แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา รับอีเมล์ไม่ได้ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา รับอีเมล์ไม่ได้ จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Error "no such user here" แปลว่าอะไร ?

การส่งอีเมล์ในบางครั้ง เราอาจจะได้รับอีเมล์ตีกลับ โดยอีเมล์ที่ตีกลับมาจะมี Error บอกรายละเอียด ว่าทำไมถึงไม่สามารถส่งอีเมล์ไปถึงยังปลายทางได้ เราสามารถตรวจสอบ Error ต่างๆ และหาสาเหตุเบื้องต้นได้เอง โดยดูข้อความจาก Error (ข้อความในอีเมล์ตีกลับ จะมีรายละเอียดจำนวนมาก ให้สังเกตที่ Keyword)


*************************
ตัวอย่าง

Error : No Such User Here

แปลว่า :  email  ปลายทางนั้นไม่มีอยู่จริง เป็นไปได้ว่าผู้ส่งอาจพิมพ์ชื่ออีเมล์ผิด ต้องตรวจสอบใหม่

*************************

วิธีการแก้ไข

1. ตรวจสอบ E-mail ว่าได้พิมพ์ถูกต้องหรือไม่ เช่น มีสัญลักษณ์พิเศษติดกับ  E-mail
2. ตรวจสอบกับ User ปลายทางว่าแจ้ง E-mail มาถูกต้องหรือไม่

[Outlook] Server error: '452 Too many recipients.' แก้ไขอย่างไร



 Server error: '452 Too many recipients.'

โดยทั่วไปหาก Sender ได้รับข้อความตีกลับ (NDR) ที่มีเนื้อหาดังตัวอย่างตามภาพแล้ว มักจะเกิดจากการส่งอีเมล์ไปยังผู้รับมากเกินไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ Mail Server กำหนด ปกติแล้วจะส่งได้มากถึง 50 ผู้รับต่อครั้ง แต่ในกรณีนี้ปัญหาอยู่ที่ว่า Sender พยายามส่งออกอีเมล์เพียงแค่ 11 คนเท่านั้น ก็ได้รับอีเมล์ตีกลับจากระบบแล้ว เรามาตรวจสอบดูตัวอย่างพร้อม ๆ กัน
อีเมล์ตีกลับจาก System Administrator

ตัวอย่างข้อความตีกลับที่ส่งอีเมล์ไปยังผู้รับเกิน 10 คน

วิธีการเช็ค Header ของอีเมล์เพื่อตรวจสอบว่าอีเมล์ฉบับดังกล่าวส่งมาจากที่ใด

ไปที่ File

 คลิกปุ่ม 'Properties'

Header จะแสดงอยู่ที่ช่อง 'Internet Headers'

วิธีการวิเคราะห์ปัญหา

จากที่เราพยายามค้นหา Header ของอีเมล์ ก็พบว่าอีเมล์นี้ไม่มี Header แสดงว่า สาเหตุที่ Sender ได้รับอีเมล์ตีกลับ ไม่ได้มาจากการตั้ง Sending Limited ของ Mail Server ของผู้ให้บริการอย่างแน่นอน

จากนั้นได้ทดสอบสมมติฐานที่ 2 คือ ให้ผู้ส่ง Login ไปยัง Webmail และทำการส่งข้อความไปยังผู้รับจำนวน 11 อีเมล์ ปรากฏว่าสามารถส่งออกได้สำเร็จ

ดังนั้นผู้เขียนจึงให้ผู้ส่งทำการทดสอบอีกครั้ง โดยการเปลี่ยนสัญญาณอินเตอร์เน็ต จาก ISP หนึ่ง ไปยังอีก ISP หนึ่ง โดยใช้ Air Card เชื่อมต่อ Internet และส่งอีเมล์ดังกล่าวอีกครั้ง ผลปรากฏว่า เมื่อทำการส่งอีเมล์ไปยังผู้รับ 11 อีเมล์ ด้วยโปรแกรม MS Outlook สามารถส่งออกได้สำเร็จ

สรุปได้ว่า Server error: '452 Too many recipients.' ที่ผู้ส่งได้รับนั้น เป็นการตีกลับที่มาจากการจำกัดการส่งของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต

ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจึงต้องให้ทางผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตตรวจสอบไปยังระบบและแก้ไขปัญหาดังกล่าว



วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Error: Retry timeout exceeded แปลว่าอะไร

เกิดอะไรขึ้น?

ข้อความตีกลับ (NDR) ดังกล่าวเป็นปัญหาการติดต่อสื่อสารไปยัง Mail Server ปลายทาง ที่มันอาจจะพยายามทำการส่งอีเมล์ออกอยู่เรื่อย ๆ จนในที่สุดเกิดความล้มเหลว ทำให้อีเมล์ดังกล่าวที่ผู้ส่งพยายามส่งไม่สามารถไปถึงผู้รับได้ ซึ่งแต่ละ Mail Server จะทำการส่งอีเมล์ออกตามความถี่ของแต่ละ Server ที่กำหนดไว้ เมื่อไม่สำเร็จ Sender ก็จะได้รับข้อความตีกลับว่า "Retry timeout exceeded"


ทำไมเราถึงได้รับ Error: Retry timeout exceeded

Error ตีกลับนี้เกิดขึ้นได้โดยหลายเหตุปัจจัยมากมาย ซึ่งต้องค่อย ๆ ศึกษาหาคำตอบ และดูเป็นกรณี ๆ ไป เช่น Mail Server ปลายทาง มี Mailbox เต็ม, ปัญหาเครือข่ายไร้สายภายในองค์กร, ปัญหา SMTP Server Port ถูกบล็อค เป็นต้น


วิธีการแก้ไข

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าสาเหตุของ Error นั้นอาจเกิดขึ้นมาจากหลายปัจจัย ทำให้เราต้องค่อยๆ หาทางแก้ไข หรือจุดบกพร่องเป็นกรณี ๆ ถ้ามั่นใจว่าปัญหาเกิดจาก Mail Server ปลายทาง ก็ยากที่จะแก้ไขได้ เนื่องจากว่า Sender คงไม่มีความสามารถไปควบคุม Mail Server ปลายทางให้รับอีเมล์ดังกล่าวได้ในขณะเกิดปัญหา แต่ก็มีวิธีแนะนำดังนี้

1. Save อีเมล์ตีกลับที่ผู้ส่งได้รับออกมาเป็น EML File
2. นำส่งผู้ให้บริการอีเมล์ของเรา หรือปรึกษา Technical Support ให้ตรวจสอบหาสาเหตุ
3. นำส่งผู้ให้บริการอีเมล์ของ Server ปลายทางให้ตรวจสอบหาสาเหตุ (กรณีปัญหาเกิดจาก Mail Server ปลายทาง)

ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

NDR คืออะไร สำคัญอย่างไร


NDR คืออะไร

NDR ย่อมาจากคำว่า Non-Delivery Report เป็นคำศัพท์เทคนิคของระบบอีเมล์ ซึ่งมีความหมายว่า รายงานแจ้งว่าอีเมล์ส่งออกไม่ประสบความสำเร็จ หรืออีเมล์ตีกลับ (Bounce Message) นั่นเอง

ทั้งนี้ผู้ส่งจะได้รับ NDR ได้นั้นมีอยู่หลายเหตุปัจจัยด้วยกัน เช่น

1. การส่งอีเมล์ออกโดยไม่มีการ Authentication ด้วย Username ระบบอีเมล์จึงมีการส่ง NDR แจ้งให้ผู้ส่งทราบว่า ข้อความดังกล่าวที่ส่งออกนั้น ไปไม่ถึงผู้รับ

2. Mailbox ของอีเมล์ปลายทางเต็ม เมื่อผู้ส่งส่งข้อความไปก็อาจจะได้รับข้อความตีกลับลักษณะว่า Mailbox is full. แต่กรณีนี้ต้องสังเกตด้วยว่าเป็นอีเมล์สแปมที่ส่งมาหลอกหรือไม่

3. NDR จาก Mail Server ปลายทาง เช่น Error 554 5.7.1 Relay access denied

4. Sender ส่งอีเมล์ที่มีไฟล์แนบเกิน พื้นที่ Mailbox ของ Server ปลายทาง

NDR สำคัญอย่างไร และใช้ตอนไหน

ข้อความตีกลับ หรือ NDR ช่วยได้อย่างมากต่อการตรวจสอบของผู้ให้บริการอีเมล์ Server หรือแม้กระทั่ง End-user เองก็สามารถอ่าน NDR ได้ว่าอีเมล์ที่ Sender ส่งนั้นไปไม่ถึงผู้รับด้วยเหตุใด
ดังนั้นเมื่อผู้ส่งส่งอีเมล์ไม่ออก NDR จึงสำคัญมา ถือเป็นกุญแจสำคัญในการตรวจสอบความผิดปกติของ Mail Server ที่จะรายงานผ่านข้อความตีกลับที่ผู้ส่งได้รับ

อ่าน NDR ไม่ออก (ไม่เข้าใจ) ทำอย่างไร?

บางครั้งที่ NDR จะแสดงคำศัพท์ หรือประโยคทางเทคนิค ที่ End-user อาจจะไม่เข้าใจกระจ่างชัด สามารถ Save อีเมล์ตีกลับดังกล่าวให้เป็นไฟล์ .EML แล้วส่งให้ผู้ให้บริการ Email Hosting Provider ช่วยถอดข้อความออกมาเป็นคำศัพท์หรือภาษาที่เราเข้าใจง่ายขึ้นได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

[MS Outlook] วิธี Export Email ฉบับที่ต้องการให้เป็น .eml
ผู้ส่ง (Sender) ส่งอีเมล์หาเรา และได้รับอีเมล์ตีกลับ
[GoCloud][Webmail] ส่งอีเมล์ออกแล้วไม่ถึงผู้รับ ไม่มีข้อความตีกลับ


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ1

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

554 Delivery Error : dd This user doesn't have a yahoo.com account แปลว่าอะไร?



การส่งอีเมล์ในบางครั้ง เราอาจจะได้รับอีเมล์ตีกลับ โดยอีเมล์ที่ตีกลับมาจะมี Error บอกรายละเอียด ว่าทำไมถึงไม่สามารถส่งอีเมล์ไปถึงยังปลายทางได้ เราสามารถตรวจสอบ Error ต่างๆ และหาสาเหตุเบื้องต้นได้เอง โดยดูข้อความจาก Error (ข้อความในอีเมล์ตีกลับ จะมีรายละเอียดจำนวนมาก ให้สังเกตที่ Keyword)

*************************

ตัวอย่าง


554 delivery error : dd This user doesn't have a yahoo.com account (xxx.xx@yahoo.com) 
แปลว่า : ไม่พบ E-mail Address ดังกล่าวในระบบ yahoo.com

*************************

วิธีการแก้ไข


1. ตรวจสอบ E-mail ว่าได้พิมพ์ถูกต้องหรือไม่ เช่น มีสัญลักษณ์พิเศษติดกับ Account E-mail

Error Recipient address rejected: User not found แปลว่าอะไร?

การส่งอีเมล์ในบางครั้ง เราอาจจะได้รับอีเมล์ตีกลับ โดยอีเมล์ที่ตีกลับมาจะมี Error บอกรายละเอียด ว่าทำไมถึงไม่สามารถส่งอีเมล์ไปถึงยังปลายทางได้ เราสามารถตรวจสอบ Error ต่างๆ และหาสาเหตุเบื้องต้นได้เอง โดยดูข้อความจาก Error (ข้อความในอีเมล์ตีกลับ จะมีรายละเอียดจำนวนมาก ให้สังเกตที่ Keyword)


*************************
ตัวอย่าง

Error *Recipient address rejected: User not found* 

แปลว่า : ถูกตีกลับโดยปลายทาง เนื่องจากไม่พบ E-mail Address ดังกล่าวในระบบ 

*************************

วิธีการแก้ไข

1. ตรวจสอบ E-mail ว่าได้พิมพ์ถูกต้องหรือไม่ เช่น มีสัญลักษณ์พิเศษติดกับ E-mail

Error : sorry, no mailbox here by that name แปลว่าอะไร?

การส่งอีเมล์ในบางครั้ง เราอาจจะได้รับอีเมล์ตีกลับ โดยอีเมล์ที่ตีกลับมาจะมี Error บอกรายละเอียด ว่าทำไมถึงไม่สามารถส่งอีเมล์ไปถึงยังปลายทางได้ เราสามารถตรวจสอบ Error ต่างๆ และหาสาเหตุเบื้องต้นได้เอง โดยดูข้อความจาก Error (ข้อความในอีเมล์ตีกลับ จะมีรายละเอียดจำนวนมาก ให้สังเกตที่ Keyword)


*************************
ตัวอย่าง

Error : sorry, no mailbox here by that name
แปลว่า : ไม่มี Email ชื่ออีเมล์บน Mail Server ปลายทาง ผู้ส่งอาจจะสะกดชื่อ Email ผิด

*************************

วิธีการแก้ไข

1. ตรวจสอบ E-mail ว่าได้พิมพ์ถูกต้องหรือไม่ เช่น มีสัญลักษณ์พิเศษติดกับ  E-mail

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วิธีปิดสแกนอีเมล์ของ YAC


โปรแกรม YAC เป็นโปรแกรมเล็กๆ ติดเครื่อง (Freeware) การทำงานจะเป็นลักษณะคอยลบไฟล์ขยะ ทำหน้าที่ควบคุม Registry เพื่อให้คอมพิวเตอร์นั้นทำงานได้ดีขึ้น แต่ก็มีการผิดพลาด เกี่ยวกับการใช้งาน Browser เพราะโปรแกรมมีความสามารถในการจำกัดการใช้งาน จึงอาจมีข้อผิดพลาดบางอย่างส่งผลกระทบต่อการ รับ-ส่งอีเมล์ อีเมล์ส่งไม่ออกบ้าง วิธีแก้ไข หากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ไม่ออก YAC อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้การทำงานบางอย่างไม่สอดคล้องกับการส่งอีเมล์ มีวิธีแก้โดยการ เลื่อนการทำงานของ YAC เพื่อช่วงระยะเวลาในการส่งอีเมล์ ไม่เกิดปัญหา  

ไปที่ Toolbar ด้านล่างขวามือ แล้วเลือกไปที่ตัวโปรแกรม YAC

ทำการคลิกขวา เลือกไปที่ Exit > ทำการเลือกระยะเวลาปิดการทำงานของโปรแกรม
แล้วก็ลองใช้งานอีเมล์ดูว่าผ่านไหม ถ้าผ่านก็แปลว่าเป็นที่โปรแกรม YAC


บทความที่เกี่ยวข้อง



บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้งที่ดีที่สุด ในราคาที่จับต้องได้

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เช่า Email Hosting ที่ไหนดี ที่สุด วิธีเลือกง่ายๆ เข้ามาดูกัน !

วิธีการเช่า Email Hosting บริษัทไหนดี



มีความซับซ้อนสูง

การทำ Email Hosting ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนสูง ซึ่งผู้ให้บริการ เช่า Email Hosting มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องมีความเชี่ยวชาญในด้านการให้บริการ Email Hosting ไม่อย่างนั้นแล้ว อาจจะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ใช้งานอีกจำนวนมาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อธุรกิจของผู้รับบริการอย่างหลึกเลี่ยงไม่ได้



ปัญหา Junk Mail ในการเช่า Email Hosting



ปัญหาอีเมล์โฆษณา

หลายๆคนที่ใช้บริการ Free Email เช่น Hotmail, Gmail มาจะทราบว่า อีเมล์โฆษณา ที่หลุดเข้าไปถึง Inbox จริงๆนั้นน้อยมาก ซึ่งต่างจากการ เช่า Email Hosting หาก Server ไม่มีระบบประมวลผลอันชาญฉลาด คุณจะพบว่า User แต่ละคนจะได้รับ Email โฆษณา 5-10 ฉบับ ต่อวันต่อ Account ทำให้เครื่องของผู้ใช้งานมีแต่อีเมล์เด้งเตือนว่าได้รับ Email แต่อีเมล์เหล่านั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลย




ปัญหาการส่ง Email ไม่ออก เพราะ Server ติด Blacklist


ส่งอีเมล์ไม่ออก

เนื่องจาก Email Hosting หนึ่งเครื่องประกอบไปด้วย User เป็นพันๆ Users ดังนั้นจึงมีโอกาสที่ IP ของ Email Server นั้นจะติด Blacklist และทำให้ User ในเครื่องทั้งหมดส่ง Email ไปหาปลายทางไม่ค่อยได้




ปัญหา Email รับส่ง ล่าช้า 



ได้รับอีเมล์ล่าช้า

ปัญหาได้รับ Email ล่าช้าเป็นปัญหาใหญ่ หากใช้งาน Email ในการติดต่อสื่อสารด้านธุรกิจ ซึ่งปัญหาดังกล่าวมักเกิดกับ Server ที่มีผู้ใช้งานรวมกันจำนวนมากๆ เพราะจะทำให้แย่ง Bandwidth กัน หรือ บางครั้ง Traffic ก็เต็มไปเลย จนทำให้ อีเมล์เข้า และ ออกล่าช้า ตามกันไป




ปัญหา Email Hosting ล่ม หรือ Mail Server ล่ม


Email ล่ม

ปัญหา Email ล่มยังเป็นปัญหาสำคัญ ที่ Users จำนวนมากต้องประสบ ซึ่งเมื่อระบบ Email ในบริษัทนั้นล่ม ย่อมส่งผลโดยตรงต่อพนักงาน และ การขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนั้นผู้ให้บริการเช่า Email Hosting ที่ดี ต้องมีศักยภาพด้านความเสถียรภาพสูง หรือ ล่มน้อยที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด | ผู้ให้บริการ Email Hosting แก่ลูกค้าธุรกิจ

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

[Outlook] วิธีเปลี่ยน SMTP Server ให้ Authen ผ่าน Server ตัวอื่น ๆ

การเปลี่ยน SMTP Server เกิดขึ้นเมื่อใด

เมื่อเกิดเหตุการณ์ส่งอีเมล์ไม่ออก แล้วผู้ส่งได้รับข้อความตีกลับในลักษณะ SMTP Blocked นั่นหมายความว่า SMTP Server (เซิฟเวอร์ขาออก) ของท่านนั้นอาจจะถูก Blacklisted อยู่ทำให้ส่งอีเมล์ออกไม่ได้ สำหรับผู้ส่งที่มีความจำเป็นเร่งด่วนให้ทำการเปลี่ยนค่า Config บนโปรแกรม MS Outlook เพื่อให้ส่งออกอีเมล์ด้วย SMTP Server อื่น ๆ แทน (ชั่วคราวเท่านั้น) โดยทำการเปลี่ยนค่าตามขั้นตอนดังนี้

1. เปิดโปรแกรม ​Microsoft Outlook

File > Account Settings

2. ไปที่ Account Settings เพื่อเปลี่ยนค่า Outgoing Mail Server

คลิกที่ชื่อบัญชีอีเมล์ จากนั้นกดปุ่ม 'Change'

3. เปลี่ยน Outgoing Mail Server เป็น Server สำรอง หรือ IP สำรอง

เมื่อเปลี่ยน Outgoing Mail Server เป็น IP ตามที่ผู้ให้บริการแจ้งแล้ว
ให้คลิกที่ปุ่ม 'More Settings...'

4. ไปที่แถบ 'Outgoing Server'

เลือก Log on using
Username: smtp@ชื่อโดเมน.com
Password: ตามที่ผู้ให้บริการแจ้ง
คลิก 'OK'

5. ทดสอบการตั้งค่า เพื่อเช็คว่าการตั้งค่านั้นถูกต้องไหม

คลิกปุ่ม 'Test Account Settings...'

6. สถานะการตรวจสอบ

สถานะ: เสร็จสมบูรณ์
คลิกปุ่ม 'Close'

เมื่อทำการเปลี่ยนค่าตามขั้นตอนดังกล่าวเสร็จสิ้น ผู้ส่งจะสามารถส่งข้อความอีเมล์ออกได้ผ่าน SMTP Server สำรองในทันที

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

Email Hosting/Server ผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้งสำหรับองค์กร

[Outlook] วิธีการตั้ง Auto Archive อีเมล์


Archive อีเมล์ คืออะไร ทำไมต้องทำ แล้วทำตอนไหนถึงจะเหมาะ


Archive อีเมล์คือการ Backup ข้อมูลอีเมล์ทั้งหมดในการส่ง รับ จัดเก็บทุกอย่างที่เกิดขึ้นในระบบ
ผู้ใช้งานสามารถเปิดดูย้อนหลังได้ ถึงแม้ว่าได้ทำการลบอีเมล์ใน Inbox หรือ Sent ไปแล้วก็ตาม

ประโยชน์ของ Archive อีเมล์

     ปัจจุบันอีเมล์เป็นช่องทางสำคัญในการติดต่อธุรกิจ อีเมล์แต่ละฉบับจึงมีความสำคัญมาก เราควรรู้วิธีเก็บรักษาข้อมูลเหล่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา ถ้าหากอีเมล์จริงใน Inbox หาย เราสามารถเข้าถึง Email Archive ที่ทำการจัดเก็บไว้ เพื่ออ่านหรือนำไปอ้างอิงได้อีกด้วย

วิธีการตั้ง Auto Archive อีเมล์




ไปที่ เครื่องมือ(Tools) > ตัวเลือก (Option)

ไปที่แถบ อื่นๆ(Other) > เก็บถาวรอัตโนมัติ(Auto Archive)

ทำการติ๊กเลือกรายการตั้งค่าเก็บอัตถาวรอัตโนมัติตามต้องการ > ตกลง (OK)

บทความที่เกี่ยวข้อง



   

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คนไทยชอบใช้อะไรใน google apps

ในปัจจุบัน หลายๆองค์กรเริ่มหันมาใช้บริการ Google Apps มากขึ้น เนื่องจากสามารถนำมาช่วยบริหารจัดการ การทำงานภายในได้อย่างเป็นระบบ สะดวก รวดเร็วว่องไว เหมาะกับยุคสมัย แต่รู้หรือไม่ว่าลักษณะนิสัยการใช้งาน Google Apps ของคนไทยเป็นอย่างไร

คนไทยนิยมใช้สิ่งใดใน Google Apps

เราขอจัดอันดับการใช้งานยอดนิยม 3 อันดับดังนี้

จัดอันดับความนิยมในการใช้งาน Google Apps




1.Gmail
หากจะพูดว่าสาเหตุหลักที่หลายๆองค์กรเลือกใช้ กูเกิ้ลแอป (Google Apps) นั้น เป็นเพราะว่าต้องการใช้งานระบบอีเมล์ ก็คงไม่ผิด และแน่นอนว่าเมื่อสาเหตุหลักคือการต้องการใช้อีเมล์ที่ดี นั่นแสดงให้เห็นว่า ทางองค์กรนั้นๆต้องมีการใช้งานอีเมล์สม่ำเสมอ และอาจเป็นตัวการสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจก็เป็นได้ 
อันดับ1 Gmail ระบบอีเมล์ที่ตอบโจทย์



Gmail เป็นระบบอีเมล์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ด้วยระบบที่มีความเสถียรภาพ มีการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ การป้องกันสแปมและการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน รวมไปถึงการใช้งานร่วมกับ Email Hosting ธรรมดาอื่นๆได้ ทำให้ Gmail ขึ้นมาครองแชมป์อันดับ 1 ได้ไม่ยาก





2.Google Drive
คุณคงเคยประสบปัญหา กับการที่ต้องเก็บเอกสารมากมาย แล้วเมื่อถึงเวลาที่จะเรียกใช้ กลับนึกไม่ออกว่า นำเอกสารเหล่านั้นไปเก็บไว้ที่ไหน ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณนำกูเกิ้ลไดร์ฟ (Google Drive) มาช่วยจัดการ 

อันดับ2 Google Drive พื้นที่เก็บไฟล์ออนไลน์ เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน



กูเกิ้ลไดร์ฟ (Google Drive) มีพื้นที่ให้คุณเก็บข้อมูลออนไลน์ได้ถึง 15 GB สามารถแชร์ไฟล์หรือให้คนเข้ามาดูไฟล์ได้โดยไม่ต้องแนบอีเมล์ ที่สำคัญสามารถเข้าถึงได้ทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ การทำงานเกี่ยวกับเอกสารนั้นจึงง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้กูเกิ้ลไดร์ฟ (Google Drive) ได้รับความนิยมรองลงมาเป็น อันดับที่2






3.Google Doc
ในการทำงานบางครั้ง เราต้องมีการระดมสมอง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดออกมา แต่การที่จะบอกให้แต่ละคนไปโน้ตใส่กระดาษของตัวเองแล้วค่อยมารวมกันทีหลังนั้น ก็คงไม่สะดวกเท่าไหร่นัก คงจะดีกว่าหากว่าเราสามารถทำงานไปพร้อมๆกันได้ทุกคน

อันดับ3 Google Doc จัดการงานเอกสารได้ง่ายๆ ทุกที่ทุกเวลา


กูเกิ้ลดอค (Google Doc) ประกอบไปด้วย 5 แอปย่อย ดังนี้
  1. Document
  2. Spreadsheets 
  3. Presentations
  4. Drawings
  5. Forms
ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการทำงานของคุณได้ ข้อดีของกูเกิ้ลดอค (Google Doc) ที่ทำให้ได้รับความนิยม คือ สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา แชร์ไฟล์โดยกำหนดผู้เข้าถึงได้ สามารถทำงานร่วมกันครั้งละหลายๆคนภายในไฟล์งานเดียวกันได้ พร้อมๆกับแชทและแสดงความคิดเห็นได้ในหน้านั้นๆ ที่สำคัญมีการบันทึกอัตโนมัติตลอดเวลาทำงาน ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น สะดวก ว่องไว ไม่ต้องกลัวว่าไฟล์งานจะสูญหาย





Calendar ตัวช่วยที่ถูกมองข้าม แต่ดีงามสำหรับคนขี้ลืม

หากคุณเป็นคนที่ขี้หลงขี้ลืม ต้องจดบันทึกเสมอว่าจะต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง แต่สุดท้ายคุณก็ลืมอีกว่า คุณจดอะไรไว้ที่ไหนบ้าง จะทำอย่างไรหากเรื่องที่คุณลืมเป็นเรื่องสำคัญ บทความนี้จะช่วยแก้ปัญหาของคุณได้

ในระบบของ Google Apps มีตัวหนึ่งที่มีความน่าสนใจ แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้ นั่นก็คือ Calendar


Calendar ปฏิทินที่จะช่วยให้คุณบริหารจัดการสิ่งต่างๆได้





น่าสนใจอย่างไร

  • ใช้ในองค์กร 
  1. คุณสามารถใช้ Calendar เป็นตัวกลางในการจัดประชุมได้อย่างง่ายดาย โดยแชร์กิจกรรมบน Calendar ให้คนอื่นๆเห็น หรือแม้กระทั่งนำของคนอื่นมาซ้อนทับของตัวเอง เพื่อหาช่วงเวลาที่ว่างตรงกัน 
  2. ในการจองห้องอบรม หรือห้องประชุม คุณสามารถแชร์ Calendar ให้คนอื่นเห็น เพื่อความสะดวกในการจอง ซึ่งจะแสดงวันและเวลาที่มีคนจองไปแล้ว และวันเวลาที่ยังว่าง ทำให้การจองไม่ยุ่งยากอีกต่อไป
แชร์ปฏิทินให้เพื่อนร่วมงาน ทำให้การติดต่อนัดหมายสะดวกขึ้น




  • ใช้ในชีวิตประจำวัน
  1. คุณสามารถกำหนดกิจกรรมต่างๆของคุณลงบน Calendar ได้
  2. รับแจ้งเตือนกิจกรรมผ่านทางอีเมล์ได้ คุณสามารถเข้าไปตั้งค่าให้มีการแจ้งเตือนทุกเช้าได้ ดังนี้เข้า Setting เลือก Notification จากนั้นเลือกฟังชั่นที่คุณต้องการ และเลือกที่ Daily Agenda เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รับการแจ้งเตือนในทุกๆเช้า ว่าวันนี้คุณมีกิจกรรมใดต้องทำบ้าง
  3. คุณสามารถเข้าดูกิจกรรมที่บันทึกเอาไว้ได้ แม้ในขณะออฟไลน์

ไม่ต้องกลัวว่าจะลืม ว่าต้องทำอะไร เพราะมีระบบแจ้งเตือน



เปลี่ยนจากการจดสิ่งต่างๆไว้หลายๆที่ มาไว้ใน Calendar ที่ช่วยเก็บทั้งข้อมูล และแจ้งเตือนได้ ภายในแอปเดียว เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกำหนดกิจกรรมต่างๆได้อย่างลงตัว และไม่ต้องกังวลว่าจะหลงลืมสิ่งใดอีกต่อไป

บอกลาปัญหา Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง email เข้า hotmail, gmail ไม่ได้


Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง Email ออกไม่ได้


เราเคยได้ยิน IP ติด Blacklist แต่เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ผู้ให้บริการ Email จำนวนมาก ทั้งฟรีอีเมล์, หรือ ผู้ให้บริการ Email Hosting ต่างๆ ต้องเพิ่มความเข้มงวดเพราะปริมาณ Spam mail ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการเพิ่ม Policy การรับ Email ว่า Sender Email นั้นๆ Domain ต้องไม่ติด Blacklist ทำให้ ผู้ใช้งาน Email Hosting โดยเฉพาะในไทย เกิดปัญหาไม่สามารถส่ง Email ไปยังปลายทางบางที่ได้ เช่น hotmail, gmail และ Email Server ปลายทาง

สาเหตุของปัญหา Domain ติด Blacklist



ใน Web Server 1 เครื่อง มีเว็บไซต์ หลายพันเว็บอาศัยอยู่

โดยเ​ฉพาะเว็บหรือ Domain ที่สร้างจาก Open Source มีความเสี่ยงสูง หากไม่ได้ตั้งค่าให้ถูกต้อง

  • หากใน Web Server ที่ Domain ของคุณอยู่ แต่อย่าลืมว่ายังประกอบด้วยเว็บอื่นๆ ใน Web Server อีกหลายร้อย หรือ หลายพันเว็บอาศัยอยู่ด้วย
  • เมื่อ Web ใดเว็บหนึ่งถูกฝังไวรัสไว้ใน File ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเว็บที่สร้างมาจาก Open Source และมีการ Download Plugin ต่างๆมาลง โดยไม่ได้ตั้งค่าเรื่องความปลอดภัยให้ถูกต้อง
  • ไวรัสนั้นจะทำการส่ง Spam mail โดยใช้ Serder Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com หรือ domain ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Server นั้น วนไปวนมา
  • เมื่อมี Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com ส่ง Spam ออกไปจำนวนมากๆ Domain ของคุณก็จะติด Blacklist ในที่สุด

อาการเมื่อ Domain ติด Blacklist

ฐานข้อมูลที่แสดงว่า Domain คุณติด Blacklist แล้ว
  • หลังจากที่ Domain ติด Black list แล้ว คุณจะไม่สามารถส่ง Email ออกไปยัง Mail Server ต่างๆ เช่น Free email : hotmail, gmail เป็นต้น และ Email Hosting ปลายทางอื่นๆ ที่ไม่ยอมรับเรื่อง Domain Blacklist

วิธีการแก้ไขปัญหา

หากไม่ได้แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดปัญหานี้ขึ้นมาอีก ซ้ำไปซ้ำมา

  • การที่ Domain ติด Blacklist นั้น ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆด้านแก้ไขปัญหา เช่น ฝ่ายประสานงานต่างประเทศ, วิศวกร Web Server, วิศวกร Mail Server และ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย
  • เพราะการแก้ไขปัญหาต้องแก้ให้ครบทุกด้าน ไม่อย่างนั้นปัญหานี้ก็จะกลับมาเป็นอีก ซ้ำไปซ้ำมา จนคุณไม่สามารถส่ง Email ออกไปหาใครได้เลย 
  • คุณต้องติดต่อไปยังผู้ให้บริการ Email Hosting และ Web Hosting เพื่อให้แก้ปัญหานี้ เพราะหากคุณไม่ได้มีความรู้ทางด้านเทคนิค การแก้ไขปัญหานี้จะทำได้ยากมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Domain และ IP Blacklist 

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

องค์ประกอบสำคัญในการทำ Email Hosting สำหรับองค์กร

4 องค์ประกอบหลักในการสร้างอีเมล์@ชื่อบริษัท

1. Domain Name

โดเมนเนม ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการสร้าง Email Hosting/server สำหรับบริษัทฯ เพราะเมื่อผู้ให้บริการทำการติดตั้งระบบอีเมล์ไปเรียบร้อยแล้ว นั่นหมายถึงเราจะต้องใช้ชื่อโดเมนเนมตัวนี้ในการติดต่อลูกค้าตลอดไป กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อโดเมนเนมก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการแจ้งผู้อื่นให้ทราบว่าชื่ออีเมล์เรามีการเปลี่ยนแปลงไป และการตั้งค่าทางเทคนิคทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย

ดังนั้นก่อนติดตั้งระบบอีเมล์ ควรตรวจสอบให้แน่ใจ และมั่นใจว่าเราจะใช้ชื่อโดเมนเนมนี้จริง ๆ แล้ว
เราอาจจะศึกษาวิธีการตั้งชื่อโดเมนเนมแบบมืออาชีพก่อนที่จะแจ้งผู้ให้บริการทราบ

เมื่อทำการจดโดเมนเนมแล้ว ก็ต้องทำการชี้ค่า DNS Server ว่าจะให้ระบบอีเมล์เชื่อมต่อกับ IP Server ใดบ้าง มีตัวใดเป็น Server หลัก และตัวใด เป็น Backup Server



2. Server หลัก

Mail server เป็นฮาร์ดแวร์สำคัญที่ทำหน้าที่เป็น Server ที่เก็บข้อความอีเมล์ของเรา โดยการตั้งค่าให้อีเมล์ถูกส่งมายัง Server ตัวใดนั้น จะขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของ MXCname ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากว่า ถ้าค่านี้ถูกชี้ไปผิดที่ ระบบอีเมล์จะมีการตั้งค่าอย่างไม่สมบูรณ์และจะทำให้การรับส่งผิดปกติได้ เช่น ได้รับบ้าง ไม่ได้บ้าง, เปิดเว็บเมล์ไม่ได้, ใช้งานบนโปรแกรม MS Outlook ไม่ได้ เป็นต้น



3. Server สำรอง

Server สำรอง หรือเรียกอีกอย่างว่า Backup Server เป็น Server ที่ทางผู้ให้บริการสำรองข้อมูลเก็บไว้ให้ ซึ่งรูปแบบการทำงานของแต่ละผู้ให้บริการ จะไม่เหมือนกัน เช่น ทุกวัน (Daily), ทุกสัปดาห์ (Weekly), ทุกเดือน (Monthy) 

กรณีที่ผู้ให้บริการไม่ได้ทำการ Backup ไว้ให้ เราก็สามารถ Backup ผ่านโปรแกรม Client ได้ด้วยตนเองเช่น MS Outlook, Thunderbird เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดความกังวลของ User ลงได้ และทำให้เราสบายใจมากขึ้นว่าอีเมล์เราไม่หายแน่นอน
 


4. ผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้ง

ในการสร้างอีเมล์@ชื่อบริษัท ด้วยตนเอง ถือเป็นเรื่องที่ยาก และมีความเสี่ยงพอสมควร โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีความรู้เชิงเทคนิคเรื่อง Mail Server จึงควรค้นหาผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้งที่ตรงกับความต้องการ และตรงตามการใช้งานของ Users ด้วย และต้องแน่ใจว่าผู้ให้บริการดังกล่าวมีบริการที่ตอบโจทย์การใช้งานของเราแล้วจริง ๆ และควรไว้วางใจผู้ให้บริการเจ้า เมื่อถึงคราวที่ต้องบริการหลังการขาย

ข้อดีเด่น ๆ ของการให้ผู้ให้บริการดูแลระบบ Email คือ เราไม่ต้องเสียเวลามา Maintainance หรือ Monitor Server ใด ๆ ซึ่งทางผู้ให้บริการจะเป็นผู้รักษาการณ์แทนอยู่แล้ว อย่างน้อย ๆ หากเกิดปัญหา Server ล่ม แน่นอนว่าคนที่เดือดร้อนไม่ใช่มีเราเพียงคนเดียว แต่รวมถึงผู้ที่ใช้ Mail Server ตัวเดียวกับเราด้วย ที่สำคัญสามารถบริการเราได้ตลอด 24 ชม. เมื่อเกิดเหตุ Server ล่ม ยังสามารถแจ้งปัญหากับเราได้ว่าเกิดอะไรขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธี Backup Email ลงเครื่องตัวเอง ที่ง่ายที่สุด ที่คุณทำได้เอง !
วิธี Restore อีเมล์ด้วยไฟล์ *.pst (Inbox, Sent item, Contacts, etc.)

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

ส่ง อีเมล์ ใน Outlook ไม่ออก เพราะ ใช้โปรแกรม Office ปลอม






     สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การใช้งาน Outlook เกิดปัญหาเช่น การส่ง Email มีปัญหาไม่สามารถส่งออกหรือรับเข้าได้ ซึ่งเกิดจากที่เรามีการใช้โปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือการใช้โปรแกรม Office ปลอม แน่นอนว่าการใช้โปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือ มีการดัดแปลงมาเพื่อใช้งานฟรี ย่อมทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมา ซึ่งยังเสี่ยงต่อการสูญหายของข้อมูล ซึ่งเราไม่สามารถไปเรียกร้องจากใครได้ หากบริษัท ผู้ผลิตตรวจพบว่ามีการใช้โปรแกรมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ท่านอาจจะถูกฟ้องร้องจากบริษัท Microsoft ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้โปรแกรมที่มีการดัดแปลง หรือ Crack จะได้ไม่เกิดปัญหาในการใช้งานและองค์กรของท่านเอง         


ทำอย่างไรไมีมีโปรแกรม Outlook ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์


   ปัจจุบันมี Software มากมายที่ถูกออกแบบมาใช้งานเพื่อ Email อย่างเช่นโปรแกรมยอดนิยาอย่าง Thunderbird เป็นโปรแกราม แบบ Freeware ถูกออกแบบมาใช้งานกับ Email อย่างเต็มที่ระบบการทำงานไม่ด้อยไปกว่า Outlook มีความปลอดภัยที่สูง โปรแกรมถูกตรวจสอบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากโปรแกรมมีปัญหา Bug จะมีการแก้ไขอย่างรวดเร็วจากบริษัท ผู้ผลิตโปรแกรม จึงมั่นใจได้ว่า การใช้งาน Thunderbird เป็นการใช้งานเช็ค Email อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดปัญหาน้อยที่สุด และมีความนิยมใช้สูงสุดในกลุ่มผู้ใช้งาน Email ทั่วโลก


บทความที่เกี่ยวข้อง




บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting คุณภาพสูงที่ใช้งานร่วมกับ Google Apps ได้เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

Hotmail.com ข้อความอีเมล์มักเข้าไปอยู่ใน Junk Folder

ทำไมข้อความต้องเข้าไปอยู่ใน Junk Folder ของผู้รับ?


คุณอาจจะไม่รู้ว่า Mail Server ของแต่ละตัวนั้น มีการทำงานที่แตกต่างกัน ด้วย Policy ที่ต่างกัน ดังนั้นในครั้งแรกที่ Mail Server หนึ่ง ทำการติดต่อไปยัง Mail Server อีกตัวหนึ่ง อาจจะเกิดปัญหาได้รับข้อความตีกลับ (Bounce Message) ส่งกลับไปยังผู้ส่ง หรือ ข้อความอีเมล์เด้งเข้าไปอยู่ใน Junk/Spam Folder ทั้งๆ ที่ อีเมล์ผู้ส่งนั้นไม่ใช่ Spam เลย

สำหรับ Hotmail Service นั้น ก็มีวิธีการแก้ปัญหาได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน


เปิด Junk Folder และคลิกเปิดอีเมล์ฉบับที่ไปอยู่ใน Folder นี้โดยบังเอิญขึ้นมา

คลิกที่หัวข้อ Not junk -> Not junk

เมื่อคลิก Not junk แล้ว ข้อความดังกล่าวจะถูกย้ายไปที่ INBOX จากนั้นสิ่งที่ผู้รับควรทำอีกขั้นตอนคือ
การเพิ่ม Email Address ดังกล่าวลงไปที่รายชื่อผู้ติดต่อ (Address Book/Contacts/People)

คลิกที่ตัวเลือก People

คลิกปุ่ม '+New' เพื่อเพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อ

กรอกรายละเอียดของผู้ติดต่อ จากนั้นกด Save

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ Email Hosting/Server สำหรับองค์กรคุณภาพสูง สมราคา