แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา domain จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด
แสดงโพสต์โดยจัดเรียงตามวันที่ของการค้นหา domain จัดเรียงตามความเกี่ยวข้อง แสดงโพสต์ทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีการเช็คอีเมล์บริษัท ทำได้กี่วิธี พร้อมตัวอย่างที่เข้าใจได้ง่ายๆ

                ผู้เขียนเชื่อว่าทุกๆคนที่ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องเคยใช้งานฟรีอีเมล์มาแล้วทุกคน เช่น Gmail, Yahoo, Hotmail  ซึ่งการเช็คอีเมล์บนฟรีอีเมล์นั้นต่างกับ อีเมล์@ชื่อบริษัท โดยสิ้นเชิง เพราะ Free Email ทั้งหมดนั้นสามารถตั้งค่าหรือเช็คอีเมล์ได้ง่ายมาก ไม่ว่าจะผ่านอุปกรณ์พกพา, เว็บ, โปรแกรม Email Client แต่ อีเมล์ @ชื่อบริษัท นั้นต้องให้ผู้ให้บริการให้คำแนะนำ และ ต้องตั้งตามคู่มือที่ผู้ให้บริการอีเมล์บริษัทนั้นกำหนดให้

                ดังนั้นการเลือกบริษัทที่ให้บริการอีเมล์บริษัทควรมีทีมงาน Support ลูกค้า และ เราขอสรุปวิธีการเช็คอีเมล์บริษัท หลักๆ จาก 4 วิธีดังนี้




  1. ผ่านโปรแกรม Email Client
    โปรแกรมที่ได้รับความนิยม คือ Microsoft Outlook ซึ่งข้อดีหลักของมันเลย คือ มันสามารถแจ้งเตือนทางหน้าจอของคุณได้ทันทีเมื่อมีอีเมล์ใหม่ๆ และ ยังมีเครื่องมือที่ช่วยในการใช้งานอีเมล์ในเชิงธุรกิจได้อีกด้วย


  2. ผ่าน Webmail
    การเช็คอีเมล์ผ่านเว็บก็คล้ายๆกับ Free Email ทั่วไป โดยผู้ให้บริการจะให้ชื่อเว็บมา หลังจากนั้นคุณก็เพียงเปิดเว็บนั้นและใส่ Username Password ก็สามารถเช็คอีเมล์บริษัทได้





  3. ผ่าน Tablet
    เช่น iPad, Samsung Galaxy เป็นต้น เพราะการสื่อสารทางธุรกิจ การโต้ตอบกับลูกค้าอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้น การเช็คอีเมล์ผ่านอุปกรณ์ประเภท Tablet ถือเป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบัน




  4. ผ่านมือถือ
    เช่น iPhone, Samsung เพราะ Smart Phone เหล่านี้จะมี App ชื่อว่า Mail ติดมาด้วย ด้วย Apps ตัวนี้จะทำให้คุณสามารถเช็คอีเมล์บริษัทจากอุปกรณ์ Smart Phone ได้ง่ายๆ แค่มีอินเตอร์เน็ตก็พอ


ซึ่งการเช็คอีเมล์บริษัทด้วยวิธีต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ต้องได้รับคำแนะนำอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ Support (บริการหลังการขาย) และ ในระหว่างการใช้บริการ อีเมล์บริษัท คุณอาจจะมีคำถาม หรือ พบปัญหาเกี่ยวกับการตั้งค่า ดังนั้น การให้บริการหลังการขายที่รวดเร็วถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อบริการ


บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด, ผู้นำระบบ อีเมล์บริษัทอีเมล์องค์กร

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

ทำไมการสื่อสารด้วย "อีเมล์บริษัท" เป็น "วิธีหลัก" ในยุคปัจจุบัน ?



ทำไม "อีเมล์บริษัท" ถึงมีความสำคัญ ?

  1. ธุรกิจ = ความน่าเชื่อถือ
    คงไม่มีใครปฏิเสธว่าความน่าเชื่อถือนั้นเป็นปัจจัยหลักอันดับแรกๆเลย ของคนที่เปิดบริษัท ซึ่งการใช้อีเมล์ภายใต้ชื่อบริษัทตนเอง หรือ อีเมล์บริษัท จึงเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน
  2. อีเมล์เป็นวิธีการสื่อสารหลัก
    การสื่อสารด้วยอีเมล์ได้รับการยอมรับ และ เป็นที่นิยมสูงสุดในยุคปัจจุบัน เพราะ สะดวก รวดเร็ว มีค่าใช้จ่ายน้อย มีความเป็นปัจจุบัน (Realtime) แนบไฟล์ได้ ซึ่งสะดวกกว่าการโทรศัพท์คุยกัน
  3. อีเมล์ ไม่มี Delay
    ความรวดเร็วในการสื่อสาร นั้นเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการรับส่งอีเมล์ ถือเป็นวิธีการหนึ่งทีให้ผลลัพธ์แทบจะ Realtime คือ หลังจากที่ผู้ส่งส่งไป ผู้รับก็จะได้รับเมล์ทันที โดยไม่มีการ Delay ของ Email
  4. แค่มีอินเตอร์เน็ต
    การเช็คอีเมล์ และ การรับส่งเมล์นั้น สามารถทำได้ง่ายมาก ผ่านอุปกรณ์อะไรก็ได้ที่รองรับการเช็คอีเมล์ และ มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตนั้นง่ายและมีราคาที่ถูกมาก


บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด, ผู้นำระบบ อีเมล์บริษัทอีเมล์องค์กร

ทำไมการ Support ถึงมีความสำคัญในการซื้อ อีเมล์บริษัท




การทำธุรกิจคุณต้องพบทั้งความเสี่ยง ความเคียด ความกดดัน คู่แข่ง ลูกค้า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะบอกว่าบริษัทของคุณนั้นจะอยู่ได้หรือไม่ แต่หากคุณยังต้องมาเสียเวลากับปัญหาการใช้ อีเมล์บริษัทอีก อาจจะทำให้คุณไม่มีเวลาเหลือไปทำธุรกิจอีกเลย ซึ่งในบทความนี้จะเขียนว่าเพราะเหตุผลใดที่การ Support หรือ การให้บริการหลังการขายที่ดีจากผู้ให้บริการ อีเมล์บริษัท นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

  1. การใช้งาน อีเมล์บริษัท ต้องมีการตั้งค่าบนโปรแกรม Outlook ซึ่งคนที่มิได้มีความรู้ในส่วนนี้ต้องแจ้งให้ทางทีม Support ให้คำแนะนำ หากไม่ได้รับคำแนะนำคุณอาจจะใช้อีเมล์บริษัทไม่ได้ หรือ มีปัญหาการใช้งาน
  2. การตั้งค่าบนอุปกรณ์พกพา เช่น มือถือ, iPad, iPhone, Samsung ล้วนต้องมีความรู้พื้นฐานจากการใช้งานอีเมล์บริษัทมาก่อน ซึ่งการตั้งค่าแตกต่างกับการตั้งค่าเหมือน Free Email ทั่วไปจาก Gmail, Hotmail ซึ่งมีวิธีการตั้งค่าที่ง่ายมาก
  3. ความรวดเร็วในการ Support เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการสื่อสารในปัจจุบันนั้นใช้งานผ่านอีเมล์เป็นหลัก ซึ่งแสดงว่าหากคุณมีปัญหาการใช้งานคุณควรที่จะได้รับการช่วยเหลือจากทีม Support อย่างรวดเร็วที่สุด
  4. ช่องทางการ Support ผู้ให้บริการอีเมล์บริษัท ควรจะเป็นบริษัทที่มีความมั่นคง มีทีมงานที่แยกออกเป็นสัดส่วน เช่น ทีมงาน Support (บริการหลังการขาย) และ ควรจะมีช่องทางให้ติดต่อที่สะดวกต่อลูกค้า เช่น Call Center, Live Chat หรือ แม้แต่การช่วยเหลือในระดับการ Remote มายังหน้าจอของลูกค้าซึ่งถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  5. ความจริงใจในการช่วยเหลือลูกค้า การใช้อีเมล์บริษัท ค่อนข้างเป็นการซื้อขายที่ผูกขาดด้านระยะเวลา ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเสียค่าบริการเป็นรายปี ซึ่งแสดงว่าบริษัทผู้ให้บริการต้องมีนโยบายและแสดงความจริงใจอย่างชัดเจนต่อลูกค้า ว่าจะช่วยเหลือลูกค้าตลอดระยะเวลาการให้บริการ


บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด, ผู้นำระบบ อีเมล์บริษัท, อีเมล์องค์กร

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

สุดยอดวิธีการเลื้อกซื้อ "อีเมลบริษัท" ที่ควรรู้ก่อนตั้ดสินใจซื้อ

หากคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือ กลาง คุณควรเลือกซื้อ "อีเมลบริษัท" จากผู้ให้บริการที่มีคุณภาพ เพื่อที่คุณจะได้นำเวลาที่เหลือไปใช้ทำอย่างอื่น เพราะหากคุณเลือกซื้อ "อีเมลบริษัท" จากผู้ให้บริการที่ไม่มีคุณภาพคุณอาจจะต้องเอาเวลาอันล้ำค่าที่ต้องใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ มานั่งแก้ไขปัญหาอีเมล โดยเราได้รวมสุดยอดวิธีในการเลือกซื้อไว้ดังนี้






มีสัญญาการให้บริการที่ชัดเจน

คุณกำลังซื้อบริการอีเมล คุณอาจจะไม่มีความรู้ในด้านนี้เลย ดังนั้นการถามหาเอกสารสัญญาการให้บริการ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะหากไม่มีสัญญาการให้บริการก็ไม่ต่างจากที่คุณกำลังจะโอนเงินไปทิ้งน้ำเลย เพราะผู้ให้บริการอีเมลบริษัทเหล่านั้นจะยกเลิกการให้บริการเมื่อไหร่ก็ได้








เลือกบริษัทที่ Support รวดเร็ว

การซื้อบริการอีเมลบริษัท มาใช้งานจริงๆ คุณต้องมีความรู้เบื้องต้นในการตั้งค่าโปรแกรม Outlook ซึ่งเป็นโปรแกรมหลักที่ใช้เช็คเมล รวมถึงการตั้งค่าบนโทรศัพท์มือถือ และ Tablet ด้วย ดังนั้นผู้ให้บริการ อีเมลบริษัท มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องแนะนำลูกค้าในการตั้งค่ารวมถึงปัญหาการใช้งานต่างๆอย่างรวดเร็ว และ ควรมีการ Support แบบ Remote ด้วย









ปัญหาเพียบ

หากผู้ที่เคยใช้งานอีเมลบริษัทมา จะพบว่าผู้ให้บริการแต่ละที่ ก็จะมีปัญหาในการใช้งานอีเมลที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ ส่งอีเมลไม่ออก, รับอีเมลไม่ได้, รับส่งล่าช้า, Junk mail เยอะ หรือ ผู้ให้บริการอยู่ดีๆ ก็ปิดมือถือหายไปเลย ดังนั้นคุณควรมั่นใจว่าผู้ให้บริการอีเมลบริษัท ต้องไม่มีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น และ ต้องพร้อมให้คำแนะนำอย่างรวดเร็วหากคุณพบปัญหาการใช้งาน









ของถูกและดีไม่มีอยู่จริง

หากคุณพึ่งกำลังเริ่มต้นธุรกิจการประหยัดเป็นเรื่องที่ไม่ผิด แต่สำหรับการเลือกซื้ออีเมลบริษัทแล้วคุณไม่สามารถหาของราคาถูกและมีคุณภาพที่ดีได้ ดังนั้นคุณควรเลือกซื้ออีเมลบริษัท จากผู้ให้บริการที่มีการตั้งราคาไว้อย่างเหมาะสม ไม่ใช่เพียงไม่กี่ร้อยบาทต่อปีเป็นต้น


บทความที่เกี่ยวข้อง



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ อีเมลบริษัท อันดับ 1

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ป้องกัน Email ตกหล่นด้วย "Catch all email"





Catch all email คือ อะไร

Catch all email คือ การทำให้ Mail Server นั้นรับ Email ที่ส่งมายังผู้รับ (Receiver) ทุกฉบับ ถึงแม้ว่า Email ของผู้รับ (Receiver) คนนั้นจะไม่มีตัวตนอยู่จริง หรือ อาจจะเป็นพนักงานที่ลาออกไปแล้ว เป็นต้น







การทำงานแบบปกติ

ยกตัวอย่าง หากมี Email ส่งมายัง a@maildee.com แล้ว a@maildee.com นั้นมีอยู่จริง Email ฉบับนั้นก็จะถูกส่งมายัง a@maildee.com อย่างปกติ











ไม่มี Email นั้นอยู่จริงๆใน Mail Server


  • ยกตัวอย่างตามภาพเมื่อมีคนส่ง Email มายัง hippo@maildee.com และ Email: hippo@maildee.com นั้นไม่มีตัวตนอยู่จริง โดยปกติแล้ว Mail Server จะทำการตีเมล์นั้นกลับไปยังผู้ส่ง (Sender)


  • แต่ในที่นี้เรามีการตั้ง Function "Catch all email" ไว้ที่ Domain : maildee.com โดยให้ "Catch all email" ไปที่ email: center@maildee.com


  • ดังนั้นเมื่อมีคนส่ง Email มายัง User ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง Email เหล่านั้นก็จะวิ่งเข้าไปยัง email: center@maildee.com


  • Function "Catch all email" จะมีให้บริการจากผู้ให้บริการ Mail Server บางรายเท่านั้น 


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Server อันดับ 1

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

DNS คือ อะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท และทำงานอย่างไร ?







DNS คือ อะไร ?

DNS ย่อมาจาก Domain name server มีหน้าที่แปลงชื่อ Domain name เป็นหมายเลข IP ของ Server ปลายทาง และ ยังทำหน้าที่บังคับทิศทางของ Email ว่าให้ทำการส่งไปยัง Mail Hosting IP ใด หรือ เรียกง่ายๆว่า มันแปลงชื่อไปเป็น IP Server นั่นเอง

ตัวอย่างและประเภทของ DNS







DNS แบ่งออกเป็นชื่อเรียกและการทำงานดังนี้

  1. A Record จะเป็นการชี้แบบ IP โดยต้องระบุปลายทางเป็นหมายเลข IP
  2. Cname Record จะเป็นการชี้แบบ Hostname โดยต้องระบุ Server ปลายทางเป็น แบบ Hostname
  3. MX Record จะเป็นการตั้งค่าเพื่อระบุว่าถ้ามี Email วิ่งเข้ามายัง Domain ตนเอง จะให้ Email ฉบับนั้นไปเก็บที่ Mail Hosting ปลายทางที่ใด
  4. SPF Record  จะใช้เป็นการตั้งค่าโดยผู้ให้บริการ Email Server จะเป็นผู้กำหนดค่ามาให้เพื่อใช้ในการยืนยันว่า Mail Server นั้นอนุญาติให้ Domain คุณส่ง Email จริงๆ
  5. TXT Record นิยมใช้เพื่อยืนยันว่าคุณเป็นเจ้าของ Domain จริงๆ
  6. ค่า TTL เป็นค่าที่กำหนดให้ DNS Server ของ ISP อื่นๆ โดยหน่วยจะเป็นวินาที ว่าจะให้ ISP อื่นๆ นั้นมาทำการ Update ให้ตรงกับค่า DNS ของตนเองทุกๆ กี่วินาที
  7. NS Record เป็นการระบุว่าให้ Domain ของคุณ รับฟังค่า DNS Zone จาก DNS Server ตัวใด



บทความที่เกี่ยวข้อง


VDO ที่เกี่ยวข้อง





บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ผู้ให้บริการ EMail Hosting อันดับ 1

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ค่า TXT ใน DNS คือ อะไร และ มีไวเพื่ออะไร ?





TXT Record คือ อะไร

TXT Record เป็น DNS ประเภทหนึ่งใน DNS Zone ของ Domain name ซึ่งมักจะมีเอาไว้เพื่อใช้ในกระบวนการยืนยันว่าคุณนั้นเป็นเจ้าของ Domain name นั้นจริงๆ ซึ่งเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เราอาจจะพบวิธีการนี้ในกระบวนการสมัครสมาชิก หรือ บริการที่ต้องใช้ชื่อ Domain name

ตัวอย่าง TXT Record





  • เนื่องจากค่า TXT Record เป็นค่าที่เปิดเผยเป็นสาธารณะ หรือ พูดง่ายๆ ใครๆ ก็รู้ได้ และ ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากนักหากคนอื่นจะรู้ และมีเว็บมากมายที่เอาไว้ Loolup TXT Record ของ Domain ที่เราต้องการ
  • ในการสมัครใช้บริการใดๆ ที่ต้องมีการนำชื่อ Domain ไปใช้ในการสมัคร หรือ ยืนยันตัวตน ผู้ให้บริการอาจจะให้ค่า TXT และ ให้คุณนำค่า TXT นั้นมาใส่ใน DNS Zone ของ Domain name คุณ
  • หลังจากนั้นผู้ให้บริการจะทำการ Lookup มายัง TXT Record ของ Domain คุณ ว่าตรงกับที่ทางผู้ให้บริการนั้นนำมา Add หรือไม่ หากตรงก็จะสามารถยืนยันได้จริงๆว่าคุณเป็นเจ้าของ Domain ดังกล่าว


บทความที่เกี่ยวข้อง



VDO ที่เกี่ยวข้อง





บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ผู้ให้บริการ Mail Server อันดับ 1

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ใช้งาน GoogleApps ร่วมกับระบบ Email Hosting บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

บางองค์กรมีการใช้ Google Apps for Business เพียง 10 Users จาก User รวม 200 Users เป็นต้น และต้องการให้ 190 Users ที่เหลือใช้งานระบบ Email Hosting ของบริษัทเรา

วิธีการนี้องค์กรมักจะให้ระดับผู้บริหาร หรือ บุคคลที่ต้องการใช้งาน Email ที่มีความเสถียรสูง และ พื้นที่ใช้งานจำนวนมากใช้งาน Google Apps เพราะ Google Apps ให้พื้นที่สูงถึง 30 GB/Account โดยที่พนักงานทั่วไปใช้งานผ่านระบบ Email Hosting ของทางเรา โดยท่านสามารถตั้งค่าผ่าน Google Apps for business ดังนี้


ให้ทำการ Login โดย User ที่เป็น Master Admin ของทาง Domain คุณ
หลังจาก Login ให้คลิกไปที่ Google Apps


เลือกไปที่ Gmail



เลื่อนลงมาด้านล่างสุดจะพบ Advanced Setting >> ให้คลิกเข้าไป



ให้ตั้งค่าและติ๊กเคื่องหมายตามภาพประกอบ
โดยที่ตั้ง Destination ให้มีค่า  mxcontrolmaildee.com



ด้วยวิธีการนี้จะทำให้ User ที่เหลือก็จะสามารถใช้งาน Email Hosting ของบริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ที่มีคุณภาพสูงรวมถึงมีการ กรอง Spam (Spam Filter) ก่อนที่ Email จะวิ่งไปหา User ที่เหลือ และ ทำให้การใช้งานมีคุณภาพสูงสุดของทุก User ทั้งองค์กร




วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

Mailing List คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

Mailing List หรือ Group Mail คืออะไร?


Mailing List เป็นฟังก์ชั่นหนึ่งของ Mail Server มีหน้าที่กระจายข้อความอีเมล์ที่ส่งมาจาก Sender ไปยังผู้รับทีละหลาย ๆ คน ซึ่งหลาย ๆ องค์กรส่วนใหญ่ใช้กันเพื่อกระจายข่าวสารหรือข้อมูลไปยังพนักงานในบริษัท

Mailing List / Group Mail

การทำงานของ Mailing Lists

Sender ในที่นี้ หมายถึง คนในองค์กรเดียวกันที่ใช้อีเมล์ @domain.com แล้วต้องการส่งอีเมล์ไปแจ้งทุกฝ่าย เรื่องรายละเอียดการเข้าสัมมนาต่างจังหวัด จึงส่งรายละเอียดไปที่อีเมล์ all@domain.com ซึ่งในที่นี้อีเมล์ ดังกล่าวนั้น ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง หรือเรียกอีกอย่างว่า 'Email Alias' คือ บัญชีอีเมล์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นทางผ่านให้ ข้อความที่ส่งจาก Sender นั้น กระจายไปยังผู้รับหลาย ๆ คนที่อยู่ในกลุ่ม

การตั้งค่าก็ไม่ยาก เพียงแค่เข้าไปในส่วนของ Function: Mailing Lists และ Create Mailing List และตั้ง List name (Email Alias) ขึ้นมา เช่น all, sales, marketing แล้ว Add บัญชีอีเมล์ของ User ลงไปตามฝ่าย ต่าง ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่ม จะมีสมาชิกอยู่กี่บัญชีอีเมล์ก็ได้



ประโยชน์ของ Mailing Lists

  • ช่วยให้ผู้ส่งประหยัดเวลา และสะดวกในการใช้งานมากขึ้น แทนที่จะมานั่ง Add บัญชีอีเมล์ลงไปที่ช่อง TO: ทุกครั้ง แต่เพียงแค่พิมพ์ชื่ออีเมล์ที่เป็น Mailing List ลงไปอีเมล์เดียว ก็สามารถส่งไปหาพนักงานทั้งฝ่ายได้
  • ช่วยให้องค์กรเป็นระบบมากขึ้นมีอีเมล์กลางของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน เวลาฝ่ายบุคคลจะแจ้งจำนวนพนักงานที่เข้ามาใหม่ประจำปี ก็สามารถส่งไปยังฝ่ายบริหารได้รวดเร็วและเป็นระบบ

อย่างไรก็ตาม การสร้าง Mailing Lists สำหรับส่งอีเมล์นั้น ไม่ได้ทำให้ประหยัดปริมาณการส่งได้ หาก Mail Server ที่เราใช้บริการอยู่นั้น มีการจำกัดปริมาณการส่ง (Sending Limits) ก็ควรประเมินปริมาณการส่งต่อวันก่อนที่จะใช้งานจริงด้วย


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการด้านอีเมล์โฮสติ้งที่ดีที่สุด


วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ค่า MX หรือ Mail Exchanger ใน DNS คือ อะไร ?

บทความนี้เหมาะสำหรับ Admin ที่เข้าใจ การทำงานของ DNS สำหรับ Domain name เบื้องต้น แต่เมื่อถึงจุดที่คุณต้องมีการตั้งค่า MX เช่น มีการเปลี่ยนระบบหรือย้าย ผู้ให้บริการ Email Hosting ค่า MX ใน DNS จะเป็นค่าที่คุณต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอน แต่ Admin หลายคนมีความกังวลที่จะเปลี่ยน เพราะไม่เข้าใจการทำงานของมัน ในที่นี้ผู้เขียนขออธิบายดังนี้

MX คือ อะไร ?

MX มีความหมาย คือ Mail Exchanger ซึ่งเป็นผู้สั่งการว่า Email ที่วิ่งเข้ามายัง Domain คุณนั้นจะต้องวิ่งไปหา Email Server ตัวใด ยกตัวอย่าง เช่น Domain name : abc.com มีการ Add Email : a@abc.com ไว้ ซึ่งได้ทำการตั้งค่า MX บน Domain: abc.com ไว้แล้ว เมื่อมีอีเมล์ฉบับใดๆ ส่งเข้ามาที่ @abc.com มันจะวิ่งไปหาค่า MX ของ Domain: abc.com ทันทีว่า Email ที่ถูกส่งเข้ามาฉบับนี้จะต้องเอาไปไว้ใน Server ใด  

Priority คือ อะไร ?

ค่า Priority จะเป็นตัวเลข ซึ่งจะเป็นตัวจัดอันดับความสำคัญของ Mail Server ปลายทาง โดยส่วนใหญ่แล้วการตั้งค่า MX จะมีมากกว่า 1 ค่า ซึ่งการทำงานของมัน คือ Email จะถูกส่งไปหา Mail Server ที่มี Priority ต่ำสุด (มีความสำคัญสูงสุด) หาก Mail Server Priority แรกล่ม มันก็จะส่งไปยัง Mail Server ที่มี Priority สูงกว่า (มีความสำคัญน้อยกว่า) นั่นเอง


จะให้ Email วิ่งไปที่ Mail Server 2 ตัวพร้อมกัน ?

หากคุณเริ่มเข้าใจการทำงานของ MX คุณก็จะเกิดคำถาม และ เป็นข้อสงสัยสำหรับคนที่ต้องการทำ Mail Server ว่า อย่างนี้ถ้าเราตั้งค่า Priority ให้มีค่าเท่ากันทั้ง 2 Server เวลา Email เข้ามามันจะได้วิ่งไปทั้ง 2 Server เลย, ในส่วนนี้ไม่สามารถทำได้ และ ผลลัพธ์ที่ออกมา คือ มันจะเข้าแบบสลับ คือ มันจะวิ่งไป Server ตัวแรกบ้าง Server ตัวที่สองบ้าง (จริงๆมีชื่อเรียกทฤษฎีนี้เลยทีเดียว) 

ตัวอย่างการตั้งค่า MX


Priority 10,  mx1.mailserver.com
Priority 20,  mx2.mailserver.com

หากการตั้งค่าเป็นลักษณะนี้เมื่อมี Email เข้ามา มันจะวิ่งเข้าไปยัง Priority 10 คือ Mail Server ที่ชื่อว่า mx1.mailserver.com เป็นหลัก แต่หาก mx1.mailserver.com นั้นล่ม มันก็จะนำอีเมล์ฉบับนั้นวิ่งไปยัง Priority 20,  mx2.mailserver.com ที่มีลำดับความสำคัญน้อยกว่านั่นเอง



VDO ที่เกี่ยวข้อง






บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด 
ผู้เชี่ยวชาญการให้บริการ ระบบ Email Server อันดับ 1 ของไทย


Forwarders หรือ Auto Forward อีเมล์ใช้งานอย่างไร

Function: Forwarders หรือ Auto Forward คือ อะไร?

'Forwarder' คือ ผู้ส่งต่อ หากสื่อถึงความหมายเชิงเทคนิคที่ใช้งานในระบบอีเมล์ คือ การส่งต่อข้อความอีเมล์จาก บัญชีอีเมล์หนึ่ง ไปยังอีกบัญชีหนึ่ง โดยอัตโนมัติ ซึ่งข้อความนั้นจะส่งไปถึงทั้งสองบัญชีอีเมล์ (ได้รับเมล์ทั้งคู่)

แบบที่ 1

Forwarder = sales@domain.com
Destination Email
 = accounting@domain.com

sales@domain.com  => accounting@domain.com

การตั้งค่าดังกล่าวมีผลทำให้ ข้อความที่ส่งมาจาก Sender ทุกคนจะได้รับข้อความ


แบบที่ 2

การตั้งค่า Forwarders แบบทั่วไป


Forwarder = sales@domain.com
Destination Email = marketing@domain.com, John.c@hotmail.com, hr@domain.com

sales@domain.com  => marketing@domain.com
sales@domain.com  => John.c@hotmail.com
sales@domain.com  => hr@domain.com

การตั้งค่าดังกล่าวมีผลทำให้ ข้อความที่ส่งมาจาก Sender ทุกคนจะได้รับข้อความ จะเห็นได้ว่าเราสามารถตั้งค่าให้ข้อความ Auto forward ไปยังบัญชีอีเมล์ของ Server อื่น ๆ ได้ เช่น @hotmail.com, @gmail.com, @yahoo.com เป็นต้น

จากภาพการตั้ง Forwarder หรือ Auto Forward นั้น บัญชีอีเมล์ทุกบัญชีจะมีตัวตนอยู่จริง จะเห็นได้ว่า แบบที่ 1 และแบบที่ 2 มีทำงานที่เหมือน ๆ กัน คือ "รับ แล้วส่งต่อ"


จุดประสงค์ในการใช้งาน Function: Forwarders


  1. ใช้ส่งต่อข้อความไปยังอีกบัญชีอีเมล์ เช่น User: John.C เป็นหัวหน้าฝ่ายขาย ต้องการรู้ข้อมูลทุกอย่างที่ User: Sales ได้รับหรือลูกค้ารายใดติดต่อซื้อขายเข้ามาบ้าง
  2. ใช้งานเสมือนการ Backup messages ที่รับจากคนอื่น ๆ เช่น User: HR ต้องการเก็บข้อมูลใน INBOX ทั้งหมดไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น Mail server ล่ม, เผลอลบข้อความทิ้งโดยไม่เจตนา จึงตั้งให้ Auto Forward ไปที่ myemail@gmail.com

แบบที่ 3

การตั้งค่า Forwarders แบบที่ 3 หรือเรียกว่า 'Email Alias'


'Email Alias' คือ บัญชีอีเมล์สมมติ  ที่เราตั้งขึ้นมาเอง ซึ่งบัญชีอีเมล์นี้ไม่ได้มีตัวตนอยู่จริงในระบบอีเมล์ คือ เรียกง่ายๆ ว่า เรา "มโน" มันขึ้นมา เพื่อให้เป็นเหมือนทางผ่าน

จากภาพประกอบจะเห็นได้ว่าเราตั้งค่าให้ Forwarder = info@domain.com และ 
Destination Email = sales@domain.com 

เมื่อ Sender ส่งข้อความมายัง info@domain.com แล้ว ระบบจะส่งข้อความฉบับนี้ไปยัง sales@domain.com ทันที โดยที่ไม่ทิ้งข้อความไว้ใน INBOX ของ info@domain.com เพราะว่าบัญชีอีเมล์นี้คือ Email Alias ไม่ได้มีอยู่จริงในระบบ 

จุดประสงค์ในการใช้งาน Function: Forwarders (Email Alias)


จุดประสงค์หลัก คือ ใช้เพื่อประหยัดจำนวนบัญชีอีเมล์ เช่น

info@domain.com =>  Jane@domain.com
contact@domain.com => Jane@domain.com
marketing@domain.com => Jane@domain.com

**User: info, contact, marketing เป็นอีเมล์ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง คือ เราไม่ต้องไป Add account นี้เพิ่มในระบบ เพียงแต่ตั้งในไว้ใน Function: Forwarders เท่านั้น



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

สุดยอด Email Hosting ที่ดีที่สุดในไทย
และผู้นำด้านการให้บริการอีเมล์โฮสติ้งแบบมืออาชีพ

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

[GoCloud] ส่งอีเมล์จากหน้า webmail แล้วมี Error ขึ้น

อาการลักษณะนี้หากเป็นจะเป็นทั้งหมดกับทุก User ที่อยู่ใน Domain เดียวกัน โดยอาการที่พบคือ เมื่อกดปุ่ม send ใน webmail แล้วมี error ตัวแดงๆ ขึ้นมาทันทีที่ "มุมขวาล่าง" ของหน้าจอ ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาในระดับ Email Hosting

ลักษณะอาการที่พบ


ลักษณะอาการที่แสดง


  • เมื่อกดปุ่ม Send Mail แล้วมี Error  ขึ้นมาทันทีในด้านขวาล่าง
  • User ที่อยู่ใน Domain ทั้งหมด ไม่สามารถส่งอีเมล์ออกได้ ไม่ว่าจะ ผ่าน webmail หรือ Outlook


สาเหตุและการแก้ไขปัญหา

  • ลูกค้ามีการส่งอีเมล์เกินจำนวนที่ Email Hosting กำหนดไว้ ให้ทำการ Reset ตัวนับในระบบ Cpanel ของบริษัทฯ
  • ตรวจสอบ Email Usage ของ Domain ที่แจ้งเข้ามา ว่ามี  User ใดติดไวรัส หรือ ส่งอีเมล์ซ้ำๆ กัน ในเวลาเดียวกัน หากใช่ 
  • รีบเปลี่ยน Password ของ User ที่มีปัญหาทันที
  • แนะนำให้ลูกค้ารีบทำการ Scan Malware ในเครื่องทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด ผู้ให้บริการ ระบบ Email Hosting สำหรับองค์กร ที่ดีที่สุด

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ICANN คือ ใคร และ มีความสำคัญต่อ Domain name อย่างไร

Internet Corporation for Assigned Names and Numbers




ICANN คือ ใคร และ มีความสำคัญต่อ Domain name
และระบบ email hosting อย่างไร 




ICANN ย่อมาจาก "Internet Corporation for Assigned Names and Numbers " 
เป็นองค์กรบริหารทรัพยากรโดเมนโลก ทำหน้าที่รักษาความเสถียรภาพการดำเนินงานของระบบอินเตอร์เน็ต เป็นตัวแทนควบคุมอินเตอร์เน็ตโลก รวมถึง Domain name ต่างๆของทั้งโลก


หน้าที่ของ ICANN โดยทั่วไปแล้ว 



  • การบริหารระบบชื่อโดเมน (Management of the Domain Name System)
  • การบริหารระบบอุปกรณ์แม่บทเพื่อบริการด้านทะเบียนและสืบค้นโดเมน (Management of the Root Server System)
  • การจัดสรรเลขหมายไอพี (Allocation of IP Address Space)
  • การกำหนดมาตรฐานทางเทคนิค (Assignment of Protocol Parameters)



ICANN มีความสำคัญต่อ Domain name และ email server อย่างไร


การจดโดเมนแต่ละชื่อนั้นจะต้องทำการจัดการไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน ให้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบระเบียบ การอ้างไปยังข้อมูลต่างๆ ในระบบอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไม่สับสน  เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบ Email Hosting ที่มีประสิทธิภาพ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ข้อมูลที่อยู่ตาม Server ต่างๆ ตอบสนองการต้องการของผู้ใช้อย่างดีที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง



บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting Service Provider

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทำไมถึงได้รับอีเมล์ Unrouteable address ตีกลับมา มันคืออะไร?


ปัญหาที่พบ: ข้อความที่ส่งไปไม่ถึงผู้รับ และได้รับอีเมล์ตีกลับดังภาพ

Error: "Unrouteable address / Unrouteable mail domain" ที่อยู่ในเนื้อหาของอีเมล์ตีกลับ ที่ผู้ส่งพบได้บ่อยมาก และสาเหตุเกิดขึ้นได้ด้วยหลายปัจจัยดังนี้

1. เกิดจากการพิมพ์ชื่อ รายชื่ออีเมล์ ไม่ถูกต้อง หรืออักษรตกหล่น เช่น abc@domian.com แทนที่จะเป็น
abc@domain.com
วิธีแก้ไข
ตรวจสอบชื่ออีเมล์ให้ถูกต้อง ระมัดระวังเรื่องตัวสะกด แล้วทดลองส่งอีเมล์ไปยังปลายทางอีกครั้ง

2. เกิดจากการส่งอีเมล์ที่เกินขีดจำกัดที่ได้รับอนุญาตในการส่งต่อชั่วโมง
วิธีแก้ไข
ให้เพิ่มช่วงเวลาในการส่งอีเมล์ฉบับนั้นๆ ให้นานขึ้น และลองทดสอบส่งอีกครั้ง

3. เกิดจากเซิฟเวอร์ปลายทางที่กำหนดค่า DNS, MX Record ไม่ถูกต้อง ทำให้เราได้รับอีเมล์ตีกลับว่าไม่มีชื่ออีเมล์นี้ที่ใช้งานอยู่
วิธีแก้ไข
ติดต่อผู้ดูแล หรือผู้ใช้อีเมล์ของเซิฟเวอร์ดังกล่าวให้ตรวจสอบค่าทางเทคนิคว่ามีการตั้งค่าถูกต้องหรือไม่

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Email Hosting Service Provider

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

[ปัญหา] Login Email ไม่ได้ หรือ ไม่ผ่าน ทั้งๆที่ username password ถูกแล้ว


ตัวอย่างหน้าจอ เมื่อ Login ผ่านหน้า webmail ไม่ได้

Login ผ่านหน้า webmail ไม่ได้

อาการ
  1. Login แล้ว แจ้งว่าใส่ Username หรือ Password ผิด

การแก้ไขเร่งด่วนและเฉพาะหน้า
  1. Reset Password, โดยต้องให้ Email Admin ของบริษัทผู้ใช้งาน Email มาแจ้งเท่านั้น

สาเหตุและการแก้ไขปัญหา

  • ใส่ Username หรือ Password ผิด
    • ให้ผู้ใช้งานลอง พิมพ์ username และ password เพรียวๆใน Notepad และ Copy ไปวาง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานพิมพ์ถูกต้องจริงๆ
    • หากยังไม่ได้ต้องทำการ Reset Password, ซึ่งผู้สั่งการต้องยืนยันตัวตนด้วยอีเมล์

  • ผู้ใช้งานเข้า URL เป็น IP ตรงๆ ไปยัง Server ผิดตัว
    • ให้ลอง Ping pop.company.com ว่าได้ IP ตรงกับค่า IP ที่ผู้ใช้งานกรอกไปใน URL หรือไม่, ถ้าไม่ใช่แสดงว่าผู้ใช้งานเข้าผิด IP แล้วใน Server นั้นไม่มี Account นี้อยู่, ให้ผู้ใช้งานเข้าผ่าน mail.company.com แทน
    • (วิธีใช้คำสั่ง Ping ใน Window XP - 7, Window 8, MAC OSx)

  • Map DNS แบบ CNAME ค่า mail.company.com ผิด
    • ให้ทำการลอง Ping pop.company.com และ Ping mail.company.com IP ที่ได้รับต้องเป็น IP เดียวกัน, หากไม่ใช่แสดงว่าทีมติดตั้ง Map ผิด แล้วใน Server นั้นไม่มี Account นี้อยู่
    • (วิธีใช้คำสั่ง Ping ใน Window XP - 7, Window 8, MAC OSx)
    • ไม่ได้ใช้ DNS กับเรา หากเป็น sync มันจะ Listen DNS ของ Japan กับ Singapore ก่อนถ้าไม่มีมันก็จะไป listen DNS ข้างนอก ซึ่งปัญหาคือมันไม่เสถียร ต้องมา Add Domain นั้นใน Singapore + Japan และชี้ค่า CNAME ให้ถูกต้อง

  • DNS Swing อยู่
    • ให้สังเกตุ UI ของ webmail ว่าเป็นของระบบเราหรือไม่, หากไม่ใช่และแสดง UI เป็นหน้าจอแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แสดง ว่าผู้ใช้งานอาจจะเข้าใจผิดโดยการใช้ Username และ Password ตัวใหม่ไป Login ในระบบเก่า ซึ่งอยู่ในช่วง Swing
    • (ทำไม DNS ถึงต้องมีการ Swing หรือต้องรอให้ Update)
    • (วิธีใช้คำสั่ง Ping ใน Window XP - 7, Window 8, MAC OSx)
  • ระบบ Lookup IP ล่ม
    ให้ไปที่DB Name: admin_crm ใน Server: https://admin.technologyland.co.th/phpMyAdmin/
    เสร็จแล้วไปที่ TB: switch สักอย่าง แล้วเปลี่ยน จาก 1 ไปเป็น 0 เพื่อให้ webmail ไม่ต้อง Lookup 

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทำไมเราต้องรู้เรื่องค่า Incoming และ Outgoing server

ทำไมเราต้องรู้เรื่องค่า Incoming และ Outgoing server

โปรแกรม Client Software เช่น Microsoft Outlook, Thunderbird, Opera, IncrediMail ทุกเวอร์ชั่น จะมีเมนู Account Settings สำหรับเข้าไปแก้ไขค่า Incoming และ Outgoing server ได้

Incoming คืออะไร?

หากแปลตรง ๆ Incoming ก็คือ ขารับ, ขาเข้า ซึ่งใน Account settings... จะมีหัวข้อ Incoming Mail Server (Host name) ตรงนี้จะเป็นชื่อของ Server ที่ผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้ง จะให้รายละเอียดมาว่าต้องกรอกเป็นชื่ออะไร ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ Server ขารับ ที่จะต้องรับอีเมล์ที่ส่งมาหาเราทุกฉบับ โดยส่วนใหญ่จะเป็น 'pop.domain.com' หรือ 'mail.domain.com' หรือ 'imap.domain.com' แล้วแต่ผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้งจะแนะนำให้กับเรา

Outgoing คืออะไร?

Outgoing ก็คือ ขาออก, ขาส่ง Outgoing Mail Server (Host name) จะมีหน้าที่ดีดอีเมล์ที่เราเป็นคนส่ง ออกไปยังผู้รับ ซึ่งผู้ให้บริการอีเมล์โฮสติ้งจะให้รายละเอียดเช่นเดียวกันว่าต้องกรอกเป็นค่าอะไร ทั่วไปแล้ว จะใช้ 'smtp.domain.com' เป็นค่าที่ใช้กันมาตรฐานที่สุดสำหรับอีเมล์สำหรับธุรกิจ

นอกจากนี้ค่า Incoming Mail Server และ Outgoing Mail Server สำหรับฟรีอีเมล์ เช่น @gmail, @hotmail, @yahoo ที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป ก็จะใช้ค่า Incoming และ Outgoing server ที่แตกต่างกันออกไป

ตัวอย่าง

Hosted Email Services Incoming (POP) server Outgoing server
Gmail pop.gmail.com smtp.gmail.com
Hotmail (live.com, outlook.com) pop3.live.com smtp.live.com
Yahoo pop.mail.yahoo.com smtp.mail.yahoo.com
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

(ปัญหา) ไม่ได้รับอีเมล์บางฉบับ ทั้งๆที่ผู้ส่งยืนยันว่าได้ทำการส่งมาแล้ว

ไม่ได้รับอีเมล์ บางฉบับ จาก sender บางคนไม่ได้

อาการ
  1. ไม่เคยได้รับ Email จาก Sender เลย
  2. เมื่อก่อน Sender คนนี้สามารถส่งมาได้, แต่อยู่ดีๆ ส่งมาก็ไม่ได้รับ

สาเหตุและการแก้ไขปัญหา


  1. ข้อความถูกดักไว้ในระบบ Spam Guard

    การแก้ไขปัญหา: 
    1. 1   ไปที่ระบบ Spam Guard และเลือกไปยัง Domain ของผู้ใช้งาน ในหัวข้อ "Spam quarantine"  ให้ Search Email ของ Sender ว่ามีค้างอยู่ใน "Spam quarantine" หรือไม่, ถ้ามีให้ทำการกดปุ่มซ้ายมือและเลือกไปที่ "Release and Whitelist" หลังจากนั้นผู้ใช้งานจะได้รับอีเมล์ทันที

  2. Sender Mail Server (IP in RBL)

    การแก้ไขปัญหา: 
    2. 1   หาก IP ของ Sender ติด RBL, มีความเป็นไปได้สูงที่ระบบ Spam Guard จะตีกลับอีเมล์ฉบับนั้น หรือ ดักไว้อยู่ในส่วนของ Spam Guard, ให้ทำการ Add Domain ของ Sender เป็น Whitelist แล้วลองให้ Sender ส่งอีเมล์เข้ามาอีกครั้ง

  3. อีเมล์ถูกดักโดยโปรแกรม Email Client เอง 

    การแก้ไขปัญหา: 
    3. 1   โปรแกรม Outlook เวอร์ชั่นใหม่ๆ มักมีระบบประมวลผล หรือ ตีอีเมล์บางฉบับไปยัง Junk หรือ Spam Folder เองอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นลองให้ผู้ใช้งานดูใน Folder Spam หรือ Junk
    3.2    โปรแกรม Thunderbird ก็เช่นเดียวกัน อาจจะไปอยู่ใน Junk หรือ Spam Folder

  4. อีเมล์ถูกดักโดยโปรแกรม Scan Virus 

    การแก้ไขปัญหา: 
    4. 1   โปรแกรม Antivirus บางตัวมีการไป Scan ในระดับอีเมล์ ในโปรแกรม Outlook และ ตีอีเมล์ดังกล่าวไปยัง Spam Folder ในโปรแกรม Outlook ลองให้ผู้ใช้งานดูใน Folder Spam หรือ Junk 

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

(ปัญหา) มีการไป Add Account เครื่องใหม่ แล้ว ไม่สามารถส่งอีเมล์ออกได้

ไม่สามารถส่งอีเมล์ออกได้ หรือ มี Error 550

อาการ
  1. อยู่ดีๆ ก็ไม่สามารถส่งอีเมล์ออกได้  หรือ มีหน้าต่าง
  2. เทส Outgoing บน Outlook ไม่ผ่าน หรือ รอนานมาก และ ขึ้น Error 550
  3. เทส Outgoing บน Outlook  ไม่ผ่านและรอใน Process Outgoing นานมาก
  4. เคสดังกล่าวมักเกิดกับ User ที่มีการไป Add Email ใหม่ในเครื่องอื่น, ซึ่งจะทำให้ User ใน Domain นั้นมีปัญหาซึ่งอาจจะทำให้มีผล "ทุก User" หรือ "บาง User" เจอ Error ตามด้านบน

การแก้ไขอย่างเร่งด่วนและเฉพาะหน้า

  1. ให้ลูกค้าใช้งานผ่านหน้า webmail, เพราะการใช้งานผ่านหน้า webmail จะใช้ SMTP Server คนละตัว
  2. หากลูกค้าต้องการใช้งานผ่าน Email Client จริงๆ ให้ใช้ผ่าน smtp2.company.com และ เลือกเป็น "Use same settings as incoming server",  เนื่องจากโดยปกติ smtp2.company.com จะยิงตรงไปที่ Server ตัวเอง จึงใช้ Username และ Password เหมือนกัน


สาเหตุและการแก้ไขปัญหา


  1. ระบบ Spam Guard มองว่าการ Test Email ในเครื่องใหม่ เป็นการยิง Spam

    การแก้ไขปัญหา: 
    1. 1   ซึ่งระบบจะมองว่าเป็นการยิง Spam เพราะ ในช่วงการ Test นั้น Outlook จะมีการส่ง Test Message ออกไปเป็นข้อความสั้นๆ และ ยิงอีเมล์เข้าหาตัวเอง

    1. 2   หากบริษัทลูกค้าใช้ Fix IP, ให้พิมพ์คำว่า What is my IP จะได้ IP ออกมา, ให้นำ IP นั้นไป Add ลงในระบบ Outgoing User โดยให้ใส่ IP ดังกล่าวเข้าไปในส่วน Username และให้ใส่ Password เป็นค่าว่าง, หลังจากนั้น ในส่วนของ Authorize Outgoing ไม่ต้อง Authorize ใดๆ ให้ลองทดสอบ Test อีกครั้ง

    1. 3   ติดต่อทีมวิศวกร เพื่อให้ ปลด Lock Error ดังกล่าว ซึ่งอาจจะใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมง

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

[TL GoCloud][Spam panel] Protection Report (รายงานการป้องกัน)

ในส่วนของ Protection Report จะแสดงรายงานการตรวจจับ Spam, Virus, Blacklist ของทั้งโดเมน


PROTECTION REPORT

Periodic domain report


เราสามารถตั้งค่าให้ระบบส่ง Report เป็นไฟล์ pdf ได้
และยังสามารถตั้งให้ส่งมาทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ ที่ Report Frequency ได้ด้วย

การตั้ง Report Frequency เป็นแบบ Daily ระบบจะส่งรายงานมาทุกวัน ประมาณช่วงบ่ายของทุก ๆ วัน

ลักษณะ Report ที่ระบบส่งมา


[TL GoCloud][Spam panel] Incoming (ขารับ/ขาเข้า)

INCOMING

 Log Search

ข้อมูลการรับข้อความอีเมล์อย่างละเอียด พร้อมแสดงสถานะว่าอีเมล์ถึงปลายทางหรือไม่
สามารถค้นหาช่วงเวลา ผู้ส่ง ผู้รับได้ หรือกดปุ่ม Start search หากต้องการดู Log ทั้งหมด

ตารางแสดงผล

 Spam quarantine

เมื่อข้อความใดที่เข้าข่ายว่าอาจจะเป็นสแปม เราสามารถตรวจสอบได้จากหัวข้อนี้
และหากต้องการปล่อยอีเมล์นี้ไปยังผู้รับ สามารถเลือก Release ได้
หรือถ้าต้องการลบอีเมล์ ให้คลิก Remove

Delivery queue

หน้านี้จะแสดงอีเมล์ที่่อยู่ในคิวการส่ง หากพบอีเมล์ที่ค้างอยู่
และเรายังสามารถบังคับส่งอีเมล์ฉบับนั้นได้ด้วย

Domain settings

เราสามารถตั้งค่าอีเมล์ ที่จะให้ระบบส่งข้อความการแจ้งเตือนต่าง ๆ มาได้ที่
Primary contact email ซึ่งมักจะเป็นอีเมล์ของ Admin

Domain statistics

ข้อมูลสถิติของการใช้งานระบบอีเมล์ แจ้งการตรวจจับ Spam, Virus, Blacklisted email

Technology Land Co., Ltd