วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

DNS Server is Blacklist คือ อะไร แก้ไขปัญหาอย่างไร ?




เมื่อปริมาณ Spam และ Junk Mail เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงผู้ส่ง Spam หรือ Spammer ก็หาวิธีแปลกๆใหม่ๆ มาส่งอีเมล์โฆษณาอยู่เรื่อยๆ ทำให้ผู้ให้บริการ Email Hosting ต้องหาวิธีในการรับมือที่เข้มงวดมากขึ้น จนบางครั้งก็มากจน คุณก็ต้องมาประสบปัญหาเช่นส่ง Eamil ไม่ออกด้วยเช่นกัน







DNS Server is Blacklist

Domain name ทุก Domain ต้องมี DNS Server หรือ ค่า NS1, NS2 นั่นเอง ซึ่งมีหน้าที่ในการสั่งการค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Domain ทั้งหมด เช่น Email (ผ่านค่า MX), Web Site (ผ่านค่า A Record หรือ Cname


มีผู้ให้บริการ Email Hosting จำนวนมาก ใช้ Server 1 ตัวทำหน้าที่ทุกอย่าง ตั้งแต่ DNS Server, Email Hosting, Web Hosting เมื่อ Email ของ User คนใดคนหนึ่งส่งออกมากผิดปกติ หรือ Website ของลูกค้าคนใดคนหนึ่งมีการส่ง Spam ออกไปจำนวนมากๆ ก็จะส่งผลให้ DNS Server นั้นติด Blacklist ไปด้วย เพราะ IP ของ DNS Server กับ Web Hosting เป็นเครื่องและ IP เดียวกัน


วิธีแก้ไขปัญหา

ผู้ให้บริการ Email Hosting ควรแยก DNS Server ออกมาเป็น Server ที่ทำหน้าที่ DNS โดยเฉพาะ ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องให้ผู้ให้บริการแก้ไขให้เท่านั้น เพราะเป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนระดับหนึ่ง ซึ่ง User หรือผู้ใช้งาน Email ทั่วไปคงไม่สามารถแก้ไขได้แน่ หากไม่ทำการแก้ไขปัญหา  IP ของ DNS Server ติด Blacklist ก็จะทำให้ส่ง Email ไปหาปลายทางหลายๆที่ไม่ได้ และจะเจอ Error "DNS Server is Blacklist" และปัญหาก็จะวนเวียนในลักษณะนี้ไปๆมาๆ


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด | ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพเยี่ยม

เหตุผลที่ อีเมล์โฮสติ้ง Email Hosting/Server ถึงมีปัญหาล่มบ่อย ?



หลายๆคนเลือกใช้ Email Hosting สิ่งที่คุณให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความเสถียรภาพของระบบ เพราะหากล่ม ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจและ User ของคุณโดยทันที เพราะปัจจุบันการสื่อสารด้วย Email ถือเป็นวิธีการสื่อสารหลักในหลายๆ ธุรกิจแล้ว เรามาดูปัจจัยที่จะทำให้ Email Hosting ล่มมีดังนี้


Hardware ไม่ได้มีปัญหา

หลายๆคนคงคิดว่าถ้า Mail Server ล่ม น่าจะเกิดจาก Hardware เช่น RAM, CPU, Power Supply ในเครื่อง Mail Server อาจจะพัง แต่ในยุคปัจจุบันเครื่อง Mail Server และ Hardware ล้วนมีความคงทนต่อสภาพการทำงานหนักๆ และยิ่งอยู่ใน Data Center ที่มีแอร์เย็นๆ ยากมากที่ Hardware จะมีปัญหา


สาเหตุจาก OS และ Software

เครื่อง Email Hosting หรือ Mail Server ก็ไม่ต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์ที่บุคคลทั่วไปใช้งาน เมื่อใช้ไปสักพักก็อาจจะติดไวรัส เครื่องช้า เครื่องค้าง ลง Window ใหม่ หรือ Harddisk เต็ม เป็นต้น, เครื่อง Mail Server ก็เช่นกัน การล่มกว่า 70-80% เกิดจาก OS และ Software  






ไม่มีระบบ Monitoring

ยกตัวอย่างปัญหาง่ายๆ ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับผู้ให้บริการ Email Hosting เลย แต่ก็เป็นจริงคือ Server ล่ม เพราะ Harddisk เต็ม เนื่องจากผู้ให้บริการ Email Hosting มีเครื่อง Mail Server จำนวนมาก แต่ก็ไม่มีระบบอะไรที่ Monitor ได้เลยว่า Mail Server เครื่องไหนใกล้เต็ม ซึ่งนี่เป็นปัญหาที่ง่าย และ ไม่ซับซ้อนอะไรเลย แล้วปัญหาที่มีความซับซ้อนหากไม่มีการ Monitoring ก็ไม่ต่างอะไรกับระเบิดเวลา ที่พร้อมล่มทุกเมื่อ



Human Error

Email Hosting ถือเป็นระบบที่มีความซับซ้อนมากที่สุดระบบหนึ่ง ดังนั้นผู้ที่จะ Config ค่าใดๆ ควรเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจริงๆ เพราะการตั้งค่าผิดแม้แต่นิดเดียวมีโอกาสทำให้ Mail Server ล่มได้โดยทันที ดังนั้นคุณควรมั่นใจว่าผู้ให้บริการ Email Hosting นั้นมีความเชี่ยวชาญจริงๆ มีระบบสำรอง หรือ ในเหตุสุดวิสัยจริงๆ ก็ควรมีการสำรองไปยัง Server อื่นๆ 


บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด | ผู้ให้บริการ Email Hosting

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทำไม Email Hosting ถึงมีราคา "สูงหรือแพง" กว่า Web Hosting หลายเท่าตัว




หลายๆคนที่ใช้งาน Email Hosting ที่ทราบราคาของผู้ให้บริการ Email Hosting โดยเฉพาะถึงกับอึ้ง หรือ ถ้าคุณใช้งาน Email ที่แถมมากับ Web Hosting มานาน คุณคงตกใจในราคาที่ผู้ให้บริการ Email Hosting เสนอราคามา ว่าเหตุใด Email Hosting ถึงแพงกว่า Web Hosting หลายเท่าตัว


เหตุผลที่ Email Hosting ราคาแพง





  1. ถึงแม้ว่าพื้นที่หรือ Disk Space ของผู้ให้บริการ Email Hosting จะมีปริมาณเท่ากับ Web Hosting แต่ Email Hosting มีความซับซ้อนของการทำงานที่มากกว่า




  2. ความสำคัญต่อธุรกิจ เราปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนใหญ่ถ้าระบบ Email ในบริษัทคุณล่ม จะมี User โวยวายมากกว่า Web Site บริษัทล่ม และ ตรงนี้ก็เป็นต้นทุนที่ผู้ให้บริการ Email Hosting ต้องสร้างความเสถียรที่สูงกว่า Web Hosting หลายเท่าตัว ซึ่งรวมถึงทีมงานที่มากกว่าด้วย



  3. Bandwidth ผู้ที่ใช้งาน Email Hosting ต้องใช้ Bandwidth มากกว่า Web Hosting ทั่วไป หลายสิบเท่าตัว จึงทำให้ต้นทุนของผู้ให้บริการ Email Hosting สูงตามด้วย




  4. ระบกรอง Junk Mail ใน Email Hosting ส่วนใหญ่เป็น Software ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ และ ผู้ให้บริการ Email Hosting ต้องจ่ายให้ต่างประเทศเป็นรายเดือน สำหรับการ Update Software ให้ใหม่ล่าสุดเสมอ





  5. เครื่อง Server สำหรับการทำ Email Hosting ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีความคงทนสูงกว่าเครื่อง Server ทั่วไป รวมถึงต้องมี Ram, CPU ที่เร็วกว่า Web Hosting ทั่วไป เพราะ User ที่ Active มายังเครื่อง Email Hosting นั้นมีจำนวนมากกว่าในทุกช่วงเวลา ซึ่งไม่เหมือนกับ Web Hosting จำนวนคนเข้าเว็บไซต์มากๆ จะกระจุกตัวกับเว็บที่มีชื่อเสียงขององค์กรใหญ่ๆเท่านั้น



บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด | ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพสูง

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คนไทยชอบใช้อะไรใน google apps

ในปัจจุบัน หลายๆองค์กรเริ่มหันมาใช้บริการ Google Apps มากขึ้น เนื่องจากสามารถนำมาช่วยบริหารจัดการ การทำงานภายในได้อย่างเป็นระบบ สะดวก รวดเร็วว่องไว เหมาะกับยุคสมัย แต่รู้หรือไม่ว่าลักษณะนิสัยการใช้งาน Google Apps ของคนไทยเป็นอย่างไร

คนไทยนิยมใช้สิ่งใดใน Google Apps

เราขอจัดอันดับการใช้งานยอดนิยม 3 อันดับดังนี้

จัดอันดับความนิยมในการใช้งาน Google Apps




1.Gmail
หากจะพูดว่าสาเหตุหลักที่หลายๆองค์กรเลือกใช้ กูเกิ้ลแอป (Google Apps) นั้น เป็นเพราะว่าต้องการใช้งานระบบอีเมล์ ก็คงไม่ผิด และแน่นอนว่าเมื่อสาเหตุหลักคือการต้องการใช้อีเมล์ที่ดี นั่นแสดงให้เห็นว่า ทางองค์กรนั้นๆต้องมีการใช้งานอีเมล์สม่ำเสมอ และอาจเป็นตัวการสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจก็เป็นได้ 
อันดับ1 Gmail ระบบอีเมล์ที่ตอบโจทย์



Gmail เป็นระบบอีเมล์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ด้วยระบบที่มีความเสถียรภาพ มีการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ การป้องกันสแปมและการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน รวมไปถึงการใช้งานร่วมกับ Email Hosting ธรรมดาอื่นๆได้ ทำให้ Gmail ขึ้นมาครองแชมป์อันดับ 1 ได้ไม่ยาก





2.Google Drive
คุณคงเคยประสบปัญหา กับการที่ต้องเก็บเอกสารมากมาย แล้วเมื่อถึงเวลาที่จะเรียกใช้ กลับนึกไม่ออกว่า นำเอกสารเหล่านั้นไปเก็บไว้ที่ไหน ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณนำกูเกิ้ลไดร์ฟ (Google Drive) มาช่วยจัดการ 

อันดับ2 Google Drive พื้นที่เก็บไฟล์ออนไลน์ เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน



กูเกิ้ลไดร์ฟ (Google Drive) มีพื้นที่ให้คุณเก็บข้อมูลออนไลน์ได้ถึง 15 GB สามารถแชร์ไฟล์หรือให้คนเข้ามาดูไฟล์ได้โดยไม่ต้องแนบอีเมล์ ที่สำคัญสามารถเข้าถึงได้ทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ การทำงานเกี่ยวกับเอกสารนั้นจึงง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้กูเกิ้ลไดร์ฟ (Google Drive) ได้รับความนิยมรองลงมาเป็น อันดับที่2






3.Google Doc
ในการทำงานบางครั้ง เราต้องมีการระดมสมอง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดออกมา แต่การที่จะบอกให้แต่ละคนไปโน้ตใส่กระดาษของตัวเองแล้วค่อยมารวมกันทีหลังนั้น ก็คงไม่สะดวกเท่าไหร่นัก คงจะดีกว่าหากว่าเราสามารถทำงานไปพร้อมๆกันได้ทุกคน

อันดับ3 Google Doc จัดการงานเอกสารได้ง่ายๆ ทุกที่ทุกเวลา


กูเกิ้ลดอค (Google Doc) ประกอบไปด้วย 5 แอปย่อย ดังนี้
  1. Document
  2. Spreadsheets 
  3. Presentations
  4. Drawings
  5. Forms
ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการทำงานของคุณได้ ข้อดีของกูเกิ้ลดอค (Google Doc) ที่ทำให้ได้รับความนิยม คือ สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา แชร์ไฟล์โดยกำหนดผู้เข้าถึงได้ สามารถทำงานร่วมกันครั้งละหลายๆคนภายในไฟล์งานเดียวกันได้ พร้อมๆกับแชทและแสดงความคิดเห็นได้ในหน้านั้นๆ ที่สำคัญมีการบันทึกอัตโนมัติตลอดเวลาทำงาน ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น สะดวก ว่องไว ไม่ต้องกลัวว่าไฟล์งานจะสูญหาย





Calendar ตัวช่วยที่ถูกมองข้าม แต่ดีงามสำหรับคนขี้ลืม

หากคุณเป็นคนที่ขี้หลงขี้ลืม ต้องจดบันทึกเสมอว่าจะต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง แต่สุดท้ายคุณก็ลืมอีกว่า คุณจดอะไรไว้ที่ไหนบ้าง จะทำอย่างไรหากเรื่องที่คุณลืมเป็นเรื่องสำคัญ บทความนี้จะช่วยแก้ปัญหาของคุณได้

ในระบบของ Google Apps มีตัวหนึ่งที่มีความน่าสนใจ แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ นั่นก็คือ Calendar


Calendar ปฏิทินที่จะช่วยให้คุณบริหารจัดการสิ่งต่างๆได้





น่าสนใจอย่างไร

  • ใช้ในองค์กร 
  1. คุณสามารถใช้ Calendar เป็นตัวกลางในการจัดประชุมได้อย่างง่ายดาย โดยแชร์กิจกรรมบน Calendar ให้คนอื่นๆเห็น หรือแม้กระทั่งนำของคนอื่นมาซ้อนทับของตัวเอง เพื่อหาช่วงเวลาที่ว่างตรงกัน 
  2. ในการจองห้องอบรม หรือห้องประชุม คุณสามารถแชร์ Calendar ให้คนอื่นเห็น เพื่อความสะดวกในการจอง ซึ่งจะแสดงวันและเวลาที่มีคนจองไปแล้ว และวันเวลาที่ยังว่าง ทำให้การจองไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
แชร์ปฏิทินให้เพื่อนร่วมงาน ทำให้การติดต่อนัดหมายสะดวกขึ้น




  • ใช้ในชีวิตประจำวัน
  1. คุณสามารถกำหนดกิจกรรมต่างๆของคุณลงบน Calendar ได้
  2. รับแจ้งเตือนกิจกรรมผ่านทางอีเมล์ได้ คุณสามารถเข้าไปตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนทุกเช้าได้ ดังนี้เข้า Setting เลือก Notification จากนั้นเลือกฟังชั่นที่คุณต้องการ และเลือกที่ Daily Agenda เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รับการแจ้งเตือนในทุกๆเช้า ว่าวันนี้คุณมีกิจกรรมใดต้องทำบ้าง
  3. คุณสามารถเข้าดูกิจกรรมที่บันทึกเอาไว้ได้ แม้ในขณะออฟไลน์

ไม่ต้องกลัวว่าจะลืม ว่าต้องทำอะไร เพราะมีระบบแจ้งเตือน



เปลี่ยนจากการจดสิ่งต่างๆไว้หลายๆที่ มาไว้ใน Calendar ที่ช่วยเก็บทั้งข้อมูล และแจ้งเตือนได้ ภายในแอปเดียว เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกำหนดกิจกรรมต่างๆได้อย่างลงตัว และไม่ต้องกังวลว่าจะหลงลืมสิ่งใดอีกต่อไป

วิธีสร้างป้ายกำกับอีเมล์ (Label) บน Gmail.com

เราสามารถสร้างป้ายกำกับส่วนตัวได้ง่ายๆ ดังนี้

1. Log in เข้าหน้า Gmail จากนั้นไปยังมุมซ้ายด้านล่าง เลือก Create new label





2. จะมี pop up ขึ้นมาให้คุณตั้งชื่อป้ายกำกับที่คุณต้องการ ดังภาพ3. ใส่ชื่อที่คุณต้องการลงไปแล้วกด Create4. ชื่อป้ายกำกับที่คุณตั้ง จะปรากฏอยู่ทางซ้ายมือ

5. ตรงลูกศรเล็กๆท้ายป้ายกำกับ เมื่อคลิกจะสามารถแก้ไขและใส่สีให้ป้ายกำกับของคุณได้







6. เลือกสีที่คุณต้องการ แล้วสีที่เลือกจะขึ้นตรงท้ายป้ายกำกับ เมื่อคุณนำป้ายกำกับนี้ไปแปะไว้ที่อีเมล์ฉบับใด จะมีแถบสีที่คุณเลือก ขึ้นบนชื่ออีเมล์ฉบับนั้น โดยขนาดของแถบสีจะผันตรงกับความยาวของชื่อป้ายกำกับนั้นๆ





7. สามารถสร้างป้ายกำกับได้หลายป้าย





8. หากต้องการสร้างหมวดย่อย สามารถทำได้โดย เลือก Create new label เมื่อ pop up ขึ้น ให้ตั้งชื่อแล้วเลือกตรง Nest label under จากนั้นกดตรงสามเหลี่ยมเล็ก แล้วเลือกว่าจะให้อยู่ในหมวดใด
9. เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ป้ายกำกับหลักจะมีสามเหลี่ยมเล็กขึ้นมา กดตรงสามเหลี่ยมเล็กก็จะพบป้ายกำกับรอง






แค่ทำตามวิธีนี้คุณก็มีป้ายกำกับช่วยจัดระเบียบอีเมล์แล้ว




บทความที่เกี่ยวข้อง



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด



ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพสูงที่ใช้งานร่วมกับ Google Apps ได้เป็นอย่างดี

ป้ายกำกับอีเมล (Label)ต่างจากโฟลเดอร์(Folder)อย่างไร

ป้ายกำกับอีเมล์(Label) เป็นตัวช่วยจัดระเบียบอีเมล์ของคุณให้เป็นหมวดหมู่ ทำให้ง่ายต่อการตรวจเช็คอีเมล์ ซึ่งป้ายกำกับอีเมล์มีข้อดีดังนี้

  1. อีเมล์ยังคงอยู่ที่เดิมเพียงแต่มีป้ายกำกับเพิ่มเติมว่าเป็นหมวดไหน
  2. ในอีเมล์ 1 ฉบับ สามารถติดได้หลายๆป้าย
  3. ในการสร้างป้ายกำกับ เราสามารถสร้างหมวดย่อยๆไว้ในหมวดใหญ่ได้เช่น ป้ายรายการอาหาร ป้ายย่อยจะเป็น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น เป็นต้น


ป้ายกำกับต่างจากโฟลเดอร์อย่างไร

หลายๆคนสงสัยว่าการทำงานของป้ายกำกับ มองๆดูแล้วก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากการจัดโฟลเดอร์ทั่วไป ซึ่งป้ายกำกับมีการทำงานคล้ายโฟลเดอร์ แต่สิ่งที่ต่างกันคือ





การจัดระเบียบในรูปแบบโฟลเดอร์



  • โฟลเดอร์(Folder) คือการที่เราสร้างโฟลเดอร์หนึ่งขึ้นมา แล้วดึงเอาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโฟลเดอร์นั้นลงไปเก็บไว้ เวลาเราต้องการกลับมาอ่าน เราต้องเข้าไปยังโฟลเดอร์ที่เราเก็บไว้เท่านั้น จึงจะสามารถเปิดอ่านได้






การจัดระเบียบในรูปแบบป้ายกำกับ


  • ป้ายกำกับ(Label) คือการจัดหมวดหมู่โดยการสร้างป้ายกำกับเอาไว้ จากนั้นจึงทำการติดป้ายบนอีเมล์ต่างๆตามต้องการ โดยที่อีเมล์ยังคงอยู่ที่เดิม เราสามารถติดป้ายกำกับได้หลายป้ายและกำหนดสีป้ายต่างๆให้เป็นไปตามความต้องการได้ ทำให้สะดวกต่อการค้นหา นอกจากนี้กรณีที่คุณแปะป้ายกำกับไว้หลายป้าย ไม่ว่าคุณจะเข้าอ่านอีเมล์จากหน้า Inbox หรือจากหมวดLabelด้านข้างคุณก็สามารถเปิดอ่านอีเมล์ได้ โดยเลือกจากป้ายกำกับป้ายใดก็ได้ที่คุณแปะไว้