วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การตั้งค่า Whitelisted domain เพื่อให้ได้รับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้ง


ปัญหารับอีเมลจากผู้ส่งไม่ได้

สาเหตุหลักมักเกิดจาก Server ของผู้ส่งติด Blacklisted หรือว่า DNS ของ Domain ผู้ส่งติด Blacklisted ซึ่งจะทำให้ตัวกรองของ Server ผู้รับนั้น ไม่กล้ารับอีเมลจากผู้ส่งที่ติด Blacklisted

ถ้าเราต้องการรับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้งทำอย่างไร?

การเพิ่ม Domain ของผู้ส่งให้เป็น Whitelisted จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ โดยผู้รับต้องมีตัวกรองจัดการที่ดี สามารถเพิ่มโดเมน หรืออีเมล เป็น Sender whitelist ได้ แม้ว่าผู้ส่งจะใช้ Server ที่ติด Blacklisted ส่งเข้ามา Server ผู้รับก็จะมองข้ามข้อนี้ไป เนื่องจากเราตั้งค่าให้โดเมนผู้ส่งเป็น Sender whitelist แล้ว ในทุก ๆ ครั้งที่มีการส่งอีเมลจาก Sender ดังกล่าว ผู้รับก็จะสามารถรับข้อความได้ทุกฉบับ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้เราไม่ได้รับอีเมลจากผู้ส่ง เช่น ปัญหา Bandwidth ของ Server ผู้ส่งเต็ม ทำให้อีเมลไปคิวใน Sender's server ซึ่งในส่วนนี้จะใช้วิธี Add whitelist ไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาของ Server ต้นทางเอง

Technology Land Co., Ltd.

Email hosting สำหรับองค์กร บริการที่ดีที่สุด

ระบบกรอง Spam ที่ดีควรเป็นอย่างไร

    
หน้าที่หลักของ ระบบกรอง Spam คือ คัดกรองเอาแต่เนื้อหาที่เป็น Spam ออกไป ให้เหลือแต่ Email ที่ต้องการ หลักการทำงานคล้ายเครื่องกรองอากาศที่จะกรองเฉพาะของเสียออก แล้วนำเอาเฉพาะอากาศที่บริสุทธิ์ผ่านเข้าไปเท่านั้น ดังนั้นระบบกรอง Spam ที่ดีนั้นควรมีคุณสมบัติดังนี้


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

บริการ Email hosting สำหรับธุรกิจ ทั้ง SME และ Enterprise

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

[Outlook for mobile] วิธีตั้งค่าให้ Sent Folder บนมือถือ Sync กับหน้าเว็บเมล


เหตุใดข้อความอีเมลบน Sent Folder ที่มือถือ ไม่ตรงกับบนหน้า Webmail ?

ต้องเรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติของการใช้งานมือถือ Smart Phone ร่วมกับ Webmail ซึ่งมือถือจะมีการตั้งค่าเป็น Default ไว้เลยว่าหากทำการส่งข้อความจากบนมือถือ ให้เก็บข้อมูลไว้ที่อุปกรณ์ที่ใช้งาน จะไม่ได้ Sync กับ Webmail มาตั้งแต่แรก

เราสามารถตั้งค่าการ sync ข้อความใน Sent Folder บนมือถือได้ดังนี้

1. ไปที่ Settings จากนั้นเลือกบัญชีอีเมลที่ต้องการตั้งค่า


2. เลือก Advanced Settings



3. เลือกโฟลเดอร์ Sent เพื่อเข้าไปตั้งค่า



4.  จากนั้นให้เลือก Folder: Sent ที่ถูกต้อง จากนั้นกดไอคอนกากบาทเพื่อกลับสู่หน้าจอหลักของ Outlook


เลือกโฟลเดอร์ Sent ให้ตรงกับหน้าเว็บเมล


5. ไปที่เมนู Mail เพื่อเช็คว่า Sent Folder ตรงกับมือถือแล้วหรือไม่
 


6. ไปที่ไอคอน Settings


7. เลือกบัญชีอีเมลที่ตั้งค่า และเปิดที่ Folder: Sent



8. ข้อความ Sent Folder ก็จะแสดงตรงกับหน้า Webmail


9. หากเลือก Folder ถูกต้อง ตรงกับ Webmail ข้อความก็จะแสดงเหมือนกับหน้า Webmail

 

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการอีเมลโฮสติ้งสำหรับองค์กรคุณภาพสูง

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

[Thunderbird] วิธีสร้าง Message filters เพื่อย้ายข้อความไปอยู่ใน Sub folder อัตโนมัติ

Message filters คืออะไร

ฟังก์ชั่นการทำงานของ Message filters ในโปรแกรม Mozilla Thunderbird นี้ จะเหมือนกับการสร้าง Rules ในโปรแกรม Microsoft Outlook ซึ่งเป็นลักษณะการสร้างเงื่อนไขข้อความขารับ เช่น ต้องการให้ข้อความของ Mr. A ที่ส่งมานั้น ย้ายไปอยู่ใน Sub folder ชื่อ Mr. A ที่เราสร้างขึ้นอัตโนมัติ

ประโยชน์ของ Message filters

ประโยชน์หลักของฟังก์ชั่นนี้ คือ เพื่อจัดประเภทข้อความใน Inbox ให้เป็นระเบียบ ถ้าไม่ต้องการให้ข้อความขาเข้าทุกอย่างมารวมกันอยู่ใน INBOX นั้น ก็ควรใช้ Message filters เป็นอย่างยิ่งเพื่อง่ายต่อการค้นหาข้อความเก่า ๆ


ตัวอย่างการใช้ Messages filters โดยจะตั้งเงื่อนไขดังนี้

1. ข้อความจาก Email account: tland.thailand@gmail.com ย้ายไปที่ Sub folder: TL Message อัตโนมัติ
2. ข้อความที่มีเนื้อหา Technology Land Co., Ltd. ให้ย้ายไปยัง Sub folder: TL Content อัตโนมัติ

ขั้นตอนการตั้ง Message filters


1. สร้าง Folder ใหม่ภายใต้ Folder: Inbox ขึ้นมา 1 โฟลเดอร์

คลิกขวาที่ INBOX จากนั้นเลือก New Folder....

2. ตั้งชื่อ Sub Folder ที่ต้องการ ตัวอย่างจะตั้งชื่อว่า "Mr. A"

ตั้งชื่อ Sub Folder จากนั้นคลิกปุ่ม Create Folder

3. ตั้งค่าให้ Menu Bar แสดงผลที่แถบด้านบนก่อน

คลิกขวาที่แถบสีฟ้าด้านบน จากนั้นเลือก Menu Bar

4. เปิดฟังก์ชั่น Message Filters

คลิกที่ Tools > Message Filters

5. จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างดังภาพ สามารถเริ่มสร้าง Filters ได้เลย

คลิกปุ่ม New....

6. สร้างชื่อฟังก์ชั่น และกำหนดเงื่อนไขดังนี้

1. ตั้งชื่อ Filter ของเรา
2. กำหนดเงื่อนไขว่า From > is > ชื่อบัญชีอีเมลของ Mr. A
3. กำหนดผลปลายทางว่าจะให้ข้อความย้ายไปที่โฟลเดอร์ใด เลือก
Move message to > Subfolder: Mr. A (ที่อยู่ใน Inbox)
4. กดปุ่ม OK เมื่อกำหนดค่าเสร็จ

7. จากนั้น Filter: Incoming_Mr.A ที่เราสร้างขึ้นจะปรากฏที่ Message Filters ซึ่งเราสามารถสร้างเงื่อนไขอย่างอื่นเพิ่มเติมได้อีก โดยการกดปุ่ม New... หรือเข้าไปแก้ไข Filter ที่ปุ่ม Edit

ปุ่ม Run Now ใช้สำหรับให้โปรแกรมทำการดึงข้อความไปยังโฟลเดอร์ปลายทาง
ตามเงื่อนไข Filter ที่เราสร้างขึ้นมาทันที (จะกดหรือไม่ก็ได้)

8. เมื่อกดปุ่ม Run Now โปรแกรมก็จะทำการดึงข้อความไปยังโฟลเดอร์ Mr. A ทันที โดยข้อความจาก Mr. A ที่จะเข้ามาในอนาคต ก็จะ Run ตาม Filter ที่เราสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ

ข้อความจากอีเมลของ Mr. A จะถูกย้ายมาเก็บที่ Sub Folder: Mr. A ทันที

บทความที่เกี่ยวกับ Mozilla Thunderbird


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการด้านบริการอีเมลโฮสติ้งที่ดีที่สุดของประเทศไทย

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Hop Count Exceeded คืออะไร


ตัวอย่างข้อความตีกลับ

The following message to <name@domain.com> was undeliverable.
The reason for the problem:
5.3.0 - Other mail system problem 554-'5.4.6 Hop count exceeded - possible mail loop'


Reporting-MTA: dns; sub.domain.com

Final-Recipient: rfc822;name@domain.com
Action: failed
Status: 5.0.0 (permanent failure)
Remote-MTA: dns; [198.168.xx.xxx]
Diagnostic-Code: smtp; 5.3.0 - Other mail system problem 554-'5.4.6 Hop count exceeded - possible mail loop' (delivery attempts: 0)


ข้อความตีกลับเกิดขึ้นเมื่อ ผู้ส่งพยายามส่งข้อความไปที่โฮสของ Outlook.com ไปข้อความไปไม่ถึงผู้รับ โดยจะถูกตีกลับทันที

สาเหตุ

สาเหตุมาจากการตั้งค่าใน Server ไม่ถูกต้อง ของ Server ปลายทาง

วิธีการแก้ไขปัญหา (คลิกที่นี่)

ผู้ให้บริการ Email Hosting บริการรวดเร็ว ประทับใจ

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความแตกต่างของการใช้ MTA แบบ No Authentication กับใช้ Client



ส่วนใหญ่การส่งข้อความนั้นจะต้องมีการยืนยันตัวตน อย่างเช่น มี Username, Password และชื่อ Hostname ว่าผู้ส่งใช้ช่องทาง (MTA) ใดในการส่งข้อความ

MTA ที่เรารู้จักกันอยู่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวก Client program อย่าง Microsoft Outlook, Mozilla Thunderbird, IncrediMail, Windows Live เป็นต้น วิธีการส่งของ Client นี้ก็จะต้องมีการ Authentication ด้วย Hostname, Username และ Password ดังตัวอย่าง


และอีกประเภทคือ MTA โดยใช้ IP Address ในการยืนยันตัวตน วิธีการเช่นกันเราไม่จำเป็นต้องใช้ Username หรือ Password ในการส่งข้อมูลเลย เพียงแค่เข้าไปตั้งหมายเลขไอพีของเราใน Router

วิธีการค้นหาหมายเลขไอพีของเรา

ค้นหาคำว่า "What is my IP" จากเว็บ google.co.th


ลักษณะการใช้ MTA แบบ No Authentication (Mail Relay)





บทความที่เกี่ยวข้อง
MTA's Poor Reputation คือ อะไร

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

[Outlook] วิธีย้ายแหล่งเก็บอีเมล หรือ Store Location ไปยัง D:\ (วิธีที่ 2)



1. เปิดโปรแกรม Microsoft Outlook

ไปที่ 'File'

2. ไปที่ Account settings
1. เลือก 'Info'
2. คลิก 'Account Settings'

3. เปิด File Location เพื่อให้เราทราบแหล่งเก็บข้อมูลปัจจุบัน
1. เลือกบัญชีอีเมลปัจจุบัน
2. คลิก 'Open File Location'

4. Copy .pst file เพื่อเตรียมไปไว้ในไดร์ฟ D (หรือที่อยู่ใหม่)
เลือกแหล่งเก็บข้อมูลปัจจุบัน คลิกขวา และทำการ Copy ไฟล์ดังกล่าว 


5. พักหน้าจอหน้าโปรแกรม MS Outlook สักครู่ เพื่อออกมาสร้างโฟลเดอร์ใหม่ในไดร์ฟ D และ Paste ข้อมูลที่ Copy ไว้ในขั้นตอนที่ 4 ดังภาพ

สร้างโฟลเดอร์ใหม่ในไดร์ฟ D ที่ต้องการเก็บข้อมูลดังภาพ จากนั้นคลิกขวา กด Paste (วาง)

5. กลับมาที่โปรแกรม MS Outlook อีกครั้ง เพื่อทำการ Add file จากไดร์ฟ D และเปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูล
คลิกปุ่ม 'Add'

6. เลือกไฟล์ .pst ที่ไดร์ฟ D เพื่อเปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูล
คลิกที่ไฟล์ .pst ในไดร์ฟ D
จากนั้นกดปุ่ม 'OK'

7. ตั้งค่าให้โปรแกรมบันทึกข้อมูลใหม่จากไดร์ฟ D
1. เลือกแหล่งที่อยู่ใหม่ในไดร์ฟ D
2. คลิก 'Set as Default'

8. ระบบจะถามว่าต้องการเปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูลใหม่ ๆ ใช่หรือไม่

คลิกปุ่ม 'OK'

9. เมื่อทำการกด Set as default แหล่งเก็บข้อมูลที่ไดร์ฟ D แล้ว ให้ Remove แหล่งเก็บข้อมูลเก่าออก

1. เลือกแหล่งเก็บข้อมูลเดิม (C:)
2. คลิกปุ่ม 'Remove'

10. ยืนยันการ Remove Location ในไดร์ฟ C:\

คลิกปุ่ม 'Yes'

11. แหล่งเก็บข้อความอีเมลถูกเปลี่ยนเป็นไดร์ฟ D:\ แล้ว

เปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูลมายังไดร์ฟ D เรียบร้อยแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้ให้บริการอีเมลโฮสติ้งที่ดีที่สุดของไทย