แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา domain จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา domain จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทำไมเราต้องรู้เรื่องค่า Incoming และ Outgoing server

ทำไมเราต้องรู้เรื่องค่า Incoming และ Outgoing server

โปรแกรม Client Software เช่น Microsoft Outlook, Thunderbird, Opera, IncrediMail ทุกเวอร์ชั่น จะมีเมนู Account Settings สำหรับเข้าไปแก้ไขค่า Incoming และ Outgoing server ได้

Incoming คืออะไร?

หากแปลตรง ๆ Incoming ก็คือ ขารับ, ขาเข้า ซึ่งใน Account settings... จะมีหัวข้อ Incoming Mail Server (Host name) ตรงนี้จะเป็นชื่อของ Server ที่ผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้ง จะให้รายละเอียดมาว่าต้องกรอกเป็นชื่ออะไร ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ Server ขารับ ที่จะต้องรับอีเมล์ที่ส่งมาหาเราทุกฉบับ โดยส่วนใหญ่จะเป็น 'pop.domain.com' หรือ 'mail.domain.com' หรือ 'imap.domain.com' แล้วแต่ผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้งจะแนะนำให้กับเรา

Outgoing คืออะไร?

Outgoing ก็คือ ขาออก, ขาส่ง Outgoing Mail Server (Host name) จะมีหน้าที่ดีดอีเมล์ที่เราเป็นคนส่ง ออกไปยังผู้รับ ซึ่งผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้งจะให้รายละเอียดเช่นเดียวกันว่าต้องกรอกเป็นค่าอะไร ทั่วไปแล้ว จะใช้ 'smtp.domain.com' เป็นค่าที่ใช้กันมาตรฐานที่สุดสำหรับอีเมล์สำหรับธุรกิจ

นอกจากนี้ค่า Incoming Mail Server และ Outgoing Mail Server สำหรับฟรีอีเมล์ เช่น @gmail, @hotmail, @yahoo ที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป ก็จะใช้ค่า Incoming และ Outgoing server ที่แตกต่างกันออกไป

ตัวอย่าง

Hosted Email Services Incoming (POP) server Outgoing server
Gmail pop.gmail.com smtp.gmail.com
Hotmail (live.com, outlook.com) pop3.live.com smtp.live.com
Yahoo pop.mail.yahoo.com smtp.mail.yahoo.com
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทำไม Email ที่ถูกแถมมากับเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ถึงมีปัญหา ?


หลายคนๆที่เคยมีประสบการณ์ใช้งานอีเมล์ (Email) ที่ถูกแถมมากับเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ที่เช่าอยู่ในราคาไม่กี่ร้อยหรือไม่กี่พันบาทต่อปีขึ้นไปมักจะพบปัญหา เช่น ส่งอีเมล์ไม่ออก, รับอีเมล์ไม่ได้, อีเมล์ดีเลย์ (Email Delay) ภาษาที่แสดงผิดเพี้ยนไปจากเดิม (Language/interface problem) ผู้เขียนจะอธิบายในบทความตามด้านล่างนี้




ภาพประกอบ การทำงานของ Web Server/Hosting ทั่วไป


1. อีเมล์ดีเลย์ (Email Delay)

ผู้ใช้งานเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ต้องทำความเข้าใจ หรือ ยอมรับข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งว่าในเว็บเซิฟเวอร์หนึ่งเครื่อง ไม่ได้มีเว็บไซต์คุณเพียงเว็บไซต์เดียว แต่กลับประกอบไปด้วยเว็บไซต์หรือโดเมน (Website/Domain) จำนวนมากที่ใช้บริการใน Server นั้นๆอยู่ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่คุณจะพบกับปัญหา อีเมล์ดีเลย์ Delay


เพราะ Web Server ต้องทำการประมวลผลตั้งแต่ข้อมูลธรรมดาที่แสดงในเว็บไซต์ (Website), ระบบฐานข้อมูล (Database), ระบบบริหารจัดการ (Control panel) ดังนั้นการประมวลผลเรื่อง อีเมล์ (Email) ถือ เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น และมากกว่านั้นในแต่ละ Server ยังประกอบด้วยผู้ใช้อีเมล์ (Email) เป็นจำนวน > 10,000 email  นอกจากจะใช้ทรัพยากรในส่วนอื่นๆแล้ว คุณยังไม่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน 10,000 email ใน Server นั้นด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้า หรือ Delay



2. ส่ง Email ไม่ออก

ความเข้าใจอีกอย่างหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจควรทราบ คือ เมื่อมี Email ใด Email หนึ่งใน Web Server/Hosting ได้ทำการส่ง Email โฆษณาไปหา Email Hotmail, Yahoo, Gmail มากผิดปกติ เพื่อโฆษณาขายสินค้าของตนเอง หากระบบ Web Server ไม่มีการจำกัด หรือ บริหารได้ไม่ดีพอ IP ของ Server คุณจะถูก Block โดย Email ค่ายนั้นๆ เช่น หากคุณส่ง Email ไปหาเพื่อนที่ใช้ Hotmail ได้ แต่ กลับส่ง Email ไปหาเพื่อนที่ใช้ Gmail ไม่ได้ แสดงว่า IP ของ Server คุณติด Black list (บัญชีดำ) ของ Gmail แต่แทนที่ Email ของบุคคลนั้นจะโดน Block คนเดียว แต่ไม่เป็นเช่นนั้น มัน Block IP ทั้ง Server เลยทีเดียว




3. รับอีเมล์ไม่ได้


ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งที่ต้องเข้าใจ คือ ผู้ให้บริการ Web Hosting/Server นั้นต้องเน้นปริมาณ Website/Domain มากๆ ใน Server แต่ละเครื่อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของธุรกิจเพื่อความคุ้มค่าในการดำเนินการ ดังนั้น หากคุณเจอปัญหา รับอีเมล์ไม่ได้ จึงไม่แปลก เพราะการทำงานของ Server มันต้องมีการทำงานที่ผิดพลาดบ้าง เนื่องจากมีผู้ใช้บริการใน Web Server จำนวนมาก การประมวลผลที่ต้องทำงานอย่างหนัก ประกอบกับจำนวนผู้ใช้ Email ใน Server นั้นๆ


4. ภาษาผิดเพี้ยน


เราต้องยอมรับว่า Web Server ทั้งหลายนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ทำงานสำหรับการเป็น Web Server ซึ่ง Email เป็นเพียงองค์ประกอบเดียวเท่านั้น ดังนั้น การแสดงผลด้านภาษา มันไม่ได้ถูกพัฒนาเพื่อการใช้งานอย่าต่อเนื่องหรือตรงตามความเป็นจริงดังนั้นจึงไม่แปลก หากคุณส่ง Email ที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทย, ญีปุ่น, จีน เมื่อผู้รับเปิดจะเกิดปัญหา คือ ภาษาผิดเพี้ยนไป เช่น แสดงเป็นอักษร???? เป็นต้น
การแก้ไขปัญหา



การแก้ไขปัญหา


หากคุณจำเป็นที่จะต้องใช้ Email@domain name ตัวเองในการดำเนินธุรกิจแทนการใช้ Free Email เช่น Hotmail, Gmail, Yahoo ไม่ว่าด้วยเหตุผลด้านความน่าเชื่อถือ หรือ อะไรก็แล้วแต่ คุณควรเลือกผู้ให้บริการที่เป็น Email Hosting/Server โดยเฉพาะ


เพราะระบบเหล่านี้จะถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อใช้งานในการติดต่อ Email ทางธุรกิจ และ Server มันก็จะประมวลผลแต่เรื่อง Email เท่านั้น รวมถึง ความรวดเร็วในการใช้งาน, Interface ก็ยังถูกพัฒนาอยู่ตลอดเพื่อให้รองรับภาษาต่างๆ อย่างเต็มที่  ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนให้คำแนะนำว่าควรรีบดำเนินการ ก่อนที่ปัญหาด้านบนจะประสบกับท่าน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย หรือ โอกาสของธุรกิจของคุณได้



บทความที่เกี่ยวข้อง




บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ผู้ให้บริการ Email Hosting และ Mail Server อันดับ 1 

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วิธีย้าย Domain ภายใต้ SpamExperts มาอยู่ภายใต้การดูแลของ Technologyland

Log in to the SpamExperts interface

1.Click "Overview"
2.Select the domain(s) that need to be transferred by selecting the checkbox next to the domain(s)
3.Use the drop down menu and choose "Transfer to an admin"


4.Set the destination administrator's username in the box provided
(As specified by Technologyland,)
5. click "Apply"

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

DNS Server is Blacklist คือ อะไร แก้ไขปัญหาอย่างไร ?




เมื่อปริมาณ Spam และ Junk Mail เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงผู้ส่ง Spam หรือ Spammer ก็หาวิธีแปลกๆใหม่ๆ มาส่งอีเมล์โฆษณาอยู่เรื่อยๆ ทำให้ผู้ให้บริการ Email Hosting ต้องหาวิธีในการรับมือที่เข้มงวดมากขึ้น จนบางครั้งก็มากจน คุณก็ต้องมาประสบปัญหาเช่นส่ง Eamil ไม่ออกด้วยเช่นกัน







DNS Server is Blacklist

Domain name ทุก Domain ต้องมี DNS Server หรือ ค่า NS1, NS2 นั่นเอง ซึ่งมีหน้าที่ในการสั่งการค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Domain ทั้งหมด เช่น Email (ผ่านค่า MX), Web Site (ผ่านค่า A Record หรือ Cname


มีผู้ให้บริการ Email Hosting จำนวนมาก ใช้ Server 1 ตัวทำหน้าที่ทุกอย่าง ตั้งแต่ DNS Server, Email Hosting, Web Hosting เมื่อ Email ของ User คนใดคนหนึ่งส่งออกมากผิดปกติ หรือ Website ของลูกค้าคนใดคนหนึ่งมีการส่ง Spam ออกไปจำนวนมากๆ ก็จะส่งผลให้ DNS Server นั้นติด Blacklist ไปด้วย เพราะ IP ของ DNS Server กับ Web Hosting เป็นเครื่องและ IP เดียวกัน


วิธีแก้ไขปัญหา

ผู้ให้บริการ Email Hosting ควรแยก DNS Server ออกมาเป็น Server ที่ทำหน้าที่ DNS โดยเฉพาะ ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องให้ผู้ให้บริการแก้ไขให้เท่านั้น เพราะเป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนระดับหนึ่ง ซึ่ง User หรือผู้ใช้งาน Email ทั่วไปคงไม่สามารถแก้ไขได้แน่ หากไม่ทำการแก้ไขปัญหา  IP ของ DNS Server ติด Blacklist ก็จะทำให้ส่ง Email ไปหาปลายทางหลายๆที่ไม่ได้ และจะเจอ Error "DNS Server is Blacklist" และปัญหาก็จะวนเวียนในลักษณะนี้ไปๆมาๆ


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด | ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพเยี่ยม

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Hop Count Exceeded คืออะไร


ตัวอย่างข้อความตีกลับ

The following message to <name@domain.com> was undeliverable.
The reason for the problem:
5.3.0 - Other mail system problem 554-'5.4.6 Hop count exceeded - possible mail loop'


Reporting-MTA: dns; sub.domain.com

Final-Recipient: rfc822;name@domain.com
Action: failed
Status: 5.0.0 (permanent failure)
Remote-MTA: dns; [198.168.xx.xxx]
Diagnostic-Code: smtp; 5.3.0 - Other mail system problem 554-'5.4.6 Hop count exceeded - possible mail loop' (delivery attempts: 0)


ข้อความตีกลับเกิดขึ้นเมื่อ ผู้ส่งพยายามส่งข้อความไปที่โฮสของ Outlook.com ไปข้อความไปไม่ถึงผู้รับ โดยจะถูกตีกลับทันที

สาเหตุ

สาเหตุมาจากการตั้งค่าใน Server ไม่ถูกต้อง ของ Server ปลายทาง

วิธีการแก้ไขปัญหา (คลิกที่นี่)

ผู้ให้บริการ Email Hosting บริการรวดเร็ว ประทับใจ

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กรณีศึกษา: การแก้ปัญหาส่ง Email ไปภายนอกไม่ได้เพราะโดน Outbound Firewall Block URL หรือ Domain ใน message email




ในช่วงเวลาที่ Domain ติด Blacklist SpamRL จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานอีเมล์พอสมควร เนื่องจากจะทำให้การรับ-ส่งอีเมล์นั้นสำเร็จน้อยลง นับว่าเป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับผู้ใช้เลยทีเดียว



อีเมล์ที่ถูกปฏิเสธการส่งออก จะเข้าสู่ระบบแจ้งเตือน


จากภาพ Old Flow (ที่มีปัญหาการส่งออก)

      อีเมล์ถูกส่งออกมา เพื่อเตรียมพร้อมที่จะส่งออก แต่โดนตรวจเช็คและพบว่าเนื้อหาในอีเมล์นั้น มีรายชื่อที่ติด SpamRL อยู่ Outbound Spam Check จึงไม่ยอมให้อีเมล์ฉบับนั้นส่งออกได้ อีเมล์ฉบับดังกล่าวจึงเข้าระบบแจ้งเตือน เมื่อตรวจสอบพบปัญหาแล้วจึงทำการแก้ไข เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานของ User ดังนี้



เพิ่ม server ที่ใช้เพื่อการส่งออก โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบ เพื่อให้อีเมล์ส่งออกได้


จากภาพ New Flow (แก้ไขปัญหาการส่งออก)

       ทำการแก้ปัญหาโดย นำ server ตัวใหม่เข้ามาเพื่อใช้ในการดีดอีเมล์ออก โดยไม่ผ่านระบบการตรวจสอบใดใด ทำให้อีเมล์สามารถส่งออกได้ตามปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

TL - LAB -  ผู้เชี่ยวชาญด้าน Email Hosting อันดับ 1

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

[GoCloud] ส่งอีเมล์จากหน้า webmail แล้วมี Error ขึ้น

อาการลักษณะนี้หากเป็นจะเป็นทั้งหมดกับทุก User ที่อยู่ใน Domain เดียวกัน โดยอาการที่พบคือ เมื่อกดปุ่ม send ใน webmail แล้วมี error ตัวแดงๆ ขึ้นมาทันทีที่ "มุมขวาล่าง" ของหน้าจอ ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาในระดับ Email Hosting

ลักษณะอาการที่พบ


ลักษณะอาการที่แสดง


  • เมื่อกดปุ่ม Send Mail แล้วมี Error  ขึ้นมาทันทีในด้านขวาล่าง
  • User ที่อยู่ใน Domain ทั้งหมด ไม่สามารถส่งอีเมล์ออกได้ ไม่ว่าจะ ผ่าน webmail หรือ Outlook


สาเหตุและการแก้ไขปัญหา

  • ลูกค้ามีการส่งอีเมล์เกินจำนวนที่ Email Hosting กำหนดไว้ ให้ทำการ Reset ตัวนับในระบบ Cpanel ของบริษัทฯ
  • ตรวจสอบ Email Usage ของ Domain ที่แจ้งเข้ามา ว่ามี  User ใดติดไวรัส หรือ ส่งอีเมล์ซ้ำๆ กัน ในเวลาเดียวกัน หากใช่ 
  • รีบเปลี่ยน Password ของ User ที่มีปัญหาทันที
  • แนะนำให้ลูกค้ารีบทำการ Scan Malware ในเครื่องทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ผู้ให้บริการ ระบบ Email Hosting สำหรับองค์กร ที่ดีที่สุด

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การตั้งค่า Whitelisted domain เพื่อให้ได้รับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้ง


ปัญหารับอีเมลจากผู้ส่งไม่ได้

สาเหตุหลักมักเกิดจาก Server ของผู้ส่งติด Blacklisted หรือว่า DNS ของ Domain ผู้ส่งติด Blacklisted ซึ่งจะทำให้ตัวกรองของ Server ผู้รับนั้น ไม่กล้ารับอีเมลจากผู้ส่งที่ติด Blacklisted

ถ้าเราต้องการรับอีเมลจากผู้ส่งทุกครั้งทำอย่างไร?

การเพิ่ม Domain ของผู้ส่งให้เป็น Whitelisted จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ โดยผู้รับต้องมีตัวกรองจัดการที่ดี สามารถเพิ่มโดเมน หรืออีเมล เป็น Sender whitelist ได้ แม้ว่าผู้ส่งจะใช้ Server ที่ติด Blacklisted ส่งเข้ามา Server ผู้รับก็จะมองข้ามข้อนี้ไป เนื่องจากเราตั้งค่าให้โดเมนผู้ส่งเป็น Sender whitelist แล้ว ในทุก ๆ ครั้งที่มีการส่งอีเมลจาก Sender ดังกล่าว ผู้รับก็จะสามารถรับข้อความได้ทุกฉบับ

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่ทำให้เราไม่ได้รับอีเมลจากผู้ส่ง เช่น ปัญหา Bandwidth ของ Server ผู้ส่งเต็ม ทำให้อีเมลไปคิวใน Sender's server ซึ่งในส่วนนี้จะใช้วิธี Add whitelist ไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาของ Server ต้นทางเอง

Technology Land Co., Ltd.

Email hosting สำหรับองค์กร บริการที่ดีที่สุด

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิธีสมัครอีเมล์(Email)บริษัท ให้เป็น .com/.co.th

บทความโดย
MailDee.com ผู้ให้บริการสมัครอีเมล์(Email)บริษัทภายใต้ชื่อ .com หรือ .co.th ราคาถูกคุณภาพสูง อันดับ 1 ของประเทศไทย
วิธีสมัครอีเมล์ในนามบริษัท (Business Email) .com/.co.th
วิธีสร้าง/สมัครอีเมล์(Email)บริษัท
หลายๆคน ที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ หรือเป็นผู้ประกอบการทั้งเปิดใหม่ หรือเปิดมานานแล้ว ต่างต้องการสมัครหรือสร้าง Email ภายใต้ชื่อบริษัทตัวเอง เช่น sale@abc.com โดยที่ abc.com สามารถตั้งชื่อเป็น ชื่อบริษัทของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็น .com หรือ .co.th

ขั้นตอนการสมัครอีเมล์(Email)บริษัท .com และ .co.th

  1. ให้คิดชื่อ @company.com/.co.th ชื่อข้างหลัง @ ในภาษาทางเทคนิคเรียกว่า โดเมนเนม (Domain name) ซึ่ง Domain นี้ต้องไม่ไปซ้ำกับใครในโลก

    1.1 โดยถ้าเป็น .com ก็ไม่ต้องใช้เอกสารอะไรเลย
    1.2 ถ้าเป็น .co.th ต้องใช้ใบรับรองบริษัท (หน้าแรก) ที่มีอายุไม่เกิน 60 วัน พร้อมตราประทับ และ เซ็นต์โดยผู้มีอำนาจ
  2. หลังจากนั้นให้หาผู้ให้บริการอีเมล์ Email สำหรับบริษัท  (วิธีเลือกผู้ให้บริการ) เป็นผู้ดำเนินการให้ โดยบริษัทฯ ผู้ให้บริการจะสามารถดำเนินการเรื่องทั้งหมดให้ได้หมดเลย โดยที่คุณไม่ต้องดำเนินการเอง
ค่าใช้จ่ายและงบประมาณในการสมัครอีเมล์
ในท้องตลาดจะมีผู้ให้บริการโดยแยก ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ 

1. แบบที่โฆษณาว่าใช้ Email ได้ไม่จำกัด (ที่ถูกแถมมากับ Hosting) ซึ่งเมื่อคุณใช้งานจริงๆ จะพบปัญหาจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ให้บริการราคาที่ค่อนข้างถูก 

2.แบบที่ขายแต่ Email สำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ ผู้เขียนแนะนำว่า หากท่านต้องใช้ Email ในการสื่อสารเป็นหลัก ต้องเลือกผู้ให้บริการประเภทนี้ โดยมักขายเป็น Account เช่น หากคุณต้องการใช้ Email จำนวน 30 Account ผู้ให้บริการจะทำการประเมินราคามาให้ โดยมีตั้งแต่หลักพันไปถึงหลักหลายหมื่นต่อปี ขึ้นอยู่กับจำนวนและปริมาณ Email ที่คุณต้องการใช้

บทความที่เกี่ยวข้อง

- "วิธีเลือกซื้อ Email (อีเมล์) สำหรับชื่อ @โดเมนตัวเอง/องค์กร/บริษัท แบบประหยัด(ถูก) และดี"
Domain Name (โดเมนเนม สำหรับ Email) คืออะไร และควรตั้ง Email ชื่อบริษัท อย่างไร แบบมืออาชีพ



บทความโดย
MailDee.com ผู้ให้บริการสมัครอีเมล์(Email)บริษัทภายใต้ชื่อ .com หรือ .co.th ราคาถูกคุณภาพสูง อันดับ 1 ของประเทศไทย



วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

[GoCloud] วิธี Add account ลงบน Gmail app (Android OS)

วิธีเพิ่มบัญชีอีเมลบริษัทฯ ลงบน Gmail App ระบบ Android OS

1. จากเมนูหลัก เข้าไปที่ Settings

ไปที่ Settings

2. เลือก Accounts & Sync
Accounts & Sync
3.  เพิ่มบัญชี

Add account
 4. เลือกประเภทบัญชี IMAP ส่วนตัว

Personal (IMAP)

5. กรอกชื่อบัญชีอีเมล จากนั้นเลือก Manual Setup

Manual Setup
6. เลือกประเภทบัญชีอีเมลอีกครั้ง

จากนั้นกด Next

7. กรอกรายละเอียดของ Server ขารับ

Username: ชื่อบัญชีอีเมล (มี @domain.com)
Password: รหัสผ่านของบัญชีอีเมล
Server: mail.(ชื่อโดเมนของเรา)
Port: 143 Security type: None

หรือแบบมี SSL ให้กรอกตามค่านี้

Username: ชื่อบัญชีอีเมล (มี @domain.com)
Password: รหัสผ่านของบัญชีอีเมล
Server: mail.(ชื่อโดเมนของเรา)
Port: 993 Security type: SSL/TLS (accept all certificates)
8. กดยืนยัน Server
กดปุ่ม Proceed
9. กรอกรายละเอียดของ Server ขาออก

กรอกรายละเอียด จากนั้นกด Next

Username: ชื่อบัญชีอีเมล (มี @domain.com)
Password: รหัสผ่านของบัญชีอีเมล
Server: mail.(ชื่อโดเมนของเรา)
Port: 465 Security type: SSL/TLS (accept all certificates)
หรือ 587 (None)
10. กดยืนยัน Server อีกครั้ง

กดปุ่ม Proceed

11. ตั้งค่าบัญชี
จากนั้นกด Next
ตั้งชื่อ Display ของบัญชีที่จะแสดงบนอุปกรณ์จากนั้นกด Next
12. เมื่อบัญชีถูกเพิ่มสำเร็จแล้วจะมีชื่อบัญชีอีเมลปรากฏที่หน้า Account Settings ดังภาพ


บัญชีอีเมลเพิ่มสำเร็จ


บัญชีอีเมลจะมาปรากฏอยู่ใน Gmail App บน Android
เราก็สามารถใช้งานอีเมลสำหรับองค์กรได้ตามปกติ

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด

ผู้นำด้านการบริการ Email Hosting สำหรับองค์กร ใช้งานได้ทุก Platform

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กรณีที่ 1 ลูกค้ายังไม่มีโดเมน

กรณีที่ 1 ลูกค้ายังไม่มีโดเมน


1) เตรียมเอกสาร เพื่อ Upload ขึ้นเว็บไซต์ https://admin.technologyland.co.th/pay/

- หลักฐานการชำระค่าบริการ (PDF, JPG, GIF, PNG)
- เอกสารยืนยันการใช้บริการอีเมล์โฮสติ้ง ซึ่งอยู่ในใบเสนอราคาหน้าที่ 3

ให้ผู้มีอำนาจเซ็นยอมรับเงื่อนไขและสัญญาการให้บริการ


2) เตรียมข้อมูลทางเทคนิค ส่งมาให้ทางบริษัทฯ

ส่งรายชื่ออีเมล์ที่ต้องการติดตั้งมาทางอีเมล์ของผู้ให้บริการ

หมายเหตุ สำหรับลูกค้าที่ต้องการจดโดเมน .co.th จะต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

กรณีศึกษา : การแก้ปัญหา Mail Server ปลายทางตีกลับ Email บางฉบับ จากต้นทาง




บางครั้งเราอาจพบกับปัญหา การส่งอีเมล์แล้วถูกตีกลับโดยปลายทาง ซึ่งมีสาเหตุในการตีกลับที่แตกต่างกันออกไป วันนี้เรามีตัวอย่างปัญหา และวิธีการแก้ปัญหามาให้ศึกษากัน




out 4  ไม่สามารถส่งอีเมล์ไปที่ปลายทางได้


จากภาพ Old Flow  (มีปัญหาการส่งออก)

     ขาออกของโดเมนต้นทาง นำอีเมล์ไปยัง outbound ซึ่งมี server ย่อยๆ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวดีดอีเมล์ออกจากระบบ โดยมีการทำงานลักษณะสุ่มใช้ตัวดีด จากภาพ server ย่อย ตัวที่ 4ไม่สามารถดีดอีเมล์ออกไปได้ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการติด firewall ของ server ปลายทางทำให้ไม่สามารถส่งอีเมล์ได้



เพิ่ม server เพื่อใช้ในการส่งออกโดยเฉพาะ เมล์ไปถึงปลายทางได้ทุกฉบับ


วิธีการแก้ปัญหา (แก้ปัญหาการส่งออก)

      จากภาพ New Flow ในเมื่อเราไม่สามารถควบคุมการทำงานแบบ Old Flow ได้ เราจึงทำการแก้ไขโดย นำserver ตัวใหม่เข้ามาเพื่อใช้ในการดีดอีเมล์ออกโดยเฉพาะ โดยทำการทดสอบเบื้องต้นว่า เมื่อส่งอีเมล์ออกไปแล้ว ปลายทางได้รับหรือไม่ หากในครั้งแรกนั้น ปลายทางได้รับอีเมล์ปกติ เราสามารถนำ server นี้ มาใช้งานจริงได้ทันที 


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การย้ายผู้ดูแลโดเมน .th มีขั้นตอนอย่างไร

ย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมมาให้ทางเราดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้า Email hosting

เนื่องจาก Domain th ผู้ถือครอง หรือเจ้าของโดเมนนั้น คือนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วน, บริษัท, บริษัท (มหาชน) ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงผู้ดูแล Domain นั้นต้องใช้เอกสารที่มีผลทางกฏหมาย โดยต้องมีเอกสาร 2 ฉบับนี้ในการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

สำหรับการโดเมนเนม .th มาให้ทางบริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด เป็นผู้ดูแลแทนนั้น สามารถทำเอกสารตามตัวอย่างนี้ได้เลย หรือสามารถขอแบบฟอร์มจากทางบริษัท ฯ ได้ทางอีเมล

แบบฟอร์มเอกสารขอเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมนเนม .th


สิ่งที่ต้องแก้ไขจากแบบฟอร์ม

1. ใส่หัวจดหมายของบริษัทหรือหน่วยงาน
2. ลงวันที่เอกสาร
3. ระบุชื่อบริษัทที่ต้องการเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมนเนม
4. ระบุชื่อโดเมนเนม
5. ประทับตราบริษัทฯ
6. ลายเซ็นกรรมการบริษัท/ผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัทฯ
7. ลงชื่อตัวบรรจงของกรรมการบริษัท/ผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัทฯ
8. ระบุตำแหน่งของผู้ลงนาม


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting/Server สำหรับธุรกิจ อันดับ 1 ของประเทศไทย
สอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-105-4104
Auto Fax: 02-426-5924

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

การย้ายผู้ดูแลโดเมน ac.th มีขั้นตอนอย่างไร

ย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมมาให้ทางเราดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้า .ac.th

เนื่องจาก Domain ac.th ผู้ถือครอง หรือเจ้าของโดเมนนั้น คือนิติบุคคลในรูปแบบสถานศึกษา ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงผู้ดูแล Domain นั้นต้องใช้เอกสารที่มีผลทางกฏหมาย โดยต้องมีเอกสาร 2 ฉบับนี้ในการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

สำหรับการโดเมนเนม ac.th มาให้ทางบริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด เป็นผู้ดูแลแทนนั้น สามารถทำเอกสารตามตัวอย่างนี้ได้เลย หรือสามารถขอแบบฟอร์มจากทางบริษัท ฯ ได้ทางอีเมล

แบบฟอร์มเอกสารขอเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมนเนม ac.th



สิ่งที่ต้องแก้ไขจากแบบฟอร์ม

1. ใส่หัวจดหมายของบริษัทหรือหน่วยงาน
2. ลงวันที่เอกสาร
3. ระบุชื่อบริษัทที่ต้องการเปลี่ยนผู้ดูแลโดเมนเนม
4. ระบุชื่อโดเมนเนม
5. ประทับตราบริษัทฯ
6. ลายเซ็นพร้อมทั้งประทับตรา และเซนต์รับรองโดยผู้อำนวยการโรงเรียน
7. ลงชื่อตัวบรรจงของผู้อำนวยการโรงเรียน
8. ระบุตำแหน่งของผู้ลงนาม

เอกสารเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบ

1. หนังสือจัดตั้งสถานศึกษา (กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งโรงเรียนได้ ให้ใช้ หนังสือรับรอง หน่วยงานที่สังกัด ที่ตั้งของโรงเรียนแทน

ตัวอย่างหนังสือจัดตั้งสถานศึกษา


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting/Server สำหรับธุรกิจ อันดับ 1 ของประเทศไทย
สอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-105-4104
Auto Fax: 02-426-5924

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

[Outlook] วิธีย้ายอีเมล์ที่เข้า Junk E-mail ลงใน Inbox แบบถาวร



ปัญหาอีเมล์ที่โปรแกรม Outlook ดูดลงมานั้น บางครั้งโปรแกรม Outlook จะคิดว่าเป็นอีเมล์ขยะ ซึ่งจะทำให้อีเมล์ฉบับดังกล่าวไปอยู่ใน Junk E-mail ทำให้เราหาอีเมล์ที่ต้องการไม่เจอ ดังนั้นการที่จะไม่ให้อีเมล์เข้าไปอยู่ใน Junk E-mail สามารถทำได้ดังนี้

วิธีย้ายอีเมล์ที่เข้า Junk E-mail ลงใน Inbox แบบถาวร สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้


วิธีที่ 1

1. เข้า Junk E-mail เพื่อหาอีเมล์ที่ต้องการ

เมื่อเข้าหน้า Junk E-mail จะเห็นอีเมล์ที่ Outlook คิดว่าเป็นเมล์ขยะ


2. เลือกอีเมล์ที่ไม่ต้องการให้เข้าใน Junk E-mail อีก

ให้คลิกขวาอีเมล์ที่ต้องการ จากนั้นเลือก Junk > Never Block Sender's Domain แล้วกด OK
การเลือก Never Block Sender's Domain จะหมายถึง
อีเมล์ทุกฉบับของโดเมนที่เลือกจะไม่ถูกคิดว่าเป็นอีเมล์ขยะ


3. จากนั้นให้ย้ายอีเมล์เข้า inbox ตามปกติ

คลิกขวาที่อีเมล์ จากนั้นเลือก Junk > Not Junk
อีเมล์จะถูกย้ายไปอยู่ใน Inbox

หลังจากที่ดำเนินการแล้ว
อีเมล์ทุกฉบับของโดเมนที่เลือกจะไม่เข้า Junk E-mail อีก


วิธีที่ 2


1. ให้เลือกหัวข้อ Junk E-mail Options..

หัวข้อ Junk E-mail Options.. คือการเข้าไปจัดการ Junk E-mail


2. จะแสดงหน้าต่างจัดการ Junk E-mail

ให้เลือก Tab Safe Senders จากนั้นกด Add
เพื่อใส่อีเมล์ หรือ โดเมน ที่ไม่ต้องการให้เข้า Junk E-mail
เช่น abc@ex123.com หรือ @ex123.com เป็นต้น


3. เมื่อใส่อีเมล์ที่ต้องการแล้ว ก็จะแสดงอีเมล์ในหน้าต่างนี้


อีเมล์ หรือ โดเมนใดที่ใส่แล้ว จะไม่เข้ากล่อง Junk E-mail แบบถาวร

บทความที่เกี่ยวข้อง





บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Server อันดับ 1

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทำไมต้องมี NS มากกว่า1ตัว


ในการเข้าดูเว็บไซต์ในแต่ละครั้งจะต้องผ่านกระบวนการในการเรียกเพื่อแสดงข้อมูลดังนี้

พิมพ์เว็บไซต์ที่ต้องการเข้า เช่น www.abc.com แล้วกด enter จากนั้น ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต) จะวิ่งไปหา NS (Name Server) และไปยัง DNS (Domain Name Server) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวม IP ของเว็บไซต์ที่เราต้องการเข้า เมื่อได้ค่า IP ที่ต้องการแล้ว ก็จะสามารถเข้าถึงหน้าเว็บไซต์และแสดงผลมายังหน้าจอของผู้ใช้ได้


ภาพแสดงผล กรณีที่ NS1 สามารถใช้งานได้ปกติ ไม่ล่ม




ดังนั้น หมายความว่า NS (Name Server) นั้น มีความสำคัญ หากNS (Name Server)]ล่ม ก็จะไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าเหตุใด จึงควรมีมากกว่า 1 ตัว หากตัวที่1ล่ม ก็ยังมีตัวที่2 ที่สามารถทำงานแทนตัวที่1ได้ ทำให้เราเข้าถึงเว็บไซต์ได้ตามปกติ


ภาพแสดงผล กรณีที่ NS1 ไม่สามารถใช้งานได้ ISP จะเรียกใช้ NS2 แทน


บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดยบริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Mail Server สำหรับธุรกิจอันดับ 1 ของไทย


วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

EPP Status Codes คืออะไร


EPP Status Codes จำเป็นต้องรู้หรือไม่

EPP Status เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Domain Status ซึ่งจะมี Codes แสดงสถานะของโดเมนเนม โดเมนหนึ่งจะมีสถานะอย่างน้อย 1 Status Code หรือบางครั้งอาจจะมีมากกว่า 1 Status Code ก็เป็นได้

ดังนั้นผู้ที่จดทะเบียนโดเมน (หรือเป็นเจ้าของโดเมนเนม) ควรจะรู้จักแต่ละ Status codes ว่ามันหมายถึงอะไร เพราะมันจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า โดเมนเนมนั้นยังทำงาน หรือหยุดการทำงานไปแล้ว รวมถึงช่วยป้องกันการถูกขโมยชื่อโดเมนด้วย

Server Status Codes

 Server Status codes ที่พบเห็นบ่อย ๆ

1. addPeriod เป็นสถานะที่เริ่มทำการจดโดเมนเนมครั้งแรก ถ้าผู้จดโดเมนเนมต้องการลบโดเมน Registrar จะให้เครดิตสำหรับค่าใช้จ่ายในการจดโดเมนเนม

2. autoRenewPeriod เป็นสถานที่เกิดขึ้นตอน Domain หมดอายุแล้ว และอยู่ในช่วงต่ออายุ (Renewed) อัตโนมัติ ซึ่ง Registrar จะให้เครดิตสำหรับค่าใช้จ่ายในการต่ออายุโดเมนเนม

3. Inactive สถานะแสดงถึง DNS ไม่ทำงาน ให้ตรวจสอบการทำงานของ Name Server ว่าปกติหรือไม่

4. ok นี่คือสถานะมาตรฐาน (สถานะปกติ) สำหรับโดเมน ซึ่งหมายความว่ามันไม่ได้มีการดำเนินการอยู่ระหว่างดำเนินการหรือลักษณะต้องห้าม

5. pendingCreate สถานะนี้คือรอการตอบรับหรือประมวลผลเพื่อสร้างโดเมนเนมใหม่

6. pendingDelete สถานะนี้จะมาคู่กับสถานะ redemptionPeriod หรือ pendingRestore ถ้าโดเมนนั้นมีสถานะเป็น redemptionPeriod มากกว่า 30 วันและไม่ได้เรียกคืนภายในระยะเวลา 30 วัน โดเมนจะถูกลบออกจากฐานข้อมูลของ Registrar ถ้าพบสถานะเหล่านี้ให้รีบติดต่อ Registrar เพื่อแก้ไข

7. pendingRenew คือ สถานะรอต่ออายุโดเมนเนม ถ้าไม่ต้องการต่ออายุโดเมนเนมเราก็ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ และปล่อ่ยให้โดเมนเนมหมดอายุไป โดยไม่ต้องชำระค่าต่อายุโดเมนเนม

8. pendingRestore เป็นสถานะที่รอ Registrar คืนโดเมนเนมให้ ต่อจากสถานะ redemptionPeriod แต่ถ้า Registrar ไม่ได้ Restore ข้อมูลโดเมนเนมให้ สถานะจะกลับไปที่ redemptionPeriod อีกครั้ง

9. pendingTransfer สถานะแสดงว่า การย้ายโดเมนเนมอยู่ในระหว่างดำเนินการ ถ้า Registrar ดำเนินการย้ายโดเมนเนมให้สำเร็จ สถานะก็จะเปลี่ยนเป็น ok

10. pendingUpdate คือ สถานะอยู่ในระหว่างการ Update

11. redemptionPeriod คือ Registrar ได้ขอให้ผู้จดทะเบียนโดเมนเนมลบโดเมนเนมออกจากระบบ ซึ่งโดเมนจะคงสถานะนี้ไว้ประมาณ 30 วัน ก่อนที่ Registrar จะทำการลบโดเมนเนมออกจากฐานข้อมูล

12. transferPeriod เป็นสถานะผ่อนผันในช่วงระหว่างการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
Email hosting คุณภาพสูง สำหรับองค์กร