วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หมายเลข IP กับ Hostname หรือ Domain name ต่างกันอย่างไร และ มีประโยชน์อย่างไร



          IP คือ หมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ของแต่ละเครื่อง ที่มีหน้าที่ระบุว่าตัวเลข IP นี้เป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ หรือ Server เครื่องนี้ โดย IP นั้นจะไม่ทางซ้ำกันได้เลย เพื่อที่เวลามีการรับ - ส่งข้อมูล จะได้ส่งข้อมูลเข้าไปยังเครื่องที่ถูกต้อง เช่น 123.45.67.890 ถ้าให้นึกภาพง่าย ๆ คือ เวลาส่งจดหมายเราก็ต้องรู้บ้านเลขที่ของผู้รับก่อน เพื่อที่บุรุษไปรษณีย์จะสามารถส่งจดหมายได้ถูกบ้าน



Hostname คือ ชื่อเรียกของ Hosting ซึ่งแปลงมาจาก IP Hosting ให้เป็นชื่อที่เข้าใจง่ายแทนที่จะจดจำเป็นค่าตัวเลข และอาจมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการนั้นหรือเป็นที่เข้าใจกันในองค์กร ยกตัวอย่าง Email: aa@thailandemailserver.com เมื่อเราจะตั้งค่าบน Client อย่างเช่น Thunderbird, MS Outlook จะต้องมีการใส่ค่า Hostmame เพื่อให้ Program รู้ว่าเราจะ Connect อีเมลดังกล่าวกับ Server ที่ไหน เช่น mail.thailandemailserver.com ในเชิงเทคนิค Hostname: mail.thailandemailserver.com ก็จะถูกชี้ค่าไปยัง IP ของ Mail Server ที่ใช้งานอยู่

ใครที่ยังไม่เข้าใจก็ให้มองว่า Hostname นั้นเปรียบเสมือนชื่อเล่น หรือฉายาไปก่อน เราสามารถมีฉายาได้มากกว่า 1 ชื่อ แล้วแต่ว่าเราจะตั้งชื่อ Hostname เป็นอะไรบ้าง เช่น mail.thailandemailserver.com, pop.thailandemailserver.com, imap.thailandemailserver.com หรือ smtp.thailandemailserver.com เป็นต้น



Domain name คือ ชื่อที่อยู่หลังสัญลักษณ์ @ เช่น sanook.com, kapook.com, maildee.com เป็นต้น
ซึ่งเราสามารถลงทะเบียนเป็นเจ้าของชื่อต่าง ๆ ได้ โดยมีค่าบริการรายปี เสมือนการเช่าบ้าน ถ้าไม่ได้มีการต่ออายุ ผู้อื่นก็มีสิทธิ์ใช้ชื่อโดเมนของเราแทนได้

โดเมนเนมเป็นหัวใจสำคัญในการทำเว็บไซต์ และทำระบบอีเมล ถ้าไม่มีโดเมนเนมก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย ดังนั้นผู้ที่ดูแลโดเมนเนมควรเป็นนิติบุคคลที่ไว้ใจได้ เพราะหากให้ใครคนใดคนหนึ่งจดทะเบียนโดเมนเนมให้ แล้วในอนาคตเราไม่สามารถติดต่อคน ๆ นั้นได้ พอโดเมนเนมหมดอายุเราก็มีสิทธิ์ที่จะ Lost ชื่อโดเมนของเราอย่างง่ายดาย

ชื่อโดเมนเนมที่ตั้งก็ควรจะเป็นชื่อที่ง่ายต่อการจดจำ เพื่อให้คนอื่นเข้าถึงง่าย ทำการตลาดได้ง่าย ๆ
มีความหมายในเชิงบวก


บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีทำเว็บไซต์ตัวเอง ให้โชว์เป็น Domain บนเว็บไซต์ และให้่คนอื่นดูได้Name Server (NS) หรือ DNS ใน Domain name (โดเมนเนม) คือ อะไร และ ทำงานอย่างไร

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการอีเมลโฮสติ้งที่ดีที่สุดของไทย

การย้ายผู้ดูแลโดเมน .com ทำอย่างไร


การย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

การย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ เราต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการ Web/Email hosting ซึ่งในครั้งแรกที่เราใช้งาน ผู้ให้บริการมักจะจดทะเบียนโดเมนมาให้เราอยู่แล้ว เมื่อเรายกเลิกบริการต่าง ๆ ไป โดยที่ไม่ได้ย้ายโดเมนเนม อาจจะทำให้เราไม่สามารถรักษาสถานภาพความเป็นเจ้าของโดเมนเนมนี้ไว้ได้ เมื่อถึงวันที่โดเมนเนมหมดอายุ ชื่อโดเมนดังกล่าวก็จะกลายเป็นโดเมนว่าง ซึ่งใครก็มีโอกาสที่จะแย่งชื่อโดเมนเนมดี ๆ ไปจากเราได้

กล่าวถึงขั้นตอนการย้ายโดเมนเนม .com ที่มีความซับซ้อนพอสมควร และจำเป็นที่จะต้อง Contact กับผู้จดทะเบียนโดเมนเนมให้เราตั้งแต่แรกได้ด้วย
เรามาดู Flow ขั้นตอนการ Transfer Domain.com จากภาพนี้ และคำอธิบายใต้ภาพกัน




จากภาพเป็น Flow chart การ Transfer Domain.com ที่ผู้ให้บริการเป็น Whois.com อยู่แล้ว แล้วต้องการย้ายไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ที่เป็น Whois เหมือนกัน ก็ให้ดูตาม Flow ที่กล่องที่เขียนว่า 'Whois/RS'
แต่ถ้าจะย้ายไปที่ Reseller อื่น ๆ ก็ให้ไปตาม Flow ที่เขียนว่า 'Other' โดยไล่เรียงจากเส้นสีน้ำเงินเป็นขั้นตอนอย่างละเอียด


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

รับติดตั้ง email hosting สำหรับองค์กรบน Data center ที่เสถียรที่สุด

ตัวอย่างการเพิ่มค่า A Record ในส่วน DNS ใน DirectAdmin

เริ่มจากเข้าไปที่ DNS Management ใน Control Panel ของโดเมนนั้น ๆ ก่อน


การเพิ่มค่า A Record จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วน Name และ Value โดยในส่วนของ Name เป็นช่องสำหรับใส่ Hostname ส่วนของ Value เป็นช่องสำหรับใส่ IP Address เมื่อใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กด Add

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

รับติดตั้ง email hosting สำหรับองค์กรบน Data center ที่เสถียรที่สุด

ตัวอย่างการเพิ่มค่า CNAME ในส่วน DNS ใน DirectAdmin

การตั้งค่า DNS เริ่มจากเข้าไปที่ DNS Management ใน Control Panel ของโดเมนนั้น ๆ ก่อน



การเพิ่มค่า Cname record จะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วน Name และ Value โดยในส่วนของ Name เป็นช่องสำหรับใส่ Hostname เช่น imap, mail, smtp 

ส่วนของ Value เป็นช่องสำหรับใส่ค่า CNAME โดยสังเกตรูปแบบข้างบนด้วยว่ามีการใส่ข้อมูลรูปแบบใด เพราะหน้า Control Panel บางค่ายอาจมีการใส่เครื่องหมาย . ต่อท้ายค่า Value ด้วยถ้าเราไม่ได้ใส่ข้อมูลตามรูปแบบที่มีอยู่แล้วจะทำให้กำหนดข้อมูล DNS ไม่ถูกต้อง เมื่อใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้กด Add


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

รับติดตั้ง email hosting สำหรับองค์กรบน Data center ที่เสถียรที่สุด

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ค่าบริการ Email Server สามารถหัก ณ ที่จ่ายได้ไหม




ค่าบริการของ Email Server สามารถนำมาใช้ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ โดยถือเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในหมวดของค่าบริการ หัก 3% (ค่าบริการ ในที่นี่หมายถึง ผลงานที่ได้ ไม่ได้ออกมาเป็นรูปร่างหน้าตา เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต)

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

บริการ Email Server สำหรับองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ต้องการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม .co.th ต้องใช้เอกสารใดบ้าง


การย้ายผู้ดูแล Domain.co.th สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • Domain ต้องจดทะเบียนเกิน 60 วันขึ้นไป จึงจะทำการย้ายได้
  • Domain ที่จะทำการย้าย ต้องยังไม่หมดอายุ และเหลือวันที่จะหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน
  • หาบริษัทที่ดูแลโดเมนและโฮส รายใหม่ที่ต้องการใช้บริการ
  • แจ้งความต้องการใช้บริการกับโฮสรายใหม่ และยื่นเอกสารประกอบการย้ายผู้ดูแล Domain จนกว่าจะมีการยืนยันว่าโดเมนของเราถูกย้ายมาที่ผู้ให้บริการรายใหม่แล้ว

ในการจะย้ายผู้ดูแล Domain.co.th จำเป็นต้องใช้เอกสารที่มีผลทางกฏหมาย เนื่องจากเป็นการจดโดเมนในนาม หจก. บจก. บมจ.  โดยเอกสารเหล่านั้นประกอบด้วย

  • หนังสือรับรองนิติบุคคลหน้าแรกโดยต้องมีลายเซ็น ชื่อและตำแหน่งตัวบรรจงของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท (ชื่อของผู้มีอำนาจลงนามต้องเป็นไปตามข้อที่ 3 ในหนังสือรับรองนิติบุคคล)


  • เอกสารแจ้งการขอเปลี่ยนผู้ดูแล Domain โดยทางบริษัทผู้ให้บริการใหม่จะแนบไฟล์ส่งให้ผู้รับบริการใส่ลายละเอียดหัวกระดาษ ชื่อบริษัท ลายเซ็น ระบุชื่อตำแหน่งตัวบรรจงของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท เพื่อนำไปแจ้งต่อบริษัทผู้ให้บริการเก่า

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์​ จำกัด

Email hosting สำหรับองค์กร คุณภาพดี ราคาประหยัด

เอกสารสำหรับใช้ในการจดโดเมน .co.th มีอะไรบ้าง



หากเราต้องการ อีเมล @domainname.co.th อันดับแรกท่านจะต้องจดทะเบียน Domain ในนามของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท หรือ บริษัท (มหาชน) ที่มีที่ตั้งของบริษัทอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น (ส่วนนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย)จึงสามารถจด Domain.co.th ได้

โดยเอกสารที่ใชประกอบการจด Domain.co.th ประกอบด้วย

          -  เอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล (ที่มีอายุไม่เกิน 60 วัน ดูได้จากวงกลมสีแดงตามรูป)
      


ส่วนการตั้งชื่อโดเมนนั้น มีหลักการในการใช้ชื่อดังนี้

  • ชื่อโดเมนที่เลือกจะต้องใช้อักษรที่มาจากชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ 
  • ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะต้องประกอบด้วยอักษรหรือตัวเลข (a-z, 0-9) อย่างน้อย 2 ตัวอักษร แต่ไม่      เกิน 63 ตัวอักษร                 
  • ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้อง เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท หรือเป็นตัวย่อก็ได้ ยกตัวอย่าง
    บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัดต้องการจดทะเบียนโดเมน ควรใช้ชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า technologyland.co.th    หรืออาจจะเป็น tl.co.th ก็ได้เช่นกัน เพราะถือเป็นอักษรย่อของชื่อบริษัท 
  • ไม่สามารถนำคำที่ไม่มีอยู่ในชื่อของบริษัท มาใช้ตั้งโดเมนได้ ยกตัวอย่าง technologyland-           thailand.co.th ชื่อนี้จะไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจาก คำว่า thailand ไม่มีอยู่ในชื่อของบริษัท

บทความโดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ จัด ทำอีเมล์สำหรับบริษัท.co.th คุณภาพสูง