แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา เช่า mail server จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา เช่า mail server จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Error : blocked using Trend Micro Network Anti-Spam Service คืออะไร



การส่งอีเมล์ในบางครั้ง เราอาจจะได้รับอีเมล์ตีกลับ โดยอีเมล์ที่ตีกลับมาจะมี Error บอกรายละเอียด ว่าทำไมถึงไม่สามารถส่งอีเมล์ไปถึงยังปลายทางได้ เราสามารถตรวจสอบ Error ต่างๆ และหาสาเหตุเบื้องต้นได้เอง โดยดูข้อความจาก Error (ข้อความในอีเมล์ตีกลับ จะมีรายละเอียดจำนวนมาก ให้สังเกตที่ Keyword)


*************************
ตัวอย่าง

blocked using Trend Micro Network Anti-Spam Service

แปลว่า :  IP นั้นไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจาก Trend Micro

*************************

สาเหตุ

อาจเกิดจาก IP ของอีเมล์ลูกค้าที่ใช้ส่งออกนั้นติด Blacklist ซึ่งสามารถตรวจสอบการติด Blacklist 
ได้ที่นี่ http://mxtoolbox.com/blacklists.aspx

วิธีการแก้ไข

1. แจ้งปลายทางให้ตรวจสอบ Server หากมีการบล็อกจากระบบ ให้ดำเนินการปลดบล็อก หรือ Whitelist
2. แจ้งผู้ให้บริการอีเมล์ของท่านตรวจสอบ IP Server (ปัญหาดังกล่าวอาจเป็นไปได้ว่า Server E-mail ที่ท่านใช้บริการอยู่ถูก Blacklist)

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

[MD OX] วิธีการตั้งค่าอีเมล์ @ชื่อบริษัท บนระบบปฏิบัติการ Android (IMAP)


วิธี Add Account Email บนระบบปฏิบัติการ Android มีดังนี้



เลือก อีเมล์ (Email) 


เลือก อื่น (Other)

กรอก Username, Password และเลือกตั้งค่าเอง (Manual Setup) 
จากนั้นเลือกถัดไป (Next) 

เลือกการตั้งค่าแบบ IMAP  


ใส่ชื่ออีเมล (Email) และรหัสผ่าน (Password)
จากนั้นเลือกถัดไป (Next) 


กรอกรายละเอียดข้อมูลบัญชีอีเมล์ของตนเอง
โดยชื่อผู้ใช้ (Username) ต้องใส่ชื่อบัญชีอีเมล์
เซิร์ฟเวอร์ IMAP (IMAP server) : mail.privateemail.com
ชนิดระบบป้องกัน : ไม่มี (Security type: SSL)
พอร์ต : 993 (Port 993)
จากนั้นเลือกถัดไป (Next) 

เซิร์ฟเวอร์ SMTP (SMTP server) : mail.privateemail.com
ชนิดระบบป้องกัน : ไม่มี (Security type: None) 
พอร์ต :465 (Port 465)
เลือกต้องมีการลงชื่อ (Require sign-in)
จากนั้นเลือกถัดไป (Next)  


เลือกความถี่ในการรับส่งอีเมล์ตามต้องการจากนั้นกดถัดไป (Next)  

กรอกชื่ออีเมล์ที่ต้องการ
จากนั้นกดเรียบร้อย (Done) ก็พร้อมใช้งานทันที 




บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1



[OX-P] วิธีการตั้งค่าอีเมล์ @ชื่อบริษัท บนระบบปฏิบัติการ Android (IMAP)


วิธี Add Account Email บนระบบปฏิบัติการ Android OS



เลือก อีเมล์ (Email)



กรอก Username: (ชื่อบัญชีอีเมล)
Password: (รหัสผ่านของบัญชีอีเมล)
จากนั้นกดปุ่มเลือกตั้งค่าเอง (Manual Setup)



เลือกการตั้งค่าประเภท IMAP 


กรอกรายละเอียดข้อมูลบัญชีอีเมล์ของตนเอง
โดยชื่อผู้ใช้ (Username) ต้องใส่ชื่อบัญชีอีเมล์
เซิร์ฟเวอร์ IMAP (IMAP server): mail.privateemail.com หรือ mail.(ชื่อโดเมน)
ชนิดระบบป้องกัน:  SSL (Security type: SSL)
Port: 993
จากนั้นเลือกถัดไป (Next)



เซิร์ฟเวอร์ SMTP (SMTP server) : mail.privateemail.com หรือ mail.(ชื่อโดเมน)
ชนิดระบบป้องกัน : SSL (Security type: SSL) 
Port: 465
เลือกต้องมีการลงชื่อ (Require sign-in)
จากนั้นเลือกถัดไป (Next) 



เลือกความถี่ในการรับส่งอีเมล์ตามต้องการจากนั้นกดถัดไป (Next) 



กรอกชื่อบัญชีอีเมลที่ต้องการให้ปรากฏบนอุปกรณ์
จากนั้นกดเรียบร้อย (Done) ก็พร้อมใช้งานทันที

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1

ส่งอีเมล์ไม่ถึงผู้รับ Error: Sender address rejected: Domain not found



ข้อความปฏิเสธจาก Mail Server ดังกล่าว มักจะพบใน Log การส่งอีเมล์ ใน Mail Server ของผู้ส่งดังตัวอย่าง

=============
xxx@domain.com R=lookuphost T=remote_smtp defer (-44): SMTP error from remote mail server after RCPT TO:<name@domain.com>: host spamfilter.domain.com [203.146.205.102]: 450 4.1.8 <yyy@company.co.th>: Sender address rejected: Domain not found
=============

สาเหตุที่เกิด Error ดังกล่าว ได้แก่

1. Domain ของปลายทางที่ผู้ส่งพยายามส่งอีเมล์ออกไปนั้น ไม่มีชื่ออยู่จริง
2. ช่วงเวลาที่ส่งข้อความดังกล่าว Mail Server อาจจะเกิดปัญหาขัดข้องบางอย่าง ทำให้ข้อความถูกตีกลับ เช่น ค้นหา MX ไม่เจอ, ตั้งค่า MX ผิดรูปแบบ เป็นต้น


ปัญหาดังกล่าวต้องมีการไล่ตรวจสอบทีละสาเหตุว่า Domain ดังกล่าวมีการตั้งค่า DNS ต่าง ๆ ถูกต้องแล้วหรือไม่ แล้วให้ผู้ส่งทำการทดสอบส่งอีเมล์อีกครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง



ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1


วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Error : 550 Blocked: Access denied, IP generate complaints or transmit unsolicited แปลว่าอะไร ?



การส่งอีเมล์ในบางครั้ง เราอาจจะได้รับอีเมล์ตีกลับ โดยอีเมล์ที่ตีกลับมาจะมี Error บอกรายละเอียด ว่าทำไมถึงไม่สามารถส่งอีเมล์ไปถึงยังปลายทางได้ เราสามารถตรวจสอบ Error ต่างๆ และหาสาเหตุเบื้องต้นได้เอง โดยดูข้อความจาก Error (ข้อความในอีเมล์ตีกลับ จะมีรายละเอียดจำนวนมาก ให้สังเกตที่ Keyword)


*************************
ตัวอย่าง

Error 550 Blocked : Access denied, IP generate complaints or transmit unsolicited

แปลว่า :  Server ปลายทาง Block IP ของ Mail Server ที่ใช้บริการ ทำให้ไม่สามารถส่งอีเมล์ไปยัง Account E-mail ได้

*************************

วิธีการแก้ไข

1. แจ้งปลายทางให้ตรวจสอบ Server หากมีการบล็อกจากระบบ ให้ดำเนินการปลดบล็อก
2. แจ้งผู้ให้บริการอีเมล์ของท่านตรวจสอบ IP Server (ปัญหาดังกล่าวอาจเป็นไปได้ว่า Server E-mail ที่ท่านใช้บริการอยู่ถูก Blacklist)



บทความที่เกี่ยวข้อง



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

[Outlook] Server error: '452 Too many recipients.' แก้ไขอย่างไร



 Server error: '452 Too many recipients.'

โดยทั่วไปหาก Sender ได้รับข้อความตีกลับ (NDR) ที่มีเนื้อหาดังตัวอย่างตามภาพแล้ว มักจะเกิดจากการส่งอีเมล์ไปยังผู้รับมากเกินไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ Mail Server กำหนด ปกติแล้วจะส่งได้มากถึง 50 ผู้รับต่อครั้ง แต่ในกรณีนี้ปัญหาอยู่ที่ว่า Sender พยายามส่งออกอีเมล์เพียงแค่ 11 คนเท่านั้น ก็ได้รับอีเมล์ตีกลับจากระบบแล้ว เรามาตรวจสอบดูตัวอย่างพร้อม ๆ กัน
อีเมล์ตีกลับจาก System Administrator

ตัวอย่างข้อความตีกลับที่ส่งอีเมล์ไปยังผู้รับเกิน 10 คน

วิธีการเช็ค Header ของอีเมล์เพื่อตรวจสอบว่าอีเมล์ฉบับดังกล่าวส่งมาจากที่ใด

ไปที่ File

 คลิกปุ่ม 'Properties'

Header จะแสดงอยู่ที่ช่อง 'Internet Headers'

วิธีการวิเคราะห์ปัญหา

จากที่เราพยายามค้นหา Header ของอีเมล์ ก็พบว่าอีเมล์นี้ไม่มี Header แสดงว่า สาเหตุที่ Sender ได้รับอีเมล์ตีกลับ ไม่ได้มาจากการตั้ง Sending Limited ของ Mail Server ของผู้ให้บริการอย่างแน่นอน

จากนั้นได้ทดสอบสมมติฐานที่ 2 คือ ให้ผู้ส่ง Login ไปยัง Webmail และทำการส่งข้อความไปยังผู้รับจำนวน 11 อีเมล์ ปรากฏว่าสามารถส่งออกได้สำเร็จ

ดังนั้นผู้เขียนจึงให้ผู้ส่งทำการทดสอบอีกครั้ง โดยการเปลี่ยนสัญญาณอินเตอร์เน็ต จาก ISP หนึ่ง ไปยังอีก ISP หนึ่ง โดยใช้ Air Card เชื่อมต่อ Internet และส่งอีเมล์ดังกล่าวอีกครั้ง ผลปรากฏว่า เมื่อทำการส่งอีเมล์ไปยังผู้รับ 11 อีเมล์ ด้วยโปรแกรม MS Outlook สามารถส่งออกได้สำเร็จ

สรุปได้ว่า Server error: '452 Too many recipients.' ที่ผู้ส่งได้รับนั้น เป็นการตีกลับที่มาจากการจำกัดการส่งของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต

ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจึงต้องให้ทางผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตตรวจสอบไปยังระบบและแก้ไขปัญหาดังกล่าว



วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Error: Retry timeout exceeded แปลว่าอะไร

เกิดอะไรขึ้น?

ข้อความตีกลับ (NDR) ดังกล่าวเป็นปัญหาการติดต่อสื่อสารไปยัง Mail Server ปลายทาง ที่มันอาจจะพยายามทำการส่งอีเมล์ออกอยู่เรื่อย ๆ จนในที่สุดเกิดความล้มเหลว ทำให้อีเมล์ดังกล่าวที่ผู้ส่งพยายามส่งไม่สามารถไปถึงผู้รับได้ ซึ่งแต่ละ Mail Server จะทำการส่งอีเมล์ออกตามความถี่ของแต่ละ Server ที่กำหนดไว้ เมื่อไม่สำเร็จ Sender ก็จะได้รับข้อความตีกลับว่า "Retry timeout exceeded"


ทำไมเราถึงได้รับ Error: Retry timeout exceeded

Error ตีกลับนี้เกิดขึ้นได้โดยหลายเหตุปัจจัยมากมาย ซึ่งต้องค่อย ๆ ศึกษาหาคำตอบ และดูเป็นกรณี ๆ ไป เช่น Mail Server ปลายทาง มี Mailbox เต็ม, ปัญหาเครือข่ายไร้สายภายในองค์กร, ปัญหา SMTP Server Port ถูกบล็อค เป็นต้น


วิธีการแก้ไข

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าสาเหตุของ Error นั้นอาจเกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย ทำให้เราต้องค่อยๆ หาทางแก้ไข หรือจุดบกพร่องเป็นกรณี ๆ ถ้ามั่นใจว่าปัญหาเกิดจาก Mail Server ปลายทาง ก็ยากที่จะแก้ไขได้ เนื่องจากว่า Sender คงไม่มีความสามารถไปควบคุม Mail Server ปลายทางให้รับอีเมล์ดังกล่าวได้ในขณะเกิดปัญหา แต่ก็มีวิธีแนะนำดังนี้

1. Save อีเมล์ตีกลับที่ผู้ส่งได้รับออกมาเป็น EML File
2. นำส่งผู้ให้บริการอีเมล์ของเรา หรือปรึกษา Technical Support ให้ตรวจสอบหาสาเหตุ
3. นำส่งผู้ให้บริการอีเมล์ของ Server ปลายทางให้ตรวจสอบหาสาเหตุ (กรณีปัญหาเกิดจาก Mail Server ปลายทาง)

ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

NDR คืออะไร สำคัญอย่างไร


NDR คืออะไร

NDR ย่อมาจากคำว่า Non-Delivery Report เป็นคำศัพท์เทคนิคของระบบอีเมล์ ซึ่งมีความหมายว่า รายงานแจ้งว่าอีเมล์ส่งออกไม่ประสบความสำเร็จ หรืออีเมล์ตีกลับ (Bounce Message) นั่นเอง

ทั้งนี้ผู้ส่งจะได้รับ NDR ได้นั้นมีอยู่หลายเหตุปัจจัยด้วยกัน เช่น

1. การส่งอีเมล์ออกโดยไม่มีการ Authentication ด้วย Username ระบบอีเมล์จึงมีการส่ง NDR แจ้งให้ผู้ส่งทราบว่า ข้อความดังกล่าวที่ส่งออกนั้น ไปไม่ถึงผู้รับ

2. Mailbox ของอีเมล์ปลายทางเต็ม เมื่อผู้ส่งส่งข้อความไปก็อาจจะได้รับข้อความตีกลับลักษณะว่า Mailbox is full. แต่กรณีนี้ต้องสังเกตด้วยว่าเป็นอีเมล์สแปมที่ส่งมาหลอกหรือไม่

3. NDR จาก Mail Server ปลายทาง เช่น Error 554 5.7.1 Relay access denied

4. Sender ส่งอีเมล์ที่มีไฟล์แนบเกิน พื้นที่ Mailbox ของ Server ปลายทาง

NDR สำคัญอย่างไร และใช้ตอนไหน

ข้อความตีกลับ หรือ NDR ช่วยได้อย่างมากต่อการตรวจสอบของผู้ให้บริการอีเมล์ Server หรือแม้กระทั่ง End-user เองก็สามารถอ่าน NDR ได้ว่าอีเมล์ที่ Sender ส่งนั้นไปไม่ถึงผู้รับด้วยเหตุใด
ดังนั้นเมื่อผู้ส่งส่งอีเมล์ไม่ออก NDR จึงสำคัญมา ถือเป็นกุญแจสำคัญในการตรวจสอบความผิดปกติของ Mail Server ที่จะรายงานผ่านข้อความตีกลับที่ผู้ส่งได้รับ

อ่าน NDR ไม่ออก (ไม่เข้าใจ) ทำอย่างไร?

บางครั้งที่ NDR จะแสดงคำศัพท์ หรือประโยคทางเทคนิค ที่ End-user อาจจะไม่เข้าใจกระจ่างชัด สามารถ Save อีเมล์ตีกลับดังกล่าวให้เป็นไฟล์ .EML แล้วส่งให้ผู้ให้บริการ Email Hosting Provider ช่วยถอดข้อความออกมาเป็นคำศัพท์หรือภาษาที่เราเข้าใจง่ายขึ้นได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

[MS Outlook] วิธี Export Email ฉบับที่ต้องการให้เป็น .eml
ผู้ส่ง (Sender) ส่งอีเมล์หาเรา และได้รับอีเมล์ตีกลับ
[GoCloud][Webmail] ส่งอีเมล์ออกแล้วไม่ถึงผู้รับ ไม่มีข้อความตีกลับ


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ1

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Error : sorry, no mailbox here by that name แปลว่าอะไร?

การส่งอีเมล์ในบางครั้ง เราอาจจะได้รับอีเมล์ตีกลับ โดยอีเมล์ที่ตีกลับมาจะมี Error บอกรายละเอียด ว่าทำไมถึงไม่สามารถส่งอีเมล์ไปถึงยังปลายทางได้ เราสามารถตรวจสอบ Error ต่างๆ และหาสาเหตุเบื้องต้นได้เอง โดยดูข้อความจาก Error (ข้อความในอีเมล์ตีกลับ จะมีรายละเอียดจำนวนมาก ให้สังเกตที่ Keyword)


*************************
ตัวอย่าง

Error : sorry, no mailbox here by that name
แปลว่า : ไม่มี Email ชื่ออีเมล์บน Mail Server ปลายทาง ผู้ส่งอาจจะสะกดชื่อ Email ผิด

*************************

วิธีการแก้ไข

1. ตรวจสอบ E-mail ว่าได้พิมพ์ถูกต้องหรือไม่ เช่น มีสัญลักษณ์พิเศษติดกับ  E-mail

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เช่า Email Hosting ที่ไหนดี ที่สุด วิธีเลือกง่ายๆ เข้ามาดูกัน !

วิธีการเช่า Email Hosting บริษัทไหนดี



มีความซับซ้อนสูง

การทำ Email Hosting ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนสูง ซึ่งผู้ให้บริการ เช่า Email Hosting มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านการให้บริการ Email Hosting ไม่อย่างนั้นแล้ว อาจจะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ใช้งานอีกจำนวนมาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อธุรกิจของผู้รับบริการอย่างหลึกเลี่ยงไม่ได้



ปัญหา Junk Mail ในการเช่า Email Hosting



ปัญหาอีเมล์โฆษณา

หลายๆคนที่ใช้บริการ Free Email เช่น Hotmail, Gmail มาจะทราบว่า อีเมล์โฆษณา ที่หลุดเข้าไปถึง Inbox จริงๆนั้นน้อยมาก ซึ่งต่างจากการ เช่า Email Hosting หาก Server ไม่มีระบบประมวลผลอันชาญฉลาด คุณจะพบว่า User แต่ละคนจะได้รับ Email โฆษณา 5-10 ฉบับ ต่อวันต่อ Account ทำให้เครื่องของผู้ใช้งานมีแต่อีเมล์เด้งเตือนว่าได้รับ Email แต่อีเมล์เหล่านั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลย




ปัญหาการส่ง Email ไม่ออก เพราะ Server ติด Blacklist


ส่งอีเมล์ไม่ออก

เนื่องจาก Email Hosting หนึ่งเครื่องประกอบไปด้วย User เป็นพันๆ Users ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ IP ของ Email Server นั้นจะติด Blacklist และทำให้ User ในเครื่องทั้งหมดส่ง Email ไปหาปลายทางไม่ค่อยได้




ปัญหา Email รับส่ง ล่าช้า 



ได้รับอีเมล์ล่าช้า

ปัญหาได้รับ Email ล่าช้าเป็นปัญหาใหญ่ หากใช้งาน Email ในการติดต่อสื่อสารด้านธุรกิจ ซึ่งปัญหาดังกล่าวมักเกิดกับ Server ที่มีผู้ใช้งานรวมกันจำนวนมากๆ เพราะจะทำให้แย่ง Bandwidth กัน หรือ บางครั้ง Traffic ก็เต็มไปเลย จนทำให้ อีเมล์เข้า และ ออกล่าช้า ตามกันไป




ปัญหา Email Hosting ล่ม หรือ Mail Server ล่ม


Email ล่ม

ปัญหา Email ล่มยังเป็นปัญหาสำคัญ ที่ Users จำนวนมากต้องประสบ ซึ่งเมื่อระบบ Email ในบริษัทนั้นล่ม ย่อมส่งผลโดยตรงต่อพนักงาน และ การขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนั้นผู้ให้บริการเช่า Email Hosting ที่ดี ต้องมีศักยภาพด้านความเสถียรภาพสูง หรือ ล่มน้อยที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด | ผู้ให้บริการ Email Hosting แก่ลูกค้าธุรกิจ

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การเช่า mail server (เคล็ดไม่ลับในการเลือก เช่า mail server)

"การเช่า mail server" คือ อะไร และ ทำไมต้อง เช่า

5 เหตุผลหลักๆ ที่ทำไมต้องเช่า Mail Server 

  1. เนื่องจากอุปกรณ์ (Hardware) ที่ใช้ในการทำเครื่อง Mail Server นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงกว่า Hardware ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ตามบ้านทั่วไปหลายเท่าตัว

  2. ต้องสร้างห้อง Data Center เพื่อไว้วาง Mail Server, ซึ่งการสร้างห้อง Data Center ภายในบริษัทตนเองนั้นต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก

  3. ต้องมีระบบสำรองไฟฟ้า (UPS) เพื่อป้องกันการไฟดับ ซึ่งมีราคาสูง

  4. ต้องมีการทำระบบรักษาความปลอดภัย (Sercurity) ซึ่งมีราคาสูง

  5. ต้องมี วิศวกรที่เชี่ยวชาญด้าน Mail Server ประจำเพื่อคอยตรวจสอบให้การทำงานของ mail server นั้นทำงานได้อย่างปกติ
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าการทำ Mail Server ใช้เองนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย, เพราะต้องมีเงินทุนสูง และ ต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ, ดังนั้นการเลือกเช่า mail server จึงเป็นทางออกสำหรับองค์กรขนาดเล็ก-ใหญ่ ยกเว้นหน่วยงานที่มีความลับ หรือ ต้องการความเสถียรภาพของระบบสูงมาก เช่น สายการบิน, ธนาคาร ที่จะลงทุนทำ Mail server เอง

การเช่า Mail Server 

การเช่า mail server คือ การที่คุณไปหาบริษัทผู้ให้บริการ mail server ซึ่งบริษัทผู้ให้บริการเหล่านั้นมีความพร้อมทั้งด้าน Hardware , บุคลากร ที่เปิดมาเพื่อให้บริการ mail server โดยเฉพาะ, ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทต่างๆ มักใช้บริการ เช่า เนื่องจากใช้งบประมาณน้อย แต่ก็ได้ใช้งาน Mail Server ที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน ภายใต้อีเมล์ @ชื่อบริษัท และ คุณก็สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างสะดวกและคล่องตัว


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Mail Server อันดับ 1 ของประเทศ


วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ระบบกรอง เพื่อแก้ปัญหา spam mail ทำงานอย่างไรบน mail server

ระบบกรอง spam หรือ Spam filter นั้นทำงานอย่างไร

แก้ปัญหา spam mail แบบถาวร


เมื่อ spam mail นั้นไม่ใช่เรื่องล้อเล่นอีกต่อไป, ผู้ที่ใช้งาน email ในการดำเนินธุรกิจเป็นหลัก หลายๆบริษัท มักพบปัญหา spam mail เยอะ, ทั้ง Block, ตั้งเป็น Black list แล้ว แก้ยังไงก็ไม่หาย โดยเฉพาะ บริษัทที่ใช้งานบน mail server ทั้งแบบเช่า หรือ ทำเองในบริษัท จะเจอปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาแรกๆที่น่าปวดหัวมาก และ spam mail บางตัวยังแอบแฝงไปด้วย ไวรัสอีเมล์ ที่อาจจะทำให้คุณโดนโจรกรรมข้อมูล (Hack Email), ปัญหาเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้ หากมี ระบบกรอง spam ที่มีประสิทธิภาพ และ สามารถเรียนรู้ spam ใหม่ๆ ได้อยู่เสมอ เราลองมาดูกัน ว่า ระบบกรอง spam นั้นทำงานอย่างไร

การทำงานของระบบ กรอง spam mail
ของ บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ภาพอธิบายการทำงานของ ระบบกรอง spam หรือ "spam filter"
  1. เมื่ออีเมล์ จากผู้ส่ง (Sender) ได้ทำการส่งอีเมล์มาหาคุณ
  2. ระบบกรอง Spam (Spam Filter) จะทำหน้าที่ Scan ไปยังเนื้อหา,หัวข้อ,ไฟล์,Link ในอีเมล์ฉบับนี้ และ เช็ค Sender IP ว่าติด Black list (RBL) หรือ ถูกตั้งเป็น Blacklist จากระบบ spam filter หรือยัง และ จะนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อ คาดคะเนความเป็นไปได้ว่า อีเมล์ ฉบับนี้เป็น spam mail หรือไม่
  3. Email ที่ถูกระบบ Spam Filter ทำการ Scan และ พบว่า อีเมล์ฉบับนั้น เป็น Spam mail จะถูกโยนเข้าถังขยะเพื่อลบทิ้ง, แต่หากระบบได้ทำการวิเคราะห์ว่าไม่ใช้ Spam mail ก็จะส่งอีเมล์นี้มายังผู้รับ (Reciever)


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Mail Server พร้อมระบบ Spam Filter มาตรฐานยุโรปที่ดีที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วิธีแก้ปัญหา mail server มี spam หรือ junk mail เยอะ แบบ ถาวร

เมื่อ Junk หรือ Spam mail ไม่ได้เป็นเรื่องล้อเล่นอีกต่อไป


ทำไมคุณถึงได้รับ Junk และ Spammail ?

Junk และ Spammail จะถูกส่งโดยกลุ่มที่ต้องการโฆษณา ขายผลิตพันธ์ สินค้า บริการ โดยจะทำการส่งเป็นจำนวนมากๆ ไปหลายๆ อีเมล์ซึ่งปัญหา คือ เราจะใช้งาน Mail เพื่อสื่อสารทางธุรกิจและทำงาน, คงไม่มีเวลามากพอที่จะมานั่งลบ Spam mail วันละ 10 ฉบับๆ ทุกๆ วันถ้าคุณได้รับ Spam mail ยอะมากๆ คุณอาจจะอยากเลิกใช้อีเมล์ขององค์กรหรือบริษัทไปเลยแล้วเปลี่ยนไปใช้ฟรีอีเมล์ เช่น @hotmail, @gmail, @yahoo แทน


ฉันจะแก้ไขปัญหา Spam และ Junk Mail ใน Mail Server อย่างไรดี ?


การเพิ่มระบบกรอง Junk, Spam mail ผ่านตัวกรอง (Spam filter)  

โดยทั่วไปแล้ว ปัญหานี้มักจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานผ่าน  mail server, vps mail server  ซึ่งคุณอาจจะไปเช่าจาก ผู้ให้บริการ mail server  มาอีกทีโดยผู้ให้บริการ  mail server ในประเทศไทยส่วนมากแทบจะไม่ได้มีการ กรอง spam junk mail อะไรเลย คือ มีใครส่งอะไรมา ก็รับหมดหรือหากมีระบบกรอง spam ก็แทบจะกรองอะไรไม่ได้เหมือนกัน

คุณสามารถแก้ไขปัญหาได้, โดยเลือกผู้ให้บริการ  Mail Server  ที่มีการติดตั้งตัวกรอง Spam  ที่มีมาตรฐาน, โดยระบบการกรอง Spam ที่มีมาตรฐานสูงจะมีเทคโนโลยีที่จะดักอีเมล์ที่เป็น Spam แต่ะยอมให้ Email ที่มีความสำคัญกับคุณ ผ่าน

การแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้เป็นเรื่องเข้มงวดมาก สำหรับธุรกิจที่ใช้  mail server ในทวีปยุโรป ซึ่งไม่ต้องการให้มี spam mail  แม้แต่ฉบับเดียวใน inbox ซึ่งมีผู้ให้บริการไม่กี่รายนักในประเทศไทยที่ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาติดตั้งใน mail server  เพราะมีความซับซ้อน ราคาสูง แต่คุณก็ควรให้ความสำคัญหากไม่ต้องการรับ Spam mail  อีกต่อไป และ จะสามารถแก้ไขปัญหา spam junk mail ได้ยั่งยืนกว่าวิธีการอื่นๆ


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ  Mail Server  มาตรฐานการจาก Europe 


วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

[OX-P] วิธีการตั้งค่า Filter/Rule สำหรับแยก Sender ที่เป็นสแปมจากหน้าเว็บเมล์

แม้ว่าการกรองสแปมเมล์บน Server จะมีประสิทธิภาพมากเพียงใด แต่ก็อย่าลืมว่าอีเมล์ขยะบนโลกนี้ ก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีวันหมดไป หากเปรียบเทียบกับขยะจริง ๆ มันก็กำลังล้นโลกอยู่ขณะนี้

จะทำอย่างไร หากอีเมล์ขยะ หรือ Spam mail เกิดขึ้นมาใน Inbox ของเรา ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้เป็นอย่างมาก จากภาพประกอบเป็นวิธีการตั้งค่า Filter ให้แยกบัญชีอีเมล์ของ Sender ที่สงสัยว่าจะเป็นสแปมเมล์ หรืออีเมล์ที่สร้างความรำคาญให้กับเรา ออกจาก Inbox 

เมื่อเข้าสู่ระบบบนหน้าเว็บเมล์แล้ว ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้



คลิกที่ไอคอนเฟือง เลือก Settings


คลิกปุ่ม 'Add new rule'


ตั้งชื่อ Rule และใส่เงื่อนไขโดยในที่นี้ กด Add condition เลือก Sender/From
จากนั้นกรอกชื่ออีเมล์ ที่ต้องการให้เข้ามาอยู่ใน Folder: Spam
หัวข้อ Actions ให้เลือก Move to folder: Spam แล้วกดบันทึก
ในทางกลับกันต้องการให้บาง Email account ย้ายไป Spam ไปอยู่ใน INBOX ก็ Add action > Move to folder: INBOX
และกรณีต้องการ Block ให้เลือก Condition: Reject with reason และใส่เหตุผลที่ Reject ลงที่ช่องว่าง



เมื่อกดบันทึก จะมี Rule ปรากฏขึ้นมา




เมื่ออีเมล์ที่เราตั้งไว้ ส่งเข้ามายัง Inbox ข้อความจะไปปรากฏอยู่ใน Folder : Spam ที่เราตั้งค่าไว้อัตโนมัติ



หมายเหตุ การสร้าง Filter ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการ Block User นั้น แต่เป็นการแยกอีเมล์จากผู้ส่งที่เป็นสแปม ไปยัง Folder: Spam เพื่อไม่ให้สร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานอีเมล์


วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Colocation Server กับ Dedicated email server ต่างกันอย่างไร ?

Colocation Server ต่างกับ Dedicated Server อย่างไร และ จะเลือกอันไหนดีกว่ากัน

Colocation Server ต่างกับ Dedicated Server อย่างไร ?

หลายๆคนสับสนว่าการซื้อบริการในรูปแบบ Colocation Server กับ Dedicated Server มีความแตกต่างกันอย่างไร, และ จะเลือกใช้บริการแบบไหนดี

ห้อง Data Center เพื่อวาง Colocation และ Dedicated Server


Colocation Server คือ การที่เรานำเครื่อง Server ที่เราซื้อหรือประกอบเองเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นเครื่อง ซึ่งจะเป็นในรูปแบบ Tower (คล้ายๆ กับ Case PC ตามบ้าน) และ ในรูปแบบ Rack (เป็นเครื่อง แบนๆ แนวนอน) ไปฝากวางใน Internet Data Center 

การใช้งาน Colocation Server ผู้ให้บริการ Data Center
จะมีสายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, และระบบไฟพร้อมใช้งาน


Dedicated Server คือ การที่เราไปเช่าเครื่อง Server ที่ผู้ให้บริการนั้นประกอบแล้วจัด Spec ไว้เรียบร้อย และ วางใน Data Center เรียบร้อย, หรือพูดง่ายๆ คือ เครื่องพร้อมใช้งาน, โดยเราแค่มีหน้าที่ไปจ่ายค่าบริการรายเดือน เพื่อให้มีสิทธ์ในการเข้าไปบริหารจัดการตัว Server ที่เค้าจัดเตรียมไว้ให้

Colocation Server เหมาะกับใคร

ลงไปใน Server
การใช้ Colocation Server สามารถปรับแต่ง Hardware ได้ตามต้องการ 


  • คนที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Hardware, เพราะคุณจะสามารถจัดประกอบ Server ได้ตามต้องการ
  • คนที่มีความรู้ความเข้าใจในด้าน Server จริงๆ
  • มีเวลาที่จะเดินทางไป Data Center ได้ หากมี Hardware ตัวใดตัวหนึ่งพัง, เพราะ Data Center เค้าไม่ได้มีความรับผิดชอบในส่วนนี้
  • ควรมีเครื่อง Server สำรองไว้ด้วยอย่างน้อย 1 เครื่อง, เผื่อในกรณีที่ Hardware หลักๆ เสีย แล้วซ่อมไม่ได้ เช่น Mainbord จะได้มีเครื่องสำรองใช้ได้ทันที

Dedicated Server เหมาะกับใคร 

  • ผู้ที่ไม่ค่อยมีความรู้ด้าน Hardware ที่เกี่ยวข้องกับ Hardware ของ Server, ซึ่ง Hardware ของ Server จะถูกผลิตและมีความคงทนรวมถึงความเร็วมากกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป
  • ผู้ที่ไม่ต้องการรับผิดชอบ Hardware, เพราะหากใช้บริการ Dedicates Server ผู้ให้บริการต้องเป็นผู้รับผิดชอบเปลี่ยน Hardware ให้
  • ไม่ต้องเตรียมเครื่อง Server สำรองให้หนักใจ เพราะผู้ให้บริการเค้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้

จะใช้ Dedicated Server และ Colocation Server ใช้ทำอะไร ?

การวาง Server แบบแนวนอน (Rack) ไว้ในตู้ Rack หรือตู้ที่เก็บ Server


  • ใช้ทำ Email Server
    ผู้ที่ใช้งาน Colocation และ Dedicated Server, มักจะนำมาประยุกต์ในการใช้งาน เพื่อลงระบบอีเมล์ลงไปใน Server ทำให้เครื่องนั้นเป็น Email Server โดยทันที
  • ต้องการเก็บความลับของข้อมูลไว้สูงสุด
    องค์กรขนาดใหญ่มากๆ เช่น ธนาคาร มักจะใช้วิธีการนี้ในการทำ Mail Server ขององค์กรตัวเอง, เพราะ ไม่มีใครเข้าถึงข้อมูลของคุณได้ แม้ บริษัทผู้ให้บริการ Data Center เพราะเค้าไม่รู้ Password ของเครื่องคุณจริงๆ
  • เมกะโปรเจ็ก
    มีหลายองค์กรมักเข้าใจผิดว่า โปรแกรมที่เราใช้อยู่หรือเว็บของเราที่มีจำนวนคนเข้าเป็นพันๆ คน หรือ แม้แต่ระบบอีเมล์ ที่มีผู้ใช้งานในหลักร้อย, ต้องลงทุนทำ Colocation กับ Dedicated Email Server เอง, หากมันไม่ได้ใหญ่มากจริงๆ ไม่ควรใช้วิธีการเหล่านี้, เพราะทั้งใช้เงินจำนวนมาก แถมยังต้องมาดูแล Server เอง

ข้อเสียของการใช้งาน Colocation และ Dedicated Server

ไม่เหมาะกับองค์กรที่มีขนาดเล็ก-กลาง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดในการทำ Colocation กับ Dedicated Server นั้นคุณต้องมีความพร้อมในด้านบุคลากรเป็นอย่างมาก, และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในระดับ Hardware และ Server เชิงลึก, หากพูดกันจริงๆ ในประเทศไทยนั้นมีน้อย, เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มีหลักสูตรนี้, รวมถึงบุคลากรด้านนี้จะมีค้าจ้างที่สูงกว่าพนักงานทั่วไปเป็นอย่างมาก, ดังนั้นคุณควรใช้ความรอบครอบในการตัดสินใจ, เพราะยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถใช้งาน แทน ที่จะต้องมานั่งเฝ้าดูแล Server เอง

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server อันดับ 1 ของประเทศไทย

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Colocation mail server หรือ รับวาง Server คือ อะไร ?


Colocation EMail Server คือ อะไร และ เหมาะสมกับองค์กร หรือ บริษัทคุณมากแค่ไหน ? 

Colocation Server หรือ รับวาง Server คือ อะไร ?

Colocation Server หากเปรียบเสมือนคำพูดง่ายๆ คือ การที่คุณเอาเครื่อง Server  ทั้งเครื่องของคุณแบกไปฝากไว้ในห้อง Internet Data Center (IDC) ซึ่งมีบริษัทหลายบริษัทให้บริการรับฝากเครื่อง Server , ซึ่งเรียกว่า "บริการ Colocation Server" นั่นเอง, เพราะมันคงไม่คุ้มที่บริษัทหรือองค์กรของคุณต้องมานั่งสร้างห้อง  Data Center หลายล้านบาท เพื่อ วางเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียวหรือไม่กี่เครื่อง, ซึ่งหากนำไปฝากไว้ที่ห้อง Internet Data Center (IDC) ซึ่งห้องดังกล่าว มีทั้งการควบคุมอุณภูมิ, สายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, มีความปลอดภัย, ระบบสำรองไฟ (UPS) เพียงคุณ แบก Server ไป, ผู้ให้บริการก็จะนำไปวางและต่อสายให้ทันที, โดยการคิดค่าใช้จ่ายมักคิดเป็น รายเดือน ตั้งแต่ 3,000 - 50,000 บาท/เดือน/1U ขึ่งอยู่กับความอลังการของ Data Center นั้นๆ

พื้นที่ขนาด 1 U, สำหรับการวาง Server 1 เครื่อง

หรือ ห้องดาต้าเซ็นเตอร์
องค์ประกอบของ Internet Data Center (IDC) สำหรับวาง Colocation Server 1 U


Colocation Server เอาไว้ทำอะไร ?

  • Mail Server องค์กรขนาดใหญ่มักทำ Mail Server ในรูปแบบ Colocation mail server
  • Data Backup  องค์กรขนาดใหญ่ หรือ แม้แต่องค์กรระดับโลก อาจจะมีความจำเป็นในการ Backup ข้อมูลไว้ยัง Server หลายๆที่ เพื่อลดความเสี่ยง, หาก Data Center ที่ใดที่หนึ่งมีปัญหา โดยเฉพาะ สายการบิน, ธนาคาร เป็นต้น
  • Project ขนาดใหญ่, การใช้งาน Colocation อาจจะถูกใช้งานโดยทีมโปรแกรมเมอร์ที่ต้องการ Run Project ขนาดใหญ่มากๆ เช่น ระบบเว็บไซต์ที่มีคนเข้ามหาศาล ( > 1,000,000 คน/วัน) , ระบบ ERP หรือ CRM โดยต้องการใช้ทรัพยากรของ Server เครื่องเดียวทั้งหมด อย่างเต็มที่ และ ไม่ต้องการไปแบ่งปันกับใคร

Colocation กับ EMail Server 

โดยส่วนมากแล้วผู้ที่ใช้บริการ Colocation หรือ เอา Server ทั้งเครื่องไปฝากที่ Data Center มักจะถูกนำมาทำเป็น "Email Server" โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ๆ ที่ไม่ต้องการนำอีเมล์ของตัวเองไปปนกับ Server คนอื่น, เพราะการวาง Colocation วิศวกรขององค์กร สามารถลง OS รวมถึง ระบบ Mail Server ที่ต้องการได้่ และ มีความเป็นความลับของข้อมูลสูงกว่า, เพราะแม้แต่บริษัทที่เป็นผู้ดูแล Data Center ก็ไม่สามารถ Access หรือ เข้าถึง Server ดังกล่าวได้ เพราะ ไม่รู้ Password รวมถึงรายละเอียดของ Software ใน Server

ข้อดีของการทำ Colo Mail Server เอง

  • เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่มากที่มีพนักงานต้องใช้งาน Email > 1,000 คน ขึ้นไป
  • คุณสามารถปรับแต่ง Software หรือ ทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ เพราะ Server เป็นของคุณ
  • คุณไม่ต้องมานั่งทำ Data Center เองด่้วยราคาหลายสิบล้านบาท
  • มีคนคอย Mornitor ระบบไฟฟ้า ระบบอินเตอร์เน็ตให้ (ที่เหลือเป็นหน้าที่ของคุณ)

ข้อเสียของการทำ Colocation Email Server 

  • คุณต้องมี พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ ด้าน Email Server อยู่ในองค์กรจริงๆ เพราะการให้บริการ Colocation นั้นเปรียบเสมือนการเช่าที่ดินวางเครื่อง แต่ที่เหลือทั้งหมดเป็นหน้าที่ของวิศวกรของบริษัทคุณที่ต้อง Remote เข้าไปทำ
  • ต้องมั่นใจว่าองค์กรของคุณเป็นองค์กรขนาดใหญ่จริงๆ ถึงทำ Colo Mail Server เอง
  • คุณต้องซื้อ ทั้ง Software: OS, Mail Server, Antivirus ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
  • คุณต้องมั่นใจว่าคุณเอาอยู่, ถึงแม้ว่า Datacenter ที่มีมาตรฐานจะไม่มีปัญหา ไฟดับ, ไฟไหม้, เน็ตหลุด "แต่ถ้า Server ติดไวรัส" คุณต้องเป็นผู้เข้าไปลง Software และ ลบมันเอง
  • คุณต้องมีเงินมากพอ เพราะคุณต้อง ซื้อ Server เอง, รวมถึงต้องไปจ่ายรายเดือนให้ Internet Data Center ด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง



บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server อันดับ 1 ของประเทศไทย