วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความแตกต่างของการใช้ MTA แบบ No Authentication กับใช้ Client



ส่วนใหญ่การส่งข้อความนั้นจะต้องมีการยืนยันตัวตน อย่างเช่น มี Username, Password และชื่อ Hostname ว่าผู้ส่งใช้ช่องทาง (MTA) ใดในการส่งข้อความ

MTA ที่เรารู้จักกันอยู่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวก Client program อย่าง Microsoft Outlook, Mozilla Thunderbird, IncrediMail, Windows Live เป็นต้น วิธีการส่งของ Client นี้ก็จะต้องมีการ Authentication ด้วย Hostname, Username และ Password ดังตัวอย่าง


และอีกประเภทคือ MTA โดยใช้ IP Address ในการยืนยันตัวตน วิธีการเช่นกันเราไม่จำเป็นต้องใช้ Username หรือ Password ในการส่งข้อมูลเลย เพียงแค่เข้าไปตั้งหมายเลขไอพีของเราใน Router

วิธีการค้นหาหมายเลขไอพีของเรา

ค้นหาคำว่า "What is my IP" จากเว็บ google.co.th


ลักษณะการใช้ MTA แบบ No Authentication (Mail Relay)





บทความที่เกี่ยวข้อง
MTA's Poor Reputation คือ อะไร

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

[Outlook] วิธีย้ายแหล่งเก็บอีเมล หรือ Store Location ไปยัง D:\ (วิธีที่ 2)



1. เปิดโปรแกรม Microsoft Outlook

ไปที่ 'File'

2. ไปที่ Account settings
1. เลือก 'Info'
2. คลิก 'Account Settings'

3. เปิด File Location เพื่อให้เราทราบแหล่งเก็บข้อมูลปัจจุบัน
1. เลือกบัญชีอีเมลปัจจุบัน
2. คลิก 'Open File Location'

4. Copy .pst file เพื่อเตรียมไปไว้ในไดร์ฟ D (หรือที่อยู่ใหม่)
เลือกแหล่งเก็บข้อมูลปัจจุบัน คลิกขวา และทำการ Copy ไฟล์ดังกล่าว 


5. พักหน้าจอหน้าโปรแกรม MS Outlook สักครู่ เพื่อออกมาสร้างโฟลเดอร์ใหม่ในไดร์ฟ D และ Paste ข้อมูลที่ Copy ไว้ในขั้นตอนที่ 4 ดังภาพ

สร้างโฟลเดอร์ใหม่ในไดร์ฟ D ที่ต้องการเก็บข้อมูลดังภาพ จากนั้นคลิกขวา กด Paste (วาง)

5. กลับมาที่โปรแกรม MS Outlook อีกครั้ง เพื่อทำการ Add file จากไดร์ฟ D และเปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูล
คลิกปุ่ม 'Add'

6. เลือกไฟล์ .pst ที่ไดร์ฟ D เพื่อเปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูล
คลิกที่ไฟล์ .pst ในไดร์ฟ D
จากนั้นกดปุ่ม 'OK'

7. ตั้งค่าให้โปรแกรมบันทึกข้อมูลใหม่จากไดร์ฟ D
1. เลือกแหล่งที่อยู่ใหม่ในไดร์ฟ D
2. คลิก 'Set as Default'

8. ระบบจะถามว่าต้องการเปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูลใหม่ ๆ ใช่หรือไม่

คลิกปุ่ม 'OK'

9. เมื่อทำการกด Set as default แหล่งเก็บข้อมูลที่ไดร์ฟ D แล้ว ให้ Remove แหล่งเก็บข้อมูลเก่าออก

1. เลือกแหล่งเก็บข้อมูลเดิม (C:)
2. คลิกปุ่ม 'Remove'

10. ยืนยันการ Remove Location ในไดร์ฟ C:\

คลิกปุ่ม 'Yes'

11. แหล่งเก็บข้อความอีเมลถูกเปลี่ยนเป็นไดร์ฟ D:\ แล้ว

เปลี่ยนแหล่งเก็บข้อมูลมายังไดร์ฟ D เรียบร้อยแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง
ผู้ให้บริการอีเมลโฮสติ้งที่ดีที่สุดของไทย


วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Mac OS] วิธีการตั้งค่าให้ Mail App ลบข้อความอัตโนมัติ (POP)




Corporate email accounts ส่วนใหญ่แล้วจะมีจุดอ่อนคือพื้นที่  Mailbox ที่ผู้ให้บริการ offer ให้นั้นมีความจำกัด หรืออาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งานของ End-users บางราย โดยเฉพาะบัญชีอีเมลที่ผู้บริหารต้องใช้เก็บข้อมูลสำคัญ ๆ ไม่สามารถลบออกได้

อย่างไรก็ตามการ Add account ลงบน Client ประเภทบัญชีแบบ POP3 สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ เพราะว่าข้อความที่เก็บไว้บนโปรแกรมอย่าง Mail App จะถูกบันทึกอัตโนมัติไว้บนเครื่องเลย ไม่ได้ Sync โดยตรงกับ Mail server ทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะลบข้อความออกจาก Mail Server ได้

การตั้งค่าให้โปรแกรม Client ลบข้อความออกจาก Server ตามจำนวนวันที่กำหนดสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยแต่ละ Client ก็จะกำหนดค่าได้ต่างกัน เช่น ตั้งเป็นจำนวนวันได้ หรือ ตั้งเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี เป็นต้น

วิธีการตั้งค่าให้ Mail App ลบข้อความอัตโนมัติ (POP)


1. เปิดโปรแกรม Mail App บนเครื่อง Mac ขึ้นมา

เลือกเมนู Mail > Preferences...


2. ตั้งค่าให้โปรแกรมทำหน้าที่ลบข้อความอีเมลออกจาก Server แบบอัตโนมัติ

ไปที่เมนู Accounts
1. ทำเครื่องหมายที่ Remove copy from server after retrieving a message:
2. เลือกระยะเวลาตามต้องการ

3. เลือกช่วงเวลาที่ต้องการให้ Mail app ลบข้อมูลจาก Mail server

เช่น กำหนดให้ลบข้อความทุก ๆ 1 เดือน

4. ปิดหน้า POP-UP การตั้งค่า



5. บันทึกการตั้งค่าใหม่

กด Save เพื่อบันทึกการตั้งค่า

บทความที่เกี่ยวข้อง
[TL GoCloud][Mac OS X] การตั้งค่าอีเมล์, Add Account... (POP)
[Mac OS][Mail App] เครื่องมือต่างๆ ใน Mail เครื่อง Mac เบื้องต้น
[Mac OS][Mail App] วิธีค้นหา Mail ในเครื่อง Mac
[Mac OS][Mail App] วิธีส่งอีเมล์แบบมีไฟล์แนบใน Mac


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ อีเมลโฮสติ้ง ที่ดีที่สุด

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Outlook] เหตุใดถึง Add Gmail account ลงบน MS Outlook ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ตั้งค่าถูกแล้ว

สาเหตุที่เรา Add Account ของ @gmail.com ลงบน MS Outlook ไม่ได้ ในขณะที่ตั้งค่า Account Settings ถูกหมดแล้ว ก็ยังเกิด Error อยู่ ให้เราเข้าไปที่หน้า www.gmail.com เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า เราได้ทำการ Enable POP ไว้แล้วหรือยัง ซึ่งส่วนใหญ่ End-users จะไม่รู้ว่าต้องทำด้วย เรามาดูกันว่าต้องทำอย่างไรเพิ่มเติมบ้าง



1. เข้าเว็บเมล์ของ Gmail (www.gmail.com)
2. คลิกที่ไอคอนรูปเฟือง (การตั้งค่า/Settings)
3. เลือกแถบเมนู Forwarding and POP/IMAP

1. เปลี่ยนสถานะจาก Disable POP เป็น Enable POP
2. เปลี่ยนสถานะจาก Disable IMAP เป็น Enable IMAP
3. กดปุ่ม Save Changes


เมื่อทำการ Enable POP แล้ว ให้กลับไปที่โปรแกรม MS Outlook ที่เราติดปัญหาอยู่จากนั้นกด Test account settings สถานะการตรวจสอบขารับและขาส่งของ Email Server ก็จะเป็น Complete ทันที


ถ้ายัง Test Account Settings บน MS Outlook ไม่ผ่านอีก


ให้ตรวจสอบที่ INBOX หน้าเว็บเมล์ว่ามีอีเมลจากระบบ ส่งเข้ามาหรือไม่
Subject: Sign-in attempt prevented

ข้อความจากระบบฉบับแจ้งว่าความพยายามเข้าถึง Email Account ผ่านโปรแกรม MS Outlook ซึ่งถือเป็น App ที่มีความปลอดภัยน้อย จะต้องมีการเปลี่ยนสิทธิ์การเข้าถึงบัญชีก่อน โดยให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. เปิดอีเมล Subject: Sign-in attempt prevented



คลิกที่ลิงค์ Learn more


2. เมื่อเข้าลิงค์ Learn more แล้วจะปรากฏหน้าต่างดังภาพ

คลิกลิงค์ "Less secure apps" section

3. ให้กดยอมรับการเข้าถึง โดยการเลือก Turn on

เลือก Turn on


จากนั้นให้กลับไปที่โปรแกรม Microsoft Outlook ที่ค้างอยู่ แล้วกด Test account settings สถานะการตรวจสอบขารับและขาส่งของ Email Server ก็จะเป็น Complete ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง
[Outlook] วิธี Add Gmail account หรือ Google Apps Type: POP3


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการด้าน Email Hosting อันดับ 1 ของไทย

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วิธีแก้ไขถ้าใช้งาน Email ในต่างประเทศไม่ได้

วิธีแก้ไขถ้าใช้งาน Email ในต่างประเทศไม่ได้เบื้องต้น

ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าใช้งาน Email ในต่างประเทศได้

ในเบื้องต้น หากมีการใช้งานผ่าน Wi-fi ของ ISP ต่างประเทศ

ให้ลองเปลี่ยนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจาก Wi-fi เป็น 3G ของมือถือที่ท่านพกพา 
หรือเปลี่ยนเป็น Wi-fi ของร้านกาแฟที่อยู่คนละสถานที่กัน
หากเปลี่ยนแล้วยังใช้งานไม่ได้ให้ติดต่อผู้ให้บริการ Email hosting ของท่าน


เมื่อมีโอกาสที่เราต้องเดินทางไปต่างประเทศขณะทำงาน เรามีความจำเป็นต้องรับส่งอีเมล ติดต่อสื่อสารกับลูกค้ามากมาย แต่มาเกิดปัญหาเวลาที่เราใช้งานอยู่ต่างประเทศ เป็นเรื่องยากที่จะต้องแก้ไขปัญหา เนื่องจากเราก็ไม่รู้จักว่า ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) นั้นคือใคร ต้องติดต่อใคร

แต่เราก็มีวิธีการตรวจสอบได้ง่าย ๆ ว่า ISP ที่เราใช้อยู่นั้นมีการ Block Port ขารับหรือขาส่งหรือไม่ โดยวิธีบ้าน ๆ จริง ๆ นั่นคือการทดสอบ Connect ไปยังอินเตอร์เน็ตเส้นอื่น ๆ ที่อยู่ในวงใกล้เคียงกับเรา หรือสลับไปใช้ 3G/4G เพื่อเช็คดูว่าเรา Access email server ผ่าน ISP ค่ายใดบ้าง

วิธีแก้ไขปัญหานั้น ในความเป็นจริง ถ้า ISP Block Port จริง ๆ เราก็ต้องลองเปลี่ยนมาใช้อินเตอร์เน็ตเส้นอื่น หรือลอง Access ผ่านหน้าเว็บเมลก่อน หากว่ายังไม่ได้จริง ๆ ผู้ใช้งานคงต้องติดต่อกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่นั่นเอง เพื่อขอความช่วยเหลือ

โดยส่วนใหญ่ที่มักถูก Block การใช้งานนั้นมักจะเป็นประเทศที่ยังไม่ค่อยพัฒนา หรือมีระบอบการปกครองที่ไม่เหมือนกับประเทศที่เจริญแล้ว เขาจะไม่ค่อยอนุญาตให้ใช้งาน แม้แต่ Facebook, Youtube บางประเทศเขาก็ไม่ให้ใช้งาน

ดังนั้นปัจจัยที่ทำให้ Access Email ในต่างประเทศไม่ได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ Email Hosting ฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย ซึ่งต้องตรวจสอบเป็นกรณีไป


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
Email Hosting/Server Service Provider




[Outlook for mobile] วิธีติดตั้ง Application ลงบน iPhone/iPad (iOS)



วิธีดาวน์โหลด และติดตั้ง Outlook for mobile ลง iPhone/iPad



เปิด App store

Search ว่า "Outlook"
หลังจากนั้น กดปุ่ม GET จากนั้นรอโปรแกรมลงเครื่อง

ติดตั้งเสร็จสมบูรณ์


เข้าใช้งาน Outlook ได้ทันที



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
Email Hosting/Server Service Provider

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Outlook for mobile] วิธีการเพิ่มอีเมล @Yahoo ลงบน Outlook

วิธีการเพิ่มอีเมล์ @Yahoo ลงบน Outlook


เปิด Application Outlook

ไปที่แถบเมนู Settings 
เลือก Add Account

เลือกประเภทบัญชี: Yahoo


กรอกชื่อบัญชีอีเมล์ และรหัสผ่าน จากนั้นกด 'Sign in'

จากนั้นกด 'Next'

เมื่อเพิ่มบัญชีสำเร็จ จะมีเงื่อนไขการเข้าถึงปรากฏขึ้นมา 
ให้กด Agree

เพิ่ม Account ใหม่สำเร็จ
เข้าใช้งานได้ทันที โดยการเลือกแทบเมนู 'Mail' ด้านล่างจอ


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
Email Hosting/Server Service Provider