วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คนไทยชอบใช้อะไรใน google apps

ในปัจจุบัน หลายๆองค์กรเริ่มหันมาใช้บริการ Google Apps มากขึ้น เนื่องจากสามารถนำมาช่วยบริหารจัดการ การทำงานภายในได้อย่างเป็นระบบ สะดวก รวดเร็วว่องไว เหมาะกับยุคสมัย แต่รู้หรือไม่ว่าลักษณะนิสัยการใช้งาน Google Apps ของคนไทยเป็นอย่างไร

คนไทยนิยมใช้สิ่งใดใน Google Apps

เราขอจัดอันดับการใช้งานยอดนิยม 3 อันดับดังนี้

จัดอันดับความนิยมในการใช้งาน Google Apps




1.Gmail
หากจะพูดว่าสาเหตุหลักที่หลายๆองค์กรเลือกใช้ กูเกิ้ลแอป (Google Apps) นั้น เป็นเพราะว่าต้องการใช้งานระบบอีเมล์ ก็คงไม่ผิด และแน่นอนว่าเมื่อสาเหตุหลักคือการต้องการใช้อีเมล์ที่ดี นั่นแสดงให้เห็นว่า ทางองค์กรนั้นๆต้องมีการใช้งานอีเมล์สม่ำเสมอ และอาจเป็นตัวการสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจก็เป็นได้ 
อันดับ1 Gmail ระบบอีเมล์ที่ตอบโจทย์



Gmail เป็นระบบอีเมล์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ด้วยระบบที่มีความเสถียรภาพ มีการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ การป้องกันสแปมและการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน รวมไปถึงการใช้งานร่วมกับ Email Hosting ธรรมดาอื่นๆได้ ทำให้ Gmail ขึ้นมาครองแชมป์อันดับ 1 ได้ไม่ยาก





2.Google Drive
คุณคงเคยประสบปัญหา กับการที่ต้องเก็บเอกสารมากมาย แล้วเมื่อถึงเวลาที่จะเรียกใช้ กลับนึกไม่ออกว่า นำเอกสารเหล่านั้นไปเก็บไว้ที่ไหน ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณนำกูเกิ้ลไดร์ฟ (Google Drive) มาช่วยจัดการ 

อันดับ2 Google Drive พื้นที่เก็บไฟล์ออนไลน์ เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน



กูเกิ้ลไดร์ฟ (Google Drive) มีพื้นที่ให้คุณเก็บข้อมูลออนไลน์ได้ถึง 15 GB สามารถแชร์ไฟล์หรือให้คนเข้ามาดูไฟล์ได้โดยไม่ต้องแนบอีเมล์ ที่สำคัญสามารถเข้าถึงได้ทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ การทำงานเกี่ยวกับเอกสารนั้นจึงง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้กูเกิ้ลไดร์ฟ (Google Drive) ได้รับความนิยมรองลงมาเป็น อันดับที่2






3.Google Doc
ในการทำงานบางครั้ง เราต้องมีการระดมสมอง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดออกมา แต่การที่จะบอกให้แต่ละคนไปโน้ตใส่กระดาษของตัวเองแล้วค่อยมารวมกันทีหลังนั้น ก็คงไม่สะดวกเท่าไหร่นัก คงจะดีกว่าหากว่าเราสามารถทำงานไปพร้อมๆกันได้ทุกคน

อันดับ3 Google Doc จัดการงานเอกสารได้ง่ายๆ ทุกที่ทุกเวลา


กูเกิ้ลดอค (Google Doc) ประกอบไปด้วย 5 แอปย่อย ดังนี้
  1. Document
  2. Spreadsheets 
  3. Presentations
  4. Drawings
  5. Forms
ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการทำงานของคุณได้ ข้อดีของกูเกิ้ลดอค (Google Doc) ที่ทำให้ได้รับความนิยม คือ สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา แชร์ไฟล์โดยกำหนดผู้เข้าถึงได้ สามารถทำงานร่วมกันครั้งละหลายๆคนภายในไฟล์งานเดียวกันได้ พร้อมๆกับแชทและแสดงความคิดเห็นได้ในหน้านั้นๆ ที่สำคัญมีการบันทึกอัตโนมัติตลอดเวลาทำงาน ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น สะดวก ว่องไว ไม่ต้องกลัวว่าไฟล์งานจะสูญหาย





Calendar ตัวช่วยที่ถูกมองข้าม แต่ดีงามสำหรับคนขี้ลืม

หากคุณเป็นคนที่ขี้หลงขี้ลืม ต้องจดบันทึกเสมอว่าจะต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง แต่สุดท้ายคุณก็ลืมอีกว่า คุณจดอะไรไว้ที่ไหนบ้าง จะทำอย่างไรหากเรื่องที่คุณลืมเป็นเรื่องสำคัญ บทความนี้จะช่วยแก้ปัญหาของคุณได้

ในระบบของ Google Apps มีตัวหนึ่งที่มีความน่าสนใจ แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ นั่นก็คือ Calendar


Calendar ปฏิทินที่จะช่วยให้คุณบริหารจัดการสิ่งต่างๆได้





น่าสนใจอย่างไร

  • ใช้ในองค์กร 
  1. คุณสามารถใช้ Calendar เป็นตัวกลางในการจัดประชุมได้อย่างง่ายดาย โดยแชร์กิจกรรมบน Calendar ให้คนอื่นๆเห็น หรือแม้กระทั่งนำของคนอื่นมาซ้อนทับของตัวเอง เพื่อหาช่วงเวลาที่ว่างตรงกัน 
  2. ในการจองห้องอบรม หรือห้องประชุม คุณสามารถแชร์ Calendar ให้คนอื่นเห็น เพื่อความสะดวกในการจอง ซึ่งจะแสดงวันและเวลาที่มีคนจองไปแล้ว และวันเวลาที่ยังว่าง ทำให้การจองไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
แชร์ปฏิทินให้เพื่อนร่วมงาน ทำให้การติดต่อนัดหมายสะดวกขึ้น




  • ใช้ในชีวิตประจำวัน
  1. คุณสามารถกำหนดกิจกรรมต่างๆของคุณลงบน Calendar ได้
  2. รับแจ้งเตือนกิจกรรมผ่านทางอีเมล์ได้ คุณสามารถเข้าไปตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนทุกเช้าได้ ดังนี้เข้า Setting เลือก Notification จากนั้นเลือกฟังชั่นที่คุณต้องการ และเลือกที่ Daily Agenda เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รับการแจ้งเตือนในทุกๆเช้า ว่าวันนี้คุณมีกิจกรรมใดต้องทำบ้าง
  3. คุณสามารถเข้าดูกิจกรรมที่บันทึกเอาไว้ได้ แม้ในขณะออฟไลน์

ไม่ต้องกลัวว่าจะลืม ว่าต้องทำอะไร เพราะมีระบบแจ้งเตือน



เปลี่ยนจากการจดสิ่งต่างๆไว้หลายๆที่ มาไว้ใน Calendar ที่ช่วยเก็บทั้งข้อมูล และแจ้งเตือนได้ ภายในแอปเดียว เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกำหนดกิจกรรมต่างๆได้อย่างลงตัว และไม่ต้องกังวลว่าจะหลงลืมสิ่งใดอีกต่อไป

วิธีสร้างป้ายกำกับอีเมล์ (Label) บน Gmail.com

เราสามารถสร้างป้ายกำกับส่วนตัวได้ง่ายๆ ดังนี้

1. Log in เข้าหน้า Gmail จากนั้นไปยังมุมซ้ายด้านล่าง เลือก Create new label





2. จะมี pop up ขึ้นมาให้คุณตั้งชื่อป้ายกำกับที่คุณต้องการ ดังภาพ3. ใส่ชื่อที่คุณต้องการลงไปแล้วกด Create4. ชื่อป้ายกำกับที่คุณตั้ง จะปรากฏอยู่ทางซ้ายมือ

5. ตรงลูกศรเล็กๆท้ายป้ายกำกับ เมื่อคลิกจะสามารถแก้ไขและใส่สีให้ป้ายกำกับของคุณได้







6. เลือกสีที่คุณต้องการ แล้วสีที่เลือกจะขึ้นตรงท้ายป้ายกำกับ เมื่อคุณนำป้ายกำกับนี้ไปแปะไว้ที่อีเมล์ฉบับใด จะมีแถบสีที่คุณเลือก ขึ้นบนชื่ออีเมล์ฉบับนั้น โดยขนาดของแถบสีจะผันตรงกับความยาวของชื่อป้ายกำกับนั้นๆ





7. สามารถสร้างป้ายกำกับได้หลายป้าย





8. หากต้องการสร้างหมวดย่อย สามารถทำได้โดย เลือก Create new label เมื่อ pop up ขึ้น ให้ตั้งชื่อแล้วเลือกตรง Nest label under จากนั้นกดตรงสามเหลี่ยมเล็ก แล้วเลือกว่าจะให้อยู่ในหมวดใด
9. เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ป้ายกำกับหลักจะมีสามเหลี่ยมเล็กขึ้นมา กดตรงสามเหลี่ยมเล็กก็จะพบป้ายกำกับรอง






แค่ทำตามวิธีนี้คุณก็มีป้ายกำกับช่วยจัดระเบียบอีเมล์แล้ว




บทความที่เกี่ยวข้อง



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด



ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพสูงที่ใช้งานร่วมกับ Google Apps ได้เป็นอย่างดี

ป้ายกำกับอีเมล (Label)ต่างจากโฟลเดอร์(Folder)อย่างไร

ป้ายกำกับอีเมล์(Label) เป็นตัวช่วยจัดระเบียบอีเมล์ของคุณให้เป็นหมวดหมู่ ทำให้ง่ายต่อการตรวจเช็คอีเมล์ ซึ่งป้ายกำกับอีเมล์มีข้อดีดังนี้

  1. อีเมล์ยังคงอยู่ที่เดิมเพียงแต่มีป้ายกำกับเพิ่มเติมว่าเป็นหมวดไหน
  2. ในอีเมล์ 1 ฉบับ สามารถติดได้หลายๆป้าย
  3. ในการสร้างป้ายกำกับ เราสามารถสร้างหมวดย่อยๆไว้ในหมวดใหญ่ได้เช่น ป้ายรายการอาหาร ป้ายย่อยจะเป็น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น เป็นต้น


ป้ายกำกับต่างจากโฟลเดอร์อย่างไร

หลายๆคนสงสัยว่าการทำงานของป้ายกำกับ มองๆดูแล้วก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากการจัดโฟลเดอร์ทั่วไป ซึ่งป้ายกำกับมีการทำงานคล้ายโฟลเดอร์ แต่สิ่งที่ต่างกันคือ





การจัดระเบียบในรูปแบบโฟลเดอร์



  • โฟลเดอร์(Folder) คือการที่เราสร้างโฟลเดอร์หนึ่งขึ้นมา แล้วดึงเอาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโฟลเดอร์นั้นลงไปเก็บไว้ เวลาเราต้องการกลับมาอ่าน เราต้องเข้าไปยังโฟลเดอร์ที่เราเก็บไว้เท่านั้น จึงจะสามารถเปิดอ่านได้






การจัดระเบียบในรูปแบบป้ายกำกับ


  • ป้ายกำกับ(Label) คือการจัดหมวดหมู่โดยการสร้างป้ายกำกับเอาไว้ จากนั้นจึงทำการติดป้ายบนอีเมล์ต่างๆตามต้องการ โดยที่อีเมล์ยังคงอยู่ที่เดิม เราสามารถติดป้ายกำกับได้หลายป้ายและกำหนดสีป้ายต่างๆให้เป็นไปตามความต้องการได้ ทำให้สะดวกต่อการค้นหา นอกจากนี้กรณีที่คุณแปะป้ายกำกับไว้หลายป้าย ไม่ว่าคุณจะเข้าอ่านอีเมล์จากหน้า Inbox หรือจากหมวดLabelด้านข้างคุณก็สามารถเปิดอ่านอีเมล์ได้ โดยเลือกจากป้ายกำกับป้ายใดก็ได้ที่คุณแปะไว้



การแชร์ Google Spreadsheets และใช้งานร่วมกันเป็นอย่างไร

ในบางครั้ง เราต้องทำงานเป็นกลุ่มหรือต้องแชร์ไฟล์งานให้คนอื่นทำต่อ คุณมีวิธีการแชร์ไฟล์งานให้กันอย่างไร ? ส่งอีเมล์ เซฟลงแฟลชไดร์ฟ หรืออื่นๆ




Google Spreadsheets แชร์ไฟล์ออนไลน์ สามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา




วันนี้เรามีอีกหนึ่งทางเลือกให้คุณ Google Spreadsheets สามารถแชร์และทำงานร่วมกันได้ง่ายๆ ดังนี้





1. ในหน้าใช้งาน Google Spreadsheets ด้านบนขวามือจะมีคำสั่ง แชร์  ให้คลิกเพื่อแชร์






2. จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้คุณกำหนดรูปแบบการแชร์ ว่าต้องการแชร์แบบใด 
3. ในกรณีที่คุณต้องการทำงานร่วมกัน ตัวเลือกที่คุณควรเลือกคือแก้ไขได้ ซึ่งเมื่อแชร์ไปแล้ว ผู้รับจะแก้ไขข้อความในไฟล์ได้





4. เลือกแสดงความคิดเห็นได้ เพื่อให้ผู้รับได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในไฟล์งาน


การตั้งค่าในลักษณะนี้ จะทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ ทำให้คุณสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยคุณสามารถระบุผู้ที่สามารถเข้าถึงไฟล์งานเป็นรายคนได้อีกด้วย



บทความที่เกี่ยวข้อง


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพสูงที่ใช้งานร่วมกับ Google Apps ได้เป็นอย่างดี





[Thunderbird] วิธี Compact Folder: Inbox, Sent



สำหรับโปรแกรม Mozilla Thunderbird จะมี Function ที่ชื่อว่า "Compact" อยู่ฟังก์ชั่นดังกล่าวจะช่วยในการกระชับพื้นที่ให้ Inbox สามารถจุข้อความได้มากขึ้น เมื่อ Inbox  มีความจุที่เต็มจำนวนแล้ว อีเมล์จะไม่สามารถดูดเข้า Inbox ได้ วิธีแก้ไขคือให้ User ทำการ Compact เพื่อกระชับพื้นที่ให้มีพื้นที่ดูดอีเมล์ใหม่ๆ ได้ ดังนี้

1. คลิกขวาหัวข้อที่ต้องการกระชับพื้นที่ (Compact) เช่น Inbox  หรือ Send แล้วเลือก Compact ดังรูป

เลือกหัวข้อ แล้วกด Compact

2. จากนั้นรอโปรแกรมทำการจัดเรียงข้อความเพื่อให้พื้นที่ในโปรแกรม มีความจุมากขึ้น เพื่อที่จะ Get messages ใหม่ๆ ลงโปรแกรมได้



บทความที่เกี่ยวข้อง


บอกลาปัญหา Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง email เข้า hotmail, gmail ไม่ได้


Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง Email ออกไม่ได้


เราเคยได้ยิน IP ติด Blacklist แต่เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ผู้ให้บริการ Email จำนวนมาก ทั้งฟรีอีเมล์, หรือ ผู้ให้บริการ Email Hosting ต่างๆ ต้องเพิ่มความเข้มงวดเพราะปริมาณ Spam mail ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการเพิ่ม Policy การรับ Email ว่า Sender Email นั้นๆ Domain ต้องไม่ติด Blacklist ทำให้ ผู้ใช้งาน Email Hosting โดยเฉพาะในไทย เกิดปัญหาไม่สามารถส่ง Email ไปยังปลายทางบางที่ได้ เช่น hotmail, gmail และ Email Server ปลายทาง

สาเหตุของปัญหา Domain ติด Blacklist



ใน Web Server 1 เครื่อง มีเว็บไซต์ หลายพันเว็บอาศัยอยู่

โดยเ​ฉพาะเว็บหรือ Domain ที่สร้างจาก Open Source มีความเสี่ยงสูง หากไม่ได้ตั้งค่าให้ถูกต้อง

  • หากใน Web Server ที่ Domain ของคุณอยู่ แต่อย่าลืมว่ายังประกอบด้วยเว็บอื่นๆ ใน Web Server อีกหลายร้อย หรือ หลายพันเว็บอาศัยอยู่ด้วย
  • เมื่อ Web ใดเว็บหนึ่งถูกฝังไวรัสไว้ใน File ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเว็บที่สร้างมาจาก Open Source และมีการ Download Plugin ต่างๆมาลง โดยไม่ได้ตั้งค่าเรื่องความปลอดภัยให้ถูกต้อง
  • ไวรัสนั้นจะทำการส่ง Spam mail โดยใช้ Serder Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com หรือ domain ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Server นั้น วนไปวนมา
  • เมื่อมี Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com ส่ง Spam ออกไปจำนวนมากๆ Domain ของคุณก็จะติด Blacklist ในที่สุด

อาการเมื่อ Domain ติด Blacklist

ฐานข้อมูลที่แสดงว่า Domain คุณติด Blacklist แล้ว
  • หลังจากที่ Domain ติด Black list แล้ว คุณจะไม่สามารถส่ง Email ออกไปยัง Mail Server ต่างๆ เช่น Free email : hotmail, gmail เป็นต้น และ Email Hosting ปลายทางอื่นๆ ที่ไม่ยอมรับเรื่อง Domain Blacklist

วิธีการแก้ไขปัญหา

หากไม่ได้แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดปัญหานี้ขึ้นมาอีก ซ้ำไปซ้ำมา

  • การที่ Domain ติด Blacklist นั้น ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆด้านแก้ไขปัญหา เช่น ฝ่ายประสานงานต่างประเทศ, วิศวกร Web Server, วิศวกร Mail Server และ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย
  • เพราะการแก้ไขปัญหาต้องแก้ให้ครบทุกด้าน ไม่อย่างนั้นปัญหานี้ก็จะกลับมาเป็นอีก ซ้ำไปซ้ำมา จนคุณไม่สามารถส่ง Email ออกไปหาใครได้เลย 
  • คุณต้องติดต่อไปยังผู้ให้บริการ Email Hosting และ Web Hosting เพื่อให้แก้ปัญหานี้ เพราะหากคุณไม่ได้มีความรู้ทางด้านเทคนิค การแก้ไขปัญหานี้จะทำได้ยากมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Domain และ IP Blacklist