แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ส่ง hotmail ไม่ได้ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา ส่ง hotmail ไม่ได้ จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาระดับชาติของคนใช้ Email Hosting ส่งอีเมล์ Email เข้าฮอตเมล์(Hotmail) ไม่ได้

บทความโดย
MailDee.com , Email Hosting ที่ดีที่สุดในประเทศไทย ที่มีลูกค้าชั้นนำของประเทศใช้งานเหมาะสำหรับธุรกิจ SME ที่ใช้ งาน Email เป็นประจำพร้อมทีม Support ตลอด 24x7x365

อ่านต่อ >>

หรือ โดน hotmail block
ทำไม Email Hosting  หรือ Email @ ชื่อบริษัท ของคุณ
ไม่สามารถส่ง Email ไปยัง Hotmail ใช่หรือไม่ 

หลายๆท่านที่ใช้ Email Hosting แบบ Share หรือ ที่ถูกแถมมากับ Web Hosting โดยส่วนใหญ่จะมีราคาถูก มักจะพบกับปัญหาส่ง Email ไปยัง Hotmail ไม่ได้  ทั้งๆที่เรามั่นใจว่าเราพิมพ์ชื่อ Email ปลายทางถูกต้องแล้ว แต่ส่งยังไงผู้รับก็ยังรับไม่ได้

ในบทความนี้จะเขียนข้อมูลอย่างละเอียดว่าเหตุใด ทำไม Email Hosting ที่คุณใช้อยู่ ถึงไม่สามารถส่งไปหา Email ปลายทางที่เป็น Hotmail ได้

ผ่าน Email Hosting
ภาพการทำงานกระบวนการ ตั้งแต่คุณ ที่ใช้ Email Hosting (เช่น sale@yourcompany.com/.co.th)
และส่งไปยัง Email ปลายทาง ในที่นี้สมมุติว่า abc@hotmail.com

ขั้นตอนการทำงานในการส่ง Email ไปยัง Hotmail จะอธิบายได้ดังนี้

1. คุณ หรือ Sender ได้ทำการส่ง Email 1 ฉบับ ออกไปหา abc@hotmail.com ขั้นแรก Email ของผู้ส่ง หรือ Sender Email จะต้องมี Server ที่ใช้ส่งในที่นี้เรียกว่า Email Server หรือ Email Hosting ซึ่งคุณก็เป็นเพียงหนึ่งใน Email Hosting นี้ ซึ่งมี หมายเลข ip ประจำตัว

2.หลังจากที่คุณส่ง Email ออกไปโดยผ่าน Email Server / Email Hosting  ขั้นแรก จะมี Firewall (IP Blacklist Check) เช็ค ก่อนทันทีเลยว่า IP ของ Email Hosting ที่คุณใช้อยู่ติดอยู่ในบัญชีดำหรือ Blacklist หรือไม่ (ซึ่งหาก IP ของ Email Hosting คุณ ติด Blacklist ซึ่งสาเหตุโดยส่วนใหญ่ที่ติด เนื่องจาก มีผู้ใช้ Email ใน Server เดียว เคยส่ง Spam หรือ Email โฆษณาไปหาคนอื่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลทำให้ IP นั้นติด Blacklist โดยอัตโนมัติ) ถ้า IP ของคุณติดBlacklist  จะทำให้Email ฉบับนั้นถูกตีกลับ ตั้งแต่ด่านแรก

3.หาก IP ของคุณไม่ติด Black List Email ที่คุณส่งจะวิ่งไปยัง Firewall ของ Hotmail ซึ่ง Hotmail ก็จะตรวจสอบก่อนว่า Email ของคุณ นั้นเคยทำอะไรที่ไม่ดีไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่ หรือ Email คุณสะอาดไร้ที่ติ ไม่เคยทำอะไรให้ใครเดือดร้อน Firewall ตัวนี้ก็มีหน้าที่กรองว่าจะยอมให้ Email Server นี้เข้า Mail Server ของ Hotmail หรือไม่

4.เมื่อผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดของ Hotmail แล้ว Email ของคุณก็จะถูกเก็บไว้ใน Email Server ของ Hotmail ทีนี้ Email Server ของ Hotmail จะทำการแยกแยะว่า Email ของคุณจะส่งถึงปลายทางใน Inbox หรือ จะให้เข้า Junk box ดี ซึ่งขึ้นอยู่นโยบายของ Hotmail ในช่วงเวลานั้นๆ

แต่โดยส่วนใหญ่หากคุณติดต่อ Email ปลายทางที่เป็น Hotmail การส่งครั้งแรก จะโดนโยนเข้า Junk box โดยปริยาย

บทความโดย
MailDee.com , Email Hosting ที่ดีที่สุดในประเทศไทย ที่มีลูกค้าชั้นนำของประเทศใช้งานเหมาะสำหรับธุรกิจ SME ที่ใช้ งาน Email เป็นประจำพร้อมทีม Support ตลอด 24x7x365

อ่านต่อ >>



แต่หากคุณเคยติดต่อกับ Email ปลายทางนั้น และ Email ของคุณก็อยู่เป็นรายชื่อ Contact (ผู้ติดต่อ) ของเกือบ 90% Email ของคุณจะเข้า Inbox

เมื่อผู้อ่านได้ลองอ่านแล้ว จะรู้สึกว่า ทำไมเรื่องแค่นี้ถึงต้องอะไรมากมายทั้งๆที่คุณก็ไม่ได้ทำอะไรผิด แค่อยากจะส่ง Email ไปยัง ปลายทางที่เป็น Hotmail เท่านั้นเอง

แต่ในทางกลับกัน ก็มีบุคคลกลุ่มหนึ่ง ที่พยายามส่ง Spam Mail หรือ Email โฆษณา ไปยัง Email ปลายทางที่เป็น Hotmail โดยเฉพาะผู้ใช้บริการ Email Hosting แบบ Share มักจะประสบปัญหาเหล่านี้ เพราะผู้ใช้บริการคนอื่นกลับดันส่ง Email โฆษณาจำนวนมาก ไปหา Hotmail หากผู้ให้บริการ Email Hosting ของคุณ บริหารจัดการได้ไม่ดี IP โดยส่วนมากจะติด Black List ถึงแม้ว่าวันนี้จะไม่ติด แต่ในอนาคตมีก็มีโอกาสติด และก็จะทำให้คุณส่ง Email ไปหา Hotmail ไม่ได้ในที่สุด

ในความเป็นจริงแล้ว ขั้นตอนการรับ Email ของ Hotmail จะเป็นความลับ และไม่มีใครสามารถทราบได้ แต่นี่คือ ประสบการณ์จริงของผู้เขียนมากกว่า 10 ปี ในแวดวง Email Hosting จึงไม่แนะนำอย่างยิ่งให้คุณใช้ Share Email Hosting ในราคาไม่กี่ร้อย หรือพันต้นๆ 
หากบริษัทของคุณใช้ Email ในการติดต่อเป็นหลัก ต้องเลือกผู้ให้บริการ Email Hosting ที่มีการบริหารจัดการได้อย่างดี และต้องมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาเหล่านี้ในอนาคต เพราะหากคุณส่ง Email เข้า Hotmail ไม่ได้ Email ของคุณก็แทบไม่มีประโยชน์อะไร เพราะอย่างไรก็ตาม คนไทยก็ใช้ Email Hotmail จำนวนมาก และเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำอย่างไร เมื่ออีเมล์ (Email Server/Hosting IP) ติด blacklist(แบล็คลิส) และส่ง email ไม่ออก

บทความโดย
MailDee.com , Email Hosting ที่ดีที่สุดในประเทศไทย ที่มีลูกค้าชั้นนำของประเทศใช้งานเหมาะสำหรับธุรกิจ SME ที่ใช้ งาน Email เป็นประจำพร้อมทีม Support ตลอด 24x7x365

อ่านต่อ >>



บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
Web Hosting เว็บโฮสติ้ง คือ อะไร และ ทำงานอย่างไร
พื้นที่เว็บหรือ Disk Space ของ Web Hosting คือ อะไร ?
Name Server (NS) หรือ DNS ใน Domain name (โดเมนเนม) คือ อะไร และ ทำงานอย่างไร
วิธีทำเว็บไซต์ตัวเอง ให้โชว์เป็น Domain บนเว็บไซต์ และ ให้่คนอื่นดูได้

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด




วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บอกลาปัญหา Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง email เข้า hotmail, gmail ไม่ได้


Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง Email ออกไม่ได้


เราเคยได้ยิน IP ติด Blacklist แต่เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ผู้ให้บริการ Email จำนวนมาก ทั้งฟรีอีเมล์, หรือ ผู้ให้บริการ Email Hosting ต่างๆ ต้องเพิ่มความเข้มงวดเพราะปริมาณ Spam mail ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการเพิ่ม Policy การรับ Email ว่า Sender Email นั้นๆ Domain ต้องไม่ติด Blacklist ทำให้ ผู้ใช้งาน Email Hosting โดยเฉพาะในไทย เกิดปัญหาไม่สามารถส่ง Email ไปยังปลายทางบางที่ได้ เช่น hotmail, gmail และ Email Server ปลายทาง

สาเหตุของปัญหา Domain ติด Blacklist



ใน Web Server 1 เครื่อง มีเว็บไซต์ หลายพันเว็บอาศัยอยู่

โดยเ​ฉพาะเว็บหรือ Domain ที่สร้างจาก Open Source มีความเสี่ยงสูง หากไม่ได้ตั้งค่าให้ถูกต้อง

  • หากใน Web Server ที่ Domain ของคุณอยู่ แต่อย่าลืมว่ายังประกอบด้วยเว็บอื่นๆ ใน Web Server อีกหลายร้อย หรือ หลายพันเว็บอาศัยอยู่ด้วย
  • เมื่อ Web ใดเว็บหนึ่งถูกฝังไวรัสไว้ใน File ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเว็บที่สร้างมาจาก Open Source และมีการ Download Plugin ต่างๆมาลง โดยไม่ได้ตั้งค่าเรื่องความปลอดภัยให้ถูกต้อง
  • ไวรัสนั้นจะทำการส่ง Spam mail โดยใช้ Serder Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com หรือ domain ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Server นั้น วนไปวนมา
  • เมื่อมี Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com ส่ง Spam ออกไปจำนวนมากๆ Domain ของคุณก็จะติด Blacklist ในที่สุด

อาการเมื่อ Domain ติด Blacklist

ฐานข้อมูลที่แสดงว่า Domain คุณติด Blacklist แล้ว
  • หลังจากที่ Domain ติด Black list แล้ว คุณจะไม่สามารถส่ง Email ออกไปยัง Mail Server ต่างๆ เช่น Free email : hotmail, gmail เป็นต้น และ Email Hosting ปลายทางอื่นๆ ที่ไม่ยอมรับเรื่อง Domain Blacklist

วิธีการแก้ไขปัญหา

หากไม่ได้แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดปัญหานี้ขึ้นมาอีก ซ้ำไปซ้ำมา

  • การที่ Domain ติด Blacklist นั้น ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆด้านแก้ไขปัญหา เช่น ฝ่ายประสานงานต่างประเทศ, วิศวกร Web Server, วิศวกร Mail Server และ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย
  • เพราะการแก้ไขปัญหาต้องแก้ให้ครบทุกด้าน ไม่อย่างนั้นปัญหานี้ก็จะกลับมาเป็นอีก ซ้ำไปซ้ำมา จนคุณไม่สามารถส่ง Email ออกไปหาใครได้เลย 
  • คุณต้องติดต่อไปยังผู้ให้บริการ Email Hosting และ Web Hosting เพื่อให้แก้ปัญหานี้ เพราะหากคุณไม่ได้มีความรู้ทางด้านเทคนิค การแก้ไขปัญหานี้จะทำได้ยากมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Domain และ IP Blacklist 

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีทำ mailing list หรือ ส่ง Email จำนวนมากๆ สำหรับองค์กรขนาดใหญ่

ต้องการส่ง Email จำนวนมากๆ แต่ไม่ใช่ส่ง Spam ?

คำนี้สำหรับผู้ให้บริการ Email Hosting/Server มักจะกลัว เพราะมันแบ่ง ออก เป็น 2 ประเภท คือ 
  1. ส่งอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อส่งข่าวสารให้แก่พนักงานที่มีพนักงานจำนวนมาก หรือ องค์กรขนาดใหญ่ เช่น คุณมีพนักงานอยู่ 1,000 คน, แล้วคุณต้องการส่ง Email ให้ พนักงาน ทั้งหมด 1,000 คน คุณต้องมานั่ง Add รายชื่อ หมดทั้ง 1,000 คน เลยหรอ คำตอบคือ หากผู้ให้บริการ Email Hosting ของคุณมี Function : mailing list แล้ว คุณสามารถ สร้าง อีเมล์กลางขึ้นมาได้ เช่น center@company.com เมื่อ คุณส่ง email เข้่า center@company.com มันก็จะทำการ Forward หรือส่งต่อไปยังพนักงานทั้งหมด 1,000 คน
  2. ส่งอีเมล์โฆษณา (Spam mail) ผู้ให้บริการ Email Hosting คงไม่มีใครอยากให้บริการลูกค้าที่ต้องการส่ง Email เป็น หมื่นๆ ฉบับ โดยใช้ Email Server หรือ SMTP ของตนเองเป็นฐานในการส่ง เพราะคนที่เดือดร้อน คือ ผู้ให้บริการเพราะ IP ของ Server จะติด BlackList ทันที ทำให้ Email Server นั้น ไม่สามารถส่ง Email ไปหาใครได้เลย

วิธีทำ Mailing List

เฉพาะผู้ให้บริการ Email Hosting ที่รองรับการทำงานเท่านั้น

โดยคุณต้องเข้าระบบ Admin หรือ Cpanel ของ ระบบ Email Hosting ของคุณก่อน
และคลิกไปยัง Add Mailing List ดังภาพ

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่
1.ขั้นแรก คุณ ก็ต้องกำหนด Email กลาง (โดย อีเมล์นี้ ต้องไม่มีอยู่ในรายชื่อ User)
เพราะระบบมันจะไม่ยอมและฟ้องว่า มีผู้ใช้งานไปแล้ว
2.กำหนดผู้ดูแล จริงๆ ในข้อนี้ ใส่ Email อะไรไปก็ได้ เพราะในความเป็นจริง เราไม่ได้ใช้ในส่วนนี้
3.คลิกไปที่ Add Mailing List ดังภาพ

โดย Function อื่นๆ ที่อยู่ในหน้านี้ ผู้เขียนแนะนำว่า ให้ตั้งตามนี้ก่อน หากเชี่ยวชาญแล้วค่อยมาเล่นทีหลัง

หลังจากนั้นระบบจะแจ้งว่าคุณได้สร้างเสร็จแล้ว

หลังจากนั้น คลิ้กไปที่ Mail > Manage Mailing Lists

หลังจากนั้น คลิกไปที่ Email กลางที่เราสร้าง

คลิกไปยัง Tab Subscribers ดังภาพ

คลิกไปยัง Add subscribe ดังภาพ

ใส่ชื่อ subscribe ที่ต้องการ ให้ Email นี้ทำการส่งต่อ ตามภาพ
และต้องมั่นใจว่าผู้ติดต่อนั้น เรารู้จักและพิมพ์ถูกต้องแล้วจริงๆ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ระบบอาจจะมองว่า
คุณกำลังพยายามส่ง SPAM

หลังจากนั้น หากได้ทำตรงกับภาพทุกขั้นตอนแล้วการทำงานของมันจะเป็นประมาณนี้

  1. สมมุติว่า คุณ hr@maildee.com ได้ส่ง Email ไปยัง centercontrol@maildee.com 
  2. เมื่อ centercontrol@maildee.com  ได้รับ มันจะทำการส่งต่อไปยัง ผู้รับที่เราระบุไว้ทั้งหมด
  3. ผู้รับจะเห็นข้อความที่คุณส่งและใน ช่อง From จะเห็นเป็น hr@maildee.com ไม่ใช่ centercontrol@maildee.com (เพราะคุณใช้เมล์นี้ ยิงเข้า centercontrol@maildee.com)
  4. เมื่อผู้รับเห็น หากเค้ามีข้อสงสัย แล้ว กด Reply มันก็จะ Reply ไปยัง hr@maildee.com 

คำเตือนและหมายเหตุ

  1. ต้องแน่ใจว่า Email ที่คุณใส่เข้าไปใน subscribe นั้นต้องเป็นบุคคลที่คุณรู้จัก และ พิมพ์ถูกต้อง จริงๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศข่าวภายในเท่านั้น (ไม่แนะนำให้ใส่ Email ภายนอก เช่น @gmail, @hotmail, @company อื่นๆ เพราะมันอาจสส่งไม่ถึง เนื่องจากปลายทางอาจคิดว่ามันคือ Spam และติด Firewall ของปลายทาง)
  2. ผู้ให้บริการ Email Hosting จะซีเรียส ในทุกๆเคส ที่ User มีการส่งออกไปจำนวนมาก รวมถึง Email ผู้รับด้วย ดังนั้นคุณ ควรลองเทส หรือ ทดสอบ จากกลุ่ม subscribe จำนวน น้อยๆ เช่น 5-10 คนก่อน เพื่อมั่นใจว่า เราเข้าใจในกระบวนการทำงานของมัน ก่อนที่จะใช้งานจริง
บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้่บริการ Email Hosting อันดับ 1 ของประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Email (อีเมล์) คือ อะไร รวมถึงข้อดีและข้อเสีย ของการใช้อีเมล์ และจะใช้อีเมล์ในธุรกิจได้อย่างไร

บทความเรียบเรียงโดย
www.maildee.com ผู้ให้บริการ Email Server Hosting อีเมล์ธุรกิจ อันดับ 1 ของประเทศ
ที่หลายๆ บริษัทชั้นนำไว้ใจ 
คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดต่อ >>

Good or bad, Email for business
ความหมายของอีเมล และ ข้อดีข้อเสียของการนำอีเมลธุรกิจมาใช้ในองค์กร





        อีเมล์ (อังกฤษ: e-mail, email) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมล์บนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมล์ที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) และเปลี่ยน RFC 733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 (RFC 822)
การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย RFC 2045 ไปจนถึง RFC 2049 และภายหลังก็เรียกกันว่าส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)
ระบบอีเมล์ที่ดำเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจำกัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันครื่องเดียว มีพื้นฐานอยู่บนแบบจำลองบันทึกและส่งต่อ (store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมล์นั้นจะตอบรับ, ส่งต่อ หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมล์ภายในด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ บนเครือข่าย ในการรับส่งข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ที่กำหนด ส่วนการส่งอีเมล์โดยตรงจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์นั้นพบได้ยากกว่า
อีเมล์ในเมืองไทยเริ่มต้นมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 โดยอีเมล์ฉบับแรกของไทยเกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ส่งไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นเป็นเพียงข้อความสั้นๆ ในการทดสอบระบบ
                                                                                                                                   จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อดีข้อเสียของการใช้ Email




ข้อดีของการใช้ Email ธุรกิจ (ฺBusiness Email)
1. ใช้ระยะเวลาไม่นานมาก สำหรับ การส่งข้อมูลถึงผู้รับ
2. สามารถย้อนกลับมาดูข้อมูล ที่ได้รับจากผู้ส่ง ระบบอีเมล์จะทำการบันทึกข้อมูลไว้ เพื่อประโยชน์ในการหาข้อมูลย้อนหลัง
3. เราสามารถทราบได้ว่า Address ที่เราส่งไปนั้นมีผู้รับจริงหรือไม่ เพราะระบบอีเมล์จะมีการแจ้งเตือนกลับมา หลังจากที่อีเมล์ถูกส่งออกไป
4. การรับข้อมมูล ผู้รับสามารถ เปิดเช็คอีเมล์ได้หลายระบบ ทั้งด้านคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมกันในสมัยต่างๆ
5. ข้อมูลที่ส่ง สามารถส่งได้ทั้งภาพ, เสียง, ตัวอักษร หรือแม้กระทั้งวีดีโอ สามารถลองรับไฟล์หลายประเภทได้





ข้อเสียของ Email for business (อีเมลธุรกิจ)
1. บางครั้งในการส่ง e-mail นั้น อาจะเกิดข้อสงสัยไม่ชัดเจน เหมือนการสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ อาจจะไม่ชี้ชัดแม่นยำพอ 
2. การส่ง address ที่อยู่ e-mail อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ เนื่องจากการใช้อักษรเป็นตัวกำหนด หรือผู้รับมีการเปลี่ยนแปลง address ระบบ e-mailจึงไม่สามารถตอบโต้ทันที ถ้าหากมีการใช้ตัวอักษรผิด หรือaddress ที่ไม่มีผู้ใช้ หรือยกเลิกใช้แล้ว 
ถ้ามีการผิดพลาด ระบบจะใช้เวลาสักครู่หนึ่ง เพื่อส่งอีเมล์กลับมายังผู้ส่ง เพื่อเตือนข้อผิดพลาด เนื่อวจากบางทีผู้ส่งไม่ได้คิดว่า address การส่งจะมีปัญหา จึงเกิดความ ชะล่าใจในการตรวจสอบ
3. ไวรัส อีเมล์เป็นช่องทางหนึ่ง ของการแพร่กระจายไวรัส ไปยังผู้อื่น ดังนั้นผู้รับเมล์อาจจะต้องตรวจสอบอีเมล์นั้นให้แน่ชัดก่อน หรือติดต่อทีมดูแลด้านอีเมล์ เพื่อความปลอดภัย และป้องกันการสูญหายของข้อมูลของท่าน
4.การใช้สื่อ Electronic ทุกประเภท แม้กระทั้ง Social ต่างๆ ทุกประเภท ล้วนมีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งหมด เปรียบเสมือนดาบ 2 คม ดังนั้นเราจึงควรใช้สติในการเลือกใช้สื่ออย่างระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยของเรา และผลเสียหายที่อาจจะตามมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

อีเมล์สำเร็จรูปสำหรับบริษัทและองค์กร (Ready to use email) คือ อะไร และต้องติดตั้งอุปกรณ์มั้ย





วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทำอย่างไร เมื่ออีเมล์ (Email Server/Hosting IP) ติด blacklist(แบล็คลิส) และส่ง email ไม่ออก


วิธีแก้ไขปัญหา
ปัญหาของคนที่ใช้ Email Server แล้ว IP ติด Blacklist ทำให้ส่ง email ไม่ออก
ปัญหาโลกแตกของหน่วยงาน, องค์กร และบริษัทจำนวนมาก ที่ต้องประสบแล้วประสบอีก ส่งผลกระทบให้กระบวนการทำงานของ Email ภายในองค์กรเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ทำให้ Email ไม่สามารถ ส่งออก และ ขาดการสื่อสารโดยทันที

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเรื้อรัง ยิ่งหากคุณไม่ค่อยมีความรู้ด้านเทคนิคเกี่ยวกับการทำงานของ Email Server ด้วยแล้ว คุณจะต้องประสบปัญหานี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ ไม่ทราบว่าจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างถาวรได้อย่างไร


ปัญหาหลักๆ ของการส่ง Email ไป Hotmail, Gmail, Yahoo ไม่ได้ สาเหตุหลักๆ มักเกิดจาก IP ของ Email Server ของคุณติด Black List ซึ่งปัญหาเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ โดย ผู้ดูแลระบบ Email Server ของท่าน แต่มักจะเกิดปัญหานี้อีกซ้ำๆ หากผู้ดูแลระบบ Email Server ของคุณ ไม่บริหารจัดการ หรือ จำกัด การส่งของ Email ในเครื่อง Server

ปัญหา  Email Server/Hosting IP ติด blacklist แบล็คลิส
คือ เมื่อมี Email หรือ User ใด ใน Server ของคุณพยายามส่ง Spam (อีเมล์โฆษณา) ไปหา Email ค่ายใหญ่ๆ เช่น Hotmail, Gmail, Yahoo เป็นจำนวนมากๆ ผู้ให้บริการเหล่านั้น จะทำการ Block IP ของ Email Server ของคุณ ทำให้ IP Email Server ของคุณติดบัญชีดำในฐานข้อมูล Black list โลก

ซึ่งระบบ Email ที่เป็นมาตรฐาน และมีชื่อเสียงของโลก จะยึดตามฐานข้อมูล Black List โลก ดังนั้นหาก IP ของ Email Server ติด Blacklist  จะทำให้ Email ของคุณไม่สามารถส่งเมล์ไปหา Hotmail, Gmail, Yaho ได้  ซึ่งเป็นนโยบาย Anti Spam ที่ทุกค่าย ให้ความสำคัญมาก เพราะหากไม่เข้มงวดในเรื่องดังกล่าว Email ที่อยู่ในค่ายนั้นๆ ก็จะมีแต่อีเมล์โฆษณา จนทำให้ผู้ใช้งานรำคาญ และเลิกใช้งานในที่สุด

ซึ่งในหนึ่ง Email Server มี Email ใช้งานอยู่เป็นหมื่นๆ Email ดังนั้นหากคุณไม่ได้เป็นผู้ส่ง Spam แต่บุคคลอื่นกลับเป็นผู้ส่ง แทนที่เค้าจะ Block Email ของคนที่ทำผิด ในทางกลับกันเค้าจะ Block IP ของ Email Server ทั้ง Server ทำให้คุณติดหางเร่ ไปด้วย

IP ของ Email Server ติด Blacklist
ภาพกระบวนการทำงานแสดงปัญหา เมื่อ IP ของ Email Server ติด Blacklist มีผลทำให้คุณส่ง Email ให้ใครไม่ได้
วิธีแก้ปัญหาเรื้อรัง เรื่อง ส่ง Email ไม่ออก
1.หากบริษัทของคุณต้องใช้ Email ในการติดต่อเป็นหลัก โปรดอย่าเลือกใช้ Email ที่ถูกแถมมากับ Web Hosting ซึ่งมีราคาหลักร้อยจนถึงพันต้นๆ ต่อปี เพราะ Server เหล่านั้น มี Email ใช้งานจำนวนมาก  ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ในวันใดวันหนึ่ง คุณอาจจะติดปัญหา IP Blacklist เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ผู้ใช้งานคนอื่น มีใครใช้งานผิดประเภท หรือใช้ส่ง Spam

2.เลือกผู้ให้บริการ ที่เป็นผู้ให้บริการ Email Server โดยเฉพาะ และมีลูกค้าในประเทศของคุณใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะผู้ให้บริการเหล่านี้ ต้องมีการบริหารจัดการลูกค้าแต่ละเจ้า ให้ใช้งานไปในทิศทางที่ถูกต้อง เพราะหากมี User คนไหนใช้งานผิด ผู้ให้บริการ Email Server จะรีบ Block User คนนั้นทันที แทนที่จะปล่อยให้ปัญหาบานปลาย และโดน Block IP ในที่สุด



3.หากคุณใช้ระบบเก่าอยู่แล้วมีปัญหาส่ง Email ไม่ออก คุณสามารถติดต่อผู้ให้บริการ Email Server รายใหม่ ให้เข้าไปตั้งค่า เพื่อเปลี่ยนผู้ให้บริการได้ ซึ่งทำให้ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร

4.ผู้ให้บริการ Email Server รายนั้นควรมี ทีม Support ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคอย Monitor ระบบ Email Server ไม่ให้มีลูกค้าคนใดใช้งานผิด และสามารถระงับการใช้งานของ ลูกค้ารายนั้นได้ทัน


คุณสามารถเช็คได้ด้วยตัวคุณเอง ว่า IP Email Server ของคุณติด Blacklist หรือไม่ 

ให้เข้า mxtoolbox.com และ พิมพ์ชื่อโดเมนตัวเอง หลังจากนั้น คลิกไปที่ MX Lookup

เว็บไซต์จะแสดงว่า Domain ของคุณใช้ IP อะไร และ สามารถคลิ้กไปที่ Blacklist Check

เนื่องจากฐานข้อมูล Blacklist ในโลกนี้มีจำนวนมาก ดังนั้นหาก Status ขึ้นเป็น OK ทั้งหมด แสดงว่า
IP ของคุณไม่ติด Blacklist


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไม Email ที่ถูกแถมมากับเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ถึงมีปัญหา ?
Web Hosting เว็บโฮสติ้ง คือ อะไร และ ทำงานอย่างไร
การใช้ Email Hosting อีเมล์อย่างปลอดภัย ไม่ให้ติดไวรัส Virus
วิธีทำ mailing list หรือ ส่ง Email จำนวนมากๆ สำหรับองค์กรขนาดใหญ่
สแปมเมล์ (Spam or Junk Email) คืออะไร ปัญหาใหญ่สำหรับระบบอีเมล์ธุรกิจ
Bounce หรือ อีเมล์ตีกลับ high bulk ratio คือ อะไร


วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อีเมล์บริษัท (Email For Business) คือ อะไร ที่ไหนดีที่สุด

อีเมล์บริษัท
(Email for business)

อีเมล์บริษัท


อีเมล์บริษัท หรือ ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Email for business อาจจะมีความหมายที่หลากหลายหรือแล้วแต่บุคคลจะเข้าใจ ในที่นี้ผู้เขียนจะเขียนอธิบาย ความหมายของคำว่า อีเมล์บริษัท (Email for business) และท่านจะสามารถนำไปประยุกต์ในองค์กรหรือบริษัทของท่านได้อย่างไร ซึ่งผู้เขียนพยายามหลีกเลี่ยงคำศัพท์ทางเทคนิค  เพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่มีความรู้ด้าน IT มากนัก เข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ในธุรกิจได้อย่างถูกต้อง

อีเมล์บริษัทช่วยการทำงานขององค์กรได้อย่างไร
(How business email helps you succeed in business) 

เราต้องยอมรับว่าในยุคปัจจุบัน ทุกๆคนมีอีเมล์เป็นของตนเอง เพื่อใช้ในการติดต่อ ตั้งแต่เรื่องส่วนตัว, สมัครงาน, ส่งการบ้าน ไปจนถึงการใช้อีเมล์ในการติดต่อในเรื่องธุรกิจ ตั้งแต่เรื่องทั่วไป จนไปถึงเรื่องที่มีความลับสูง แต่สำหรับการใช้งานอีเมล์บริษัทสามารถช่วยกระบวนการทำงานได้ง่ายขึ้นได้ดังนี้

  1. อีเมล์บริษัท ช่วยทำให้เกิดความสะดวกและคล่องตัว ในการรับ และส่งข้อมูล ตั้งแต่ตัวอักษร ไปจนถึงไฟล์เอกสารขนาดใหญ่
  2. อีเมล์บริษัท ทำให้เราสามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น แทนที่คุณจะต้องเก็บข้อมูลเป็นเอกสารจำนวนมาก และต้องมานั่งเสียเวลาค้นหา แต่ในรูปแบบอีเมล์บริษัทนั้นไม่ต้องเลย เพียงคุณพิมพ์และ Enter คุณก็จะพบข้อมูล ที่คุณเคยสนทนากับบุคคลอื่นได้ง่ายมาก
  3. อีเมล์ทำงานได้รวดเร็ว หากเป็นเมื่อก่อนถ้าคุณต้องการส่งเอกสารคุณต้องเดินทางไป ไปรษณีย์ หรือถ้าต้องการส่งแบบด่วนพิเศษ ก็คือ EMS แต่ยังไงมันก็ยังช้ากว่าอีเมล์ เพราะการทำงานของอีเมล์นั้นทำงานภายใต้ช่วงเวลาเสี้ยววินาที
  4. ลดค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าการใช้งาน อีเมล์นั้นฟรี เพียงแค่คุณมีอินเตอร์เน็ต ซึ่งตอนนี้ในประเทศไทย ใครๆ ก็สามารถมีได้ คุณก็สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้มันรับส่งได้ทันที
  5. ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นระบบ การใช้งานอีเมล์ยังสามารถสร้าง Folder เพื่อแบ่งแยกข้อมูลของอีเมล์ เช่น แบ่งเป็น Folder ของลูกค้าแต่ละคนเป็นต้น

การใช้งานอีเมล์บริษัทในปัจจุบัน มีการใช้งานบน อุปกรณ์ที่หลากหลาย
คุณควรต้องมั่นใจว่าคุณสามารถควบคุมข้อมูลได้หมด

การใช้งานอีเมล์บริษัทเกิดความเสี่ยงอย่างไร
(How business email causes your business risk)

ประโยชน์ของการใช้งาน ย่อมมากับความเสี่ยงและข้อเสียที่ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการลืมนึกถึง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย บางครั้งการใช้งานที่ผิดพลาดอาจจะทำให้ข้อมูลนั้นรั่วไหล และทำให้องค์กรของคุณนั้นล้มละลายได้ทีเดียว ความเสี่ยงของการใช้งานอีเมล์บริษัทมีดังนี้

  1. ข้อมูล เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้, ไม่ได้เป็นกระดาษ แต่กลับเก็บในรูปแบบดิจิตอล ที่คุณมองไม่เห็นอะไรเลย ดังนั้น เท่ากับว่าข้อมูลของคุณที่เป็นความลับ แต่กลับมองไม่เห็น
  2. ความปลอดภัยของข้อมูล เมื่อเรารู้ว่าข้อมูลเหล่านั้นมองไม่เห็น เราต้องเลือกผู้ให้บริการอีเมล์บริษัท ที่มีความมั่นคง เช่น มีศูนย์ข้อมูลของตนเอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้ข้อมูลของท่านเป็นความลับที่สุด
  3. ความสูญหายของข้อมูล หลายๆครั้ง ที่ผู้ให้บริการอีเมล์บริษัท นั้นทำข้อมูลของลูกค้า หรือของคุณหายไป ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียต่อธุรกิจของคุณอย่างมหาศาล ดังนั้นคุณควรเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ หรือให้บริการแก่หน่วยงานใหญ่ๆ เพราะผู้ให้บริการเหล่านั้นจะมีการ Backup ข้อมูลของคุณตลอดเวลา ในกรณีฉุกเฉิน ผู้ให้บริการจะเรียกข้อมูลเหล่านั้นกลับมาใช้งานได้ แทนที่จะสูญหายไปเลย
  4. ปัญหาในการเข้าถึงข้อมูล สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้งานอีเมล์บริษัทมาก่อน คุณคงไม่ทราบว่าผู้ใช้งานอีเมล์บริษัทจำนวนมาก ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของตนเองได้ เช่น ลืม Password ของตนเอง เป็นต้น แต่ผู้ให้บริการก็ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ ทำให้คุณไม่สามารถเข้าถึงอีเมล์ของตนเอง
  5. ความเสถียรในการใช้งาน เมื่อเรารู้ว่าอีเมล์เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ทุกเสี้ยววินาทีในการใช้งานอีเมล์ นั้นมีมูลค่าต่อธุรกิจของคุณ ผู้ใช้งานจำนวนมาก พบปัญหา เช่น ส่งอีเมล์ไม่ออก รับอีเมล์ไม่ได้ หรือใช้ระบบอีเมล์ที่ไม่ได้มาตรฐาน สิ่งเหล่านี้ เป็นความเสี่ยงอย่างยิ่ง
  6. ขาดคนที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ แน่นอนว่าอีเมล์นั้นเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ดังนั้น หากบริษัทของคุณไม่ได้ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ก็ต้องทำการว่าจ้างบริษัทอื่น ให้ทำอีเมล์บริษัทให้ แต่คุณควรเลือกบริษัทที่มีความมั่นคง เพราะคุณต้องใช้งานอีเมล์ไปอีกนาน 
การใช้งาน อีเมล์บริษัทต้องรองรับการทำงานแบบ IMAP 


รูปแบบของอีเมล์บริษัท
(How business email helps increase your business success)

แบบคนเดียว
การใช้งานอีเมล์ในรูปแบบบริษัทที่ใช้งานคนเดียว


  1. ใช้งานคนเดียว เช่น sale@company.com สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เช่น SME คงไม่แปลกที่ทั้งบริษัทจะใช้อีเมล์แค่คนเดียว

    แบบที่ 2 เมื่อธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้น
    เมื่อธุรกิจเริ่มใหญ่ขึ้นจากเดิมคุณใช้อีเมล์และรู้ Password เพียงคนเดียว แต่คุณต้องรับคนเพิ่ม คนเหล่านั้นก็ย่อมต้องรู้ Password อีเมล์นี้ ทำให้คุณยิ่งมีความเสี่ยงต่อข้อมูลมากขึ้น

  2. หนึ่งอีเมล์ใช้งานหลายคน เช่น sale@company.com เมื่อบริษัทของคุณใหญ่ขึ้น คุณอาจจะต้องรับ พนักงานมาทำงานเพิ่ม ทำให้คุณต้องยอมบอก Password ของ อีเมล์นี้ให้แก่บุคคลอื่น เพื่อใช้งานร่วมกัน

    ทำให้ทุกคนรู้ความลับของบริษัท
    การใช้งาน 1 อีเมล์ แต่ให้พนักงานทุกคนเข้าถึงได้หมด มีผลต่อความเสี่ยงแล้ว ยังมีผลต่อความลับของข้อมูลด้วยเพราะพนักงานทุกคนก็สามารถอ่านอีเมล์กลางได้

  3. ใช้งานแบบรวมศูนย์ มีบริษัทจำนวนมากเลือกที่จะใช้ Email เพียง Email เดียวและใช้กันทั้งบริษัท เช่น info@company.com และให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นความเสี่ยงอย่างมาก เพราะพนักงานทุกคนจะเห็นข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับบริษัทของคุณ หรือ หากพนักงานคนใดคนหนึ่งลาออกและทำการเปลี่ยน Password อีเมล์นี้ก็ไม่สามารถใช้งานได้ทันที


  4. ต่างคนต่างใช้ โดยให้พนักงานหนึ่งคนมีอีเมล์ส่วนตัว โดยยังแยกได้ 2 ประเภท

    เพราะเกิดความเสี่ยงจำนวนมาก
    จากภาพจะเห็นได้ว่า ทุกคนใช้อีเมล์ส่วนตัว ซึ่งเป็น ฟรี อีเมล์ ในการติดต่อเรื่องงาน
    เท่ากับว่าคุณไม่สามารถเข้าไปบริหารจัดการ หรือ ลบ User ได้เลย
  • ให้พนักงานแต่ละคนใช้ Free Email เช่น @hotmail, @gmail, @yahoo โดยให้พนักงานแต่ละคนไปสมัคร หรือคุณสมัครให้ คุณทราบหรือไม่ว่า การใช้งานรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีความเสี่ยงมาก เพราะคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าพนักงานแต่ละคน รับส่งข้อมูลอะไรบ้าง เพราะคุณไม่ได้เป็นเจ้าของระบบ (Admin) เอง แม้แต่พนักงานลาออก คุณยังไม่สามารถลบ Email ของพนักงานคนนั้นได้

    จากภาพ เป็นวิธีการใช้อีเมล์ที่ถูกต้องที่สุด และ คุณสามารถบริหารจัดการ ลบ หรือ ดูข้อมูลของ User ของแต่ละคนได้

  • ให้พนักงานใช้งานในรูปแบบอีเมล์แบบองค์กร เช่น a@company.com, b@company.com ผู้เขียนแนะนำเป็นอย่างยิ่ง ว่าคุณเลือกใช้บริการแบบนี้ บริการนี้เรียกว่า  Email Hosting หรือ Email Server ซึ่งคุณสามารถลบอีเมล์ a@company.com ได้ทันทีหากรู้ว่าบุคคลนี้จะลาออก หรือทุจริตต่อการทำงาน

การวิเคราะห์ความเสี่ยงการใช้อีเมล์บริษัทในรูปแบบต่างๆ








การเลือกผู้ให้บริการอีเมล์บริษัทสำคัญมากต่อบริษัทคุณ ดังนั้นคุณควรใช้ความรอบคอบในการเลือกผู้ให้บริการ
ซึ่งมีหลักการเลือกหลักๆ คือ บริษัทผู้ให้บริการมีความมั่นคง, สามารถ Support หรือให้ความช่วยเหลือเราได้ และผู้ให้บริการต้องให้บริการได้ตลอดเวลา


บทความที่เกี่ยวข้อง
Email (อีเมล์) คือ อะไร รวมถึงข้อดีและข้อเสีย ของการใช้อีเมล และ จะใช้อีเมลในธุรกิจได้อย่างไร
ซื้อ หรือ เช่า Email Hosting (อีเมล์โฮสติ้ง) ที่บริษัทไหนดี ?
บริการ Email Hosting มาตรฐานโลกของ บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
บริการ email hosting ที่ไหนดี บทวิเคราะห์ขั้นเทพ ที่คุณไม่เคยรู้ !
บทวิเคราะห์ เจาะลึก เรื่อง email server/email hosting เจ้าไหนดีที่สุด ?

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
Web Hosting เว็บโฮสติ้ง คือ อะไร และ ทำงานอย่างไร
บริการพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์ (Web Site) คือ อะไร และ ทำงานอย่างไร
พื้นที่เว็บหรือ Disk Space ของ Web Hosting คือ อะไร ?

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทำไม Email ที่ถูกแถมมากับเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ถึงมีปัญหา ?


หลายคนๆที่เคยมีประสบการณ์ใช้งานอีเมล์ (Email) ที่ถูกแถมมากับเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ที่เช่าอยู่ในราคาไม่กี่ร้อยหรือไม่กี่พันบาทต่อปีขึ้นไปมักจะพบปัญหา เช่น ส่งอีเมล์ไม่ออก, รับอีเมล์ไม่ได้, อีเมล์ดีเลย์ (Email Delay) ภาษาที่แสดงผิดเพี้ยนไปจากเดิม (Language/interface problem) ผู้เขียนจะอธิบายในบทความตามด้านล่างนี้




ภาพประกอบ การทำงานของ Web Server/Hosting ทั่วไป


1. อีเมล์ดีเลย์ (Email Delay)

ผู้ใช้งานเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ต้องทำความเข้าใจ หรือ ยอมรับข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่าในเว็บเซิฟเวอร์หนึ่งเครื่อง ไม่ได้มีเว็บไซต์คุณเพียงเว็บไซต์เดียว แต่กลับประกอบไปด้วยเว็บไซต์หรือโดเมน (Website/Domain) จำนวนมากที่ใช้บริการใน Server นั้นๆอยู่ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คุณจะพบกับปัญหา อีเมล์ดีเลย์ Delay


เพราะ Web Server ต้องทำการประมวลผลตั้งแต่ข้อมูลธรรมดาที่แสดงในเว็บไซต์ (Website), ระบบฐานข้อมูล (Database), ระบบบริหารจัดการ (Control panel) ดังนั้นการประมวลผลเรื่อง อีเมล์ (Email) ถือ เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น และมากกว่านั้นในแต่ละ Server ยังประกอบด้วยผู้ใช้อีเมล์ (Email) เป็นจำนวน > 10,000 email  นอกจากจะใช้ทรัพยากรในส่วนอื่นๆแล้ว คุณยังไม่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน 10,000 email ใน Server นั้นด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้า หรือ Delay



2. ส่ง Email ไม่ออก

ความเข้าใจอีกอย่างหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจควรทราบ คือ เมื่อมี Email ใด Email หนึ่งใน Web Server/Hosting ได้ทำการส่ง Email โฆษณาไปหา Email Hotmail, Yahoo, Gmail มากผิดปกติ เพื่อโฆษณาขายสินค้าของตนเอง หากระบบ Web Server ไม่มีการจำกัด หรือ บริหารได้ไม่ดีพอ IP ของ Server คุณจะถูก Block โดย Email ค่ายนั้นๆ เช่น หากคุณส่ง Email ไปหาเพื่อนที่ใช้ Hotmail ได้ แต่ กลับส่ง Email ไปหาเพื่อนที่ใช้ Gmail ไม่ได้ แสดงว่า IP ของ Server คุณติด Black list (บัญชีดำ) ของ Gmail แต่แทนที่ Email ของบุคคลนั้นจะโดน Block คนเดียว แต่ไม่เป็นเช่นนั้น มัน Block IP ทั้ง Server เลยทีเดียว




3. รับอีเมล์ไม่ได้


ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งที่ต้องเข้าใจ คือ ผู้ให้บริการ Web Hosting/Server นั้นต้องเน้นปริมาณ Website/Domain มากๆ ใน Server แต่ละเครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของธุรกิจเพื่อความคุ้มค่าในการดำเนินการ ดังนั้น หากคุณเจอปัญหา รับอีเมล์ไม่ได้ จึงไม่แปลก เพราะการทำงานของ Server มันต้องมีการทำงานที่ผิดพลาดบ้าง เนื่องจากมีผู้ใช้บริการใน Web Server จำนวนมาก การประมวลผลที่ต้องทำงานอย่างหนัก ประกอบกับจำนวนผู้ใช้ Email ใน Server นั้นๆ


4. ภาษาผิดเพี้ยน


เราต้องยอมรับว่า Web Server ทั้งหลายนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานสำหรับการเป็น Web Server ซึ่ง Email เป็นเพียงองค์ประกอบเดียวเท่านั้น ดังนั้น การแสดงผลด้านภาษา มันไม่ได้ถูกพัฒนาเพื่อการใช้งานอย่าต่อเนื่องหรือตรงตามความเป็นจริงดังนั้นจึงไม่แปลก หากคุณส่ง Email ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทย, ญีปุ่น, จีน เมื่อผู้รับเปิดจะเกิดปัญหา คือ ภาษาผิดเพี้ยนไป เช่น แสดงเป็นอักษร???? เป็นต้น
การแก้ไขปัญหา



การแก้ไขปัญหา


หากคุณจำเป็นที่จะต้องใช้ Email@domain name ตัวเองในการดำเนินธุรกิจแทนการใช้ Free Email เช่น Hotmail, Gmail, Yahoo ไม่ว่าด้วยเหตุผลด้านความน่าเชื่อถือ หรือ อะไรก็แล้วแต่ คุณควรเลือกผู้ให้บริการที่เป็น Email Hosting/Server โดยเฉพาะ


เพราะระบบเหล่านี้จะถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อใช้งานในการติดต่อ Email ทางธุรกิจ และ Server มันก็จะประมวลผลแต่เรื่อง Email เท่านั้น รวมถึง ความรวดเร็วในการใช้งาน, Interface ก็ยังถูกพัฒนาอยู่ตลอดเพื่อให้รองรับภาษาต่างๆ อย่างเต็มที่  ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนให้คำแนะนำว่าควรรีบดำเนินการ ก่อนที่ปัญหาด้านบนจะประสบกับท่าน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย หรือ โอกาสของธุรกิจของคุณได้



บทความที่เกี่ยวข้อง




บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ผู้ให้บริการ Email Hosting และ Mail Server อันดับ 1 

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปัญหา Mail Server ส่งอีเมล์ไม่ออก หรือ ล่าช้า

ปัญหาสุด Classic ของคนที่ทำ Mail Server คือ ส่งเมล์ไม่ออก





ปัญหาโลกแตกของหน่วยงาน, องค์กร และบริษัทจำนวนมาก ที่ต้องประสบแล้วประสบอีก ส่งผลกระทบให้กระบวนการทำงานของ Mail ภายในองค์กรเกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ทำให้ Mail ไม่สามารถ ส่งออก และ ขาดการสื่อสารโดยทันที ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเรื้อรัง ยิ่งหากคุณไม่ค่อยมีความรู้ด้านเทคนิคเกี่ยวกับการทำงานของ Mail Server ด้วยแล้ว คุณจะต้องประสบปัญหานี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ ไม่ทราบว่าจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างถาวรได้อย่างไร

ปัญหาหลักๆ ของการส่ง Email ไป Hotmail, Gmail, Yahoo ไม่ได้ 

สาเหตุหลักๆ มักเกิดจาก IP ของ Mail Server ของคุณติด Black List ซึ่งปัญหาเหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ โดย ผู้ดูแลระบบ Mail Server ของท่าน แต่มักจะเกิดปัญหานี้อีกซ้ำๆ หากผู้ดูแลระบบ Mail Server ของคุณ ไม่บริหารจัดการ หรือ จำกัด การส่งของ Mail ในเครื่อง Server ปัญหา Mail Server/Hosting IP ติด blacklist แบล็คลิส คือ เมื่อมี Email หรือ User ใด ใน Server ของคุณพยายามส่ง Spam (อีเมล์โฆษณา) ไปหา Email ค่ายใหญ่ๆ เช่น Hotmail, Gmail, Yahoo เป็นจำนวนมากๆ ผู้ให้บริการเหล่านั้น จะทำการ Block IP ของ Email Server

ปัญหาส่งอีเมล์ไม่ออก 

ของคุณ ทำให้ IP Mail Server ของคุณติดบัญชีดำในฐานข้อมูล Black list โลกซึ่งระบบ Email ที่เป็นมาตรฐาน และมีชื่อเสียงของโลก จะยึดตามฐานข้อมูล Black List โลก ดังนั้นหาก IP ของ Mail Server ติด Blacklist จะทำให้ Email ของคุณไม่สามารถส่งเมล์ไปหา Hotmail, Gmail, Yaho ได้ ซึ่งเป็นนโยบาย Anti Spam ที่ทุกค่าย ให้ความสำคัญมาก เพราะหากไม่เข้มงวดในเรื่องดังกล่าว Email ที่อยู่ในค่ายนั้นๆ ก็จะมีแต่อีเมล์โฆษณา จนทำให้ผู้ใช้งานรำคาญ และเลิกใช้งานในที่สุด ซึ่งในหนึ่ง Mail Server มี Email ใช้งานอยู่เป็นหมื่นๆ Email ดังนั้นหากคุณไม่ได้เป็นผู้ส่ง Spam แต่บุคคลอื่นกลับเป็นผู้ส่ง แทนที่เค้าจะ Block Email ของคนที่ทำผิด ในทางกลับกันเค้าจะ Block IP ของ Mail Server ทั้ง Server ทำให้คุณติดหางเร่ ไปด้วย



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการระบบ Mail Server อันดับ 1 ของประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

Forwarders หรือ Auto Forward อีเมล์ใช้งานอย่างไร

Function: Forwarders หรือ Auto Forward คือ อะไร?

'Forwarder' คือ ผู้ส่งต่อ หากสื่อถึงความหมายเชิงเทคนิคที่ใช้งานในระบบอีเมล์ คือ การส่งต่อข้อความอีเมล์จาก บัญชีอีเมล์หนึ่ง ไปยังอีกบัญชีหนึ่ง โดยอัตโนมัติ ซึ่งข้อความนั้นจะส่งไปถึงทั้งสองบัญชีอีเมล์ (ได้รับเมล์ทั้งคู่)

แบบที่ 1

Forwarder = sales@domain.com
Destination Email
 = accounting@domain.com

sales@domain.com  => accounting@domain.com

การตั้งค่าดังกล่าวมีผลทำให้ ข้อความที่ส่งมาจาก Sender ทุกคนจะได้รับข้อความ


แบบที่ 2

การตั้งค่า Forwarders แบบทั่วไป


Forwarder = sales@domain.com
Destination Email = marketing@domain.com, John.c@hotmail.com, hr@domain.com

sales@domain.com  => marketing@domain.com
sales@domain.com  => John.c@hotmail.com
sales@domain.com  => hr@domain.com

การตั้งค่าดังกล่าวมีผลทำให้ ข้อความที่ส่งมาจาก Sender ทุกคนจะได้รับข้อความ จะเห็นได้ว่าเราสามารถตั้งค่าให้ข้อความ Auto forward ไปยังบัญชีอีเมล์ของ Server อื่น ๆ ได้ เช่น @hotmail.com, @gmail.com, @yahoo.com เป็นต้น

จากภาพการตั้ง Forwarder หรือ Auto Forward นั้น บัญชีอีเมล์ทุกบัญชีจะมีตัวตนอยู่จริง จะเห็นได้ว่า แบบที่ 1 และแบบที่ 2 มีทำงานที่เหมือน ๆ กัน คือ "รับ แล้วส่งต่อ"


จุดประสงค์ในการใช้งาน Function: Forwarders


  1. ใช้ส่งต่อข้อความไปยังอีกบัญชีอีเมล์ เช่น User: John.C เป็นหัวหน้าฝ่ายขาย ต้องการรู้ข้อมูลทุกอย่างที่ User: Sales ได้รับหรือลูกค้ารายใดติดต่อซื้อขายเข้ามาบ้าง
  2. ใช้งานเสมือนการ Backup messages ที่รับจากคนอื่น ๆ เช่น User: HR ต้องการเก็บข้อมูลใน INBOX ทั้งหมดไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น Mail server ล่ม, เผลอลบข้อความทิ้งโดยไม่เจตนา จึงตั้งให้ Auto Forward ไปที่ myemail@gmail.com

แบบที่ 3

การตั้งค่า Forwarders แบบที่ 3 หรือเรียกว่า 'Email Alias'


'Email Alias' คือ บัญชีอีเมล์สมมติ  ที่เราตั้งขึ้นมาเอง ซึ่งบัญชีอีเมล์นี้ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริงในระบบอีเมล์ คือ เรียกง่ายๆ ว่า เรา "มโน" มันขึ้นมา เพื่อให้เป็นเหมือนทางผ่าน

จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่าเราตั้งค่าให้ Forwarder = info@domain.com และ 
Destination Email = sales@domain.com 

เมื่อ Sender ส่งข้อความมายัง info@domain.com แล้ว ระบบจะส่งข้อความฉบับนี้ไปยัง sales@domain.com ทันที โดยที่ไม่ทิ้งข้อความไว้ใน INBOX ของ info@domain.com เพราะว่าบัญชีอีเมล์นี้คือ Email Alias ไม่ได้มีอยู่จริงในระบบ 

จุดประสงค์ในการใช้งาน Function: Forwarders (Email Alias)


จุดประสงค์หลัก คือ ใช้เพื่อประหยัดจำนวนบัญชีอีเมล์ เช่น

info@domain.com =>  Jane@domain.com
contact@domain.com => Jane@domain.com
marketing@domain.com => Jane@domain.com

**User: info, contact, marketing เป็นอีเมล์ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง คือ เราไม่ต้องไป Add account นี้เพิ่มในระบบ เพียงแต่ตั้งในไว้ใน Function: Forwarders เท่านั้น



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

สุดยอด Email Hosting ที่ดีที่สุดในไทย
และผู้นำด้านการให้บริการอีเมล์โฮสติ้งแบบมืออาชีพ