วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

"Google Chrome" ช่วยป้องกันไม่ให้คุณ "โดน Hack ได้" !



หน้าจอของโปรแกรม Google Chrome จะมีการแจ้งเตือนทันที
หากเว็บไซต์ที่คุณเข้าอยู่นั้นมีไวรัส และ Block ไม่ให้คุณเข้าไปใช้งาน


เราแนะนำให้คนไทยใช้ Google Chrome

ผู้เขียนต้องขอเกิ่นนำก่อนเลยว่า ผู้เขียนไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับ Google และต้องการแนะนำให้คนไทยนั้นใช้ Browser : Google Chrome เพียงเหตุผลเดียว คือ ปกป้องไม่ให้คนไทยเข้าเว็บและติดไวรัส

  1. เนื่องจาก Google เป็น ผู้นำด้าน "Search Engine" ดังนั้นเมื่อมีข่าวสาร หรือ ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัส ก็ไม่แปลกที่ Google จะรู้คนแรก

  2. ผู้ใช้งานในประเทศไทยมักละเลย และไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่อง "การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย", การใช้งาน "อีเมล์บริษัท" หรือ พูดง่ายๆ เข้าทุกเว็บโดยไม่ค่อยสนใจอะไรเลย

  3. ซึ่งโปรแกรม "Google Chrome" ที่เอาไว้ท่องเว็บ จะรีบทำการ Block เว็บไซต์ ที่มีไวรัสฝังอยู่ รวมถึงเว็บไซต์ปลอมต่างๆ ในลักษณะ "Phishing" เช่น เว็บธนาคารปลอม, facebook ปลอม, gmail ปลอม , Hotmail ปลอม เป็นต้น และ แสดงหน้าจอ สีแดง เหมือนภาพประกอบด้านบน

  4. ถึงแม้ว่า  "Google Chrome" จะทำงานอย่างฉลาด เหนือชั้นเพียงใดมันก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะ Block ได้อย่าง 100% ดังนั้น User หรือคุณ ต้องใช้ความระมัดระวังในการเข้าเว็บไซต์ต่างๆ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ "เงินๆทองๆ" และ ข้อมูลที่มีความสำคัญทางธุรกิจ หรือ ข้อมูลที่เป็นความลับของตัวคุณเอง อีเมล์บริษัท  เช่น Spyware  หรือ Malware เป็นต้น

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้เชี่ยวชาญและผู้ให้บริการ  Email Hosting อันดับ 1 

"Paypal ปลอม" พร้อม "หลอก" ให้คุณใช้บริการแล้ว !




จะมี Email แจ้งเตือนมายังคุณโดยมีลักษณะแจ้งว่า "ให้รีบไป Login Paypal โดยด่วน"
และมีปุ่ม Click Here ตามภาพประกอบ





เมื่อคุณเข้าไปจะมีหน้าที่ทำเหมือน Paypal มากๆ จนคุณอาจจะแยกไม่ออก
โดยจะหลอกให้คุณกรอก Username และ Password ของ Paypal


คำเตือน และ คำแนะนำ

  1. อย่า Click Link ใดๆ ที่ส่งมาพร้อมกับ Email โดยเฉพาะ Email ที่เกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ โดยเด็ดขาด
  2. หากคลิกเข้าไปแล้ว และ คุณได้เผลอ ทำการกรอก Username และ Password ไปจริงๆ ให้รีบเข้าไปยังเว็บไซต์หลักและเปลี่ยน Password โดยด่วน หรือ รีบแจ้งไปยังเว็บไซต์หลักให้รีบระงับการใช้งาน Account ตนเองชั่วคราว (เหมือนอายัดบัตรเครดิต)

  3. ไวรัสหรือการโจมตีลักษณะนี้ มีศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า "Phishing email" โดยท่านสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับการโจมตีลักษณะนี้ได้ โดยคลิกที่นี่ >>


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้บริการ Email Hosting อันดับ 1 



วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ป้องกัน Email ตกหล่นด้วย "Catch all email"





Catch all email คือ อะไร

Catch all email คือ การทำให้ Mail Server นั้นรับ Email ที่ส่งมายังผู้รับ (Receiver) ทุกฉบับ ถึงแม้ว่า Email ของผู้รับ (Receiver) คนนั้นจะไม่มีตัวตนอยู่จริง หรือ อาจจะเป็นพนักงานที่ลาออกไปแล้ว เป็นต้น







การทำงานแบบปกติ

ยกตัวอย่าง หากมี Email ส่งมายัง a@maildee.com แล้ว a@maildee.com นั้นมีอยู่จริง Email ฉบับนั้นก็จะถูกส่งมายัง a@maildee.com อย่างปกติ











ไม่มี Email นั้นอยู่จริงๆใน Mail Server


  • ยกตัวอย่างตามภาพเมื่อมีคนส่ง Email มายัง hippo@maildee.com และ Email: hippo@maildee.com นั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง โดยปกติแล้ว Mail Server จะทำการตีเมล์นั้นกลับไปยังผู้ส่ง (Sender)


  • แต่ในที่นี้เรามีการตั้ง Function "Catch all email" ไว้ที่ Domain : maildee.com โดยให้ "Catch all email" ไปที่ email: center@maildee.com


  • ดังนั้นเมื่อมีคนส่ง Email มายัง User ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง Email เหล่านั้นก็จะวิ่งเข้าไปยัง email: center@maildee.com


  • Function "Catch all email" จะมีให้บริการจากผู้ให้บริการ Mail Server บางรายเท่านั้น 


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server อันดับ 1

[MS Outlook] วิธีเปลี่ยน Format ของ Text เป็น HTML หรือ Plain Text

การเลือกใช้รูปแบบการรับส่งอีเมล์ สามารถกำหนดได้ในการตั้งค่าเกี่ยวกับการรับ บางทีเราสามารถรับข้อความได้แค่เฉพาะเป็นตัวอักษรหรือข้อความอย่างเดียว ไม่สามารถรับได้รูปแบบอื่น เช่น ลักษณะพิเศษของ Font ที่ส่งมาเช่น ตัวหน้า ตัวเอียง หรือ รูปภาพ ได้ ซึ่งลักษณะนี้จะเรียกว่าการรับจดหมายแบบ Plain Text

แต่ในรูปแบบที่นิยมที่สุดคือ แบบ HTML (Hyper Text Markup Language) เพราะสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ทั้งรูปภาพและข้อความแบบต่าง ๆ ได้ โดยปกติส่วนใหญ่แล้วอีเมล์ที่ใช้ก็จะตั้งค่าเป็นในรูปแบบของ HTML

วิธีเปลี่ยน Format ของ Text เป็น HTML หรือ Plain Text บน Microsoft Outlook


                         1. หน้าแรก Outlook ไปที่เมนู File
    2. เลือกมาที่ Option

ในหน้าต่าง Outlook Option เลือกมาที่หัวข้อ Compose messages 
ในการเขียน อีเมล์ให้เลือกเป็นรูปแบบ HTML

หัวข้อ Message format การปรับแต่ง ข้อความ เมื่อมีการส่งข้อความไปยังผู้รับ กำหนดให้ เป็นในรูปแบบ
ของ HTML Convert to HTML format เพื่อผู้รับสามารถเปิดอ่าน เห็นรูปแบบเดียวกับที่เราได้ส่งข้อความไป

ในทางกลับกัน User ก็สามารถปรับเปลี่ยนการตั้งค่าในส่วนนี้ให้เป็น Plain Text ได้ หากว่า User ไม่ต้องการรับข้อมูลที่เป็น HTML


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting Service Provider

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ISP และ ผู้ให้บริการ Internet ในประเทศไทย !




Internet Service Provider (ISP)

ISP หรือ Internet Service Provider คือ หน่วยงานหรือบริษัทฯ ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งในประเทศไทยจะมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้น โดยจะแบ่งแยกการให้บริการอินเตอร์เน็ตหลักๆ ออกเป็น 2 ประเภท คือ อินเตอร์เน็ตตามบ้าน และ อินเตอร์เน็ตสำหรับหน่วยงานทางธุรกิจและองค์กรต่างๆ



การใช้งานอินเตอร์เน็ตภายในบ้าน


ตัวอย่างบริษัทฯ ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตตามบ้าน


การใช้งานอินเตอร์เน็ตตามบ้าน

อินเตอร์เน็ตตามบ้านส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการบันเทิง เช่น การเล่น Facebook ดู Youtube เป็นต้น หรือ อาจจะมีการพ่วงต่อไปยังกล้อง CCTV ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยผู้ให้บริการหลักจะในกรุงเทพฯ จะเป็น TRUE ในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด TOT และ 3BB เป็นต้น โดยสายนำสัญญาณมาตามบ้านอาจจะเป็นสายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ สายใยแก้วนำแสง ที่ปัจจุบันมีราคาถูกลงมาก



การใช้งานอินเตอร์เน็ตในองค์กร แนะ หน่วยงานทางธุรกิจ



บริษัทฯ ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่องค์กร


การใช้งานอินเตอร์ ในระดับองค์กร

การใช้งานอินเตอร์เน็ตในระดับองค์กรนั้น ต้องการความเร็วของอินเตอร์เน็ตและความเสถียรมากกว่าการใช้อินเตอร์เน็ตบ้านเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบัน ระบบการสื่อสารขององค์กรต่างๆ ล้วนต้องพึ่งพาอินเตอร์เน็ตทั้งสิ้น เช่น การใช้งาน ระบบอีเมล์,  ระบบบริหารจัดการภายในและระหว่างสาขา หรือ อาจจะมีการตั้ง Server ไว้ภายในองค์กร 

โดยผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในระดับองค์กร อาจจะมีการใช้สายสัญญาณเป็นใยแก้วนำแสง (Fiber optic) และ มีการบริหารจัดการที่รัดกุมและเข้มงวด เพื่อให้การใช้งานในระดับองค์กรนั้นมีความเสถียรสูงสุด


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการระบบ Email Hosting อันดับ 1 ของไทย

Plain text และ HTML คือ อะไร ต่างกันอย่างไร ?



Plain Text คือ อะไร ?

คือ ตัวอักษร Original ที่ไม่มีการปรับแต่ง หรือ เติมแต่ง Code เข้าไปเพิ่มเติม

HTML คือ อะไร ?

คือ ตัวอักษรที่มีการใส่ Code HTML เช่น
ต้องการทำให้คำว่า 'Hello' แสดงเป็นอักษรตัวหนา ก็จะใส่ Code ลักษณะนี้ <b>hello</b>
หรือต้องการทำให้คำว่า 'Hello' แสดงเป็นอักษรสีแดง ก็ใส่ Code ลักษณะนี้ <font color='red'>hello</font> เป็นต้น





ตัวอย่าง และ ความแตกต่าง

  • จากภาพบรรทัดแรก จะเห็นตัวอักษรคำว่า Hello ซึ่งตัวอักษรตัวนี้ไม่มีการใส่ Code อะไรเพิ่มเติมเข้าไป
  • บรรทัดที่สอง จะเห็นตัวอักษรคำว่า <b>Hello</b> ซึ่งคำสั่ง <b></b> ใน HTML แปลว่าทำให้เป็นตัวหนา  เวลาคุณเปิดอ่าน Email หรือเว็บไซต์ ผู้ที่อ่านก็จะเห็นเป็น Hello เพราะตัวโปรแกรม Web Browser หรือ Outlook นั้นได้ทำการประมวลผลออกมาให้แล้ว

ปัญหาที่พบได้บ่อยของ HTML

  • บางครั้งหากคุณทำการเช็คอีเมล์บนมือถือ หรือ Email Client เช่น Outlook, Thunderbird มันอาจจะประมวลผลผิดพลาด หรือ ไม่ประมวลผลเลยก็จะแสดงตัวอักษร <b>Hello</b> ออกมาดื้อๆ แทนที่จะแสดงเป็น Hello (ตัวหนา) เป็นต้น 


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการระบบ Mail Hosting อันดับ 1

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

DNS คือ อะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และทำงานอย่างไร ?







DNS คือ อะไร ?

DNS ย่อมาจาก Domain name server มีหน้าที่แปลงชื่อ Domain name เป็นหมายเลข IP ของ Server ปลายทาง และ ยังทำหน้าที่บังคับทิศทางของ Email ว่าให้ทำการส่งไปยัง Mail Hosting IP ใด หรือ เรียกง่ายๆว่า มันแปลงชื่อไปเป็น IP Server นั่นเอง

ตัวอย่างและประเภทของ DNS







DNS แบ่งออกเป็นชื่อเรียกและการทำงานดังนี้

  1. A Record จะเป็นการชี้แบบ IP โดยต้องระบุปลายทางเป็นหมายเลข IP
  2. Cname Record จะเป็นการชี้แบบ Hostname โดยต้องระบุ Server ปลายทางเป็น แบบ Hostname
  3. MX Record จะเป็นการตั้งค่าเพื่อระบุว่าถ้ามี Email วิ่งเข้ามายัง Domain ตนเอง จะให้ Email ฉบับนั้นไปเก็บที่ Mail Hosting ปลายทางที่ใด
  4. SPF Record  จะใช้เป็นการตั้งค่าโดยผู้ให้บริการ Email Server จะเป็นผู้กำหนดค่ามาให้เพื่อใช้ในการยืนยันว่า Mail Server นั้นอนุญาติให้ Domain คุณส่ง Email จริงๆ
  5. TXT Record นิยมใช้เพื่อยืนยันว่าคุณเป็นเจ้าของ Domain จริงๆ
  6. ค่า TTL เป็นค่าที่กำหนดให้ DNS Server ของ ISP อื่นๆ โดยหน่วยจะเป็นวินาที ว่าจะให้ ISP อื่นๆ นั้นมาทำการ Update ให้ตรงกับค่า DNS ของตนเองทุกๆ กี่วินาที
  7. NS Record เป็นการระบุว่าให้ Domain ของคุณ รับฟังค่า DNS Zone จาก DNS Server ตัวใด



บทความที่เกี่ยวข้อง


VDO ที่เกี่ยวข้อง





บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ผู้ให้บริการ EMail Hosting อันดับ 1