แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา ปัญหา email จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา ปัญหา email จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Error: all relevant MX records point to non-existent


ข้อความตีกลับลักษณะนี้หมายถึงอะไร?

This message was created automatically by mail delivery software.

A message that you sent could not be delivered to one or more of its
recipients. This is a permanent error. The following address(es) failed:

  name@xxxx.com

    all relevant MX records point to non-existent hosts or (invalidly) to IP
addresses

ถ้าพบข้อความลักษณะนี้ให้เราตรวจสอบค่า MX Record อันดับแรกก่อนว่า ปลายทางมีค่า MX record ที่ถูกต้องหรือมีอยู่หรือไม่ บางครั้งปัญหาก็เกิดกับ DNS Server ปลายทาง ถ้า DNS Server มีปัญหา เราในฐานะผู้ส่งก็จะไม่สามารถส่งข้อความไปยังผู้รับปลายทางได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่า MX Record ใน DNS คือ อะไร
เมื่อ MX หายไป เหตุใดถึงส่ง Email ไปยังโดเมนอื่นไม่ได้


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting ราคาย่อมเยาที่คุณสัมผัสได้ เริ่มต้น 3 Accounts

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Retry time not reached for any host

Error: Retry time not reached for any host

ข้อความตีกลับที่ผู้ส่งจะได้รับ ก็ต่อเมื่อข้อความดังกล่าวส่งออกไปไม่สำเร็จ ไม่ถึงผู้รับได้
วิธีการตรวจสอบสาเหตุขั้นตอนต่อไป คือการเช็คว่า DNS ของปลายทางนั้นผิดปกติหรือไม่ โดยเริ่มตรวจสอบจากค่า MX Record ของโดเมนปลายทาง

หากตรวจสอบแล้วไม่พบค่า MX Record ของปลายทาง นั่นอาจจะแสดงถึงว่า DNS ปลายทางมีปัญหา
โดย Error ดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่า Bandwidth ของ Server ปลายทางเต็ม


DNS Problem Example

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีหาค่า DNS Server ของระบบอีเมล์ที่ใช้งาน
ค่า MX Record ใน DNS คือ อะไร 
ทำอย่างไร เมื่ออีเมล์ (Email Server/Hosting IP) ติด blacklist(แบล็คลิส) และส่ง email ไม่ออก
Bounce หรือ อีเมล์ตีกลับ high bulk ratio คือ อะไร
การใช้ Email Hosting อีเมล์อย่างปลอดภัย ไม่ให้ติดไวรัส Virus

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Server อันดับ 1 ของประเทศไทย
ที่มีคุณภาพสูงสุดและ มีทีม Support ตลอด 24x7x365

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Incoming/Outgoing Port ใน MS Outlook



สำหรับผู้ที่ใช้งานผ่านโปรแกรม MS Outlook เมื่อเกิดปัญหา รับ - ส่ง อีเมล์ ไม่ได้เลย เบื้องต้นสิ่งที่เราควรเช็คก่อนเป็นอันดับแรก คือ ค่า Incoming/Outgoing Port  โดยสามารถเช็คได้โดยวิธีการนี้


1. เข้าไปที่ Menu File  > Account Setting



2.เลือกชื่อ Email Account ที่ต้องการเช็คการตั้งค่า




3.เข้าไปที่ More Setting




4. เลือกหัวข้อ Advanced จะพบการตั้งค่า Incoming / Outgoing อยู่ในหน้านี้



บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการอีเมลโฮสติ้งสำหรับองค์กรคุณภาพสูง

MTR Test คืออะไร ใช้เพื่ออะไร


MTR Test คืออะไร

 
MTR Test คือการตรวจสอบเส้นทางเครือข่ายของ Server ปลายทาง ว่าเส้นทางแต่ละตัวนั้นมีจุดใดที่เกิดปัญหาบ้าง Lost Connection ที่จุดใด เวลาเกิดปัญหาในการใช้งาน Email Hosting เราก็สามารถใช้วิธีการนี้ตรวจสอบได้

บางทีปัญหาเป็นที่ Gateway ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ก็สามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ISP ทำงานไม่ปกติ ไม่ได้เป็นที่ตัว Mail Server

เราสามารถเช็คได้ง่าย ๆ กับทุกระบบปฏิบัติการ ปัจจุบันก็มี Software สำหรับ MTR Test โดยเฉพาะอยู่แล้ว ลองหามาใช้งานกันดู

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Server สำหรับบริษัท
สนใจ อีเมล@ชื่อบริษัท ติดต่อเรา

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ในการส่ง Email ควรแนบไฟล์ไม่เกินเท่าไหร่ เพราะเหตุใด


Limit ของขนาดไฟล์แนบในการส่ง Email หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมถึงได้น้อยเหลือเกิน เพิ่มกว่านี้ไม่ได้หรือ ซึ่งบางผู้ให้บริการ Email Hosting จะมีหน้า Admin สำหรับการตั้งค่าขนาดไฟล์แนบในการส่งเมลได้ ผู้ใช้ก็ทำการปรับเปลี่ยนให้เป็น 30 MB จะได้ส่งไฟล์ได้เยอะๆ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ เมลที่ส่งไปไม่สามารถไปถึงมือผู้รับได้โดนตีกลับเนื่องจากไฟล์มีขนาดใหญ่เกินไป





นั่นเป็นเพราะมาตราฐานส่วนใหญ่ของผู้ให้บริการ Host Mail นั้นกำหนดค่าไว้อยู่ที่ 20 MB ต่อครั้ง โดยทั่วไปแล้วการติดต่อกันทาง Email ก็ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนใหญ่ หรือแนบไฟล์เอกสารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การที่แนบไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากกว่านั้นก็อาจต้องสงสัยว่าอาจจะเป็น Mail Virus ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้ได้

ถ้าหากผู้ใช้มีความจำเป็นในการส่งไฟล์ที่มีขนาดใหญ่กว่านั่น ก็มีบริการอื่น ๆ มากมายที่เหมาะสำหรับการส่งไฟล์ทีละมาก ๆ เช่น Google Drive, One Drive, Dropbox, Box และ iCloud เป็นต้น


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการอีเมลสำหรับบริษัทคุณภาพสูง

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การตั้งค่า Whitelisted domain เพื่อให้ได้รับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้ง


ปัญหารับอีเมลจากผู้ส่งไม่ได้

สาเหตุหลักมักเกิดจาก Server ของผู้ส่งติด Blacklisted หรือว่า DNS ของ Domain ผู้ส่งติด Blacklisted ซึ่งจะทำให้ตัวกรองของ Server ผู้รับนั้น ไม่กล้ารับอีเมลจากผู้ส่งที่ติด Blacklisted

ถ้าเราต้องการรับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้งทำอย่างไร?

การเพิ่ม Domain ของผู้ส่งให้เป็น Whitelisted จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ โดยผู้รับต้องมีตัวกรองจัดการที่ดี สามารถเพิ่มโดเมน หรืออีเมล เป็น Sender whitelist ได้ แม้ว่าผู้ส่งจะใช้ Server ที่ติด Blacklisted ส่งเข้ามา Server ผู้รับก็จะมองข้ามข้อนี้ไป เนื่องจากเราตั้งค่าให้โดเมนผู้ส่งเป็น Sender whitelist แล้ว ในทุก ๆ ครั้งที่มีการส่งอีเมลจาก Sender ดังกล่าว ผู้รับก็จะสามารถรับข้อความได้ทุกฉบับ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้เราไม่ได้รับอีเมลจากผู้ส่ง เช่น ปัญหา Bandwidth ของ Server ผู้ส่งเต็ม ทำให้อีเมลไปคิวใน Sender's server ซึ่งในส่วนนี้จะใช้วิธี Add whitelist ไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาของ Server ต้นทางเอง

Technology Land Co., Ltd.

Email hosting สำหรับองค์กร บริการที่ดีที่สุด

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Hop Count Exceeded คืออะไร


ตัวอย่างข้อความตีกลับ

The following message to <name@domain.com> was undeliverable.
The reason for the problem:
5.3.0 - Other mail system problem 554-'5.4.6 Hop count exceeded - possible mail loop'


Reporting-MTA: dns; sub.domain.com

Final-Recipient: rfc822;name@domain.com
Action: failed
Status: 5.0.0 (permanent failure)
Remote-MTA: dns; [198.168.xx.xxx]
Diagnostic-Code: smtp; 5.3.0 - Other mail system problem 554-'5.4.6 Hop count exceeded - possible mail loop' (delivery attempts: 0)


ข้อความตีกลับเกิดขึ้นเมื่อ ผู้ส่งพยายามส่งข้อความไปที่โฮสของ Outlook.com ไปข้อความไปไม่ถึงผู้รับ โดยจะถูกตีกลับทันที

สาเหตุ

สาเหตุมาจากการตั้งค่าใน Server ไม่ถูกต้อง ของ Server ปลายทาง

วิธีการแก้ไขปัญหา (คลิกที่นี่)

ผู้ให้บริการ Email Hosting บริการรวดเร็ว ประทับใจ

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Mac OS] วิธีการตั้งค่าให้ Mail App ลบข้อความอัตโนมัติ (POP)




Corporate email accounts ส่วนใหญ่แล้วจะมีจุดอ่อนคือพื้นที่  Mailbox ที่ผู้ให้บริการ offer ให้นั้นมีความจำกัด หรืออาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งานของ End-users บางราย โดยเฉพาะบัญชีอีเมลที่ผู้บริหารต้องใช้เก็บข้อมูลสำคัญ ๆ ไม่สามารถลบออกได้

อย่างไรก็ตามการ Add account ลงบน Client ประเภทบัญชีแบบ POP3 สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ เพราะว่าข้อความที่เก็บไว้บนโปรแกรมอย่าง Mail App จะถูกบันทึกอัตโนมัติไว้บนเครื่องเลย ไม่ได้ Sync โดยตรงกับ Mail server ทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะลบข้อความออกจาก Mail Server ได้

การตั้งค่าให้โปรแกรม Client ลบข้อความออกจาก Server ตามจำนวนวันที่กำหนดสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยแต่ละ Client ก็จะกำหนดค่าได้ต่างกัน เช่น ตั้งเป็นจำนวนวันได้ หรือ ตั้งเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี เป็นต้น

วิธีการตั้งค่าให้ Mail App ลบข้อความอัตโนมัติ (POP)


1. เปิดโปรแกรม Mail App บนเครื่อง Mac ขึ้นมา

เลือกเมนู Mail > Preferences...


2. ตั้งค่าให้โปรแกรมทำหน้าที่ลบข้อความอีเมลออกจาก Server แบบอัตโนมัติ

ไปที่เมนู Accounts
1. ทำเครื่องหมายที่ Remove copy from server after retrieving a message:
2. เลือกระยะเวลาตามต้องการ

3. เลือกช่วงเวลาที่ต้องการให้ Mail app ลบข้อมูลจาก Mail server

เช่น กำหนดให้ลบข้อความทุก ๆ 1 เดือน

4. ปิดหน้า POP-UP การตั้งค่า



5. บันทึกการตั้งค่าใหม่

กด Save เพื่อบันทึกการตั้งค่า

บทความที่เกี่ยวข้อง
[TL GoCloud][Mac OS X] การตั้งค่าอีเมล์, Add Account... (POP)
[Mac OS][Mail App] เครื่องมือต่างๆ ใน Mail เครื่อง Mac เบื้องต้น
[Mac OS][Mail App] วิธีค้นหา Mail ในเครื่อง Mac
[Mac OS][Mail App] วิธีส่งอีเมล์แบบมีไฟล์แนบใน Mac


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ อีเมลโฮสติ้ง ที่ดีที่สุด

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

[Outlook] เหตุใดถึง Add Gmail account ลงบน MS Outlook ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ตั้งค่าถูกแล้ว

สาเหตุที่เรา Add Account ของ @gmail.com ลงบน MS Outlook ไม่ได้ ในขณะที่ตั้งค่า Account Settings ถูกหมดแล้ว ก็ยังเกิด Error อยู่ ให้เราเข้าไปที่หน้า www.gmail.com เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่า เราได้ทำการ Enable POP ไว้แล้วหรือยัง ซึ่งส่วนใหญ่ End-users จะไม่รู้ว่าต้องทำด้วย เรามาดูกันว่าต้องทำอย่างไรเพิ่มเติมบ้าง



1. เข้าเว็บเมล์ของ Gmail (www.gmail.com)
2. คลิกที่ไอคอนรูปเฟือง (การตั้งค่า/Settings)
3. เลือกแถบเมนู Forwarding and POP/IMAP

1. เปลี่ยนสถานะจาก Disable POP เป็น Enable POP
2. เปลี่ยนสถานะจาก Disable IMAP เป็น Enable IMAP
3. กดปุ่ม Save Changes


เมื่อทำการ Enable POP แล้ว ให้กลับไปที่โปรแกรม MS Outlook ที่เราติดปัญหาอยู่จากนั้นกด Test account settings สถานะการตรวจสอบขารับและขาส่งของ Email Server ก็จะเป็น Complete ทันที


ถ้ายัง Test Account Settings บน MS Outlook ไม่ผ่านอีก


ให้ตรวจสอบที่ INBOX หน้าเว็บเมล์ว่ามีอีเมลจากระบบ ส่งเข้ามาหรือไม่
Subject: Sign-in attempt prevented

ข้อความจากระบบฉบับแจ้งว่าความพยายามเข้าถึง Email Account ผ่านโปรแกรม MS Outlook ซึ่งถือเป็น App ที่มีความปลอดภัยน้อย จะต้องมีการเปลี่ยนสิทธิ์การเข้าถึงบัญชีก่อน โดยให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. เปิดอีเมล Subject: Sign-in attempt prevented



คลิกที่ลิงค์ Learn more


2. เมื่อเข้าลิงค์ Learn more แล้วจะปรากฏหน้าต่างดังภาพ

คลิกลิงค์ "Less secure apps" section

3. ให้กดยอมรับการเข้าถึง โดยการเลือก Turn on

เลือก Turn on


จากนั้นให้กลับไปที่โปรแกรม Microsoft Outlook ที่ค้างอยู่ แล้วกด Test account settings สถานะการตรวจสอบขารับและขาส่งของ Email Server ก็จะเป็น Complete ทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง
[Outlook] วิธี Add Gmail account หรือ Google Apps Type: POP3


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการด้าน Email Hosting อันดับ 1 ของไทย

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วิธีแก้ไขถ้าใช้งาน Email ในต่างประเทศไม่ได้

วิธีแก้ไขถ้าใช้งาน Email ในต่างประเทศไม่ได้เบื้องต้น

ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าใช้งาน Email ในต่างประเทศได้

ในเบื้องต้น หากมีการใช้งานผ่าน Wi-fi ของ ISP ต่างประเทศ

ให้ลองเปลี่ยนการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจาก Wi-fi เป็น 3G ของมือถือที่ท่านพกพา 
หรือเปลี่ยนเป็น Wi-fi ของร้านกาแฟที่อยู่คนละสถานที่กัน
หากเปลี่ยนแล้วยังใช้งานไม่ได้ให้ติดต่อผู้ให้บริการ Email hosting ของท่าน


เมื่อมีโอกาสที่เราต้องเดินทางไปต่างประเทศขณะทำงาน เรามีความจำเป็นต้องรับส่งอีเมล ติดต่อสื่อสารกับลูกค้ามากมาย แต่มาเกิดปัญหาเวลาที่เราใช้งานอยู่ต่างประเทศ เป็นเรื่องยากที่จะต้องแก้ไขปัญหา เนื่องจากเราก็ไม่รู้จักว่า ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) นั้นคือใคร ต้องติดต่อใคร

แต่เราก็มีวิธีการตรวจสอบได้ง่าย ๆ ว่า ISP ที่เราใช้อยู่นั้นมีการ Block Port ขารับหรือขาส่งหรือไม่ โดยวิธีบ้าน ๆ จริง ๆ นั่นคือการทดสอบ Connect ไปยังอินเตอร์เน็ตเส้นอื่น ๆ ที่อยู่ในวงใกล้เคียงกับเรา หรือสลับไปใช้ 3G/4G เพื่อเช็คดูว่าเรา Access email server ผ่าน ISP ค่ายใดบ้าง

วิธีแก้ไขปัญหานั้น ในความเป็นจริง ถ้า ISP Block Port จริง ๆ เราก็ต้องลองเปลี่ยนมาใช้อินเตอร์เน็ตเส้นอื่น หรือลอง Access ผ่านหน้าเว็บเมลก่อน หากว่ายังไม่ได้จริง ๆ ผู้ใช้งานคงต้องติดต่อกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่นั่นเอง เพื่อขอความช่วยเหลือ

โดยส่วนใหญ่ที่มักถูก Block การใช้งานนั้นมักจะเป็นประเทศที่ยังไม่ค่อยพัฒนา หรือมีระบอบการปกครองที่ไม่เหมือนกับประเทศที่เจริญแล้ว เขาจะไม่ค่อยอนุญาตให้ใช้งาน แม้แต่ Facebook, Youtube บางประเทศเขาก็ไม่ให้ใช้งาน

ดังนั้นปัจจัยที่ทำให้ Access Email ในต่างประเทศไม่ได้ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ Email Hosting ฝ่ายเดียว แต่ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในพื้นที่นั้น ๆ ด้วย ซึ่งต้องตรวจสอบเป็นกรณีไป


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
Email Hosting/Server Service Provider




วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

[Thunderbird] วิธีการ Sync Contacts ของ Gmail Account


มีผู้ใช้งานหลายรายที่ทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ แล้วมีปัญหาต้องคอย Update รายชื่อผู้ติดต่ออยู่ตลอดเวลา ทำให้บัญชีอีเมล์ของบางองค์กรก็มี Contacts ของใครของมันทำให้ยากต่อการจัดระบบระเบียบ

วันนี้ผู้เขียนมีวิธีการใช้ Google Account ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น แม้ว่าระบบอีเมล์สำหรับองค์กรที่เราใช้งานอยู่จะไม่ได้มีฟังก์ชั่นที่รองรับการ Shared รายชื่อผู้ติดต่อได้ แต่ว่าเราก็สามารถนำ Free Email มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยไม่เสียเงินสักบาท

เรามาดูขั้นตอนการตั้งค่ากัน

1. ไปที่ Settings > Add-ons

ไปที่ช่องค้นหา และพิมพ์ว่า "gContactSync"
เมื่อพบแล้วให้กดปุ่ม 'Install'

2. ติดตั้ง Add on ลงบนโปรแกรม

ภาพซ้าย: คลิกที่ปุ่ม 'Accept and Install...'
ภาพขวา: คลิกที่ Restart

3. Log in ด้วยบัญชี Gmail Account

ภาพซ้าย: ใส่ชื่อบัญชีอีเมล์ และรหัสผ่าน (Gmail account เท่านั้น)
ภาพขวา: เลือกบัญชีอีเมล์ที่อยู่ในโปรแกรมอยู่แล้ว ถ้ายังไม่มีก็เลือก Use a new account)
จากนั้นกดปุ่ม 'Continue'

4. เลือกประเภทการ Sync

ตั้งค่าให้โปรแกรม Sync แบบ Read-only (กรณีที่ User เผลอไปกดลบ รายชื่อใน Gmail.com ก็จะไม่หาย)
กดปุ่ม 'Done' และ 'อนุญาต' ตามภาพ

5. โปรแกรมทำการ Sync รายชื่อผู้ติดต่อแล้ว

โปรแกรมจะ Sync รายชื่อลงมาที่ Address Book ของ Thunderbird
เราสามารถกดคลิกขวาที่บัญชีอีเมล์และคลิก Sync Now ได้โดยให้ผลลัพธ์เหมือนกัน
หมายเหตุ: ขั้นตอนที่ 4 สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าได้ตามความต้องการของเรา


ระบบอีเมล์ที่มีประสิทธภาพ และเสถียรภาพสูง

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

[Webmail] หา Trash ไม่เจอ ต้องทำอย่างไร

หา Trash ไม่เจอ ต้องทำอย่างไร?

ผู้ใช้บางท่าน เมื่อใช้งานอีเมล์ผ่านหน้าเว็บเมล์แล้วประสบปัญหา หา Trash ไม่เจอ หรือรวมไปถึงส่วนอื่นๆ เช่น Sent เป็นต้น และสิ่งที่คุณเห็นกลับมีเพียง Inbox เท่านั้น 

ความจริงแล้ว ส่วนอื่นๆไม่ได้หายไปไหน แต่เนื่องจากการใช้งานหน้าเว็บเมล์ของผู้ให้บริการอีเมล์แต่ละเจ้า อาจจะมีหน้าตาหรือ skin ที่แตกต่างกันออกไป อาจทำให้ผู้ใช้บางท่านรู้สึกไม่คุ้นชิน

ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ โปรดสังเกตที่ภาพ 



เมื่อกดเครื่องหมาย + หน้า Inbox จะปรากฎตัวเลือกอื่นๆขึ้นมา



1. ให้คุณสังเกตว่าที่ หน้าคำว่า Inbox นั้น มีเครื่องหมาย + อยู่หรือไม่ หากมีให้กดตรงนั้น 1 ครั้ง 
2. เครื่องหมาย + จะเปลี่ยนเป็น - และจะแสดงหัวข้อในส่วนอื่นๆขึ้นมา


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

TL - LAB -  ผู้เชี่ยวชาญด้าน Email Hosting อันดับ 1

แก้ปัญหาส่ง email ไม่ออก ในโปรแกรม Outlook และ Thunderbird

แก้ปัญหาส่ง email ไม่ออก ในโปรแกรม Outlook และ Thunderbird


หลายๆครั้งที่ผู้ใช้ มักเกิดปัญหาในการใช้โปรแกรม เช่น ใน Outlook ไม่สามารถกด send/receive ได้ หรือโปรแกรม Thunderbird ไม่สามารถ Get mail ได้ เป็นต้น ทั้งที่การตั้งค่าในโปรแกรมนั้นถูกต้อง และอินเตอร์เน็ตใช้งานได้ปกติและไม่มีปัญหา แล้วปัญหาคืออะไร ?

ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มีต้นเหตุที่ผู้ใช้งานอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว เพราะสิ่งที่ทำให้อีเมล์ไม่สามารถรับหรือส่งออกได้นั้น คือโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ซึ่งมีการเปิดฟังก์ชั่นในส่วนของ Firewall และ Anti-Spam
ดังนั้น หากคุณมั่นใจว่าตั้งค่าในโปรแกรมถูกต้อง และสัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่มีปัญหา รีบตรวจสอบโปรแกรมแอนตี้ไวรัส และปิดฟังก์ชั่นดังกล่าว โปรแกรม Outlook และ Thunderbird ของคุณ จะสามารถใช้งานได้ปกติ
  

ภาพตัวอย่าง โปรแกรมแอนตี้ไวรัส
ให้กดปิดฟังก์ชั่น Firewall และ Anti-Spam เพื่อให้รับ-ส่งอีเมล์ได้ปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

TL - LAB -  ผู้เชี่ยวชาญด้าน Email Hosting อันดับ 1


วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กรณีศึกษา : การแก้ปัญหา Mail Server ปลายทางตีกลับ Email บางฉบับ จากต้นทาง




บางครั้งเราอาจพบกับปัญหา การส่งอีเมล์แล้วถูกตีกลับโดยปลายทาง ซึ่งมีสาเหตุในการตีกลับที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เรามีตัวอย่างปัญหา และวิธีการแก้ปัญหามาให้ศึกษากัน




out 4  ไม่สามารถส่งอีเมล์ไปที่ปลายทางได้


จากภาพ Old Flow  (มีปัญหาการส่งออก)

     ขาออกของโดเมนต้นทาง นำอีเมล์ไปยัง outbound ซึ่งมี server ย่อยๆ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวดีดอีเมล์ออกจากระบบ โดยมีการทำงานลักษณะสุ่มใช้ตัวดีด จากภาพ server ย่อย ตัวที่ 4ไม่สามารถดีดอีเมล์ออกไปได้ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการติด firewall ของ server ปลายทางทำให้ไม่สามารถส่งอีเมล์ได้



เพิ่ม server เพื่อใช้ในการส่งออกโดยเฉพาะ เมล์ไปถึงปลายทางได้ทุกฉบับ


วิธีการแก้ปัญหา (แก้ปัญหาการส่งออก)

      จากภาพ New Flow ในเมื่อเราไม่สามารถควบคุมการทำงานแบบ Old Flow ได้ เราจึงทำการแก้ไขโดย นำserver ตัวใหม่เข้ามาเพื่อใช้ในการดีดอีเมล์ออกโดยเฉพาะ โดยทำการทดสอบเบื้องต้นว่า เมื่อส่งอีเมล์ออกไปแล้ว ปลายทางได้รับหรือไม่ หากในครั้งแรกนั้น ปลายทางได้รับอีเมล์ปกติ เราสามารถนำ server นี้ มาใช้งานจริงได้ทันที 


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

กรณีศึกษา: การแก้ปัญหาส่ง Email ไปภายนอกไม่ได้เพราะโดน Outbound Firewall Block URL หรือ Domain ใน message email




ในช่วงเวลาที่ Domain ติด Blacklist SpamRL จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานอีเมล์พอสมควร เนื่องจากจะทำให้การรับ-ส่งอีเมล์นั้นสำเร็จน้อยลง นับว่าเป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับผู้ใช้เลยทีเดียว



อีเมล์ที่ถูกปฏิเสธการส่งออก จะเข้าสู่ระบบแจ้งเตือน


จากภาพ Old Flow (ที่มีปัญหาการส่งออก)

      อีเมล์ถูกส่งออกมา เพื่อเตรียมพร้อมที่จะส่งออก แต่โดนตรวจเช็คและพบว่าเนื้อหาในอีเมล์นั้น มีรายชื่อที่ติด SpamRL อยู่ Outbound Spam Check จึงไม่ยอมให้อีเมล์ฉบับนั้นส่งออกได้ อีเมล์ฉบับดังกล่าวจึงเข้าระบบแจ้งเตือน เมื่อตรวจสอบพบปัญหาแล้วจึงทำการแก้ไข เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานของ User ดังนี้



เพิ่ม server ที่ใช้เพื่อการส่งออก โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบ เพื่อให้อีเมล์ส่งออกได้


จากภาพ New Flow (แก้ไขปัญหาการส่งออก)

       ทำการแก้ปัญหาโดย นำ server ตัวใหม่เข้ามาเพื่อใช้ในการดีดอีเมล์ออก โดยไม่ผ่านระบบการตรวจสอบใดใด ทำให้อีเมล์สามารถส่งออกได้ตามปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

TL - LAB -  ผู้เชี่ยวชาญด้าน Email Hosting อันดับ 1

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

[Gmail] วิธีสั่งให้ Email ไม่เข้า Junk ใน Gmail


วิธีสั่งให้ Email ไม่เข้า Junk ใน Gmail




หากมีอีเมล์บางฉบับที่ส่งเข้ามาแล้วไปอยู่ใน Spam เช่น อีเมล์แจ้งโปรโมชั่นของร้านค้าต่างๆ ที่คุณต้องการรับข่าวสาร แต่ระบบ Gmail มองว่าเป็น Spam และนำอีเมล์ฉบับนั้นไปเก็บในส่วนของ Spam คุณสามารถตั้งค่าให้อีเมล์จากร้านค้านั้นๆ ไม่ไปเข้า Spam อีก เพียงแค่กด Not spam ระบบจะเรียนรู้และไม่นำอีเมล์ที่ส่งจากร้านค้านั้นๆไปไว้ที่ Spam อีก


บทความที่เกี่ยวข้อง

บริการ Mail Server สำหรับธุรกิจคุณภาพสูง รวดเร็ว

[Gmail] วิธีแก้ปัญหาให้ Email ไม่เข้า Junk อย่างถาวร

วิธีแก้ปัญหาให้ Email ไม่เข้า Junk อย่างถาวร



 Login เข้า บัญชี Gmail
1. ไปที่รูปเฟือง
2. เลือก Settings

1. ไปที่ Filters and Blocked Address
2. จากนั้นเลือก Create a new filter

1. Has the words ใส่สิ่งที่ไม่ต้องการให้เข้า Junk ในที่นี้ใส่ชื่อโดเมน
(สามารถใส่เป็น ชื่อ หรือเป็นคำ ได้เช่นกัน)
2. เมื่อเรียบร้อยแล้ว กด Create filter with this search

1. เลือก Never send it to Spam
2. จากนั้นกด Create filter



บทความที่เกี่ยวข้อง

บริการ Mail Server สำหรับธุรกิจคุณภาพสูง รวดเร็ว



วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

[Mac OS] วิธีการใส่ลายเซ็น HTML Code ลง App Mail

สำหรับคนที่มีปัญหาไม่มีความรู้เรื่อง HTML Code เลย แต่อยากได้ลายเซ็นที่มีรูปภาพเป็นของตัวเอง ผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า เราสามารถสร้างลายเซ็น HTML ได้ ง่าย ๆ ผ่านหน้าเว็บเมล์ทั่วไป และเข้าไป View HTML Code ได้ และคัดลอก HTML Code นั้นไปติดตั้งในโปรแกรม App Mail ของเครื่อง Mac ได้ ซึ่งเมื่อ Create signature แล้ว ลายเซ็นก็จะเหมือนกับบนหน้าเว็บเมล์เลย

ส่วนคนที่มีความรู้เรื่องภาษา HTML อยู่แล้ว เพียงเราสร้างไฟล์ .html ขึ้นมา จากนั้นก็คัดลอก HTML Code เก็บไว้ และเริ่มทำตามขั้นตอนตามภาพด้านล่างได้เลย

วิธีคัดลอก HTML Code บนหน้าเว็บเมล์ คลิกที่นี่


1. เข้าหน้าเว็บเมล์ เพื่อคัดลอก HTML Code

เข้าหน้าเว็บเมล์ จากนั้น
1. เลือกหัวข้อ Identities
2. คลิกที่บัญชีอีเมล์
3. สร้างลายเซ็นในช่อง Signature
4. กดเลือก Source Code 
2. หน้าต่างจะแสดง HTML Code ขึ้นมา

กดเลือกทั้งหมด หรือกดปุ่ม Ctrl + A

3. ให้ Copy HTML Code ทั้งหมด หรือจะไปวางไว้ที่ Notepad ก่อนก็ได้

1. คลิกขวาที่เราเลือกทั้งหมด คลิกที่ Copy
2. กดปุ่ม OK

จากนั้นให้เราย่อหน้าต่างนี้ลงก่อน เพื่อไปสู่ขั้นตอนสร้างลายเซ็นบน Mail App

วิธีการใส่ลายเซ็น HTML Code ลง App Mail

1. เปิดโปรแกรม App Mail ของเครื่อง Mac

คลิกที่เมนู Mail > Preferences

2. สร้างลายเซ็นเปล่าขึ้นมา 1 Signature

1. เลือกหัวข้อ Signature
2. ให้เลือกอีเมล์ที่ต้องการสร้างลายเซ็น
3. กดที่ไอคอน + ด้านล่าง เพื่อเพิ่มลายเซ็น จากนั้นตั้งชื่อของ Signature ตามต้องการ
ปิดหน้าต่างเมื่อเสร็จสิ้น

3. ปิดโปรแกรม App Mail

ให้คลิกขวาที่ไอคอน เลือก Quit เพื่อปิดโปรแกรม

4. เปิด Finder เข้าไปยัง Folder: Library

คลิก Go จากนั้นเลื่อน เม้าไปที่ Home แล้วกด ปุ่ม Option ค้างไว้
จากนั้นไอคอน Library จะปรากฏขึ้นมา ให้คลิกไปที่ Library

5. เปิดโฟลเดอร์ Signature

ไปยังโฟลเดอร์ใน Library > Mail >V2 > MailData > Signatures

6. รายละเอียดของชื่อลายเซ็นใน App Mail จะปรากฏขึ้นมา นามสกุลไฟล์ .mailsignature

ไฟล์นามสกุล .mailsignature นี้คือลายเซ็นที่เราสร้างไว้ในขั้นตอนที่ 2

7. เปิดไฟล์ .mailsignature

คลิกขวา แล้วกด Open With
จากนั้นเลือก Other...

8. เลือกโปรแกรม TextEdit เพื่อเปิดไฟล์นามสกุล .mailsignature

ให้เลือกโปรแกรม Textedit จากนั้นกด Open


9. เมื่อเปิดแล้ว จะแสดง Code Signature

จะแสดง Code แยกเป็น 2 วรรค


10. ลบ Code วรรคที่ 2 ออกทั้งหมด

ลบ Code วรรคที่ 2 ออกทั้งหมด


11. แล้วนำ HTML Code ที่ Copy ไว้จากหน้าเว็บเมล์มาวางแทน

ให้นำ HTML Code ที่ Copy ไว้
ในหัวข้อที่ 3 มาวางทับแทน

12. บันทึก และปิดโปรแกรม TextEdit

File > Save
TextEdit > Quit TextEdit


13. กด Get info ที่ไฟล์ .mailsignature

คลิกขวาที่ไฟล์ กด Get Info


14. Locked File

ทำเครื่องหมายที่ Locked


15. กดปิดหน้าต่าง Get Info จากนั้นเปิด App Mail

สร้างจดหมายใหม่


16. ลายเซ็น HTML Code จะปรากฏขึ้นมา

 HTML Signature


บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

บริการเช่าอีเมล์โฮสติ้ง สำหรับองค์กร คุณภาพสูง