการให้ดำเนินการย้ายระบบ ซึ่งทางบริษัทฯ จะดำเนินการในช่วงกลางคืนที่ Mail Server ของทางบริษัทฯเอง เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลกระทบน้อยที่สุด 


หมายเหตุ ก่อนทำการนัดหมายการย้ายระบบ ลูกค้าจะต้องทำการ Backup อีเมล์ในระบบเก่าด้วยตนเองให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งในส่วนนี้ทางบริษัทฯ จะไม่ได้รับบริการย้ายข้อมูลในระบบเก่า

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

Email Hosting/Server Service Provider