วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การใช้ Incognito Window เพื่อ Login อีเมล์พร้อม ๆกัน

Incognito Window คืออะไร




การใช้ Incognito Window คือการเปิดหน้าต่าง Web browserใหม่ แบบไม่ระบุตัวตน ไม่มีการบันทึกประวัติเข้าชม หรือการจดจำ Password ใดๆทั้งสิ้น การใช้งาน Incognito Window จะไม่ทิ้งร่องรอยที่แสดงให้เห็นว่าคุณได้ใช้งานอะไรไปบ้าง แต่ไฟล์ที่คุณทำการดาวน์โหลด จะถูกเก็บไปยังพื้นที่ดาวน์โหลดตามปกติ แต่รายละเอียดการดาวน์โหลด และคุกกี้ จะไม่ถูกบันทึกไว้

นอกจากนี้ เราสามารถใช้ Incognito Window เพื่อเข้าใช้งานอีเมล์พร้อมๆกันมากกว่า 1 บัญชีได้อีกด้วย ดังตัวอย่าง

คลิกที่ไอคอน Settings จากนั้นเลือก 'New Incognito Window'


ภาพตัวอย่าง Incognito Window ใน Chrome

ภาพตัวอย่าง Incognito Window ใน IE


ตัวอย่างการ Log in อีเมล์โดยใช้ Window ธรรมดา กับ Incognito Window เพื่อ Log in อีเมล์พร้อมๆกัน 2 บัญชี







บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1

[Mac OS][Mail App] วิธีการดู Raw source ของอีเมลแต่ละฉบับ

หากเราต้องการรู้รายละเอียดอีเมลแต่ละฉบับ Raw source เป็นรายละเอียดของอีเมลฉบับนั้นๆ ที่จะแสดงรายละเอียดอีเมลเป็น Code เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับ/ผู้ส่ง, IP ADDRESS, วันที่, เวลา EMAIL ที่เราได้รับ, บอกละเอียดถึงกับว่าถูกส่งมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องไหน รหัสเครื่องอะไร ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวจะไม่ปรากฏในเนื้อหาของ Email ทั่ว ๆ ไปที่เราเห็น

ถ้าข้อความอีเมลไม่สามารถส่งออกได้หรือ มีข้อความอีเมลตีกลับมา เราสามารถนำ Raw source ไปให้ผู้บริการอีเมลต้นทางตรวจสอบถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นกับข้อความฉบับนั้น ๆ ได้

วิธีการดู Raw source ของอีเมลแต่ละฉบับ มีขั้นตอนดังนี้


ให้เลือกอีเมลที่ต้องการ แล้วคลิก View > Message > Raw Source


ข้อมูลต่างๆ จะแสดงเป็น Code อย่างละเอียด



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

[Outlook] วิธีการ Save ไฟล์อีเมล์นามสกุล msg


 วิธีการ Save ไฟล์อีเมล์นามสกุล msg มีดังนี้



1.เลือกหัวข้ออีเมล์ที่่ต้องการ Save
2. ไปที่ แฟ้ม(File)>บันทึกเป็น(Save As)


3. เลือกตำแหน่งจัดเก็บแฟ้ม
4. เลือกบันทึกเป็นชนิด(Save As Type) Outlook Message Format(*.msg)
5. จากนั้นคลิกบันทึก(OK)


รูปแบบไฟล์ Outlook ที่ถูกบันทึกนามสกุล Outlook Message Format(*.msg)



บทความที่เกี่ยวข้อง

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

[MD OX] วิธีการตั้งค่าอีเมล์ @ชื่อบริษัท บนระบบปฏิบัติการ Android (IMAP)


วิธี Add Account Email บนระบบปฏิบัติการ Android มีดังนี้



เลือก อีเมล์ (Email) 


เลือก อื่น (Other)

กรอก Username, Password และเลือกตั้งค่าเอง (Manual Setup) 
จากนั้นเลือกถัดไป (Next) 

เลือกการตั้งค่าแบบ IMAP  


ใส่ชื่ออีเมล (Email) และรหัสผ่าน (Password)
จากนั้นเลือกถัดไป (Next) 


กรอกรายละเอียดข้อมูลบัญชีอีเมล์ของตนเอง
โดยชื่อผู้ใช้ (Username) ต้องใส่ชื่อบัญชีอีเมล์
เซิร์ฟเวอร์ IMAP (IMAP server) : mail.privateemail.com
ชนิดระบบป้องกัน : ไม่มี (Security type: SSL)
พอร์ต : 993 (Port 993)
จากนั้นเลือกถัดไป (Next) 

เซิร์ฟเวอร์ SMTP (SMTP server) : mail.privateemail.com
ชนิดระบบป้องกัน : ไม่มี (Security type: None) 
พอร์ต :465 (Port 465)
เลือกต้องมีการลงชื่อ (Require sign-in)
จากนั้นเลือกถัดไป (Next)  


เลือกความถี่ในการรับส่งอีเมล์ตามต้องการจากนั้นกดถัดไป (Next)  

กรอกชื่ออีเมล์ที่ต้องการ
จากนั้นกดเรียบร้อย (Done) ก็พร้อมใช้งานทันที 




บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1



[OX-P] วิธีการตั้งค่าอีเมล์ @ชื่อบริษัท บนระบบปฏิบัติการ Android (IMAP)


วิธี Add Account Email บนระบบปฏิบัติการ Android OS



เลือก อีเมล์ (Email)



กรอก Username: (ชื่อบัญชีอีเมล)
Password: (รหัสผ่านของบัญชีอีเมล)
จากนั้นกดปุ่มเลือกตั้งค่าเอง (Manual Setup)



เลือกการตั้งค่าประเภท IMAP 


กรอกรายละเอียดข้อมูลบัญชีอีเมล์ของตนเอง
โดยชื่อผู้ใช้ (Username) ต้องใส่ชื่อบัญชีอีเมล์
เซิร์ฟเวอร์ IMAP (IMAP server): mail.privateemail.com หรือ mail.(ชื่อโดเมน)
ชนิดระบบป้องกัน:  SSL (Security type: SSL)
Port: 993
จากนั้นเลือกถัดไป (Next)



เซิร์ฟเวอร์ SMTP (SMTP server) : mail.privateemail.com หรือ mail.(ชื่อโดเมน)
ชนิดระบบป้องกัน : SSL (Security type: SSL) 
Port: 465
เลือกต้องมีการลงชื่อ (Require sign-in)
จากนั้นเลือกถัดไป (Next) 



เลือกความถี่ในการรับส่งอีเมล์ตามต้องการจากนั้นกดถัดไป (Next) 



กรอกชื่อบัญชีอีเมลที่ต้องการให้ปรากฏบนอุปกรณ์
จากนั้นกดเรียบร้อย (Done) ก็พร้อมใช้งานทันที

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1

ส่งอีเมล์ไม่ถึงผู้รับ Error: Sender address rejected: Domain not found



ข้อความปฏิเสธจาก Mail Server ดังกล่าว มักจะพบใน Log การส่งอีเมล์ ใน Mail Server ของผู้ส่งดังตัวอย่าง

=============
xxx@domain.com R=lookuphost T=remote_smtp defer (-44): SMTP error from remote mail server after RCPT TO:<name@domain.com>: host spamfilter.domain.com [203.146.205.102]: 450 4.1.8 <yyy@company.co.th>: Sender address rejected: Domain not found
=============

สาเหตุที่เกิด Error ดังกล่าว ได้แก่

1. Domain ของปลายทางที่ผู้ส่งพยายามส่งอีเมล์ออกไปนั้น ไม่มีชื่ออยู่จริง
2. ช่วงเวลาที่ส่งข้อความดังกล่าว Mail Server อาจจะเกิดปัญหาขัดข้องบางอย่าง ทำให้ข้อความถูกตีกลับ เช่น ค้นหา MX ไม่เจอ, ตั้งค่า MX ผิดรูปแบบ เป็นต้น


ปัญหาดังกล่าวต้องมีการไล่ตรวจสอบทีละสาเหตุว่า Domain ดังกล่าวมีการตั้งค่า DNS ต่าง ๆ ถูกต้องแล้วหรือไม่ แล้วให้ผู้ส่งทำการทดสอบส่งอีเมล์อีกครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง



ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1


วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

[Mac OS] วิธี Export/Backup อีเมล์บน Mail App ในเครื่อง Mac



สำหรับคนที่ใช้ App Mail มานาน คงจะมีเมล์ที่สำคัญเก็บไว้มากมาย ทั้งเมล์ที่โหลดมาใหม่จาก web mail และ mail ที่โหลดเก็บมาใหม่ไม่ได้แล้ว การ Backup mail จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆสำหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนเครื่อง Mac หรือลง OS ใหม่

ดังนั้น การ backup mail จาก App Mail บน Mac OS X จะมีวิธีดังนี้

1. เปิด Mail (Applications)



2. คลิกเลือกที่ Mailbox ที่ต้องการ เลือก Mailbox > Export Mailbox… หรือ คลิกขวาที่ Mailbox ที่ต้องการแล้วกด Export Mailbox



3. เลือก Folder ที่ต้องการเก็บไฟล์ exports เอาไว้ รอจน mailbox export เสร็จ (ถ้าไม่รอจนเสร็จจะได้ mail ไม่ครบ) แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจะ export เสร็จเมื่อไหร่? ให้กด Command+Option+0 เพื่อเปิด Activity

รอจน mailbox export เสร็จ (ถ้าไม่รอจนเสร็จจะได้ mail ไม่ครบนะครับ)
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจะ export เสร็จเมื่อไหร? ให้กด Command+Option+0 เพื่อเปิด Activity

4. ไฟล์ที่ Export ออกมาจะเป็นไฟล์ .mbox



บทความที่เกี่ยวข้อง




บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1