แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา domain จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามความเกี่ยวข้องกับคำค้นหา domain จัดเรียงตามวันที่ แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

Forwarders หรือ Auto Forward อีเมล์ใช้งานอย่างไร

Function: Forwarders หรือ Auto Forward คือ อะไร?

'Forwarder' คือ ผู้ส่งต่อ หากสื่อถึงความหมายเชิงเทคนิคที่ใช้งานในระบบอีเมล์ คือ การส่งต่อข้อความอีเมล์จาก บัญชีอีเมล์หนึ่ง ไปยังอีกบัญชีหนึ่ง โดยอัตโนมัติ ซึ่งข้อความนั้นจะส่งไปถึงทั้งสองบัญชีอีเมล์ (ได้รับเมล์ทั้งคู่)

แบบที่ 1

Forwarder = sales@domain.com
Destination Email
 = accounting@domain.com

sales@domain.com  => accounting@domain.com

การตั้งค่าดังกล่าวมีผลทำให้ ข้อความที่ส่งมาจาก Sender ทุกคนจะได้รับข้อความ


แบบที่ 2

การตั้งค่า Forwarders แบบทั่วไป


Forwarder = sales@domain.com
Destination Email = marketing@domain.com, John.c@hotmail.com, hr@domain.com

sales@domain.com  => marketing@domain.com
sales@domain.com  => John.c@hotmail.com
sales@domain.com  => hr@domain.com

การตั้งค่าดังกล่าวมีผลทำให้ ข้อความที่ส่งมาจาก Sender ทุกคนจะได้รับข้อความ จะเห็นได้ว่าเราสามารถตั้งค่าให้ข้อความ Auto forward ไปยังบัญชีอีเมล์ของ Server อื่น ๆ ได้ เช่น @hotmail.com, @gmail.com, @yahoo.com เป็นต้น

จากภาพการตั้ง Forwarder หรือ Auto Forward นั้น บัญชีอีเมล์ทุกบัญชีจะมีตัวตนอยู่จริง จะเห็นได้ว่า แบบที่ 1 และแบบที่ 2 มีทำงานที่เหมือน ๆ กัน คือ "รับ แล้วส่งต่อ"


จุดประสงค์ในการใช้งาน Function: Forwarders


  1. ใช้ส่งต่อข้อความไปยังอีกบัญชีอีเมล์ เช่น User: John.C เป็นหัวหน้าฝ่ายขาย ต้องการรู้ข้อมูลทุกอย่างที่ User: Sales ได้รับหรือลูกค้ารายใดติดต่อซื้อขายเข้ามาบ้าง
  2. ใช้งานเสมือนการ Backup messages ที่รับจากคนอื่น ๆ เช่น User: HR ต้องการเก็บข้อมูลใน INBOX ทั้งหมดไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น Mail server ล่ม, เผลอลบข้อความทิ้งโดยไม่เจตนา จึงตั้งให้ Auto Forward ไปที่ myemail@gmail.com

แบบที่ 3

การตั้งค่า Forwarders แบบที่ 3 หรือเรียกว่า 'Email Alias'


'Email Alias' คือ บัญชีอีเมล์สมมติ  ที่เราตั้งขึ้นมาเอง ซึ่งบัญชีอีเมล์นี้ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริงในระบบอีเมล์ คือ เรียกง่ายๆ ว่า เรา "มโน" มันขึ้นมา เพื่อให้เป็นเหมือนทางผ่าน

จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่าเราตั้งค่าให้ Forwarder = info@domain.com และ 
Destination Email = sales@domain.com 

เมื่อ Sender ส่งข้อความมายัง info@domain.com แล้ว ระบบจะส่งข้อความฉบับนี้ไปยัง sales@domain.com ทันที โดยที่ไม่ทิ้งข้อความไว้ใน INBOX ของ info@domain.com เพราะว่าบัญชีอีเมล์นี้คือ Email Alias ไม่ได้มีอยู่จริงในระบบ 

จุดประสงค์ในการใช้งาน Function: Forwarders (Email Alias)


จุดประสงค์หลัก คือ ใช้เพื่อประหยัดจำนวนบัญชีอีเมล์ เช่น

info@domain.com =>  Jane@domain.com
contact@domain.com => Jane@domain.com
marketing@domain.com => Jane@domain.com

**User: info, contact, marketing เป็นอีเมล์ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง คือ เราไม่ต้องไป Add account นี้เพิ่มในระบบ เพียงแต่ตั้งในไว้ใน Function: Forwarders เท่านั้น



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

สุดยอด Email Hosting ที่ดีที่สุดในไทย
และผู้นำด้านการให้บริการอีเมล์โฮสติ้งแบบมืออาชีพ

วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บอกลาปัญหา Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง email เข้า hotmail, gmail ไม่ได้


Domain ติด Blacklist ทำให้ส่ง Email ออกไม่ได้


เราเคยได้ยิน IP ติด Blacklist แต่เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ผู้ให้บริการ Email จำนวนมาก ทั้งฟรีอีเมล์, หรือ ผู้ให้บริการ Email Hosting ต่างๆ ต้องเพิ่มความเข้มงวดเพราะปริมาณ Spam mail ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการเพิ่ม Policy การรับ Email ว่า Sender Email นั้นๆ Domain ต้องไม่ติด Blacklist ทำให้ ผู้ใช้งาน Email Hosting โดยเฉพาะในไทย เกิดปัญหาไม่สามารถส่ง Email ไปยังปลายทางบางที่ได้ เช่น hotmail, gmail และ Email Server ปลายทาง

สาเหตุของปัญหา Domain ติด Blacklist



ใน Web Server 1 เครื่อง มีเว็บไซต์ หลายพันเว็บอาศัยอยู่

โดยเ​ฉพาะเว็บหรือ Domain ที่สร้างจาก Open Source มีความเสี่ยงสูง หากไม่ได้ตั้งค่าให้ถูกต้อง

  • หากใน Web Server ที่ Domain ของคุณอยู่ แต่อย่าลืมว่ายังประกอบด้วยเว็บอื่นๆ ใน Web Server อีกหลายร้อย หรือ หลายพันเว็บอาศัยอยู่ด้วย
  • เมื่อ Web ใดเว็บหนึ่งถูกฝังไวรัสไว้ใน File ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเว็บที่สร้างมาจาก Open Source และมีการ Download Plugin ต่างๆมาลง โดยไม่ได้ตั้งค่าเรื่องความปลอดภัยให้ถูกต้อง
  • ไวรัสนั้นจะทำการส่ง Spam mail โดยใช้ Serder Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com หรือ domain ทั้งหมดที่มีอยู่ใน Server นั้น วนไปวนมา
  • เมื่อมี Email เป็นชื่อ xxx@yourcompany.com ส่ง Spam ออกไปจำนวนมากๆ Domain ของคุณก็จะติด Blacklist ในที่สุด

อาการเมื่อ Domain ติด Blacklist

ฐานข้อมูลที่แสดงว่า Domain คุณติด Blacklist แล้ว
  • หลังจากที่ Domain ติด Black list แล้ว คุณจะไม่สามารถส่ง Email ออกไปยัง Mail Server ต่างๆ เช่น Free email : hotmail, gmail เป็นต้น และ Email Hosting ปลายทางอื่นๆ ที่ไม่ยอมรับเรื่อง Domain Blacklist

วิธีการแก้ไขปัญหา

หากไม่ได้แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดปัญหานี้ขึ้นมาอีก ซ้ำไปซ้ำมา

  • การที่ Domain ติด Blacklist นั้น ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหลายๆด้านแก้ไขปัญหา เช่น ฝ่ายประสานงานต่างประเทศ, วิศวกร Web Server, วิศวกร Mail Server และ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย
  • เพราะการแก้ไขปัญหาต้องแก้ให้ครบทุกด้าน ไม่อย่างนั้นปัญหานี้ก็จะกลับมาเป็นอีก ซ้ำไปซ้ำมา จนคุณไม่สามารถส่ง Email ออกไปหาใครได้เลย 
  • คุณต้องติดต่อไปยังผู้ให้บริการ Email Hosting และ Web Hosting เพื่อให้แก้ปัญหานี้ เพราะหากคุณไม่ได้มีความรู้ทางด้านเทคนิค การแก้ไขปัญหานี้จะทำได้ยากมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Domain และ IP Blacklist 

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Domain.com ต่างกับ Domain.co.th อย่างไร

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า Domain.com และ Domain.co.th มีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้หลักอะไรในการเลือกใช้ให้มีความเหมาะสมธุรกิจ หรือองค์กรของเรามากที่สุด ครั้งนี้เราจะมาอธิบายกันว่าทั้งสองอย่างนี้ความแตกต่างกันอย่างไร
       

           Domain.com ใคร ๆ ก็สามารถจดได้ โดยที่ไม่ต้องมีเอกสารประกอบการจดโดเมนแต่อย่างใด
ซึ่งส่วนใหญ่จะจดแบบนี้กัน เพราะเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก
วิธีสมัครอีเมล .com / .co.th



           Domain .co.th ซึ่งมีเพียงบริษัท THNIC เท่านั้นที่ให้บริการรับจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้ co.th
ผู้ที่สามารถจดโดเมนในชื่อนี้ได้ ต้องเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งในการจดโดเมนภายใ้ต้ .co.th จำเป็นต้องใช้เอกสารประกอบ คือ เอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล (ที่มีอายุไม่เกิน 60 วัน) และต้องมีลายเซ็น พร้อมตราประทับของผู้มีอำนาจ (ตามเงื่อนไขในข้อที่ 3 ของหนังสือรับรอง)


จากบทความข้างต้นนี้ทำให้เห็นได้ว่าการเลือกใช้ Domain.co.th ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือให้กับบุคคลภายนอก ว่าเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด มีที่ตั้งและการประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทยอยู่จริง ๆ ส่วน Domain.com นั้น เหมาะกับองค์กรหรือบุคคลทั่วไป ที่ต้องการให้เป็นที่รู้จักหรือมีความเป็นมาตรฐาน ต้องการช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น ซึ่งจะจดโดเมนได้ง่ายกว่า .co.th มาก

ในเชิงเทคนิคหาก Domain ที่จดเป็น .co.th สามารถย้ายผู้ดูแลโดเมนเนมได้ง่ายกว่า .com เพราะสามารถใช้หนังสือรับรองบริษัทฯ และเอกสารขอเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมนเนม โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ดูแลโดเมนเนมปัจจุบันให้ทราบ ส่วนการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม .com จำเป็นต้องติดต่อกับ Contact หรือ Domain holder ให้ได้ เพื่อที่จะขอค่า Control panel ของโดเมนมาดำเนินการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม

บทความที่น่าสนใจ

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียน Email @ Domain .co.th
วิธีสมัครและจดทะเบียน อีเมล์(Email) @ .co.th เพื่อใช้ในบริษัทของตนเอง และ ราคาวิธีสมัครอีเมล์(Email)บริษัท ให้เป็น .com/.co.thวิธีทำอีเมล์ระบบ (Email Server) ภายใต้ชื่อบริษัท Domain ของตัวเองทั้ง .com และ .co.th


บริษัท เทคโนโลยี แลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email hosting สำหรับ Enterprise


วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ค่า TXT ใน DNS คือ อะไร และ มีไวเพื่ออะไร ?





TXT Record คือ อะไร

TXT Record เป็น DNS ประเภทหนึ่งใน DNS Zone ของ Domain name ซึ่งมักจะมีเอาไว้เพื่อใช้ในกระบวนการยืนยันว่าคุณนั้นเป็นเจ้าของ Domain name นั้นจริงๆ ซึ่งเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เราอาจจะพบวิธีการนี้ในกระบวนการสมัครสมาชิก หรือ บริการที่ต้องใช้ชื่อ Domain name

ตัวอย่าง TXT Record





  • เนื่องจากค่า TXT Record เป็นค่าที่เปิดเผยเป็นสาธารณะ หรือ พูดง่ายๆ ใครๆ ก็รู้ได้ และ ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากนักหากคนอื่นจะรู้ และมีเว็บมากมายที่เอาไว้ Loolup TXT Record ของ Domain ที่เราต้องการ
  • ในการสมัครใช้บริการใดๆ ที่ต้องมีการนำชื่อ Domain ไปใช้ในการสมัคร หรือ ยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการอาจจะให้ค่า TXT และ ให้คุณนำค่า TXT นั้นมาใส่ใน DNS Zone ของ Domain name คุณ
  • หลังจากนั้นผู้ให้บริการจะทำการ Lookup มายัง TXT Record ของ Domain คุณ ว่าตรงกับที่ทางผู้ให้บริการนั้นนำมา Add หรือไม่ หากตรงก็จะสามารถยืนยันได้จริงๆว่าคุณเป็นเจ้าของ Domain ดังกล่าว


บทความที่เกี่ยวข้อง



VDO ที่เกี่ยวข้อง





บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ผู้ให้บริการ Mail Server อันดับ 1

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เอกสารสำหรับการย้ายผู้ดูแลโดเมน(Domain) อีเมล์(Email) .co.th

การเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลโดเมน .co.th

เนื่องจาก Domain .co.th ผู้ถือครอง หรือเจ้าของโดเมน นั้นคือนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วน, บริษัท, บริษัท (มหาชน) ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงผู้ดูแล Domain นั้นต้องใช้เอกสารที่มีผลทางกฏหมาย โดยต้องมีเอกสาร 2 ใบนี้ในการดำเนินการ

  1. ใบรับรองบริษัทหน้าแรก (ที่มีอายุไม่เกิน  60 วัน) และต้องลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนาม พร้อม ตราประทับบริษัท

  2. ใบแจ้งย้ายผู้ให้บริการ Domain (โดยบริษัทฯ ใหม่จะเป็นผู้ส่ง File Word ให้) และต้องลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนาม พร้อม ตราประทับบริษัท

    หมายเหตุสำคัญ: ผู้ลงนามต้องเป็นกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพัน ตามข้อ 3 ของใบรับรองบริษัท โดยหลังจากลงนาม ต้องระบุชื่อตำแหน่งและชื่อ นามสกุล ตัวบรรจง บางบริษัทหากต้องมีการลงนาม 2 ท่าน ลูกค้าก็ต้องให้กรรมการทั้ง 2 ท่าน ลงนาม หรือตามที่ระบุไว้ในตามข้อ 3 ของใบรับรองบริษัท โดยมีตัวอย่างดังนี้



ตัวอย่างหนังสือรับรองบริษัทหน้าแรกเท่านั้น (ต้องมีอายุไม่เกิน 60 วัน)

ในวงกลมแรก เป็น ข้อมูลที่แสดงในใบรับรองบริษัทฯ
ว่ากรรมการท่านใดมีอำนาจลงนามได้บ้าง

ในวงกลมที่ 2 ต้องมีการลงนามของกรรมการท่านดังกล่าว พร้อมระบุชื่อตัวบรรจง และตำแหน่ง
พร้อมทั้งตราประทับ




ตัวอย่าง ใบแจ้งย้ายผู้ให้บริการ Domain (บริษัทจะมีการส่ง File word ให้ลูกค้าแก้)
ในวงกลมแรก ต้องเปลี่ยนเป็น หัวกระดาษของบริษัท ท่านเท่านั้น

ในวงกลมที่สอง ต้องระบุเป็น บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด เท่านั้น
 (เป็นบริษัทฯเดียวที่เป็นผู้ดูแล Domain .co.th ทั้งหมดของประเทศไทย)

ในวงกลมที่สาม ต้องมีการลงนาม พร้อมเขียน ชื่อนามสกุล ตัวบรรจง
พร้อมระบุชื่อตำแหน่งของกรรมการท่านดังกล่าว และ ตราประทับ

ต้องมีเอกสารตามตัวอย่างนี้หมดเลยหรือไม่

ใช่  เพราะต้องมีเอกสารที่ถูกต้องตามตัวอย่างเท่านั้น การทำผิดข้อใดข้อหนึ่ง จะทำให้ไม่สามารถย้ายผู้ให้บริการ Domain ได้ เนื่องจากผู้ดูแล Domain หลัก ก็กังวลหากมีการปลอมแปลงเอกสาร ดังนั้นจึงต้องมีความเข้มงวดต่อกระบวนการทางเอกสารเป็นอย่างยิ่ง


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการระบบและทำ email ให้เป็น .co.th

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียน Email @ Domain .co.th

เอกสารสำหรับการจดทะเบียน Email @ Domain .co.th

สำหรับผู้ที่ต้องการมีอีเมล์เป็น yourname@yourcompany.co.th นั้น เนื่องจากการจดทะเบียน .co.th นั้น ต้องใช้เอกสารในการยืนยันว่าคุณเป็น นิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัท, บริษัท (มหาชน) เป็นต้น ดังนั้นการจดโดเมน .co.th นั้นต้องมีเอกสารดังนี้

การจด Domain.co.th ต้องใช้เอกสารอะไร


  • หนังสือรับรองบริษัท (หน้าแรก) ที่มีอายุ ไม่เกิน 60 วัน  โดยสามารถดูวันที่ออกเอกสาร ได้จาก วงกลมสีแดงดังภาพด้านล่าง

เงื่อนไขการตั้งชื่อ Domain เพื่อจด Domain .co.th 

  1. ชื่อ Domain ต้องมีความคล้องจองกับชื่อบริษัท เช่น บริษัท ชื่อว่า บริษัท โลจิสติกเซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งชื่อบริษัทในภาษาอังกฤษเรียกว่า Logistic Center Co.,Ltd. การจด Domain ก็สามารถตั้งชื่อได้ดังนี้ เช่น www.logisticcenter.co.th, www.logistic.co.th, www.lc.co.th (เพราะเป็นตัวย่อบริษัท),www.lcenter.co.th (เนื่องจากตัวอักษรมีชื่ออยู่ในชื่อ บริษัท)

  2. ไม่สามารถตั้งชื่อ Domain ที่ไม่มีความคล้องจอง หรือ ไม่มีความสัมพันธ์ กับ ชื่อ บริษัทได้ เช่น บริษัท โลจิสติกเซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งชื่อบริษัทในภาษาอังกฤษเรียกว่า Logistic Center Co.,Ltd. ไม่สามารถจดเป็นชื่อ เช่น www.logistic-thailand.com (เพราะไม่มีคำว่า thailand ในชื่อบริษัท)

บทความโดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ จัด ทำอีเมล์สำหรับบริษัท.co.th ที่เป็นชื่อองค์กรตัวเอง

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ICANN คือ ใคร และ มีความสำคัญต่อ Domain name อย่างไร

Internet Corporation for Assigned Names and Numbers




ICANN คือ ใคร และ มีความสำคัญต่อ Domain name
และระบบ email hosting อย่างไร 




ICANN ย่อมาจาก "Internet Corporation for Assigned Names and Numbers " 
เป็นองค์กรบริหารทรัพยากรโดเมนโลก ทำหน้าที่รักษาความเสถียรภาพการดำเนินงานของระบบอินเตอร์เน็ต เป็นตัวแทนควบคุมอินเตอร์เน็ตโลก รวมถึง Domain name ต่างๆของทั้งโลก


หน้าที่ของ ICANN โดยทั่วไปแล้ว 



  • การบริหารระบบชื่อโดเมน (Management of the Domain Name System)
  • การบริหารระบบอุปกรณ์แม่บทเพื่อบริการด้านทะเบียนและสืบค้นโดเมน (Management of the Root Server System)
  • การจัดสรรเลขหมายไอพี (Allocation of IP Address Space)
  • การกำหนดมาตรฐานทางเทคนิค (Assignment of Protocol Parameters)



ICANN มีความสำคัญต่อ Domain name และ email server อย่างไร


การจดโดเมนแต่ละชื่อนั้นจะต้องทำการจัดการไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน ให้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบระเบียบ การอ้างไปยังข้อมูลต่างๆ ในระบบอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไม่สับสน  เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบ Email Hosting ที่มีประสิทธิภาพ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ข้อมูลที่อยู่ตาม Server ต่างๆ ตอบสนองการต้องการของผู้ใช้อย่างดีที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting Service Provider

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

DNS คือ อะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และทำงานอย่างไร ?







DNS คือ อะไร ?

DNS ย่อมาจาก Domain name server มีหน้าที่แปลงชื่อ Domain name เป็นหมายเลข IP ของ Server ปลายทาง และ ยังทำหน้าที่บังคับทิศทางของ Email ว่าให้ทำการส่งไปยัง Mail Hosting IP ใด หรือ เรียกง่ายๆว่า มันแปลงชื่อไปเป็น IP Server นั่นเอง

ตัวอย่างและประเภทของ DNS







DNS แบ่งออกเป็นชื่อเรียกและการทำงานดังนี้

  1. A Record จะเป็นการชี้แบบ IP โดยต้องระบุปลายทางเป็นหมายเลข IP
  2. Cname Record จะเป็นการชี้แบบ Hostname โดยต้องระบุ Server ปลายทางเป็น แบบ Hostname
  3. MX Record จะเป็นการตั้งค่าเพื่อระบุว่าถ้ามี Email วิ่งเข้ามายัง Domain ตนเอง จะให้ Email ฉบับนั้นไปเก็บที่ Mail Hosting ปลายทางที่ใด
  4. SPF Record  จะใช้เป็นการตั้งค่าโดยผู้ให้บริการ Email Server จะเป็นผู้กำหนดค่ามาให้เพื่อใช้ในการยืนยันว่า Mail Server นั้นอนุญาติให้ Domain คุณส่ง Email จริงๆ
  5. TXT Record นิยมใช้เพื่อยืนยันว่าคุณเป็นเจ้าของ Domain จริงๆ
  6. ค่า TTL เป็นค่าที่กำหนดให้ DNS Server ของ ISP อื่นๆ โดยหน่วยจะเป็นวินาที ว่าจะให้ ISP อื่นๆ นั้นมาทำการ Update ให้ตรงกับค่า DNS ของตนเองทุกๆ กี่วินาที
  7. NS Record เป็นการระบุว่าให้ Domain ของคุณ รับฟังค่า DNS Zone จาก DNS Server ตัวใด



บทความที่เกี่ยวข้อง


VDO ที่เกี่ยวข้อง





บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ผู้ให้บริการ EMail Hosting อันดับ 1

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีอ่าน Error Code ของอีเมล์ (Email) โดยเฉพาะผู้ใช้งานบน Outlook หรือ Thunderbird



Error Code ประเภทต่างๆ ในการส่งขาออก (SMTP) ในโปรแกรม Outlook หรือ ThunderBird

550 5.1.1 Recipient address rejected: User unknown in virtual alias table;หมายถึง Email ปลายทางที่คุณส่งไปนั้น ถูกตีกลับ (Bounce) โดยเหตุผลที่พบส่วนใหญ่ คือ 
  1. คุณระบุชื่อ Email ปลายทางผิด
  2. ระบบ Email Server ของปลายทางล่ม
  3. หาก Email ปลายทางมีการตั้งการส่งต่ออีเมล์ (Forward) ไปยังฉบับอื่น แล้วส่งไม่สำเร็จก็เกิด Error นี้ขึ้นมาได้



554 5.7.1 Service unavailable; Client host X.X.X.X blocked using zen.spamhaus.org;
  • IP ของเครื่องคอมพิวเตอร์คุณ หรือ Public IP ในตัว Rounter ที่คุณได้รับ อยู่ใน List ที่เข้าข่ายที่เป็น Spam mail หรือ Black list ซึ่งคุณสามารถเช็ค IP ของคุณว่าติด Blacklist หรือไม่ โดยเข้าไปที่ http://www.spamhaus.org/query/bl?ip=<your_ipaddress>


550 5.7.1 : Helo command rejected: You aren't localhost.
550 5.7.1 : Helo command rejected: You aren't localhost.localdomain.
550 5.7.1 : Helo command rejected: You are not me.

  • SMTP ของเราจะไม่ยอมรับคำสั่ง HELO ที่ถูกส่งโดย localhost และ ชื่อ Domain ไม่ถูกต้อง
    หากคุณพบปัญหานี้โปรดสอบถามไปยัง ISP (ผู้ให้บริการ Internet ที่คุณใช้อยู่)



บทความโดย
ระบบอีเมล์ธุรกิจ ที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดย Maildee.com 




550 5.7.1 Service unavailable; client [a.b.c.d] blocked using rbl.mailhostbox.com
  • ทางเราจะไม่อนุญาตให้คุณส่ง Email ไปยัง Email Server ปลายทางใดๆ ที่ IP ของปลายทางนั้นอยู่ใน Blacklist เพื่อป้องกัน Email ของคุณ ไม่ให้ถูกโจมตีจาก ไวรัส และ Spam ที่ิอาจจะมีการตีกลับจาก IP ปลายทางอย่างอัตโนมัติ อ่านข้อมูลได้ที่  http://whitelist.mailhostbox.com/




554 5.7.1 : Relay access denied;
สาเหตุดังกล่าวอาจเกิดจาก
  1. Domain ของคุณยังอยู่ในสถานะ "Pending Verification" ซึ่งคุณสามารถดูได้จาก control panel โดยมักจะเกิดกับ Domain ที่มีการเปลี่ยนผู้ให้บริการ
  2. การตั้งค่า ขาออก (SMTP) ของคุณ นั้นตั้งผิด โดยเฉพาะคุณไม่ได้มีการติ๊กเครื่องหมายถูกในช่อง Our server requires authentication  คลิ้กเพื่อดูรายละเอียดการตั้งค่า (Outlook, Thunderbird, Apple, Android)
  • ข้อความของคุณไม่อนุญาตให้มีการส่งออก เนื่องจาก อาจจะมีการใส่ข้อความที่ดูเหมือน Spam
  • คุณมีการส่ง Email ไปหาคนจำนวนมากๆ โดย Email นั้นไม่มีอยู่จริง หากมีค่า เหล่านี้สูงหรือบ่อยครั้งเกินไป ระบบจะไม่อนุญาตให้คุณส่งอีเมล์ออกไปอีกเพราะมันจะมองเป็น Bounce Email
  • หากคุณมั่นใจว่าข้อความที่คุณต้องการส่งนั้นไม่ใช่ Spam โปรดแจ้งทีม Maildee.com เพื่อให้ความถูกต้องและแน่นอน




530 5.7.0 Recipient address rejected: Authentication Required.
  • การตั้งค่าขาออก (SMTP) ของคุณ นั้นตั้งผิด โดยเฉพาะคุณไม่ได้มีการ ติ๊กเครื่องหมายถูกในช่อง Our server requires authentication  คลิ้กเพื่อดูรายละเอียดการตั้งค่า (OutlookThunderbirdAppleAndroid)


บทความโดย
ระบบอีเมล์ธุรกิจ ที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดย Maildee.com 

550 5.4.5 Recipient address rejected: Hourly domain sending quota exceeded
  • ข้อความนี้จะแสดงขึ้นทันที เมื่อ คุณได้ทำการส่ง Email ออกไปเกินจำนวนที่ทางเราจำกัดไว้ 
  • ซึ่งข้อความนี้จะปรากฎขึ้นหาก Domain ของคุณได้ส่ง Email ในชั่วโมงเดียวกัน ออกไปเกิน 300 ฉบับ ซึ่งโดยปกติเราจะตั้งไว้ให้ไม่เกิน 300 ฉบับ ต่อDomain 
  • ในกรณีที่คุณมี User จำนวนมาก โปรดติดต่อทีม MailDee.com เพื่อขอ SMTP2, SMTP3 เพื่อรองรับการส่งในปริมาณมาก คลิกเพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้อง




550 5.4.6 Recipient address rejected: Hourly sending quota exceeded






553 5.7.1 Sender address rejected: not owned by user user@domain.com
ข้อความนี้จะเกิดขึ้น หากคุณได้พยายามทำการส่ง Email ออก และ กำหนด Username และ Password ของ SMTP ผิดหลายครั้งเกินไป, ซึ่ง Error นี้จะหาย หากคุณได้ไปทำการยืนยันตัวตน ใน webmail  โดยมีขั้นตอนดังนี้
  1. Log in เข้าไปยัง webmail ในนาม Email:  user1@domain.com (อีเมล์ที่มีปัญหาในการส่ง)
  2. เพิ่ม Add the identity ใน settings tab สำหรับ User ที่คุณต้องการ 
  3. หลังจากที่คุณได้ยืนยันตัวตนใน webmail แล้ว ระบบจะยอมให้คุณส่ง




554 5.7.1 : Recipient address rejected: USER IS SUSPENDED

  • Error นี้จะเกิดขึ้นหาก Admin ของระบบ Email คุณได้ใช้คำสั่ง ระงับการทำงานของ Email Account คุณ





522 5.7.1 : Recipient address rejected: Requested mail action aborted: exceeded storage allocation

  • Error นี้จะเกิดขึ้นหาก User ได้ใช้งานพื้นที่ Email เกินกว่าที่กำหนด






554 5.7.1 : Sender address rejected: Access denied.

  • Email ที่คุณใช้อยู่ถูก Block เป็นการชั่วคราว เนื่องจากระบบมองว่าคุณกำลังใช้งานเพื่อส่ง Spam
  • หากคุณไม่ได้เป็นผู้ส่ง Spam อาจจะเกิดจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณติด ไวรัส และ ไวรัส ได้ส่ง Email ออกไปจำนวนมากๆ โดยที่คุณไม่รู้ตัว ซึ่งมักเกิดได้สำหรับผู้ใช้งาน Outlook




450 4.7.1 Client host rejected: cannot find your reverse hostname

  • อีเมล์ปลายทางมีการตีกลับ คุณต้องติดต่อไปยัง Admin ของ Email ปลายทาง เพื่อ Add ค่า rDNS ใน Email Server ปลายทาง




450 4.7.1 : Recipient address rejected: Policy Rejection- Quota Exceeded

  • คุณใช้งานพื้นที่เกินกว่าที่ระบบกำหนดไว้






450 4.7.1 Recipient address rejected: Access denied.

  • Server ปลายทางได้ทำการ Block Email ของคุณ




451 4.3.5 Server configuration problem - try again later;




451 4.7.1 Service unavailable - try again later;
  • การตั้งค่า ขาออก (SMTP) ของคุณ นั้นตั้งผิด โดยเฉพาะคุณไม่ได้มีการ ติ๊กเครื่องหมายถูกในช่อง Our server requires authentication  คลิ้กเพื่อดูรายละเอียดการตั้งค่า (OutlookThunderbirdAppleAndroid)

452 4.5.3 Error: too many recipients

  • ระบบของเราจะไม่ยอมให้คุณส่ง Email ไปยังปลายทาง ในช่อง To, CC และBcc รวมกันเกิน 50 คน ในการส่งหนึ่งครั้ง
  • คุณควรแก้ไขปัญหาด้วยการส่งอีเมล์ ครั้งละ 50 ฉบับ เป็นจำนวน 2 ครั้งแทน เป็นต้น

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์แบบ creative commons license
การนำบทความไปเผยแพร่ต่อ ต้องมีการ ทำ Link อ้างอิงกลับมาที่ URL นี้
การละเมิดลิขสิทธ์โดยการนำบทความของเราไปเผยแพร่โดยมิได้มีการทำ Link อ้างอิงกลับมาที่ URL นี้ มีความผิดทางกฏหมายในการละเมิดลิขสิทธ์ ซึ่งทางบริษัทจะดำเนินคดีจนถึงที่สุด

บทความโดย
ระบบอีเมล์ธุรกิจ ที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดย Maildee.com

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธี Check Domain เพื่อใช้ใน Email ธุรกิจ ว่าว่าง หรือไม่?



1.เข้าเว็บไซต์ internal.maildee.com
2.พิมพ์ชื่อ Domain ที่ต้องการตรวจสอบดังภาพ หลังจากนั้นกดปุ่ม GO


3.หาก Domain นั้นว่าง และ ใช้งานได้ จะแสดงปุ่ม Add ดังภาพ (ท่านไม่ต้องกดปุ่มนี้)
หลังจากนั้นท่านสามารถแจ้งชื่อ Domain ดังกล่าวให้ทางทีมเราผ่านทาง Email
เพื่อดำเนินการต่อได้ทันที ในกรณีนี้คือ abc-thailand.com


นอกจากเรื่องชื่อ Domain เพื่อใช้ใน Email ธุรกิจ แล้วยังมีเรื่องของ Domain Name Server(DNS) ในส่วนของ Web hosting ที่น่าสนใจเช่นกัน คุณสามารถคลิ้กเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง
Domain Name (โดเมนเนม สำหรับ Email) คืออะไร และควรตั้ง Email ชื่อบริษัท อย่างไร แบบมืออาชีพ
วิธีเลือกซื้อ Email (อีเมล์) สำหรับชื่อ @โดเมนตัวเอง/องค์กร/บริษัท แบบประหยัด(ถูก) และดี

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ส่งอีเมล์ไม่ถึงผู้รับ Error: Sender address rejected: Domain not found



ข้อความปฏิเสธจาก Mail Server ดังกล่าว มักจะพบใน Log การส่งอีเมล์ ใน Mail Server ของผู้ส่งดังตัวอย่าง

=============
xxx@domain.com R=lookuphost T=remote_smtp defer (-44): SMTP error from remote mail server after RCPT TO:<name@domain.com>: host spamfilter.domain.com [203.146.205.102]: 450 4.1.8 <yyy@company.co.th>: Sender address rejected: Domain not found
=============

สาเหตุที่เกิด Error ดังกล่าว ได้แก่

1. Domain ของปลายทางที่ผู้ส่งพยายามส่งอีเมล์ออกไปนั้น ไม่มีชื่ออยู่จริง
2. ช่วงเวลาที่ส่งข้อความดังกล่าว Mail Server อาจจะเกิดปัญหาขัดข้องบางอย่าง ทำให้ข้อความถูกตีกลับ เช่น ค้นหา MX ไม่เจอ, ตั้งค่า MX ผิดรูปแบบ เป็นต้น


ปัญหาดังกล่าวต้องมีการไล่ตรวจสอบทีละสาเหตุว่า Domain ดังกล่าวมีการตั้งค่า DNS ต่าง ๆ ถูกต้องแล้วหรือไม่ แล้วให้ผู้ส่งทำการทดสอบส่งอีเมล์อีกครั้ง


บทความที่เกี่ยวข้อง



ผู้ให้บริการเช่าEmail Hosting อันดับ 1


วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ต้องการย้ายผู้ดูแลโดเมนเนม .co.th ต้องใช้เอกสารใดบ้าง


การย้ายผู้ดูแล Domain.co.th สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • Domain ต้องจดทะเบียนเกิน 60 วันขึ้นไป จึงจะทำการย้ายได้
  • Domain ที่จะทำการย้าย ต้องยังไม่หมดอายุ และเหลือวันที่จะหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน
  • หาบริษัทที่ดูแลโดเมนและโฮส รายใหม่ที่ต้องการใช้บริการ
  • แจ้งความต้องการใช้บริการกับโฮสรายใหม่ และยื่นเอกสารประกอบการย้ายผู้ดูแล Domain จนกว่าจะมีการยืนยันว่าโดเมนของเราถูกย้ายมาที่ผู้ให้บริการรายใหม่แล้ว

ในการจะย้ายผู้ดูแล Domain.co.th จำเป็นต้องใช้เอกสารที่มีผลทางกฏหมาย เนื่องจากเป็นการจดโดเมนในนาม หจก. บจก. บมจ.  โดยเอกสารเหล่านั้นประกอบด้วย

  • หนังสือรับรองนิติบุคคลหน้าแรกโดยต้องมีลายเซ็น ชื่อและตำแหน่งตัวบรรจงของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท (ชื่อของผู้มีอำนาจลงนามต้องเป็นไปตามข้อที่ 3 ในหนังสือรับรองนิติบุคคล)


  • เอกสารแจ้งการขอเปลี่ยนผู้ดูแล Domain โดยทางบริษัทผู้ให้บริการใหม่จะแนบไฟล์ส่งให้ผู้รับบริการใส่ลายละเอียดหัวกระดาษ ชื่อบริษัท ลายเซ็น ระบุชื่อตำแหน่งตัวบรรจงของผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท เพื่อนำไปแจ้งต่อบริษัทผู้ให้บริการเก่า

บริษัท เทคโนโลยี แลนด์​ จำกัด

Email hosting สำหรับองค์กร คุณภาพดี ราคาประหยัด

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ค่า MX หรือ Mail Exchanger ใน DNS คือ อะไร ?

บทความนี้เหมาะสำหรับ Admin ที่เข้าใจ การทำงานของ DNS สำหรับ Domain name เบื้องต้น แต่เมื่อถึงจุดที่คุณต้องมีการตั้งค่า MX เช่น มีการเปลี่ยนระบบหรือย้าย ผู้ให้บริการ Email Hosting ค่า MX ใน DNS จะเป็นค่าที่คุณต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอน แต่ Admin หลายคนมีความกังวลที่จะเปลี่ยน เพราะไม่เข้าใจการทำงานของมัน ในที่นี้ผู้เขียนขออธิบายดังนี้

MX คือ อะไร ?

MX มีความหมาย คือ Mail Exchanger ซึ่งเป็นผู้สั่งการว่า Email ที่วิ่งเข้ามายัง Domain คุณนั้นจะต้องวิ่งไปหา Email Server ตัวใด ยกตัวอย่าง เช่น Domain name : abc.com มีการ Add Email : a@abc.com ไว้ ซึ่งได้ทำการตั้งค่า MX บน Domain: abc.com ไว้แล้ว เมื่อมีอีเมล์ฉบับใดๆ ส่งเข้ามาที่ @abc.com มันจะวิ่งไปหาค่า MX ของ Domain: abc.com ทันทีว่า Email ที่ถูกส่งเข้ามาฉบับนี้จะต้องเอาไปไว้ใน Server ใด  

Priority คือ อะไร ?

ค่า Priority จะเป็นตัวเลข ซึ่งจะเป็นตัวจัดอันดับความสำคัญของ Mail Server ปลายทาง โดยส่วนใหญ่แล้วการตั้งค่า MX จะมีมากกว่า 1 ค่า ซึ่งการทำงานของมัน คือ Email จะถูกส่งไปหา Mail Server ที่มี Priority ต่ำสุด (มีความสำคัญสูงสุด) หาก Mail Server Priority แรกล่ม มันก็จะส่งไปยัง Mail Server ที่มี Priority สูงกว่า (มีความสำคัญน้อยกว่า) นั่นเอง


จะให้ Email วิ่งไปที่ Mail Server 2 ตัวพร้อมกัน ?

หากคุณเริ่มเข้าใจการทำงานของ MX คุณก็จะเกิดคำถาม และ เป็นข้อสงสัยสำหรับคนที่ต้องการทำ Mail Server ว่า อย่างนี้ถ้าเราตั้งค่า Priority ให้มีค่าเท่ากันทั้ง 2 Server เวลา Email เข้ามามันจะได้วิ่งไปทั้ง 2 Server เลย, ในส่วนนี้ไม่สามารถทำได้ และ ผลลัพธ์ที่ออกมา คือ มันจะเข้าแบบสลับ คือ มันจะวิ่งไป Server ตัวแรกบ้าง Server ตัวที่สองบ้าง (จริงๆมีชื่อเรียกทฤษฎีนี้เลยทีเดียว) 

ตัวอย่างการตั้งค่า MX


Priority 10,  mx1.mailserver.com
Priority 20,  mx2.mailserver.com

หากการตั้งค่าเป็นลักษณะนี้เมื่อมี Email เข้ามา มันจะวิ่งเข้าไปยัง Priority 10 คือ Mail Server ที่ชื่อว่า mx1.mailserver.com เป็นหลัก แต่หาก mx1.mailserver.com นั้นล่ม มันก็จะนำอีเมล์ฉบับนั้นวิ่งไปยัง Priority 20,  mx2.mailserver.com ที่มีลำดับความสำคัญน้อยกว่านั่นเอง



VDO ที่เกี่ยวข้อง






บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้เชี่ยวชาญการให้บริการ ระบบ Email Server อันดับ 1 ของไทย


วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เอกสารสำหรับใช้ในการจดโดเมน .co.th มีอะไรบ้าง



หากเราต้องการ อีเมล @domainname.co.th อันดับแรกท่านจะต้องจดทะเบียน Domain ในนามของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท หรือ บริษัท (มหาชน) ที่มีที่ตั้งของบริษัทอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น (ส่วนนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย)จึงสามารถจด Domain.co.th ได้

โดยเอกสารที่ใชประกอบการจด Domain.co.th ประกอบด้วย

          -  เอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล (ที่มีอายุไม่เกิน 60 วัน ดูได้จากวงกลมสีแดงตามรูป)
      


ส่วนการตั้งชื่อโดเมนนั้น มีหลักการในการใช้ชื่อดังนี้

  • ชื่อโดเมนที่เลือกจะต้องใช้อักษรที่มาจากชื่อองค์กรภาษาอังกฤษ 
  • ชื่อโดเมนแต่ละชื่อจะต้องประกอบด้วยอักษรหรือตัวเลข (a-z, 0-9) อย่างน้อย 2 ตัวอักษร แต่ไม่      เกิน 63 ตัวอักษร                 
  • ชื่อโดเมนจะต้องสอดคล้อง เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท หรือเป็นตัวย่อก็ได้ ยกตัวอย่าง
    บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัดต้องการจดทะเบียนโดเมน ควรใช้ชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า technologyland.co.th    หรืออาจจะเป็น tl.co.th ก็ได้เช่นกัน เพราะถือเป็นอักษรย่อของชื่อบริษัท 
  • ไม่สามารถนำคำที่ไม่มีอยู่ในชื่อของบริษัท มาใช้ตั้งโดเมนได้ ยกตัวอย่าง technologyland-           thailand.co.th ชื่อนี้จะไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจาก คำว่า thailand ไม่มีอยู่ในชื่อของบริษัท

บทความโดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

ผู้ให้บริการ จัด ทำอีเมล์สำหรับบริษัท.co.th คุณภาพสูง

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จะเลือก Email Server ที่ไหนดีที่สุด เพื่อสร้าง Email (อีเมล์) ภายใต้ชื่อ Domain (โดเมน) ตัวเอง บริษัท องค์กร



สำหรับองค์กร หรือ ธุรกิจ ขนาดเล็ก (SME) จากเมื่อก่อนที่ใช้การสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์ หรือ Fax กลับเปลี่ยนเป็นการติดต่อสื่อสาร ผ่าน Email (อีเมล์) เพราะทั้งรวดเร็วและสะดวก แถมยังไม่ต้องเสียค่าบริการอะไร

หลายๆธุรกิจ ยังเลือกที่จะใช้บริการ Free Email จากค่ายดังหลายๆ ค่าย แต่ เจ้าของธุรกิจบางคนกลับเห็นความสำคัญ ต่อการใช้ Email @ ชื่อบริษัทตนเอง หรือ Domain ตนเอง เนื่องจากเหตุผล ด้านความน่าเชื่อถือ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจหลายๆท่าน จะต้องหาผู้ให้บริการ Email Server คุณภาพ เพราะทั้งธุรกิจเรา อยู่ใน Email

Solution ในการแก้ไขปัญหา ของเจ้าของธุรกิจ มีอยู่หลักๆ 2 ข้อ คือ
1. ทำ Email Server เอง
2. เช่า Email Server 

คุณรู้หรือไม่ว่า การทำ Email Server เอง นอกจากจะต้องลงทุนด้าน Hardware ยังมีค่าใช้จ่ายอีกจำนวนมาก เช่น ค่า Data Center ในการวาง Server , ค่าวิศวกรที่ต้องคอยดูแล, ค่า Software ดังนั้น เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ มักจะเลือกใช้วิธีเช่า Email Server จากบริษัท ผู้ให้บริการ แล้ววิธีการจะเริ่มต้นอย่างไร

เราสามารุถอธิบายเป็นวิธีการคร่าวๆได้ดังนี้
1.ผู้รับบริการ ต้องคิดชื่อ Domain (คือ ชื่อ หลัง @) เช่น @abc.com เป็นต้น หรือ @abc.co.th

2.ผู้ให้บริการก็จะนำชื่อ Domain นั้นไปตรวจสอบกับระบบฐานข้อมูลโลกว่ามีชื่อนี้ซ้ำหรือไม่ ถ้าไม่ ผู้รับบริการก็สามารถใช้งานได้

3.ผู้ให้บริการ จะทำการผู้ค่าทางเทคนิค เช่น ค่า DNS MX เป็นต้น ระหว่าง Domain ไปยัง Email Server ของผู้ให้บริการ

4.ผู้รับบริการก็จะสามารถใช้งานได้ทันที

แล้วจะเลือกผู้ให้บริการ Email Server เจ้าไหนดี
จริงๆแล้ว ในประเทศไทย มีผู้ให้บริการด้าน Email Server โดยเฉพาะ ค่อนข้างน้อย  แตกต่างกับในต่างประเทศที่มีผู้ให้บริการค่อนข้างมาก แต่ไม่ Support ภาษาไทย

แต่ในประเทศไทยจะมีแต่ผู้ให้บริการ Hosting เยอะมากซึ่งผู้ให้บริการ Hosting มักจะเขียนว่า สามารถใช้งาน Email ได้ ไม่จำกัด Users หรือ ภายใต้พื้นที่ที่กำหนด  ซึ่ง Email ที่ถูกแถมมาพร้อมกับ Hosting นั้น เมื่อนำไปใช้งานจริงๆ จะไม่สามารถใช้งานได้ เพราะจะเกิดปัญหาเช่น มีพื้นที่น้อย, ส่ง Email ไม่ค่อยออก, รับเมล์ไม่ค่อยได้ เป็นต้น เพราะว่า ใน Web Server/Hosting 1 เครื่องประกอบด้วยเว็บไซต์ เป็นร้อยเป็นพันเว็บ เมื่อเว็บใดเว็บหนึ่งมีปัญหา อีเมล์ของคุณ ก็จะมีปัญหาไปด้วย

หากบริษัทคุณ เน้นเรื่อง Email จริงๆ ควรเลือกผู้ให้บริการ Email Server โดยเฉพาะ หรือ ซื้อบริการแยกอออกมาตาหาก