แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา data center จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา data center จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Colocation mail server หรือ รับวาง Server คือ อะไร ?


Colocation EMail Server คือ อะไร และ เหมาะสมกับองค์กร หรือ บริษัทคุณมากแค่ไหน ? 

Colocation Server หรือ รับวาง Server คือ อะไร ?

Colocation Server หากเปรียบเสมือนคำพูดง่ายๆ คือ การที่คุณเอาเครื่อง Server  ทั้งเครื่องของคุณแบกไปฝากไว้ในห้อง Internet Data Center (IDC) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัทให้บริการรับฝากเครื่อง Server , ซึ่งเรียกว่า "บริการ Colocation Server" นั่นเอง, เพราะมันคงไม่คุ้มที่บริษัทหรือองค์กรของคุณต้องมานั่งสร้างห้อง  Data Center หลายล้านบาท เพื่อ วางเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียวหรือไม่กี่เครื่อง, ซึ่งหากนำไปฝากไว้ที่ห้อง Internet Data Center (IDC) ซึ่งห้องดังกล่าว มีทั้งการควบคุมอุณภูมิ, สายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, มีความปลอดภัย, ระบบสำรองไฟ (UPS) เพียงคุณ แบก Server ไป, ผู้ให้บริการก็จะนำไปวางและต่อสายให้ทันที, โดยการคิดค่าใช้จ่ายมักคิดเป็น รายเดือน ตั้งแต่ 3,000 - 50,000 บาท/เดือน/1U ขึ่งอยู่กับความอลังการของ Data Center นั้นๆ

พื้นที่ขนาด 1 U, สำหรับการวาง Server 1 เครื่อง

หรือ ห้องดาต้าเซ็นเตอร์
องค์ประกอบของ Internet Data Center (IDC) สำหรับวาง Colocation Server 1 U


Colocation Server เอาไว้ทำอะไร ?

  • Mail Server องค์กรขนาดใหญ่มักทำ Mail Server ในรูปแบบ Colocation mail server
  • Data Backup  องค์กรขนาดใหญ่ หรือ แม้แต่องค์กรระดับโลก อาจจะมีความจำเป็นในการ Backup ข้อมูลไว้ยัง Server หลายๆที่ เพื่อลดความเสี่ยง, หาก Data Center ที่ใดที่หนึ่งมีปัญหา โดยเฉพาะ สายการบิน, ธนาคาร เป็นต้น
  • Project ขนาดใหญ่, การใช้งาน Colocation อาจจะถูกใช้งานโดยทีมโปรแกรมเมอร์ที่ต้องการ Run Project ขนาดใหญ่มากๆ เช่น ระบบเว็บไซต์ที่มีคนเข้ามหาศาล ( > 1,000,000 คน/วัน) , ระบบ ERP หรือ CRM โดยต้องการใช้ทรัพยากรของ Server เครื่องเดียวทั้งหมด อย่างเต็มที่ และ ไม่ต้องการไปแบ่งปันกับใคร

Colocation กับ EMail Server 

โดยส่วนมากแล้วผู้ที่ใช้บริการ Colocation หรือ เอา Server ทั้งเครื่องไปฝากที่ Data Center มักจะถูกนำมาทำเป็น "Email Server" โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ๆ ที่ไม่ต้องการนำอีเมล์ของตัวเองไปปนกับ Server คนอื่น, เพราะการวาง Colocation วิศวกรขององค์กร สามารถลง OS รวมถึง ระบบ Mail Server ที่ต้องการได้่ และ มีความเป็นความลับของข้อมูลสูงกว่า, เพราะแม้แต่บริษัทที่เป็นผู้ดูแล Data Center ก็ไม่สามารถ Access หรือ เข้าถึง Server ดังกล่าวได้ เพราะ ไม่รู้ Password รวมถึงรายละเอียดของ Software ใน Server

ข้อดีของการทำ Colo Mail Server เอง

  • เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่มากที่มีพนักงานต้องใช้งาน Email > 1,000 คน ขึ้นไป
  • คุณสามารถปรับแต่ง Software หรือ ทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ เพราะ Server เป็นของคุณ
  • คุณไม่ต้องมานั่งทำ Data Center เองด่้วยราคาหลายสิบล้านบาท
  • มีคนคอย Mornitor ระบบไฟฟ้า ระบบอินเตอร์เน็ตให้ (ที่เหลือเป็นหน้าที่ของคุณ)

ข้อเสียของการทำ Colocation Email Server 

  • คุณต้องมี พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ ด้าน Email Server อยู่ในองค์กรจริงๆ เพราะการให้บริการ Colocation นั้นเปรียบเสมือนการเช่าที่ดินวางเครื่อง แต่ที่เหลือทั้งหมดเป็นหน้าที่ของวิศวกรของบริษัทคุณที่ต้อง Remote เข้าไปทำ
  • ต้องมั่นใจว่าองค์กรของคุณเป็นองค์กรขนาดใหญ่จริงๆ ถึงทำ Colo Mail Server เอง
  • คุณต้องซื้อ ทั้ง Software: OS, Mail Server, Antivirus ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
  • คุณต้องมั่นใจว่าคุณเอาอยู่, ถึงแม้ว่า Datacenter ที่มีมาตรฐานจะไม่มีปัญหา ไฟดับ, ไฟไหม้, เน็ตหลุด "แต่ถ้า Server ติดไวรัส" คุณต้องเป็นผู้เข้าไปลง Software และ ลบมันเอง
  • คุณต้องมีเงินมากพอ เพราะคุณต้อง ซื้อ Server เอง, รวมถึงต้องไปจ่ายรายเดือนให้ Internet Data Center ด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง



บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server อันดับ 1 ของประเทศไทย

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Dedicated email hosting server คือ อะไร และ เลือกซื้อที่ไหนดี ?

Dedicated Email Server คือ อะไร ?


Dedicated email server ดีมั้ย และ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร


Dedicated Email Server หากพูดในภาษาที่เข้าใจง่าย คือ การที่คุณไปเหมา Server  ทั้งเครื่องใน Data Center มาอยู่ในการควบคุมของคุณเอง, ซึ่ง Dedicated Server นั้น จะเหมาะสำหรับองค์กรหรือบริษัทที่ต้องการทำเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่, หรือ องค์กรที่ต้องการใช้ Email Server เป็นของตนเอง และ ต้องการความเป็นส่วนตัว (คือไม่ไปยุ่งกับใคร) แต่ในองค์กรไม่มี Data Center,  จึงวาง Email Server ไว้ที่ Data Center กับบริษัทที่คุณฝากเอาไว้ โดยส่วนมาก Dedicated Email Server มักจะตั้งอยู่ใน Data Center ของ CAT, CS Loxinfo โดยมีบริษัทต่างๆ ไปเช่าพื้นที่ใน Data Center และนำมาแบ่งขายเป็นธุรกิจกันต่อไป


รูปแบบการซื้อหรือเช่า  Dedicated Email Server

  • ค่าซื้อเครื่อง Server ครั้งแรก

    จริงๆ แล้ว Dedicated Server คือ คุณต้องทำการซื้อเครื่อง Server ทั้งเครื่อง ตาม Spec ที่บริษัทผู้ให้บริการกำหนดไว้ เช่น CPU, RAM เท่าไหร่ ในครั้งแรก ซึ่งจะมีราคาตั้งแต่ Server ละ 30,000 - 300,000 บาท ขึ้นอยู่กับ Spec ของ Server ที่ว่าคุณต้องการยี่ห้ออะไร หรือ แรงขนาดไหน

ขนาดของคอมพิวเตอร์ใช้งานทั่วไปหรือ PC กับขนาดของ Email Server ที่แตกต่างกันมาก

การวาง Email Server เข้าไปในตู้ Rack, โดย Server 1 เครื่องเท่ากับ 1 U


การวาง Email Server ไว้ใน Data Center เรียกว่า Dedicated email hosting server

  • ค่าบริการฝากวางใน Data Center ต่อ เดือน

    การคิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มักจะคิดเป็น U, เนื่องจาก Server ไม่ได้มีขนาดเหมือนกับ PC ที่เครื่องใหญ่เป็นก้อน, แต่ Server จะมีลักษณะลาบและแบนซึ่งออกแบบมาให้ใส่ในตู้ Rack ได้เลย, ซึ่งค่าเช่าพื้นที่สำหรับวาง Server ของคุณ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะวางกี่ U ซึ่งก็หมายถึง  Server กี่เครื่องนั้นเอง โดยเมื่อวางเสร็จ จะมีสาย Lan และ ห้องควบคุมอุณหภูมิใน Data Center โดยจะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 3,000 - 8,000 บาท/ เดือน


องค์กรหรือบริษัทของคุณ จำเป็นต้องมี Dedicated email hosting server หรือยัง ?

  • ฝ่าย IT จำนวนมากตัดสินใจพลาดที่จะทำ "Dedicated Email Server" เพราะคิดว่าบริษัทตนเองมีความมั่นคง หรือ พูดง่ายๆ รวยขนาดนี้ ต้องมี Server เองเลย ให้มันส่วนตัวสุดๆ หากเป็นเพราะแนวคิดนี้ขอให้เปลี่ยนทัศนะคติโดยทันที เพราะอะไร จะอธิบายด้านล่าง
  • ในความเป็นจริง "Dedicated Email Server" เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น สายการบิน, ธนาคาร, กระทรวง, องค์กรลับ เพราะองค์กรเหล่านี้มีความจำเป็น ที่จะต้องสามารถควบคุมสถาณการณ์ แม้แต่เรื่อง Email ด้วยตนเอง ได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องการไปจ้างบริษัทไหนมาดูแล
  • หากองค์กรของคุณมีพนักงานไม่ถึง 1,000 - 10,000 คน การทำ "Dedicated Email Server" ยังถือว่าไม่มีความจำเป็นและอาจจะทำให้เกิดปัญหาอีกมากมาย

ข้อดีของการทำ "Dedicated Email Server"เอง 

  1. องค์กรของคุณ สามารถควบคุมและเข้าถึง Email Server นั้นได้ตลอดเวลา, เช่น Remote เข้าไป Restart เครื่อง Server, หากมันทำงานช้าๆ
  2. คุณสามารถลง Software ที่ต้องการได้ตราบที่คุณต้องการ เช่น การลงโปรแกรมการเข้ารหัสข้อมูลในอีเมล์ สำหรับ หน่วยงานที่ต้องการเก็บข้อมูลที่เป็นความลับมากๆ เช่น ธนาคาร เป็นต้น
  3. คุณไม่ต้องไปแบ่งทรัพยากรของ Email Server กับใคร, เพราะทั้ง Server เป็นของคุณ

ข้อเสียของการทำ "Dedicated Email Server"เอง 


การทำ Dedicated email server เองต้องมีพนักงานที่คอยดูอยู่ตลอดเวลา

ต้องเป็นเจ้าหน้าที่, ที่เชี่ยวชาญด้าน Email Server โดยเฉพาะ

  1. ต้องใช้เงินในการซื้อ Server  และ ค่าเช่าที่วางใน Data Center จำนวนมาก
  2. ต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวขาญด้าน Email จริงๆ ประจำอยู่ในองค์กรของคุณ
  3. คุณต้องบริหารจัดการ ตั้งแต่ ลง OS ไปจนถึงลงโปรแกรมทั้งหมด ด้วยตนเอง
  4. หากคุณคิดว่า องค์กร คุณพร้อมที่จะจ่าย, แต่อย่าลืมเรื่องการ Maintenance ของ Email Server ซึ่งมีเรื่องที่จุกจิกมากมายที่เงิน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้



บทความโดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server อันดับ 1 ของประเทศไทย

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทำไมการทำ Email Server เองถึงมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล

ทำไมคนถึงมีแนวคิดที่จะทำ Email Server ไว้ในองค์กร


เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาผมดูข่าวทางโทรทัศน์ช่องหนึ่ง รายงานว่าประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า ของอเมริกาติด Blackberry แล้วก็ iPhone ถ้าพูดกันจริงๆ คือ เค้าก็คือ คนธรรมดาคนนึงที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวหรือเพื่อนเหมือนคนทั่วไป แต่ด้วยหน้าที่ตำแหน่งทำให้ทุกอย่างดูยิ่งใหญ่และมันต้องลับสุดๆ ถึงขั้นเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวต้องเรียกผู้ผลิต Blackberry มาติดตั้ง Server ในทำเนียบขาวเป็นการส่วนตัวเลยทีเดียว

เหตุผลเหล่านี้และข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากสื่อต่างๆ ในแวดวงอินเตอร์เน็ตซึ่งมักมีภาพใน เชิงลบ เช่น การหลอกลวง, Hacker,  ล้วนผลักดันให้ผู้บริหาร หรือนักธุรกิจ เข้าใจไปในทำนองเดียวกันว่า การตั้ง Email Server ไว้ในองค์กร นั้นปลอดภัยที่สุด โดยมีเหตุผลง่ายๆดังนี้
  1. วาง Server ในบริษัท ตัวเครื่อง Server เป็นของเรา แล้ว จะมีคนมาขโมยไปไม่ได้
  2. คนของเราดูแลเอง มันยิ่งปลอดภัยกันไปใหญ่
  3. คนของเราควบคุมเอง เวลามีปัญหาอะไร แก้ไขได้เอง​ โดยไม่ต้องไปตามง้อบริษัทให้มาแก้
  4. บริษัทเรา รายได้มหาศาล แค่จะสร้าง Datacenter ห้องนึง กับเครื่อง Server ไม่เป็นไรหรอกใช้เงินจิ๊บๆ

แล้วทำหรือตั้ง Mail Server เองปลอดภัยจริงหรือ ?

  1. ผมมั่นใจว่าเครื่อง Server ของคุณจะไม่มีใครบังอาจบุกรุกเข้ามาปล้นไปทั้งเครื่องได้แน่ๆ หรือ มองในด้านกายภาพ ใครมันจะบ้าเข้ามาปล้นเครื่อง Server 
  2. แต่คุณมั่นใจหรอว่าคนของคุณไม่เอาข้อมูลที่เป็นความลับ ไปใช้ในทางที่ผิด หรือแอบเอาไปขายให้บริษัทคู่แข่ง
  3. แต่ คุณมั่นใจหรอ ว่าทีม IT ของคุณจะสามารถควบคุม หรือแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้ เพราะในมหาลัย ไม่มีหลักสูตร Email Server
  4. แต่คุณมั่นใจหรอว่า Datacenter ที่คุณสร้างจะไฟไม่ดับตลอดกาล

ถ้าไม่มั่นใจอย่าทำ Email Server ในองค์กร ใช้เองเด็ดขาด


เนื่องจาก Server มีการเสียบสาย Lan หรือสายอินเตอร์เน็ต คุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามี Hacker คนไหนพยายาม Hack ข้อมูลคุณอยู่หรือเปล่า เพราะ มันเป็นลักษณะนามธรรม คือ คุณไม่มีทางรู้หรอกถ้าคุณไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้

ถูกไวรัสโจมตีเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ Email Server มันก็เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์เครื่องนึงที่เราใช้ๆกัน คุณจะมีทางรู้มั้ยว่าไวรัสมันจะโจมตีเมื่อไหร่ แล้วถ้าถูกโจมตีจริงๆ ข้อมูลคุณอาจจะหายเลียบไปเลย

หากบริษัทคุณไม่ได้ใหญ่พอขนาดสามารถจ้าง โปรแกรมเมอร์ หรือวิศวกร มานั่ง Monitor ไอเจ้่า Email Server ตัวนี้ หรือถึงแม้ว่ามีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Email Server จริงๆ มีค่อนข้างน้อย เพราะ ในมหาลัยเค้าลืมบรรจุหลักสูตรนี้เข้าไป ซึ่งเวลาเกิดปัญหาขึ้นคุณต้องให้ผู้เชี่ยวชาญแก้ไข

หากบริษัทคุณมีรายได้มหาศาล ผมมั่นใจว่าคุณสามารถเจียดเงิน เล็กๆ น้อยๆ มาทำห้อง Data Center และซื้อเครื่อง Email Server เพราะ Software ที่ดีที่สุด แต่คุณไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้น, การดับไฟ ได้เทียบเท่า Data Center  ที่เป็นมาตรฐานสากลอย่างแน่นอน

ข้อมูลเหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงของผม เมื่อผมได้พูดคุยกับเจ้าของธุรกิจ รวมถึงผู้บริหาร และผมมักจะนั่งอธิบายสิ่งเหล่านี้ให้เค้าฟังอยู่เสมอ เมื่อเค้าได้คิดอย่างเป็นรูปธรรม เค้าจะรีบบอกทันทีเลยว่า "ไม่น่ามาเสียเวลาทำ Email Server เองเลย" แล้วข้อมูลที่ผ่านมาโดน Hack ไปบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้ เป็นต้น
จึงอยากให้บทความนี้ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเพื่อใช้ในการไตร่ตรองอีกครั้ง

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server สำหรับคนไทย มาตรฐานโลก



วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิธีเลือกซื้อ Web Hosting (เว็บโฮสติ้ง) ที่ไหนดีที่สุด พร้อม บทวิเคราะห์อย่างละเอียด

บทวิเคราะห์ที่ละเอียดที่สุดสำหรับการเลือกซื้อ
เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting)

บทวิเคราะห์สำหรับการเลือกซื้อ เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) 


หลายๆคนที่มีเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บส่วนตัวหรือเว็บของหน่วยงานองค์กรบริษัทของตนเอง หากต้องการนำขึ้นเว็บสิ่งแรกที่ต้องมี คือ  เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) หรือ แปลตรงๆ ก็แปลว่าที่ฝากเว็บไซต์ ผู้เขียนในฐานะที่อยู่ในแวดวง Web Hosting มามากกว่า 10 ปี ขอให้ผู้ซื้อวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทที่ให้บริการ Web Hosting ก่อนที่จะทำการซื้อดังนี้



  1. Web Hosting ต้องไม่ล่มผู้ให้บริการ Web Hosting ต้องเป็นบริษัทที่มั่นคง



    ควรเลือกซื้อหรือเช่าเว็บโฮสติ้งจากบริษัทที่มีความมั่นคง


    เป็นเรื่องธรรมดาที่บริษัทที่มีความมั่นคงจะทำให้ลูกค้ารู้สึกเชื่อมั่น และเชื่อถือมากกว่าบริษัทเล็กๆ หรือ คนขาย Hosting ที่เป็นบุคคลธรรมดา แต่ในทางกลับกัน หากคุณเลือกซื้อ Web Hosting กับ บริษัทที่มีความมั่นคงหรือมีชื่อเสียง ราคานั้นก็จะสูงกว่าเจ้าอื่นๆ เพราะบริษัทใหญ่ๆ ต้องมีค่าบริหารจัดการที่ทำให้ Hosting ที่คุณใช้มีความเป็นมาตรฐาน แต่ผู้เขียนแนะนำว่าเป็นสิ่งที่คุณควรจะต้องจ่าย ไม่อย่างนั้น คุณอาจจะต้องประสบปัญหา เช่น โทรหาไปยังผู้ให้บริการ Hosting ไม่ได้เพราะปิดมือถือ ซึ่งเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นมากมาย และ ทำให้คุณต้องย้าย Hosting ในที่สุด
  2. ผู้ให้บริการส่วนมากมักจะโฆษณาว่า 99.999% Uptime

    การล่มของเว็บโฮสติ้งนั้นมีผลต่อธุรกิจของคุณ
    ซึ่งแปลว่า ซึ่งค่าเฉลี่ยที่ผู้เขียนวิเคราะห์ลงไปอย่างละเอียดจะเป็นดังนี้
    99.999% uptime = 5 นาที downtime / ปี
    99.99% uptime = 53 นาที downtime / ปี
    99.9% uptime = 8 ชั่วโมง 45 minutes downtime / ปี
    99% uptime = 3.65 วัน downtime / ปี

    ซึ่งแปลว่าทั้งปีห้ามล่มเกิน 5 นาที ซึ่งผู้เขียนมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะแค่เพียงทำการ Restart Server บางทีเผลอๆ ก็ใช้เวลาไปเกิน 5 นาทีแล้ว ซึ่งมันเกิดแน่นอนดังนั้นถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ มันก็ควรจะเป็นช่วงเย็นเท่านั้น ไม่ใช้ตอนกลางวัน
  3. Server ต้องอยู่ใน Data Center จริงๆ
    Datacenter เป็นห้องที่ความมั่นคงสูง เช่น

    Server ของคุณต้องตั้งอยู่ใน Data Center
    3.1 ต้องมีอุณหภูมิและความชื้นคงที่  เหมาะสมตามค่ามาตรฐานสากล

    3.2 ต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยที่เป็นมาตรฐาน

    3.3 ต้องมีวิศวกรคอยควบคุมตลอดเวลา
    ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความเสถียร และความปลอดภัยของ Server ซึ่งคุณได้ใช้อยู่ แต่ก็ต้องยอมรับราคาที่อาจจะสูงกว่าปกติด้วย
  4. ต้องมีความปลอดภัย

    SSL คือ ใบรับรองความปลอดภัยของข้อมูล


    ผู้ให้บริการไม่กี่รายนักในประเทศไทย ที่ได้มีการเก็บข้อมูลของลูกค้าด้วยการเข้ารหัส ที่ได้รับรับรอง SSL Certificate หรือ ใบรับรองความปลอดภัย ซึ่ง SSL Certificate เป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ว่าการทำธุรกรรมต่างๆ ระหว่างคุณกับผู้ให้บริการ Web Hosting นั้นมีความปลอดภัยที่สุด

  5. Support เป็นหัวใจและสิ่งสำคัญที่สุด

    การให้บริการลูกค้าด้วยทีมวิศวกรที่มีความเป็นมืออาชีพ นั้นเป็นหัวใจที่สำคัญ


    5.1 Live Chat
    Live Chat เป็นรูปแบบการ Support ที่ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่มีมาตรฐานจะให้ลูกค้าได้ใช้บริการ ซึ่ง Live Chat ค่อนข้างสำคัญมาก จากมุมมองผู้เขียนเพราะบางทีต้องส่งข้อมูลซึ่งเป็น ตัวอักษรยึกยือ ซึ่งบางทีการโทรคุยกันอาจจะไม่สะดวก หรือทางอีเมล์ ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้คำตอบ


    5.2 Remote Support

    เป็นการช่วยเหลือเว็บโฮสติ้งที่ดีที่สุด
    การ Support ด้วยการควบคุมหน้าจอจากระยะไกล 


    Remote Support เป็นรูปแบบการให้บริการที่ดีที่สุด ที่มีผู้ให้บริการ Web Hosting ไม่กี่รายในประเทศให้บริการ Support ในรูปแบบนี้ เนื่องจากต้องใช้ทั้งทรัพยากรทีมวิศวกร, เวลา, Software และอุปกรณ์ด้าน Hardware ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ผู้ให้บริการ Web Hosting ไม่สามารถให้บริการในรูปแบบนี้ได้เพราะมีราคาสูง
    ในมุมมองผู้เขียนมองว่าการ Remote Support เป็นการ  Service ที่ดีที่สุด เพราะว่า วิศวกรของบริษัทผู้ให้บริการนั้นสามารถมองเห็นปัญหาจากหน้าจอของคุณจริงๆ และสามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันที

    5.3 Email หรือ Ticket Support 
    เป็นรูปแบบการให้บริการ Support พื้นฐานที่ทุกบริษัทที่ให้บริการด้าน Web Hosting ควรที่จะมี หากไม่มีข้อนี้ คุณควรเปลี่ยนเจ้าโดยทันที เพราะอาจจะทำให้คุณติดต่อผู้ให้บริการไม่ได้

    5.4 Call Support
    เป็นรูปแบบบริการพื้นฐาน เช่นเดียวกัน จากประสบการณ์​ของผู้เขียนที่ได้พูดคุยกับโปรแกรมเมอร์จำนวนมาก มักพบว่าบริษัทหรือหน่วยง่ายหลายๆที่ ไม่ได้ให้ลูกค้าคุยกับวิศวกร แต่กลับให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่มีความรู้ในการแก้ไขปัญหามารับสายหรือรับเรื่องเอาไว้ ซึ่งทำให้ปัญหาของคุณถูกดองไว้ ซึ่งเสียเวลาและเกิดความไม่สะดวกกับทางคุณเช่นเดียวกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง มาตรฐานสูงสุดสำหรับองค์กรและธุรกิจ

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การใช้อีเมล์บริษัทในการติดต่อธุรกิจมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลมากแค่ไหน


การใช้งานอีเมล์บริษัท ในกระบวนการทางธุรกิจ นั้นมีความปลอดภัยมากแค่ไหน

การใช้อีเมล์ในการติดต่อทางธุรกิจคืออะไร

การใช้อีเมล์ในการติดต่อธุรกิจ คือการรับส่งข้อมูล ตั้งแต่ตัวอักษรธรรมดาไปจนถึง ไฟล์เอกสารต่างๆ ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารนั้น อาจจะเป็นความลับ หรือไม่เป็นความลับก็ได้
ดังนั้นการใช้งานอีเมล์ในการติดต่อธุรกิจ จึงเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้งานทั่วโลก ตั้งแต่องค์กรขนาดเล็ก ไปจนถึงองค์กรระดับโลกหลายๆองค์กร เพราะมีความรวดเร็ว, สะดวก แถมมีค่าใช้จ่ายน้อยจนแทบไม่มีเลยก็ว่าได้


ข้อมูลเกือบทั้งหมดในบริษัทนั้นเป็นความลับ

เป็นเรื่องปกติที่ทุกๆองค์กรนั้น ต้องมีข้อมูลที่เป็นความลับซึ่งไม่อยากให้บุคคลอื่นรู้ เช่น

  1. ข้อมูลเงินเดือนการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานแต่ละคน ถ้ามีพนักงานคนหนึ่งรู้ บริษัทคุณอาจจะอยู่ไม่เป็นสุขแน่ เพราะคนที่ได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าย่อมมีความไม่พอใจ และพร้อมที่จะลาออกทันทีเลยก็ได้
  2. ข้อมูลการกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงินต่างๆ คนเดินดินกินเงินเดือนธรรมดายังมีช็อต แล้วการทำธุรกิจของคุณคงไม่อยากให้ลูกน้องหรือพนักงานของคุณรู้ข้อมูลเหล่านี้แน่นอน (การช็อต หมายถึง ต้องมีการไปกู้ยึมเงินจากสถานบันการเงิน ทำให้ บริษัท ของคุณเป็นหนี้ และ ต้องมีการผ่อนจ่ายธนาคารทุกเดือน) 
  3. ข้อมูลลูกค้า คุณคงอยากให้ Sale หรือ ฝ่ายขายติดต่อลูกค้าได้เท่านั้น แต่หากบุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกลับรู้ข้อมูล และนำข้อมูลลูกค้าไปใช้งานในวิธีที่ผิด เช่น นำฐานข้อมูลไปขายกับคู่แข่ง หรือเอาข้อมูลเหล่านี้ออกมาติดต่อเองเลย ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงกับบริษัทคุณมากเลยทีเดียว
  4. ข้อมูล Supplier  เป็นข้อมูลที่คุณไปรับของหรือบริการมาอีกทอด ซึ่งคุณคงอยากให้ ฝ่ายจัดซื้อทราบเท่านั้น ดังนั้นหากเป็นบุคคลอื่นๆ คุณคงไม่อยากให้รู้แน่นอน

เมื่อข้อมูลที่เป็นความลับ มีความสำคัญขนาดนี้แล้วจะมั่นใจได้อย่างไร
ว่าการใช้งานและการเก็บข้อมูลในอีเมล์นั้นมีความปลอดภัย

ทำไมการใช้งานอีเมล์ถึงปลอดภัย และเป็นความลับ มากกว่าวิธีการอื่นๆ


คงไม่แปลก ข้อมูลของใคร ใครก็รัก ใครก็หวง โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ แล้วเราจะจัดการกับความเสี่ยงต่างๆ เพื่อไม่ให้คนอื่นเอาข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ผิดได้อย่างไร ผู้เขียนเชื่อว่า เราคงไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงให้เหลือเพียง 0% แต่เราต้องทำให้ความเสี่ยงน้อยที่สุด ทีนี้เราลองมาวิเคราะห์กันว่าการใช้งานผ่านอีเมล์นั้นมีความปลอดภัยของข้อมูลแค่ไหน

  1. มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่คุณส่งในอีเมล์นั้นถึงผู้รับที่คุณต้องการจริงๆ เพราะผู้รับต้องมีการ Login ด้วย Username กับ Password ก่อนที่จะเข้าถึงข้อมูลได้
  2. หากคุณใช้งานกับผู้ให้บริการ Email Server ที่มีมาตรฐาน และมีความมั่นคง คุณก็อุ่นใจได้ระดับหนึ่ง ซึ่งในทางปฎิบัติ ผู้ให้บริการ Email Server สามารถเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ แต่ด้วยจรรยาบรรณทางวิชาชีพ คงไม่มีใครเอาข้อมูลของคุณไปขายแน่ๆ
  3. เราสามารถบริหารข้อมูลด้วยตัวเราเอง เพราะเราสามารถกำหนด Email ของแต่ละแผนก และ แต่ละฝ่ายได้ เพื่อให้พนักงานเข้าถึง Email ในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบเท่านั้น
  4. รูปแบบการเก็บข้อมูลของ Email นั้น ผู้ให้บริการ Email Server มีการป้องกันการ Hack ไว้เยอะมาก มันก็คงดีกว่าการที่คุณเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในกระดาษ ที่ใครๆ ก็แอบไปดูได้
  5. ไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลมันจะหาย หากคุณเก็บข้อมูลต่างๆไว้ในกระดาษหนาเตอะ วันดีคืนดีอาจจะมีขโมยเอามันไปก็ได้ หรือร้ายแรงที่สุด หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ไฟไหม้ เท่ากับข้อมูลเหล่านั้นก็จะหายไปหมดเลย แต่ Email Server นั้น มันคงไม่ไหม่้กันง่ายๆ แน่นอน เพราะมันถูกตั้งไว้ในห้อง Data Center ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับทุกสถาณการณ์

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server และผู้ให้บริการ Web Hosting
ที่ได้รับการรับรองเว็บไซต์มาตรฐานสูงสุดระดับโลก



วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อีเมล์ธุรกิจ บริษัท องค์กร Email Hosting ไม่จำกัดพื้นที่ ไม่มีอยู่จริง !

อีเมล์บริษัท ธุรกิจ และ Email Hosting
ไม่จำกัดพื้นที่ (Unlimited) มีจริงหรือไม่ ?


คุณเชื่อหรือไม่ว่าจะมีผู้ให้บริการ Email Hosting โดยที่ให้คุณใช้พื้นที่ได้ไม่จำกัด (Unlimited) ?
ก่อนที่คุณจะตัดสินใจ เลือกซื้อ อีเมล์บริษัท อีเมล์ธุรกิจ Email Hosting ที่มีผู้ให้บริการบางรายถึงกับบอกว่า Email Hosting ของบริษัทเรานั้นไม่จำกัดพื้นที่การใช้งาน (Unlimited Disk Space) ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านลองวิเคราะห์ ซึ่งเป็นหลักตรรกะ หรือหลักการคิด แบบ ง่ายๆ ว่าเป็นไปได้หรือไม่


Harddisk ไม่ใช่ของฟรี ใครๆ ก็รู้

แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาไปอย่างแพร่หลาย ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ นั้นมีราคาถูก และใครๆ ก็สามารถซื้อได้ แต่ก็ไม่ได้มีความหมายความว่าจะฟรี คุณไม่สามารถเดินไปร้านคอมพิวเตอร์หรือพันธุ์ทิพย์ แล้วขอ Harddisk เค้ามาฟรีๆ เพราะมันมีมูลค่า แล้วจะเป็นไปได้อย่างไร ที่ผู้ให้บริการจะให้คุณใช้อย่าง Unlimited เพราะสิ่งเหล่านี้ก็คือต้นทุน 

คุณทราบหรือไม่ว่าผู้ให้บริการ Email Hosting ไม่ว่าจะด้วยการบอกสรรพคุณว่าเก็บข้อมูลแบบ Cloud หรือเก็บแบบ Harddisk พร้อมมีอุปกรณ์ Backup ที่ดี สิ่งเหล่านี้ก็ต้องใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า Harddisk ในการเก็บข้อมูล

Data Center หรือห้องเก็บ Server ต้องลงทุนด้วยเงินมหาศาล

คุณทราบหรือไม่ว่า Email Server หรือ ที่เก็บข้อมูลของคุณนั้น ต้องตั้งอยู่ในห้อง Internet Data Center ที่มีมาตรฐาน ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลในการสร้าง, ดูแล และ ควบคุม ให้ห้องนั้นมีอุณหภูมิที่คงที่, มีความปลอดภัย, มีระบบป้องกันไฟกระชาก, ระบบสำรองไฟ, ระบบป้องกันน้ำท่วม, ระบบควบคุมความชื้น และระบบป้องกันไฟไหม้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ใช้เงินในการสร้าง และดูแลจำนวนเท่าไหร่

ห้องเก็บ Email Server ที่เป็นมาตรฐานไม่ใช่ของฟรี แล้วจะเป็นไปได้หรือที่ผู้ให้บริการ จะยอมเติม Harddisk เพื่อให้คุณได้ใช้พื้นที่เท่าไหร่ก็ได้ แสดงว่าหากคุณต้องใช้ Harddisk ทั้งหมด 100 ลูก ผู้ให้บริการก็ยอมไปหา Harddisk 100 ลูก มาวางในห้องที่มีมูลค่าสูงขนาดนี้  

ไม่มีใครให้คุณใช้ ไฟฟ้า ฟรีๆ

คุณก็รู้อยู่แล้วว่าแค่บ้านส่วนตัวที่มีครอบครัวอาศัยอยู่ไม่กี่คน ยังต้องเสียค่าไฟเป็นพันต่อเดือน แล้ว ระบบไฟที่ใช้ควบคุม และหล่อเลี้ยงเครื่อง Server ต้องใช้ไฟจำนวนมาก หากบอกว่าให้ใช้พื้นที่ไม่จำกัด แปลว่า ก็ต้องใช้ไฟหล่อเลี้ยง Harddisk เหล่านั้นมากขึ้น แล้วผู้ให้บริการก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากเช่นกัน

ระบบไฟที่หล่อเลี้ยง Email Server ต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลต่อเดือน คุณคิดว่าผู้ให้บริการ Email Hosting จะยอมให้คุณใช้เท่าไหร่ก็ได้หรือ ?

ต้องใช้คนระดับหัวกะทิในการควบคุมการทำงาน

คุณทราบหรือไม่ว่า  Email Server 1 เครื่องนั้น ต้องใช้บุคคลที่มีทักษะทางด้านวิศวกรรมเครือข่าย ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องใช้เงินจำนวนมาก ในการว่าจ้างเพื่อมาเป็นพนักงานประจำ นี่ยังไม่รวมถึงค่าบริหารจัดการองค์กรและบริษัทภายในอีกจำนวนเท่าไหร่

ทีมวิศวกร ไม่ได้ทำงานให้บริษัทฟรีๆ แต่นี่คือต้นทุน ที่ทุกบริษัทต้องว่าจ้าง

ระบบ Email Hosting ต้องมีการบำรุงรักษาอยู่เสมอ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า, ซอร์ฟแวร์และ ฮาร์ดแวร์ ต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุก

การบำรุงรักษาก็มีต้นทุน ไม่ใช่ของฟรี แล้วจะเป็นไปได้หรือ ที่ ผู้ให้บริการ จะให้คุณใช้ทรัพยากร ได้อย่างไม่จำกัด



ลูกค้าก็ต้องการ การ Support ที่ดีเยี่ยม แต่ทีม Support ก็ต้องใช้เงินจ้าง

ต้องเป็นที่ยอมรับว่า ไม่ว่าคุณจะใช้งานระบบอะไร คุณคงยังใช้งานไม่เป็นตั้งแต่แรก และไม่มีระบบไหนที่ทำงานได้ 100% โดยที่ไม่มีปัญหาใดๆ โดยเฉพาะ ระบบอีเมล์ธุรกิจ และใคร ที่จะคอยตอบปัญหา หรือช่วยเหลือลูกค้า นั่นคือ ทีม Support หรือฝ่ายบริการลูกค้านั่นเอง 

คุณคิดว่าผู้ให้บริการ จะยอมให้คุณใช้งานได้ไม่จำกัด แต่ผู้ให้บริการต้องแบกต้นทุนจำนวนมาก นั่นหมายถึงการทำธุรกิจแบบขาดทุน ซึ่งไม่มีธุรกิจใดทำโดยไม่หวังผลกำไร


แล้วทำไม ผู้ให้บริการบางรายถึงเขียนว่า Unlimited หรือใช้งานได้ไม่จำกัด

หากคุณเติบโตมาตั้งแต่เล็กจนโต คุณคงไม่พ้นเรื่องการโฆษณา ซึ่งการโฆษณาต่างๆ ก็ต้องใช้หลักจิตวิทยา โดยนักการตลาดชั้นยอด เพื่อทำให้ลูกค้า รู้สึกพึงพอใจต่อสินค้า,บริการ และที่ขาดไม่ได้คือ คุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งการเขียนว่า Unlimited หรือใช้งานได้ไม่จำกัด เป็นหลักจิตวิทยาง่ายๆ ที่ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกว่ามันคุ้มค่า ใช้เท่าไหร่ก็ได้ 


หากคุณได้ทำความเข้าใจจากบทความด้านบนแล้ว ด้วยหลักตรรกะ หรือหลักการคิดแบบง่ายๆ คุณคิดว่าจะเป็นไปได้หรือไม่
ที่ผู้ให้บริการ อีเมล์ธุรกิจ จะให้คุณใช้งานโดยไม่จำกัด แบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ 



ดังนั้นก่อนที่คุณจะซื้อสินค้า หรือบริการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการเลือกซื้อ Email Hosting/Server คุณสามารถใช้หลักการคิดง่ายๆ คือความสมเหตุสมผล ของราคา กับสินค้าหรือบริการที่เราได้รับ นั้นมีความสมเหตุสมผลหรือไม่

หากไม่มีความสมเหตุสมผล ยิ่งหากคุณใช้งานระบบดังกล่าว ในกระบวนการทางธุรกิจแล้วด้วย คุณจะยอมเอาธุรกิจของคุณไปแลกกับความเสี่ยง หรือผู้ให้บริการที่ให้บริการด้วยราคาที่ถูกจนผิดปกติหรือ ?

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จะเลือก Email Server ที่ไหนดีที่สุด เพื่อสร้าง Email (อีเมล์) ภายใต้ชื่อ Domain (โดเมน) ตัวเอง บริษัท องค์กร



สำหรับองค์กร หรือ ธุรกิจ ขนาดเล็ก (SME) จากเมื่อก่อนที่ใช้การสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ หรือ Fax กลับเปลี่ยนเป็นการติดต่อสื่อสาร ผ่าน Email (อีเมล์) เพราะทั้งรวดเร็วและสะดวก แถมยังไม่ต้องเสียค่าบริการอะไร

หลายๆธุรกิจ ยังเลือกที่จะใช้บริการ Free Email จากค่ายดังหลายๆ ค่าย แต่ เจ้าของธุรกิจบางคนกลับเห็นความสำคัญ ต่อการใช้ Email @ ชื่อบริษัทตนเอง หรือ Domain ตนเอง เนื่องจากเหตุผล ด้านความน่าเชื่อถือ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจหลายๆท่าน จะต้องหาผู้ให้บริการ Email Server คุณภาพ เพราะทั้งธุรกิจเรา อยู่ใน Email

Solution ในการแก้ไขปัญหา ของเจ้าของธุรกิจ มีอยู่หลักๆ 2 ข้อ คือ
1. ทำ Email Server เอง
2. เช่า Email Server 

คุณรู้หรือไม่ว่า การทำ Email Server เอง นอกจากจะต้องลงทุนด้าน Hardware ยังมีค่าใช้จ่ายอีกจำนวนมาก เช่น ค่า Data Center ในการวาง Server , ค่าวิศวกรที่ต้องคอยดูแล, ค่า Software ดังนั้น เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ มักจะเลือกใช้วิธีเช่า Email Server จากบริษัท ผู้ให้บริการ แล้ววิธีการจะเริ่มต้นอย่างไร

เราสามารุถอธิบายเป็นวิธีการคร่าวๆได้ดังนี้
1.ผู้รับบริการ ต้องคิดชื่อ Domain (คือ ชื่อ หลัง @) เช่น @abc.com เป็นต้น หรือ @abc.co.th

2.ผู้ให้บริการก็จะนำชื่อ Domain นั้นไปตรวจสอบกับระบบฐานข้อมูลโลกว่ามีชื่อนี้ซ้ำหรือไม่ ถ้าไม่ ผู้รับบริการก็สามารถใช้งานได้

3.ผู้ให้บริการ จะทำการผู้ค่าทางเทคนิค เช่น ค่า DNS MX เป็นต้น ระหว่าง Domain ไปยัง Email Server ของผู้ให้บริการ

4.ผู้รับบริการก็จะสามารถใช้งานได้ทันที

แล้วจะเลือกผู้ให้บริการ Email Server เจ้าไหนดี
จริงๆแล้ว ในประเทศไทย มีผู้ให้บริการด้าน Email Server โดยเฉพาะ ค่อนข้างน้อย  แตกต่างกับในต่างประเทศที่มีผู้ให้บริการค่อนข้างมาก แต่ไม่ Support ภาษาไทย

แต่ในประเทศไทยจะมีแต่ผู้ให้บริการ Hosting เยอะมากซึ่งผู้ให้บริการ Hosting มักจะเขียนว่า สามารถใช้งาน Email ได้ ไม่จำกัด Users หรือ ภายใต้พื้นที่ที่กำหนด  ซึ่ง Email ที่ถูกแถมมาพร้อมกับ Hosting นั้น เมื่อนำไปใช้งานจริงๆ จะไม่สามารถใช้งานได้ เพราะจะเกิดปัญหาเช่น มีพื้นที่น้อย, ส่ง Email ไม่ค่อยออก, รับเมล์ไม่ค่อยได้ เป็นต้น เพราะว่า ใน Web Server/Hosting 1 เครื่องประกอบด้วยเว็บไซต์ เป็นร้อยเป็นพันเว็บ เมื่อเว็บใดเว็บหนึ่งมีปัญหา อีเมล์ของคุณ ก็จะมีปัญหาไปด้วย

หากบริษัทคุณ เน้นเรื่อง Email จริงๆ ควรเลือกผู้ให้บริการ Email Server โดยเฉพาะ หรือ ซื้อบริการแยกอออกมาตาหาก